เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 19385 ิอยากทราบเรื่องสตรีผู้เป็นที่รักของหลวงสาทรราชายุกต์(ยม พิศลยบุตร)ค่ะ
RedBird
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


 เมื่อ 21 ก.ย. 10, 00:49

ได้ทราบมาว่า มีตำนานรักสามเส้าของหลวงสาทรราชายุกต์(ยม พิศลยบุตร)
อยากทราบชื่อและ/หรือภาพของท่านหญิงท่านนั้นค่ะ (ท่านหญิงที่ไม่ใช่ท่านหญิงริ้วน่ะค่ะ)
พยายามหาในหมวดต่างๆ เช่น หนังสืองานศพ แล้วก็หาไม่พบ
ถ้าท่านใดทราบข้อมูล ขอความกรุณาด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ก.ย. 10, 10:53

ไม่ทราบเรื่องนี้ค่ะ    สนใจว่าคุณไปได้ข้อมูลมาจากไหน และว่าอย่างไรบ้าง
คุณวันดีพอจะทราบไหมคะ
ท่านหญิงริ้วที่คุณเรียก  ควรเรียกว่า "คุณนายริ้ว" ท่านเป็นสามัญชนไม่ใช่หม่อมเจ้าหญิง  เป็นภรรยาของคุณหลวงสาทร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ก.ย. 10, 12:21


ประวัติสกุุลขุนนางจีนหรือที่เราเรียกกันว่าเจ๊สัวสยามสมัยต้นรัตนโกสินทร์

ใช้ข้อมูลจาก สยามประเภท และมหามุขมาตยานุกูลวงศ์  เป็นส่วนมาก

แต่มหามุขมาตยานุกูลวงศ์เล่ม ๒ นั้นก็ตัดทอนหายไปยังไม่เคยเห็นอ้างอิงว่าท่านผู้ใดใช้ในงานเขียน

เห็นใช้กันแต่เล่มเฉกอะหมัด

เท่าที่เห็นมาไม่มีรายละเอียดเรื่องคุณหลวงสาทรและครอบครัวค่ะ


เคยอ่าน กระเบื้องถ้วยกะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ  พิศาลบุตร  ก็หลงดูดูรูปอยู่เป็นเดือน ๆ เพราะงามเหลือเกิน


ท่านผู้ใดมีหนังสือ กระเบื้องถ้วยกะลาแตกอยู่ในมือ  อย่าลืมดูหน้า ๔๘  นะคะ  พระราชสาส์ทองคำของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นะคะ


เรื่องคุณหลวงสาทร ฯ  ถ้าเจอรายละอียดจะนำมาฝากค่ะ
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ก.ย. 10, 12:36

หลวงสาทรราชายุกต์นี่เกี่ยวดองอย่างไรกับท่านผู้หญิงเชิญ  พิศลยบุตรครับ............
บันทึกการเข้า
RedBird
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ก.ย. 10, 17:09

ขอบคุณมากค่ะ  คุณเทาชมพู สำหรับการแก้ไขวิธีการเรียกชื่อให้ถูกต้อง
แสดงว่า ภรรยารองของคุณหลวง ควรจะเรียกว่า คุณนายรอง ใช่ไหมคะ

เนื่องจากจะมีการบูรณะซ่อมแซมบ้านของคุณหลวงสาทรราชายุกต์
เลยพอจะทราบประวัติของบ้านและครอบครัวเจ้าของบ้านเพียงคร่าวๆ ว่าบ้านนี้มีตำนานรัก 3 เส้า คือ คุณหลวง ภริยา และ ภรรยารอง

โดยเฉพาะในที่ที่เป็นส่วนของภรรยารองของคุณหลวง จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนมาก
จึงมีความจำเป็นต้องหาชื่อและรูปเพื่อทำพิธีเซ่นไหว้สักการะ ก่อนที่จะสามารถดำเนินการบูรณะต่อไปค่ะ

ตอนนี้ไร้ข้อมูลใดๆที่จะโยงไปถึงภรรยารองของคุณหลวง
พอเห็นคำตอบของคุณเทาชมพู และคุณวันดี แล้วเริ่มใจชื้น และมีความหวังขึ้นมาบ้าง ว่าอาจจะได้พบข้อมูลของเธอค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ก.ย. 10, 17:43

เมียน้อยของขุนนางตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ถอยหลังขึ้นไป เรียกว่า หม่อม   แต่ถ้าเป็นรัชกาลที่ ๖ ต่อมา เรียกชื่อเฉยๆค่ะ
ใครมีหนังสืองานศพคุณหลวงสาทรบ้าง  ช่วยเปิดดูชื่อภรรยาด้วยได้ไหม
ทราบแต่ว่าคุณหลวงถึงแก่กรรมเมื่ออายุยังไม่มาก  แค่ 38 ปี    ลูกส่วนใหญ่ยังเล็กๆ   หัวหน้าครอบครัวคนต่อมาคือบุตรเขยชื่อหลวงจิตรจำนงวาณิช  แต่งงานกับลูกสาวคุณนายริ้ว

ท่านผู้หญิงเชิญ พิศลยบุตร เป็นสะใภ้หรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ก.ย. 10, 17:54

คุณ RedBird  ไม่กระซิบช้าง(เล่าดัง ๆ)มาก่อนพอเป็นน้ำจิ้มสุกี้ก่อนล่ะคะ


ที่จริงชายหนึ่งหญิงสองนี้  ไม่น่าจะเป็นรักสามเส้าไปได้


       เรื่องตำแหน่งภรรยาของขุนนางนั้น  ขอเล่าง่าย ๆ ว่า  บางทีก็มีเอกภรรยาสองคน  

แขกเหรื่อญาติมิตรก็เรียกอย่างไม่ตะขิดตะขวง

เพราะท่านผู้หญิง(เรียกแบบยกย่องล้ำหน้าไว้หน่อย) หรือคุณหญิง  ท่านเป็นพี่น้องบิดาเดียวกัน  และบิดาเป็นเจ้าพระยา


บางทีคุณหญิงตัวจริงสิ้นบุญไป   ตัวรองอีกหลายอันดับยังมีคอยอยู่  แต่ภรรยาอันดับห้า  เกิดเป็นขรัวยายขึ้นมา  

หรือเพียงธิดาได้เป็นเจ้าจอม      สามีก็จะยกภรรยาท่านนี้ขึ้นเป็นเอกภรรยาค่ะ  

เพราะสกุลขุนนางย่อมถือว่าพระองค์เจ้าเป็นที่เคารพของสกุลวงศ์ทุกคน



     โดยทั่วไป เอกภรรยาย่อมถือว่า ภรรยารองเป็นระบบเกียรติยศอย่างหนึ่ง  และลูกๆทุกคนถ้าเคารพนบนอบ

ก็ได้รับการศึกษา และถวายตัวเป็นมหาดเล็ก  เท่า ๆ กับบุตรของเอกภรรยา   ชะตาชีวิตก็หมุนเวียนตามกุศลกรรมชองแต่ละคนไป

แบ่งมรดกก็ได้น้อยลงไปหน่อย  เพราะเอกภรรยาท่านมีสินทรัพย์มามากเรียกว่าเงินกองทุน


     อ่า...เอ่อ........รายละเอียดของแต่ละสกุล  ถ้าเป็นบุคคลระดับประเทศก็จะมีพงศาวดารกระซิบ  คือหลายกลุ่มต่างได้ยินได้ฟังมาใกล้เคียงกัน

มีไปถามเป็นกลอนไว้ในหนังสือสยามรัฐก็หลายตอน   คุณคึกฤทธิ์ท่านก็ชะแว๊ปหลบฉากไปนิดหนึ่ง  ไม่สร้างความเสียหายให้ท่านผู้ใด


     พงศาวดารบางเรื่องก็เล่ากันมาด้วยความคะนองปาก   และเล่าต่อกันไป


     เรื่องรูปนั้น  ถ้าเป็นตอนต้นรัชกาลที่ ๕   เป็นไปได้ค่ะ      ถ้าเป็นต้นรัชกาลที่ ๔ แล้ว  ขออภัยว่า  ยากอยู่มาก


     ทั้งหมดนี้ขอฟังคุณหลวงเล็ก  นักตอบปัญหาประจำเรือนไทยค่ะ

    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 ก.ย. 10, 16:32

จริงของคุณวันดีค่ะ  อยากจะถามเจ้าของกระทู้ว่า ที่เรียก "รักสามเส้า" ตามความเข้าใจคืออะไร 
ถ้าหมายถึงคุณหลวงสาทรมีภรรยา ๒ คน ไม่เรียกว่ารักสามเส้า   
เพราะคุณหลวงอาจรักทั้งสองคน และภรรยาหลวงก็ไม่รังเกียจภรรยาอีกคน  เป็นธรรมดาที่ชายไทยมีภรรยามากกว่า ๑ อย่างถูกต้องตามกฎหมายและประเพณี
สงสัยว่าห้องของภรรยารอง อยู่บนตึกหรือเป็นเรือนแยกจากตึกใหญ่อีกที  ขนาดใหญ่หรือเล็ก
ถ้าเธอมีห้องอยู่บนตึก ก็แสดงว่าสถานภาพเธอเป็นที่ยอมรับอย่างเปิดเผยจากภรรยาหลวง    แต่ก็ไม่แน่ ถ้าเธอมีเรือนส่วนตัวอยู่เป็นสัดส่วน เธออาจมีลูกด้วยก็ได้  สามีจึงปลูกให้อยู่คนละหลังกับภรรยาหลวงและลูกๆบนตึกใหญ่   
แบบเดียวกับเจ้าคุณพิพิธปลูกเรือนฝากระดานให้แม่แช่มและพลอยกับพ่อเพิ่มพี่ชาย  ในสี่แผ่นดิน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ก.ย. 10, 17:21

    ทั้งหมดนี้ขอฟังคุณหลวงเล็ก  นักตอบปัญหาประจำเรือนไทยค่ะ
   


ขอใช้สิทธิพาดพิง  ถามยากและมากอย่างนี้  คุณหลวงเล็กของดออกความเห็นครับ   เพราะข้อมูลอย่างนี้ หาทำยายากนั้น  ถ้าคนในตระกูลเขาไม่เล่าเอง  เราคนนอกคงจะหาคนรู้ได้ยาก  ไม่ทราบว่า คนถามเคยอ่านหนังสือเรื่องนายแม่แล้วหรือไม่  คนเขียนเขาพยายามเล่าไว้เยอะเหมือนกัน   แต่จำได้ว่าไม่น่าจะมีเรื่องนี้


เรื่องตระฏุลสำคัญนี่  เพิ่งไปคุยกันสมาคมท่านผู้ขุดคุ้ยสายสกุลทั่วราชอาณาจักรมา   ท่านถามว่าสนใจเรื่องสายสกุลบ้างไหม   เราก็ตอบอย่างคนรู้น้อย  ว่าพอมีบ้าง  สูงศอกเดียวเอง  คงจะเทียบกับใต้เท้ามิได้  แล้วท่านก็หัวเราะว่า  นี่ไม่ใช่มวยเพิ่งหัดนะเนี่ย   ว่างๆ เอามาแลกอาวุธกันบ้างนะ    แล้วผมก็ฉวยโอกาสยืมหนังสือสำคัญแห่งกระทรวงคลองหลอดจัดพิมพ์ต้นรัชกาลที่ ๖ เล่มโต  มาถ่ายเอกสาร   เพราะมีข้อมูลข้าราชการหัวเมืองน่าสนใจมากๆ  ไว้ทำสำเนาเสร็จจะทยอยเปิดเผยข้อมูลกันนะครับ
บันทึกการเข้า
RedBird
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 00:24

ขอบคุณมากค่ะ คุณเทาชมพู คุณวันดี และคุณหลวงเล็กที่ให้แง่คิดและความเห็นต่างๆค่ะ
โดยเฉพาะคุณวันดี ที่ให้ความรู้กับดิฉัน อย่างน่าสนใจและเป็นกันเอง ขอบคุณค่ะ

สำหรับคำว่ารัก 3 เส้า ดิฉันคงใช้คำนิยามไม่ถูกตามหลักระบบ สามีภรรยาในสมัยนั้น ต้องขออภัยอย่างสูงค่ะ
ดิฉันถอดความตรงๆตามที่ได้ยินมาค่ะ

ข้อมูลหลักที่ต้องการทราบจริงๆ มีเพียงชื่อและรูปของหม่อมซึ่งเป็นภรรยารอง เพื่องานพิธีค่ะ
คิดว่าคงไม่มากแต่ออกไปทางยากจริงๆค่ะ

จากการสืบถามจากลูกหลาน ตระกูลพิศลยบุตรเองก็ได้คำตอบ คล้ายๆนี้ คือ "ยากมาก" และ "บรรพบุรุษในชั้นที่พอจะทราบความ ก็สิ้นบุญกันไปแล้ว"
ค้นในหนังสือต่างๆ เช่น นางใน  ของ คุณพรศิริ บูรณเขตต์, ขุนนางชาวสยาม 2 ของคุณอเนก นาวิกมูล
ก็ไม่พบข้อมูลของเธอ และ หนังสืองานศพของ หลวงสาทรราชายุกต์ ก็ยังไม่สามารถหามาอ่านเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้
(ถ้าท่านใดมีหนังสืองานศพของ หลวงสาทรราชายุกต์ ขอความกรุณาด้วยนะคะ)
และ ดิฉันจะไปตรวจสอบข้อมูลจากหนังสือเรื่องนายแม่ ตามคำแนะนำค่ะ


เรื่องนี้ค่อนข้างจะเป็นเรื่องภายใน เสี่ยงต่อการเปิดเผยรายละเอียดต่อสาธารณะค่ะ
แต่ด้วยความจนใจสำหรับข้อมูลของหม่อมท่านนี้ และ จากการอ่านหลายกระทู้ของ เรือนไทยวิชาการ.คอม เกิดความประทับใจว่าผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่านจากที่นี้
สามารถตอบคำถามที่ยากมากๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์และละเอียดไม่หวงวิชา เลยต้องเสี่ยงแอบแย้มถามค่ะ

ขอบคุณสำหรับ ความเห็นและความช่วยเหลือของทุกท่าน อีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
RedBird
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 00:57

ตอบคุณ ritti018

ท่านผู้หญิงเชิญ พิศลยบุตร เป็นหลานสาวของหลวงสาทรราชายุกต์(ยม พิศลยบุตร)ค่ะ

อ้างอิงจาก หนังสือ "ขุนนางชาวสยาม 2" ของคุณอเนก นาวิกมูล หน้า 127
ดังนี้ค่ะ

" สรุปว่า หลวงสุนทร มีบุตรธิดา 3 คน คือ

1. พระยาสมบัตยานุกูล (ฉิม พิศลยบุตร) บิดาท่านผู้หญิงเชิญ พิศลยบุตร
    (ในหนังสือพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.อ. ประสิทธิ์ พิศลยบุตร ลงราชทินนามาว่า พระสมบัตธัญญผล (ฉิม) ยังไม่ทราบว่าชื่อไหนถูกกันแน่)

2. ชื่น

3. แช่ม (แต่งกับหลวงจิตจำนง หรือถมยา รงควานิช)
"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 08:33

คุณ RedBird  คะ

        อยู่แถวนี้ไปพลาง ๆ นะคะ    

วันนี้คุณหลวงเล็กท่านคงมีโอกาสมาลับกรงเล็บแถวนี้

ท่านสั่งงานดิฉันไว้บ้างเหมือนกันค่ะ

แต่ดิฉันว่าจะลักลอบไปเหวี่ยงแหที่ที่ท่านไปวิดบ่อปลาเมื่อวาน

ในเรื่องของความรักและทรัพย์สินแล้ว  ทุกอย่างทำได้คล่องคอเลยค่ะ

บังเอิญความรักของพวกเราและทรัพย์ที่หมายปองก็คือหนังสือเท่านั้น  อิอิ

ไร้พิษใช่นักหาหนังสือค่ะ



เรื่องหนังสืออนุสรณ์คุณหลวงท่าน  ถ้ายังมีหมุนวน  ก็คงพอจะหาอ่านได้

เวลานี้แทบจะเป็นนาทีทองของนักหาหนังสือแล้วล่ะค่ะ  เพราะร้านหนังสือเก่ากำลังเก็บสินค้าลงกล่องเบียร์

เตรียมไปออกงานหนังสือเดือนหน้า

ค่อนข้างแน่ใจว่ามีประวัติของคุณหลวงสาทร ฯ อยู่ในสยามประเภทสักเล่มหนึ่ง  ถ้าหาเจอบ่ายนี้จะนำมาลงค่ะ


วันนี้ดิฉันจะไปเยี่ยมท่านผู้อาวุโส   คงมีโอกาสเรียนถาม  ถ้าท่านหยุดถอนหายใจดิฉันคงมีโอกาสได้พูดบ้าง

ไว้เจอกันเย็นๆ นะคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 08:33

ตอบคุณ ritti018

" สรุปว่า หลวงสุนทร มีบุตรธิดา 3 คน คือ

1. พระยาสมบัตยานุกูล (ฉิม พิศลยบุตร) บิดาท่านผู้หญิงเชิญ พิศลยบุตร
    (ในหนังสือพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.อ. ประสิทธิ์ พิศลยบุตร ลงราชทินนามาว่า พระสมบัตธัญญผล (ฉิม) ยังไม่ทราบว่าชื่อไหนถูกกันแน่)

2. ชื่น

3. แช่ม (แต่งกับหลวงจิตจำนง หรือถมยา รงควานิช)

หลวงสุนทร คงจะหมายถึงหลวงสาทร
พระสมบัตธัญญผล คงจะเลื่อนขึ้นเป็นพระยาสมบัตยานุกูล  คนเดียวกันค่ะ

ถ้าหากว่าภรรยารองของคุณหลวงสาทรมีบุตร  ก็คงจะมีรายชื่ออยู่ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของคุณหลวง  หรืองานของพระยาสมบัตฯ ในฐานะลูกของคุณหลวง และน้อง(ต่างมารดา)ของพระยาสมบัตฯ
หรืองานพระราชทานเพลิงศพคุณนายแช่ม คุณนายชื่น (ไม่ทราบว่าแต่งไปกับใคร)

หาเท่าไรไม่มีจริงๆ  ก็จนใจ  ในการทำพิธีหรืออะไรที่เกี่ยวกับท่านผู้นี้  เรียกว่า "ภรรยารองของหลวงสาทร" ก็คงจะอนุโลมได้   ถ้าทำบุญไปให้ท่านก็คงจะถึงกระมังคะ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 ก.ย. 10, 18:52

หลวงสาทรราชายุกต์นี่คือเจ้าสัวยมใช่ไหมคะ
(บ้านอยู่แถบคลองพ่อยม ที่เป็นบ้านของคุณเปรมในเรื่องสี่แผ่นดินน่ะค่ะ)
เคยอ่านเจอว่าคลองพ่อยมในปัจจุบัน คือ ถนนสาทร อันนี้ถูกผิดยังไงคะ
 
บันทึกการเข้า
sunshine
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 ต.ค. 10, 14:57

คุณ Redbird

มีอะไรเพิ่มเติมมาบ้างมั้ยคะ
ติดตามอยู่ค่ะ
เป็นหัวข้อที่ทำให้หัดศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
ได้อย่างน่าสนใจมากทีเดียว
 
เดินผ่านตึกสวยๆหลังนั้นบ่อยมากค่ะ เวลาเปลี่ยนรถ จาก BRT ไป BTS
แต่ตอนนี้มีตึกสูงบังอยู่บ้าง เลยเห็นไม่เต็มที่
เพียงเห็นแค่นั้นก็หายเลี่ยนจาก skyscraper-ism ไปมากอยู่

ลองไปช่วยหาหนังสืออยู่บ้างเวลาที่ไปห้องสมุด (จุฬา + อักษร)
ไม่มีเลยค่ะ ยากจริงๆ

หาอ่านเรื่องราวคนบ้านใกล้เรือนเคียงอย่าง พระยาอนุมานราชธน
เผื่อว่าจะมีกล่าวถึงบ้าง ก็ไม่มีนะคะ
สงสัยว่าต้องข่าว วงในจริงๆค่ะ

ขอให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเร็วๆนะคะ
ทราบอะไรจะรีบมาโพสต์ค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง