เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 14595 ก้อก ๆ มาทำไม
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 25 ก.ย. 10, 22:33

อาจารย์ทัดที่คุณวันดีตามหาตัวอยู่นั้น น่าจะเป็นท่านเดียวกับ "นายทัดเปรียญ" ผู้แต่งบทดอกสร้อยสุภาษิต
"แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา ร้องเรียกเหมียวๆ เดี๋ยวก็มา เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู ..."
ที่คนรุ่นเก่าเคยร้องท่องกันตอนโรงเรียนเลิกก่อนกลับบ้าน หรือเปล่าครับ

อ้างถึง - แบบสอนอ่านจินตกระวีนิพนธ์ หนังสือดอกสร้อยสุภาษิต
กรมราชบัณฑิต พิมพ์ครั้งที่ ๔ ร.ศ. ๑๓๐



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 25 ก.ย. 10, 23:19


คำว่าเปรียญ  ไม่น่าจะถูกตัดออกด้วยประการใด ๆนะคะ
บันทึกการเข้า
XT
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 26 ก.ย. 10, 12:15


ถนนข้างพระราชวังบวรข้างโบสวัดมหาทาตุ   กรุงเทพฯ       รักษาตัวสะกดเดิมนะคะ

คนแถวนี้ก็ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับพระราชวังบวรเป็นส่วนใหญ่


หวัดดีค่ะ  อาจารย์วันดี พอได้อ่านกระทู้นี้แล้วทำให้รู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังย้อนเวลาไปในอดีตจริงๆ เลยค่ะ  แต่ก็เลยอยากทราบเพิ่มเติมน่ะค่ะว่าถนนข้างโบสวัดมหาทาตุที่อาจารย์กล่าวถึงนั้น  และถ้าเราเดินเลยไปทางหลังวัดมหาทาตุล่ะคะ (ถนนมหาราช) ก็มีตึกแถวเหมือนกัน ตรงแถวนั้นสมัยก่อนเป็นของใคร และผู้คนแถวนั้นประกอบอาชีพอะไรกันบ้างคะ

 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 26 ก.ย. 10, 13:03


สวัสดีค่ะคุณ XT   

ที่กรมไปรษณีย์จดไว้  นอกจากถนนข้างพระราชวังบวรข้างโบสถ์วัดมหาทาตุ  มีบ้านเรือน ๑๗ หลัง

เป็น จ.ศ. ๑๒๔๕  หรือ พ.. ๒๔๒๖  มี

ถนนข้างวัดอะนงคาราม         ถนนขวางวัดบวรนิเวศ       ถนนข้ามโรงหุ่นเก่าวัดอะรุณ ที่มีบ้าน ๑๒๔  หลังคาเรือน

เลยไปถนนคลองผดุงกรุงกระเสม  ต่อวัดแก้วฟ้า


       อ่านแล้วก็คิดอะไรๆไปได้หลายอย่าง       ดิฉันอาจจะคุ้นกับชื่อ หรือราชทินนามในสมัยโน้นบ้าง   อ่านพบแล้วก็

รู้สึกสงบว่า  ท่านมีตัวตนนะ   มีโรงให้เช่าด้วย     ลูกขุนนางก็ค้าขายกันบ้าง


       จีนผูกปี้ก็มาก    คนที่อาศัยร่มธงต่างชาติก็มีไม่น้อย

        มีร้านแขกรายหนึ่ง  ขายลูกไม้ทองค่ะ          ดิฉันอ่านกลับไปกลับมา  จึงเข้าใจว่าผ้าลูกไม้สีทองจากเมืองแขก

       แปลกน่าคิดต่อไปได้อีกมากนะคะ


       กรุณาอย่าเรียกว่าอาจารย์เลยค่ะ   เราทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นมิตรกัน  ดิฉันชอบอ่านเรื่องเก่าหนังสือโบราณ

ยิ่งอ่านก็คิดได้ว่าขุนนางระดับสูงที่รับราชการและเจ้านายของเรา  ได้พยายามปกป้องบ้านเมืองอย่างเต็มปัญญาความสามารถ

ลูกจีนมาบวชหกเจ็ดปี  ถ้าเก่งสึกออกมาเป็นคุณหลวงเลยนะคะ


       คุณหลวงเล็กแจ้งกับดิฉันว่าท่านจะเล่าเรื่องพระยา ๕๐ คนเร็วๆนี้       ดิฉันก็จ้องจะหาราชทินนามแปลก ๆ มาขัดขาท่าน

ยังมีอะไรที่พวกเราทุกคนยังหาอ่านเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ และความรู้ได้อีกมากค่ะ


ขอประทานโทษที่ตอบได้เท่าที่เอกสารจดไว้ค่ะ

บันทึกการเข้า
XT
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 27 ก.ย. 10, 16:14

ต้องขอบพระคุณ ท่านอาจารย์วันดีอีกครั้งหนึ่งนะคะ  และต้องขออนุญาตเรียกท่านอาจารย์แบบนี้ต่อไปนะคะ  เพราะจากประสบการณ์และความรู้ รวมไปถึงการถ่ายทอดออกมาให้คนอ่านได้รู้สึกคล้อยตามในเรื่องต่างๆ นั้น  ดิฉันรู้สึกชื่นชมและประทับใจมากค่ะ  เนื่องจากมีความชอบเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตนะคะ  ตอนที่อ่านหนังสือ "เกิดวังปารุสก์" จบ มีความรู้สึกว่าตัวเองตัวใหญ่มาก (ความรู้คับแก้ว) แต่พอเข้ามาในเว็บเรือนไทยแล้วดิฉัน รู้สึกว่าตัวเองเป็นอะตอม ไปเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 20:19

ขอกล่าวถึงอาจารย์ทัด อีกสักหน่อย เนื่องจากวันนี้ได้พบข้อความที่เอ่ยถึง "ครูทัด" จาก "สาส์นสมเด็จ" ในหนังสือ "เพลง ดนตรี และนาฏศิลป์ จากสาส์นสมเด็จ" ฉบับสำนักพิมพฺวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๒

ในหนังสือโต้ตอบจาก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๔๖๐ (หน้า ๒๕-๒๙) ชื่อเรื่อง "ครูเสภา ครูปี่พาทย์" กล่าวถึงครูเสภาครูปี่พาทย์ ๓ ท่าน คือ ครูทองอยู่ ครูแจ้ง และครูมีแขก ความตอนหนึ่งว่า

"ในรัชกาลที่ ๔ เจ้านายหลายพระองค์ มีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ กรมพระเทเวศร์ กรมหลวงวงศาฯ เป็นต้น ทรงรวบรวมคนหัดปี่พาทย์ขึ้นเล่นประชันวงกัน ครูมีคนนี้ได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระประดิษฐไพเราะ ตำแหน่งจางวางกรมปี่พาทย์ฝ่ายพระราชวังบวรฯ พระประดิษฐ์ (มี) คนนี้อยูมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ ยังได้เป็นครูหัดมโหรีในสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูรที่ในพระบรมมหาราชวัง

ยังมีครูปี่พาทย์ผู้มีชื่อเสียงร่ำลือมากมาจนทุกวันนี้อีกคนหนึ่ง ชื่อ ครูทัด เป็นคนแรกคิดทำเพลงสามชั้น มีเพลง "เทพบรรทม" "ภิรมย์สุรางค์" "เทพนิมิต" เป็นต้น เข้าใจว่าเป็นคนแก่กว่าพระประดิษฐ์ (มี) และคนชั้นหลังลงมาคิดเพลงสามชั้นตาม ควรจะมีชื่อในคำไหว้ครูด้วย แต่ทำไมจึงไม่มี เป็นน่าสงสัยหนัก

พระประดิษฐไพเราะ (ตาด) ว่าดูเหมือนเป็นแต่คนซอ ตีปี่พาทย์ไม่ได้ แต่หากมีปัญญาฉลาดรู้ทางปี่พาทย์แต่งให้คนตี คิดดูไม่มีใครเทียมถึง เห็นจะเป็นเพราะไม่ได้ไปตีปี่พาทย์รับเสภาเอง พวกเสภาจึงไม่รู้จักยกขึ้นว่าไหว้"

ก็เพียงว่ามี "ครูทัด" ซึ่งน่าจะเป็นคนยุครัชกาลที่ ๒ ต่อรัชกาลที่ ๓ และน่าจะมีชีวิตอยู่มาถึงสมัยรชกาลที่ ๔ เพิ่มมาให้คุณวันดี (ท่านขอร้องไม่ให้เรียกว่าอาจารย์) ได้พิจารณาเพิ่มขึ้นมาอีกท่านหนึ่งน่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 21:11


       คุณหลวงเล็กแจ้งกับดิฉันว่าท่านจะเล่าเรื่องพระยา ๕๐ คนเร็วๆนี้       ดิฉันก็จ้องจะหาราชทินนามแปลก ๆ มาขัดขาท่าน
       ยังมีอะไรที่พวกเราทุกคนยังหาอ่านเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ และความรู้ได้อีกมากค่ะ

        มาจองเก้าอี้แถวหน้า   งานเริ่มห้าโมงเย็น ขอจองที่นั่งตั้งแต่แปดโมงเช้าค่ะ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 21:27

     โอ  ขอบคุณคุณลุงไก่ค่ะ

เป็นกำลังใจเหลือเกิน   เป็นพระคุณด้วย    กำลังใจคือความปรารถนาดีที่มีต่อกัน  เห็นดีเห็นงาม

สนับสนุน  เก็บของมาฝาก

       หวังว่าวันหนึ่งดิฉันคงจะดั้นด้นหาครูทัดมาจนได้    ความหวังแม้แต่นิดเดียวก็จะตามไป

เพื่อน ๆ ของดิฉันเป็นนักสะสม หรือเจ้าของร้านหนังสือมือสอง       ต่างคนต่างมีเป้าหมายของ

การสะสมค้นคว้่าของตน  บางทีก็อาจจะดูแปลก หรือ ตลก  หรือเป็นไปแทบไม่ได้ของคนนอกกลุ่ม

แต่พวกเขารวมตัวกันได้  เข้มแข็ง   ต่างเดินไปตามทางของพวกเขา

ดิฉันยืนอยู่ข้างนอก   ตอนแรกก็ขำค่ะ     ชิชะชิชะ  จะหาเล่มแรกหรือ    จ้างให้เถอะ  ไม่มีวันหรอก

นานไป  เดือนแล้วก็เดือนเล่า   ปีแล้วก็ปีเล่า   เพื่อนๆก็ยังเดินตามความฝันของพวกเขาอย่างมั่นคง

       เรียนว่ารู้สึกขอบคุณอย่างแท้จริง

 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 07:57


       คุณหลวงเล็กแจ้งกับดิฉันว่าท่านจะเล่าเรื่องพระยา ๕๐ คนเร็วๆนี้       ดิฉันก็จ้องจะหาราชทินนามแปลก ๆ มาขัดขาท่าน
       ยังมีอะไรที่พวกเราทุกคนยังหาอ่านเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ และความรู้ได้อีกมากค่ะ

        มาจองเก้าอี้แถวหน้า   งานเริ่มห้าโมงเย็น ขอจองที่นั่งตั้งแต่แปดโมงเช้าค่ะ

งานเข้าแล้วล่ะคุณวันดี   อย่าให้แขกผู้มีเกียรติแห่งเรือนไทยต้องนั่งรอนานเลย  มีอะไรคมๆ ก็เอามาแสดงเสีย 

ส่วนเรื่องพระยา ๕๐ คน ตอนนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล 
คาดว่าอาจจะใช้เวลาอีกสักระยะคงจะลงให้ทัศนาและวิพากษ์กันได้   
ทั้งนี้เพราะพระยาที่รับราชการมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ หาประวัติยากนักหนา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 08:16

งานเข้าแล้วล่ะคุณวันดี   อย่าให้แขกผู้มีเกียรติแห่งเรือนไทยต้องนั่งรอนานเลย  มีอะไรคมๆ ก็เอามาแสดงเสีย 

ส่วนเรื่องพระยา ๕๐ คน ตอนนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล 
คาดว่าอาจจะใช้เวลาอีกสักระยะคงจะลงให้ทัศนาและวิพากษ์กันได้   
ทั้งนี้เพราะพระยาที่รับราชการมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ หาประวัติยากนักหนา


รอบของคุณหลวงเล็ก  ดิฉันขอจองบัตรล่วงหน้า ๓ เดือน
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 13:55

เมื่อหลายปีก่อน เคยค้นข้อมูลเกี่ยวกับหมอบรัดเลย์
ได้พบหนังสือบันทึกรายวันของหมอบรัดเลย์ที่หอสมุดธรรมศาสตร์
เป็นไดอารี่ตลอดช่วงเวลาที่หมอบรัดเลย์อยู่เมืองไทย
เล่มหนาทีเดียว
อาจจะได้เขียนถึงครูทัดไว้บ้างก็ได้นะคะ

เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายสำเนาหนังสือเล่มนี้จากธรรมศาสตร์
แต่คิดว่าหนังสือยังคงอยู่ที่หอสมุด
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 17:39


ขอบคุณ คุณกะออม ที่มีน้ำใจใสสะอาด

พอมีหนังสือต้นฉบับของบรัดเลอยู่บ้าง

ส่วนมากจะไม่มีปกหน้าค่ะ

สยาม เรบพอสิทตอรี ก็สนุกมากค่ะ  บันทึกของมิชชันนารีก็น่าอ่าน

พวกเราไม่ค่อยได้ค้นข้อมูลกันเท่าไร  น่าเสียดายเป็นอันมาก

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 07 พ.ย. 10, 21:48

    โอ  ขอบคุณคุณลุงไก่ค่ะ

เป็นกำลังใจเหลือเกิน   เป็นพระคุณด้วย    กำลังใจคือความปรารถนาดีที่มีต่อกัน  เห็นดีเห็นงาม

สนับสนุน  เก็บของมาฝาก

       หวังว่าวันหนึ่งดิฉันคงจะดั้นด้นหาครูทัดมาจนได้    ความหวังแม้แต่นิดเดียวก็จะตามไป

เพื่อน ๆ ของดิฉันเป็นนักสะสม หรือเจ้าของร้านหนังสือมือสอง       ต่างคนต่างมีเป้าหมายของ

การสะสมค้นคว้่าของตน  บางทีก็อาจจะดูแปลก หรือ ตลก  หรือเป็นไปแทบไม่ได้ของคนนอกกลุ่ม

แต่พวกเขารวมตัวกันได้  เข้มแข็ง   ต่างเดินไปตามทางของพวกเขา

ดิฉันยืนอยู่ข้างนอก   ตอนแรกก็ขำค่ะ     ชิชะชิชะ  จะหาเล่มแรกหรือ    จ้างให้เถอะ  ไม่มีวันหรอก

นานไป  เดือนแล้วก็เดือนเล่า   ปีแล้วก็ปีเล่า   เพื่อนๆก็ยังเดินตามความฝันของพวกเขาอย่างมั่นคง

       เรียนว่ารู้สึกขอบคุณอย่างแท้จริง

 


มีข้อมูลเพิ่มเติมของครูทัดมาฝากคุณวันดีครับ ตามสันนิษฐานของผม ท่านมหาทัดน่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ ก็เลยหาในเวปไปเรื่อยๆ จนมาพบเวปนี้เข้า กล่าวถึงพระมหาทัด วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) มึความตอนหนึ่งว่า

 "การศึกษาสมัย พระเทพโมลี(กลิ่น) ครองวัดราชสิทธาราม

          การศึกษาด้านพระปริยัติธรรม พระบาลีมูลกัจจายน์ พระเทพโมลี(กลิ่น) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระปิฏกโกศลเถร(แก้ว) ๑ พระมหาทัด ๑ พระมหาเกิด ๑

         ด้านการศึกษาพระวิปัสสนาธุระมี พระครูวินัยธรรมกัน สัทธิวิหาริกของสมเด็จพระญาณสังวร(สุก)เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์มหาทัด ๑เป็นผู้ช่วย เมื่อพระครูวินัยธรรมกัน มรณะภาพลงแล้ว พระญาณสังวรเถร(ด้วง) รับหน้าที่เป็นพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์ผู้ช่วยคือ พระอาจารย์คำ พระครูศีลวิสุทธิ์(รุ่ง) พระครูศีลสมาจารย์(บุญ) พระปลัดมี พระปลัดเมฆ "

พิจารณาจากปี พ.ศ. ที่พระเทพโมลีครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพลับ ท่านมหาทัดน่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตอนปลาย รายละเอียดอื่น เรียนคุณวันดีอ่านจากเวปนี้ครับ

http://www.oocities.com/weera2548/Ajan/intro_khin.htm

ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยล่วงหน้าไว้ด้วยครับ ...





บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 10 พ.ย. 10, 03:18



       ขอบพระคุณในน้ำใจคุณลุงไก่ค่ะ


ครูทัด  คงเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔  เพราะเป็นคนทันสมัยไปทำงานกับฝรั่งได้เป็นนานสองนาน

ท่านคงไม่ได้เป็นเปรียญ เพราะไม่มีคำว่า เปรียญตามมา

ถ้าท่านเป็นเปรียญสูง ๆ  หรือเป็นนาคหลวง  สึกออกมารับราชการก็ฟาดเบาะ ๆ ยศ คุณหลวงค่ะ


       เรา(คณะพรรค)ไม่หมดความหวังเป็นอันขาด       เรามีความหวังเต็มเปี่ยม

และยุยงส่งเสริมกันและกันอยู่เสมอ         

       
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 12 พ.ย. 10, 10:54



       ขอบพระคุณในน้ำใจคุณลุงไก่ค่ะ


ครูทัด  คงเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔  เพราะเป็นคนทันสมัยไปทำงานกับฝรั่งได้เป็นนานสองนาน

ท่านคงไม่ได้เป็นเปรียญ เพราะไม่มีคำว่า เปรียญตามมา

ถ้าท่านเป็นเปรียญสูง ๆ  หรือเป็นนาคหลวง  สึกออกมารับราชการก็ฟาดเบาะ ๆ ยศ คุณหลวงค่ะ


       เรา(คณะพรรค)ไม่หมดความหวังเป็นอันขาด       เรามีความหวังเต็มเปี่ยม

และยุยงส่งเสริมกันและกันอยู่เสมอ          

      


"นายทัด กุเรตอร์"
ผมเข้าไปเดินเล่นที่วิกิซอร์ซ http://th.wikisource.org/wiki ในเรื่องโคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ห้อง ๒๙-๓๑ มีหมายเหตุไว้ว่า นายทัด กุเรเตอร์ แต่ง

ในหนังสือ "กลอนกล" ของ รศ. วันเนาว์ ยูเด็น ฉบับพิมพ์โดยองค์การค้าของคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ยกตัวอย่างของกลบทตอนหนึ่งในจารึกวัดพระเชตุพน หมายเหตุว่า นายทัดมหาดเล็ก แต่ง

ผมเริ่มต้นที่คำว่า นายทัด กุเรเตอร์ โดยกูเกิ้ล มาพบในวรรคหนึ่งของเวปปัญญาไทย http://www.panyathai.or.th หัวข้อโบราณคดี ขออนุญาตคัดลอกข้อความตอนหนึ่งมาลงไว้ ดังนี้
 
   "ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเกิดคดีนายรัสต์มานน์ ลักลอบตัดพระกรพระเศียรพระศิวะไปเยอรมัน เมื่อตามกลับมาได้ โปรดฯ ให้รวบรวมศิลปวัตถุหัวเมืองมาไว้ในกรุงเทพฯ ทรงจัดตั้งหอมิวเซียมขึ้นที่พระที่นั่งสหทัยสมาคม (หอคอเดเดีย) ตั้งภัณฑรักษ์ (ผู้ดูแลกิจการพิพิธภัณฑ์) คือนายทัด ศิริสัมพันธ์ (พลโท พระยาสโมสรสรรพการ) ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ จึงได้ตั้งกรมพิพิธภัณฑ์ โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าไชยานุชิต ทรงเป็นอธิบดี ในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ โปรดฯให้ตั้งโบราณคดีสโมสร เพื่อศึกษาเรื่องราวเก่า ๆ และใช้เอกสารเป็นหลักในการค้นคว้า แต่ไม่มีการสืบทอดแนวการศึกษา โดยใช้หลักฐานโบราณวัตถุและโบราณสถานดังที่เคยทำกันมาในรัชกาลก่อน "

ติดตามเรื่องราวของนายทัด สิริสัมพันธ์ คือนายพลโทพระยาสโมสรสรรพการ จากบทความของคุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ เรื่องราชินิกูล-ราชินิกุล-ราชนิกุล
http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=2172&stissueid=2535&stcolcatid=2&stauthorid=13
ความตอนหนึ่งว่า   "ราชินิกุล รัชกาลที่ ๓ หมายถึงพระญาติวงศ์ ของสมเด็จพระศรีสุลาลัยพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งทรงเป็นพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๒ มิใช่พระอัครมเหสี ราชินิกุล รัชกาลที่ ๓ ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาลัย และสายสกุล ‘ศิริสัมพันธ์’ สืบมาจาก ท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาลัยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาลัย  
นามสกุล ‘ศิริสัมพันธ์’ นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้สืบสกุล โดยทรงมีพระบรมราชาธิบายว่า เกี่ยวข้องเนื่องกับสมเด็จพระราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ซึ่งพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าศิริวงศ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓ ที่นับว่าเป็นราชินิกุล รัชกาลที่ ๓ ก็ด้วยเจ้าจอมมารดาของสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ ท่านเป็นหลานสาวแท้ๆ ของสมเด็จพระศรีสุลาลัย"

และจากบทความของคุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์เรื่อง "ศิริ ใช้อย่างไทย"
http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stauthorid=13&stcolcatid=2&stcolumnid=3562&stissueid=2623
ความตอนหนึ่งว่า "ทีนี้ นามสกุล ‘ศิริสัมพันธ์’ ผู้ขอพระราชทานนามสกุล คือ พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด)
เมื่อสืบสาวขึ้นไปถึงบรรพบุรุษของพระยาสโมสรสรรพการ (ทัด) แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด) และบรรดาพี่น้องวงศาคณาญาติให้ใช้ร่วมกันว่า ‘ศิริสัมพันธ์"
เนื่องด้วยพระยาสโมสรฯ (ทัด) เป็นบุตรชายของพระยาไกรโกษา (สองเมือง),
พระยาไกรโกษา (สองเมือง) เป็นบุตรชายของพระนนทบุรี (ม่วง),
พระนนทบุรี (ม่วง) เป็นบุตรชายของท่านสาด,
ท่านสาด เป็นน้องนางของพระชนนีเพ็ง และพระชนนีเพ็ง คือ พระชนนีแห่งสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๓
และ เจ้าจอมมารดาทรัพย์ เจ้าจอมมารดาของสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอฯ (พระองค์เจ้าศิริวงศ์) นั้น ก็เป็นหลาน (ป้า) แท้ๆในสมเด็จพระศรีสุลาลัย และเป็นหลานยายน้อยของท่านสาด
ผู้สืบสกุลลงมาจาก ท่านสาด จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองด้วย  สมเด็จพระบรมราชมาตาฯ (พระองค์เจ้าศิริวงศ์) ถึงสองชั้น คือทางสมเด็จพระศรีสุลาลัย ๑ และทางเจ้าจอมมารดาทรัพย์ ๑
ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล อันมีความหมายถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในสมเด็จพระบรมราชมาตาฯ (พระองค์เจ้าศิริวงศ์) นั่นเอง

และจาก http://www.yimwhan.com/board ความตอนหนึ่งว่า ๒๖.วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ ถ.สนามบินน้ำ ม.๕ ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๐ เดิมชื่อ “วัดแจ้ง” ต่อมาพลโทพระยาสโมสรสรรพการ(ทัด) ศิริสัมพันธ์ ได้มาบูรณะใหม่หมด จึงไดชื่อว่า “วัดแจ้งศิริสัมพันธ์” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ เจ้าอาวาส พระครูสุนทรจริยาภิวัฒน์ (ฐิตญาโณ ประจวบ มุตตาฟา)

และจาก http://www.oocities.com/colosseum/bench/6511 เรื่องพลโท พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) "คูเรเตอร์" คนแรกของประเทศไทย

ผมย่อยเรื่องและนำมาปะติดปะต่อเป็นเรื่องเดียวกันไม่ค่อยจะได้ความนัก จึงนำเรียนด้วยข้อมูลดิบให้คุณวันดีพิจารณาและสรุปความครับ อย่าให้คะแนนรายงานของผมจนตกนะครับ หกเต็มสิบคะแนนก็ยังดี

ขอเพิ่มเติมอีกหน่อยเกี่ยวกับท่าน จาก http://www.engrdept.com/tahanchangling/tahanchang1.htm ข้อความตอนหนึ่งว่า  “ ครั้นถึงปี พ.ศ. 2418 โปรดเกล้าฯให้คัดเลือกบรรดาพลทหารมหาดเล็กที่เป็นช่าง จัดตั้งกองทหารอินยิเนีย โปรดเกล้าฯให้พระมหาโยธา(นกแก้ว คชเสนี)แต่เมื่อยังเป็นนายนกแก้ว ทหารมหาดเล็กนั้นเป็นหลวงสโมสรพลการ ผู้บังคับกอง มียศทหารเป็นนายร้อยโท....ทหารมหาดเล็กคือ นายพลโท พระสโมสรสรรพการ(ทัด ศิริสัมพันธุ์)เป็นนายสิบนำทางเรียกว่า ไปโอเนียร์ซายันต์ 1 ...พลทหาร 60 สำหรับกระทำการช่างในกรมนี้ ครั้นเมื่อโปรดเกล้าฯให้จัดหอคองคอเดีย(คือศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวังสมัยนี้ : ผู้เขียน)ทหารช่างพวกนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ทำการแต่เฉพาะวิชาการทหารในกระบวนยุทธวิธี สรรพการช่างเบ็ดเตล็ดสำหรับกรมก็ได้กระทำทั้งสิ้น เช่น เครื่องสาตราวุธยุทธภัณฑ์ และอาภรณ์เบ็ดเสร็จที่ควรกระทำได้ มีการแก้ไขอาวุธ และทำหมวก ทำเข็มขัด คันชีพ เป็นต้น... ”

หนังสืออักขราภิธานศรับท์ พิมพ์เมื่อ ปี ค.ศ. ๑๘๗๖ เทียบได้กับ พ.ศ. ๒๔๑๖ ... ต้องลำดับปีกันพอสมควร คิดว่าผมคงไม่ปล่อยไก่จนพาคุณวันดีเข้าป่าหลงทางไปนะครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง