เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35130 เที่ยวเหนือกันครับ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 07 ต.ค. 10, 16:57

นอกจากนั้น วัดแห่งนี้ยังรวบรวมโบราณวัตถุ-ศิลปวัตถุต่างๆไว้อีกเป็นจำนวนมาก
เช่น รอยพระพุทธบาทศิลาทรายจำหลัก ศิลปะล้านนาสกุลช่างพะเยาองค์นี้
ซึ่งเมื่อพิจารณาลายเส้นจารบนรอยพระพุทธบาทแล้ว
เชื่อได้ว่าสัมพันธ์กับลายเส้นจารในศิลปะสุโขทัย










ตามประวัติ ที่สำนักพิมพ์มติชนได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นให้กับทางวัดกล่าวว่า
รอยพระพุทธบาทองค์นี้เดิมประดิษฐานอยู่ในเจดีย์องค์หนึ่ง
เมื่อมีการรื้อพระเจดีย์องค์นั้นลงแล้ว จึงได้พบรอยพระพุทธบาทองค์นี้
และพระครูบาศรีวิชัยจึงได้นำมาประดิษฐานไว้ยังวัดแห่งนี้
เพราะเป็นวัดขนาดใหญ่ และมีผู้คนเคารพบูชาเป็นจำนวนมาก

เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเมืองพะเยา
คือ 'พระเจ้าตนหลวง' องค์นี้





บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 07 ต.ค. 10, 21:09

จากวิหารพระเจ้าตนหลวง พวกเราเดินต่อไปตามทางเดิน
ผ่านพระอุโบสถหลังใหม่ที่สร้างไว้กลางน้ำ
และมีจิตรกรรมฝีมือลุงอังคารอยู่ด้านใน
เพื่อไปยัง 'หอวัฒนธรรมนิทัศน์' ของวัดศรีโคมคำ











ที่นี่มีโบราณวัตถุต่างๆจัดแสดงไว้มากมาย
โดยมากเป็นของที่พบในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และจังหวัดพะเยา
หรือของที่ท่านเจ้าคุณวัดศรีโคมคำท่านได้รวบรวมไว้
เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาในความเป็นมาของบ้านเกิดเมืองนอน






บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 07 ต.ค. 10, 21:13






เราเสียเวลาไปกับถ่ายภาพกันซักพักใหญ่ๆ
เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย
และอนุญาตให้เราสามารถถ่ายภาพได้ตามต้องการ












แล้วก็ออกเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางแห่งใหม่ 'วัดป่าแดงบุญนาค'
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 08 ต.ค. 10, 11:46

วัดป่าแดงบุญนาคมีทรากโบราณสถาน 2 กลุ่ม
คือ กลุ่มที่เป็นวัดร้าง ได้แก่ เจดีย์องค์นี้








กับฐานวิหารทางด้านหน้า ที่ลาดพื้นด้วยหินทรายทั้งวิหาร




บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 08 ต.ค. 10, 11:49

กับอาคารกลุ่มที่ 2 ที่มีการเข้าใช้พื้นที่ในปัจจุบัน
คือ วิหารหลังนี้










ซึ่งมีกู่ทรงปราสาทยอดที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่อยู่ท้ายวิหาร





บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 08 ต.ค. 10, 17:41






จากวัดศรีโคมคำ พวกเราเดินทางต่อไป 'วัดลี'
ซึ่งเป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในเมืองพะเยา
และอยู่นอกเขตพื้นที่น้ำท่วม
ที่ทำเขื่อนกั้น 'กว้านพะเยา' ให้เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่

ที่นี่ก็มีพิพิธภัณฑ์ประจำวัดขนาดเล็กๆ
ซึ่งแม้จะมีขนาดไม่ใหญ่เท่าที่วัดศรีโคมคำ
แต่วัตถุจัดแสดงต่างๆก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย





บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 09 ต.ค. 10, 10:24

คุณติบอคะ รูปสุดท้ายนี้ เป็นภาชนะหรือ เป็นอะไรคะ พอจะทราบประวัติที่มาของวัตถุชิ้นนี้ไหมคะ
น่าสนใจมาก จะเกี่ยวกับศาสนาพราหม์ไหมคะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 01:58

เรียนคุณ Ruamrudee ครับ

ประติมากรรมในภาพเป็นชิ้นส่วนสถูปองค์น้อย
ที่มีสัตว์ (คิดว่าเป็นสิงห์) แบกทั้ง 4 ด้าน
เป็นสถูปแบบที่พบมากในศิลปสกุลช่างพะเยาครับ

ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าคนโบราณท่านทำสถูปแบบนี้ไว้ทำอะไรเหมือนกัน
จนปัญญาอยู่ เพราะไม่เห็นของที่หลงเหลือมาให้เปรียบเทียบ
องค์นี้ยังไม่ถือว่างามเท่าไหร่ ทางวัดเลยจัดแสดงไว้ด้านนอก
ส่วนองค์งามนั้นอยู่ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 02:05

'วัดลี' เป็นวัดสุดท้ายในเมืองพะเยาที่พวกเราแวะชมกัน
ก่อนจะออกเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางถัดไปใน 'อำเภอปัว'
พวกเราแวะชมวัดแห่งหนึ่ง คือ 'วัดแสนเมืองมา' ที่ระหว่างทาง










ที่นี่ถูกบูรณะไปมาก แต่ก็ยังงดงามอยู่ไม่น้อย
ลายคำพวกนี้ยังหลงเหลือเอกลัษณ์ความเป็นพื้นเมืองมาให้ได้ดูกันอยู่
แม้จะ 'ใหม่เอี่ยม' ไปแล้วในสายตาคนหลายๆคนที่ไม่นิยมของใหม่






บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 02:09

แม้แสงด้านนอกจะไม่เป็นใจให้เรา
สำหรับการถ่ายรูปสถาปัตยกรรมนัก
แต่งานประดับภายในก็งดงามอยู่ไม่น้อย









มกรตัวนี้ เป็นของเก่าที่ใช้เขากวางจริงเป็นเขามกร

ส่วนเสาร่วมในภายในพระอุโบสถ ที่ใช้ 'ค้ำยันหูช้าง'
เหนือบัวหัวเสารับคานนั้น ผมไม่เคยพบลักษณะเช่นนี้เลยในศิลปะภาคกลาง





บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 08:45

เป็นคำถาม ที่จะถามเหมือนกัน ขอบคุณคะ

..ตามอ่านอยู่นะจ๊ะ..
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 14:38

เป็นคำถาม ที่จะถามเหมือนกัน ขอบคุณคะ

..ตามอ่านอยู่นะจ๊ะ..


รับทราบจ๊ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 14:42





พวกเรากราบลาพระประธานแบบ 'ไทลื้อ' ในพระอุโบสถ
และบอกลาวัดที่น่ารักแห่งนี้มา เพื่อเดินทางไปยังวัดแห่งถัดไป
'วัดนันตาราม' วัดแบบไทยใหญ่ที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองนี้





บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 16:17

คุณติบอค่ะ ภาพสวย ๆ ที่ถ่ายในร่ม โดยเฉพาะในพระอุโบสถ
เข้าใจว่าจะใช้กล้องที่มีค่าไวแสงมากใช่ไหมคะ
เพราะดูเหมือนไม่ได้ใช้ Flash สีสดสวยราวกับตาเห็น

ไม่ทราบว่า ได้ไปที่วัดพระเจ้านั่งดินหรือยังคะ ที่พะเยาค่ะ
แปลกนะคะ ทางเหนือมีพระที่กล่าวกันว่า ผุดขึ้นจากดินแบบนี้ เท่าที่รู้ 2 แห่งแล้ว
อีกแห่งที่วัดพระธาตุผาเงา เชียงราย อยู่ไม่ไกลจากพะเยา
ในอดีต คงจะมีอุทกภัยใหญ่ในแถบลุ่มน้ำโขงแน่ ๆ หรือไม่ก็มีแผ่นดินไหว......

มีเวลาเมื่อไร ขอความกรุณาแบ่งปันความรู้เรื่องอารยะธรรมของล้่านนา
ที่เกี่ยวพันมาถีง สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์บ้างนะคะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 00:20

เรียนคุณ Ruamrudee ครับ

ภาพถ่ายในที่ร่มของผมส่วนมากไม่ได้ใช้แฟลชครับ
และไม่ได้ตั้งค่าความไวแสงสูงๆ เพราะมักจะทำให้ภาพแตก
ที่สวยเพราะใช้โฟโต้เฉาะกับ ACD ศัลยกรรมเอาเป็นหลัก
หลายภาพที่เอามาลงไฟล์ตั้งต้นก็ดูไม่ได้เหมือนกันครับ



การยกฐานพระพุทธรูปขึ้นชุกชีขึ้นกับแต่ละวัฒนธรรมครับ
บางวัฒนธรรมก็สูง บางวัฒนธรรมก็เตี้ย บางวัฒนธรรมก็ไม่ได้ยก
เมื่อจุดตั้งต้นแต่ละวัฒนธรรมแตกต่างกัน และเวลาก็ผ่านมาไม่น้อย
รวมทั้งความคิดอย่างความศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาเข้ามาประกอบ
รายละเอียดเล็กๆน้อยๆหลายประการก็เลยยิ่งต่างกันออกไป

โดยส่วนตัวผมไม่ได้สนใจศึกษาพระพุทธรูปเป็นหลัก
หรือจะพูดให้ถูก ผมสนใจงานประณีตศิลป์ที่เคลื่อนย้ายได้
และมีแหล่งผลิตกับแหล่งใช้งานต่างถิ่นต่างที่กันมากกว่า
เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ของโลกได้ดีที่สุด
หลายๆเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธรูปจึงตอบคุณ Ruamrudee ทันทีไม่ได้
เพราะต้องวานผู้รู้ท่านอื่นๆทั้งใน และนอกเวบ ช่วยเหลืออยู่มากบ้างน้อยบ้าง



สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ภาคเหนือ
ภาคกลางตอนบน และภาคกลางตอนล่าง
โดยส่วนตัวยังฟังหูไว้หูกับทฤษฎีที่หาอ่านได้
ในท้องตลาดทุกวันนี้อยู่ค่อนข้างมากครับ

ปัญหาในการศึกษาอารยธรรมไทยทั้ง 3 กลุ่ม
ของเราเท่าที่ผ่านมา คือ การศึกษาแต่ศูนย์กลาง
โดยขาดปฏิสัมพันธ์ของเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องไป
เช่น
เมื่อพูดถึงสุโขทัย ก็ไม่พูดถึงเมืองมอญ
เมื่อพูดถึงล้านนา ก็ข้ามส่วนเกี่ยวกับพม่าไป
และเมื่อพูดถึงอยุธยา ก็ข้ามส่วนที่อยู่ในภาคใต้ไปเสียดื้อๆ

ทฤษฎีที่เชื่อกันอยู่จึงมีช่องโหว่ที่มากและใหญ่
และหากต้องการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น
แม้เพียงแค่ปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง
ก็อาจจำเป็นจะต้องรื้อทฤษฎีเดิมๆออกเพื่อสร้างใหม่ในหลายส่วน





เช่น กรณีการใช้ลายประดับมาอ้างอิงว่าล้านนา สุโขทัย และอยุธยา สัมพันธ์กันนั้น
เราได้ตรวจสอบชุดลายในชุดเดียวกันที่พบใน จีน เขมร หรือ มอญ
และเราทำความเข้าใจกับเส้นทางการค้าที่ลายเหล่านั้นเดินทางเข้ามาหรือยัง ?

ถ้ายัง ลายนั้นมาจากล้านนาจริงหรือไม่ ? ถ้าไม่ ทฤษฎีที่ใช้กันอยู่จะใช้ได้ไหม ? เป็นต้น



ปล. กระทู้นี้ตั้งใจจะไม่พูดเรื่องหนักแล้ว
คนเข้ามาอ่านจะได้ไม่ต้องคิดมาก
หรือเห็นอะไรรกตา แต่ในที่สุดก็อดไม่ได้
ขอโทษคุณ Ruamrudee เป็นอย่างสูง
และต้องขอโทษสมาชิกเรือนที่ติดตามชมภาพด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง