เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35132 เที่ยวเหนือกันครับ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 00:35






งานประดับภายในของวัดนันตารามแห่งนี้งดงาม
แม้จะไม่วิจิตรเท่ากับวัดจอมสวรรค์ที่ผ่านมา
แต่ก็ยังดูเป็น 'แบบเดิมๆ' มากกว่า
ทั้งสีไม้ ลายทอง และงานประดับกระจก











การพระพุทธรูปประธานก็งดงามและลงตัวกับจองมาก
ดูไม่ขัดหูขัดตากับช่องว่างอากาศที่เหลือโหว่ว่างเหนือองค์พระ
เหมือนที่มักเป็นในวัดพม่า หรือไทยใหญ่ทั่วๆไป และวัดจอมสวรรค์ด้วย





บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 00:40






ผมยังอดใจระรัวชัตเตอร์ใส่ลายประดับพวกนี้ไม่ได้อีกเช่นเคย
และรู้สึกว่าตัวเองช่างโชคดีนัก ที่เกิดมาในยุคที่กล้องถ่ายรูปพัฒนาไปมากแล้ว
ถ้ายังต้องถ่ายภาพด้วยเนกาตีฟกระจก ขาว-ดำ
สีสันเลื่อมพรายลายตาที่น่ามองของลายพวกนี้คงจืดลงอีกโข












หากจะเปรียบเทียบพัฒนาการของศิลปะแล้ว
'เวลา' หรือสิ่งที่สมเด็จครูมักทรงตรัสเรียกว่า 'แฟแช่น'
ในศิลปะล้านนา และพม่า นั้นเดินช้ากว่าภาคกลางอยู่มาก
การจัดเรียงดาวเพดานในตารางลักษณะนี้จืดจางไปมากแล้วจากภาคกลาง
แต่ก็เห็นได้ดื่นตาในศิลปะล้านนาอยู่เกือบทุกหนแห่ง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเครือรัฐเหล่านี้ยังมีปฏิสัมพันธ์กัน
และรับส่งความนิยมชมชอบให้แก่กันและกันอยู่เสมอ
แม้ว่าของบางอย่างจะไม่ได้เป็นที่นิยมในศิลปะภาคกลางเลย
เช่น ธรรมาสน์องค์นี้ เป็นต้น




บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 00:42

แต่ในที่สุดเวลาที่ไม่อยากให้มาถึง ก็มาถึง
พวกเราจำเป็นจะต้องทิ้งความงามของวัดนันตารามไว้เบื้องหลัง









เพื่อเดินทางไปยังวัดต่อไป... 'วัดพระเจ้านั่งดิน'





บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 00:45






หรือถ้าจะเรียกให้ถูก คงต้องเรียกว่า 'พระเจ้านั่งตู้' มากกว่า
เพราะทุกวันนี้พระเจ้าท่านถูกคั่นออกจากพวกเราไปด้วยตู้ขนาดใหญ่ในภาพ

วัดแห่งนี้เป็นวัดสุดท้ายที่เราแวะสักการะก่อนจะเดินทางข้ามทิวเขาสุดลูกหูลูกตาไปยัง 'อำเภอปัว'
ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางแห่งสุดท้ายของวัน... พร้อมกับตะวันที่ยอแสงอยู่ริมขอบฟ้า





บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 06:12

วีดไทยใหญ่ในเส้นทางคราวนี้  ดูจากสภาพที่ปรากฏตามภาพถ่ายแล้ว  น่าจะเป็นวัดที่พ่อค้าไม้ชาวไทยใหญ่มาสร้างขึ้นหรือบูรณะขึ้นในยุคสัมปทานป่าไม้เมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อนใช่หรือไม่ครับ  เพราะดูจากความอลังการ์แล้วต่างจากวัดป่ารวก  วัดไทยใหญ่ที่ลำปางเหลือเกินครับ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 09:53

อ้างถึง
ประติมากรรมในภาพเป็นชิ้นส่วนสถูปองค์น้อย
ที่มีสัตว์ (คิดว่าเป็นสิงห์) แบกทั้ง 4 ด้าน
เป็นสถูปแบบที่พบมากในศิลปสกุลช่างพะเยาครับ

ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าคนโบราณท่านทำสถูปแบบนี้ไว้ทำอะไรเหมือนกัน

ดิฉันแปลกใจที่คุณติบอเรียกประติมากรรมนี้ว่าสถูปค่ะ
 
ในความคิดเห็นดิฉัน คิดว่า น่าจะเป็นฐานสำหรับปักเสาอะไรสักอย่าง เช่น เสาฉํตร หรือ เสาธง(ตุง) นะคะ

ต้องรอผู้รู้มาแนะนำค่ะ แปลกมาก ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนค่ะ คุณติบอช่างสังเกตุดีจริง ๆ นะคะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 10:40

      มาลงชื่อว่าติดตามแอ่วเหนืออยู่ด้วยคน และด้วยใจระทึก
เพราะกำลังจะเข้าสู่เมืองน่าน นครแห่งความหลังฝังใจ
       หวังว่า จะได้แอ่วน่านอย่างตลอดรอดฝั่ง ไม่ค้างเติ่ง ข้ามเดือน ข้ามปี
นะครับ

"กระซิบ" จากกระทู้ในพันทิป   


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 12:54

ขอบพระคุณชาวเรือนทั้ง 3 ท่าน ครับ



เรียนคุณ V_Mee ครับ

การค้าไม้เป็นเศรษฐกิจหลักของสังคมพม่า - ล้านนา ในช่วงเวลานั้น
(ใครไปดูหนังเรื่อง 'ชั่วฟ้าดินสลาย' แล้ว คงพอนึกภาพ 'นายห้างพะโป้' ออก)
นายห้างพวกนี้เข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจทั้งฝั่งพม่า และไทย
(ที่จริงจะรวมไปถึง 'อังกฤษ' ด้วยก็คงไม่ผิดนัก)

กระแส และกลิ่นอายวัฒนธรรมพม่าที่ไหลบ่าเข้ามาในล้านนา
ก็คงปฏิเสธไม่ได้ส่วนหนึ่งก็มาจากการ 'ทำไม้' ในช่วงเวลานั้นๆอย่างที่คุณ V_Mee สงสัย
แต่จะให้ฟันธงลงไปทันที ผมก็ยังไม่กล้าครับ เพราะไม่ได้สืบประวัติวัดมาก่อน
คิดว่าถ้าได้สืบ ก็คงจะกล้าตอบคำถามได้ชัดเจนกว่านี้



เรียน คุณ Ruamrudee

ผมไม่แปลกใจ ที่คุณจะเห็นว่าฐานสถูปเช่นนี้เป็นฐานเสาได้
เพราะของที่อยู่ในภาพก็ไม่คุ้นตาพวกเรากันเลย
แถมภาพที่นำมาให้ชมก็ชวนให้คิดไปเช่นนั้นได้มาก
แต่ที่จริงเดือยด้านบนของประติมากรรมชิ้นนี้ตื้นมาก

และเมื่อได้เปรียบเทียบกับประติมากรรมชิ้นอื่นๆ
ซึ่งมีระเบียบในการเรียงลำดับลวดบัวชั้นต่างๆเหมือนกัน
จึงทำให้ทราบได้ว่าประติมากรรมชิ้นนี้คืออะไร
ขออนุญาตเทียบภาพไว้ให้ชมนะครับ

ชิ้นเดิมจากพิพิธภัณฑ์ วัดลี ส่วนชิ้นใหม่จากหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ ครับ











เรียนคุณ SILA ขอบคุณครับที่เตือนว่ารออ่าน อายจัง
และขอให้เล่าต่อให้จบไม่ข้ามเดือน ข้ามปี
คิดว่าคงจบในเร็ววันครับ เพราะไม่ต้องมานั่งทำใหม่ทั้งหมด

ที่จริงผมเล่ากระทู้นี้เอาไว้ใน facebook จนจบแล้ว
ถ้าคุณ SILA ไม่รังเกียจจะอ่านสำนวนเล่าอีกแนวหนึ่ง
จะลองเข้าไปอ่านดูก่อนให้หมดระทึกใจก็ได้ครับ
ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 13:04






เช้าวันรุ่งขึ้น บรรยากาศจากรีสอทที่พัก
อวลไปด้วยสายลมเย็นสดชื่น
ที่หอบเอาหมอกก้อนใหญ่มาฝากเราแต่เช้า

เนื่องจากรีสอทที่เราพักอยู่บนลาดเขา
เมื่อมองลงไปด้านล่าง จึงเห็นผืนนาเล็กๆ
ที่ชาวบ้านทำไว้ในที่ราบระหว่างหุบเขาอยู่ตรงหน้า

ดูเหมือนข้าวเขียวและเรียวไผ่ที่นี่
จะเชิญชวนให้พวกเรามานั่งวาดภาพกันอยู่ไม่น้อย





บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 13:07

วัดแรกสำหรับวันนี้ เป็นวัดที่งามในกลิ่นอายแบบไทลื้อ
ชื่อ 'วัดต้นแหลง' แต่บรรยากาศไม่ชวนให้ถ่ายรูปเล้ย...
ฟ้าเหนือวัดไม่มีทีท่าจะเปิดเลยสักนิด แย่จัง















หน้าบรรพ์งามๆที่จะถ่ายได้
เลยกลายเป็นก้อนอะไรดำๆไม่รู้...
ดูภาพแล้วชวนให้หงุดหงิดอย่างน่าประหลาด
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 17:53

ที่ตั้งข้อสังเกตเรื่องวัดไทยใหญ่ไว้นั้นเป็นเพราะสังเกตว่า วัดไทยใหญ่งามๆ นั้นมักจะอยู่ใน้องที่ลำปาง  พะเยาและแพร่  ซึ่งมีพวกเลี้ยวเข้าไปทำป่าไม้กันมาก  แต่ทางเมืองชียงใหม่และลำพูนซึ่งอิทธิพลของสยาม  อังกฤษ และมิชชันนารีแผ่ขึ้นมามากกลับไม่ค่อยมีวัดไทยใหญ่ให้เห็นครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 20:34

เห็นด้วยกับคุณ V_Mee เรื่องการกระจายตัวของวัดครับ
ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะเป็นแหล่งที่หาไม้ได้ง่ายด้วย
รายละเอียดอื่นๆ ผมเองก็คิดว่าเป็นเรื่องน่าสนใจไม่น้อย
เช่น 'ลูกบอลสังกะสี' ที่วัดพวกนี้มักนิยมนำมาประดับ
เคยได้ทราบมาว่าวังของมหาราชาหลายแห่งในอินเดียก็ประดับเช่นกัน
หวังใจว่าจะมีงานวิจัยจากใครก็ได้เขียนออกมาให้อ่านในเร็ววัน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 21:42

งานมัณฑนศิลป์ของวัดต้นแลงก็เช่นเดียวกับวัดอื่นๆ
คือ เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมอีกเช่นเคย
การประดับแม้จะไม่ได้รักษาของเก่าๆไว้ทั้งหมด
แต่ก็ยังอนุรักษ์รูปแบบเดิมๆไว้ได้เป็นอย่างดี

















ผมเป็นคนหนึ่งที่ประทับใจการประดับตุงมาก
แม้จะทราบได้ว่าตุงที่นำมาประดับไม่ได้เก่าแก่อะไร
แต่ก็ยังชวนให้ระฦกถึงบรรยากาศเดิมๆไว้ได้มาก
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 01:59






โดยเฉพาะกับงานประดับหลายๆอย่าง
เช่น การใช้กระดาษตัดมาตกแต่ง
เป็นลายดาวเพดานของธรรมาสน์องค์นี้
ซึ่งผมถือว่าเป็นของที่น่าชื่นชมมาก

พวกเราหมดเวลาไปกับการชื่นชมความงาม
ของการตกแต่งต่างๆวัดต้นแหลงซักพักใหญ่ๆ
แต่ในที่สุดแล้วก็ต้องเดินทางต่อไปอีกอยู่ดี
ฟ้าด้านนอกยังคงไม่เป็นใจให้กับการถ่ายภาพอีกเหมือนเคย
เอาเถอะ สักวันหนึ่งผมจะกลับมาถ่ายภาพที่นี่ใหม่





บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 02:02

หลังออกจากวัดต้นแหลงแล้ว
วัดแห่งถัดไปของพวกเรา คือ 'วัดพระธาตุเบงสะกาด'
ซึ่งอยู่บนดอยขนาดย่อมๆ












การจะถ่ายภาพหน้าบรรพ์ของสิมหลังนี้มาได้
จึงเป็นเรื่องน่าหวาดเสียวอยู่เล็กน้อย
เพราะหากถอยหลังไปจากจุดที่ยืนถ่ายภาพอีกสักหน่อย
คนถ่ายภาพอาจจะต้องสังเวยชีวิตเป็นเครื่องไหว้สาพระธาตุได้
เนื่องจากหลังจากพวกเราลงไป เป็นหน้าผาที่ชันมากพอควร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง