เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8475 แวะไปที่รวมพลนักแปลมาค่ะ น่าสนใจ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 11 ก.ย. 10, 21:54



http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K9657389/K9657389.html
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 21:57

 

         นุ่งผ้าลาย

สวมเสื้อคอกระเช้าเวลาอยู่บ้าน

สบายดีสำหรับคนขี้ร้อน

แป้งดินสอพองขาว

เสื้อผ้าป่านตัวหลวม ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 22:19

If the paternal grandmother had been alive until B.E. 2546 (2003), she would have turned 100 now.

She was born in the King Rama Fifth reign, making her a complete five-reign person. If her memory was compared to color, it would be pure and graceful white. The more we look at it, the more we are enchanted, and this concept applies to her name.

She was ‘La-or-orn.’

She was even different from others at her age when it came to her name. The more we know her, the more we find that she was different from people in her age, or even the subsequent generation.



ไม่ถนัดที่จะแปลไทยเป็นอังกฤษ  เคยแต่แปลอังกฤษเป็นไทย   แต่อยากจะลองแปลใหม่ว่า

If Grandma, my paternal grandmother had been alive today, ( in 2003) she would have turned 100 .

She was born in the reign of King Rama the Fifth, making her  completely a  five-reign person. If our memory of her could be seen as a color, they  would have been  chaste and graceful white. The more we looked at it, the more we became  enchanted, and this impression could also be  applied to her name.

Her name was ‘La-or-orn’ , or ' the fair beauty'


Not only her name, but also  in almost every aspect , Grandma was different from other women of her generation , and even the succeeding one.

คำว่า fair beauty ลังเลอยู่นาน  เพราะ fair ของฝรั่งคือผิวขาว(ผมทองและตาสีฟ้าด้วย) แตกต่างจาก brunette ซึ่งผมและตาสีเข้ม   แต่ของเรา ผู้หญิงผิวขาว ก็ตาดำผมดำอยู่ดี     
ลอออร   แปลว่าหญิงผิวขาว  จะแปลว่า The white   beauty จะตรงกว่าไหม?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 22:43

นุ่งผ้าลาย

สวมเสื้อคอกระเช้าเวลาอยู่บ้าน

สบายดีสำหรับคนขี้ร้อน

แป้งดินสอพองขาว

เสื้อผ้าป่านตัวหลวม ๆ

คำที่คุณวันดีตั้งโจทย์ไว้   คืนนี้คงจะตามหลอนดิฉันอีกแล้ว     
ผ้าลายเป็นผ้าที่ฝรั่งไม่มี   ขืนอธิบายก็คงต้องแจกแจงกันยาวเหยียด   ดิฉันนึกคำตรงเป๊ะๆไม่ออก นึกออกแต่ sarong   
เสื้อคอกระเช้า     ฝรั่งก็ไม่มีอีก   จะเรียก blouse ก็กว้างไป  ต้องมี adj. ประกอบ   เสื้อคอกระเช้าเป็นเสื้อตัวใน ประเภทหนึ่ง
ผ้าป่านรุ่นเก่าเขาเรียกว่า lawn cloth  แต่ดิฉันก็ไม่รู้ว่าผ้าป่านแบบนี้ตรงกับผ้าป่านไทยในสมัยโน้นหรือเปล่า

สรุปแล้วขอมอบทั้งหมดนี้ให้คุณวันดีรับลูกต่อไปค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 23:24

มีสหายเป็นนักแปลฝีมือดี(มีงานหลายเล่ม)     จึงโทรไปถาม

น้องบอกว่า น้องอาจจะใช้  fine ramie  หรือ  lawn

นักอ่านพยักหน้าเป็นเชิงเห็นด้วย  เพราะนางเอกสาวอังกฤษสมัยก่อนไปตัดเสื้อผ้าหน้่าร้อนที่อียิปต์ก็

lawn  หรือ cambric      นี่ล่ะค่ะ


ผ้าเช็ดหน้าผู้ชายผืนโตที่ใช้ lawn  เหมือนกัน

ดินสอพอง   white clay    

ที่นำแป้งมาผสมสีแล้วนำมาหยดให้เกาะเส้นด้าย  แล้วผูกเส้นด้ายหลายเส้นหลายสีกับบุหงากลมๆ  

มีไม้ไผ่ประมาณไม้ลูกชิ้นปิ้งเสียบ  เป็นของชำร่วยก็เคยเห็น


ผ้่าลาย     ha ha ha   หัวเราะตามนักอ่านกำลังภายในค่ะ  อุ้ยเซียวป๊อแคิดอะไรไม่ออกจะกลบเกลื่อนไว้ก่อน

ผ้าถุง       sarong-like skirt
ผ้านุ่ง       panung
ผ้าพื้น      a cotton panung


ผ้่าลาย     chintz      เพราะมีเคลือบมัน     คุณนายล้างแบ้งค์ท่านให้บ่าวสาวน้อยสองสามคนแบกห่อผ้าเข้าวัง

ค้าขายจนร่ำรวย  ก็ผ้าลายนี่ล่ะค่ะ


รูปของสาวน้อยสาวมากในหนังสือสกุลบุนนาค  นุ่งผ้าลายแปลกตา   เจ้าสัวหัวตะเภาคงเก็บมาฝากที่บ้าน

คนที่ได้ผ้าลายใหม่ ๆ  ต้องซักฟาดเสียก่อนให้เนื้อนุ่ม   แบบซักแห้งนะคะ ขยำ ๆ    


เสื้อคอกระเช้า     คิดออก  แต่เขินค่ะ  ไม่เคยใส่  ha  ha  ha     traditional top
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 23:49


       อยากจะเล่าเกร็ดเรื่องผ้าลายไว้นิดหนึ่ง    เป็นเรื่องลูกสาวของ ก.ศ.ร. กุหลาบ

แต่ก.ศ.ร.ไม่ได้เล่าเรื่องนี้นะคะ


       ลูกสาวก.ศ.ร. เรื่องไม่ได้บอกว่ากี่คน  น่าจะมากกว่าสอง  คงมีแม่วอน(วอนวรวงศ์)

แม่วรรณ  หรือแม่ลูกอิน    ได้เข้าวังไปที่ตำหนักพระองค์เจ้าหญิงกินรี  คงนุ่งใหม่ห่มใหม่

ในที่นี้คือผ้าลายใหม่      สมเด็จพระบรมราชินีเสด็จผ่านมา  ผู้คนก็นั่งราบลงกราบกับพื้น

ลูกสาวก.ศ.ร. เป็นห่วงผ้าลายใหม่  มิได้นั่งราบลงทีเดียว

สมเด็จฯ รับสั่งกับเสด็จว่า  หลานเสด็จน่ะห่วงผ้านุ่งมากกว่ากลัวฉัน

   จำจากไหนมาก็ลืมไปแล้วค่ะ

   อ่านจากต้นฉบับทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 10:03


เสื้อคอกระเช้าเป็นเสื้อฝรั่งประยุกต์มาสวมกับสาวไทย    เดิมเป็นเสื้อชั้นในของแหม่มยุควิคตอเรียน สวมทับคอร์เซ็ต ต้องไปหาดูก่อนว่าแฟชั่นสมัยนั้นแปลว่าอะไร เจาะจงลงไปอีกจากคำว่า top
ตอนนี้นึกออกแต่เรียกดื้อๆว่า sleeveless top
แป้งดินสอพอง  = white clay powder
ส่วนผ้าลาย จะเรียกว่า chintz  sarong  ได้ไหม

ครูคนไหนหนอให้การบ้าน แปล"มาลัยสาม"ชายเป็นภาษาอังกฤษ   หน้าแรกก็โหดแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 21:20

รูปข้างล่าวนี้คือเสื้อคอกระเช้าของฝรั่ง  เรียกว่า corset - cover  สวมทับคอร์เซ็ตซึ่งเป็นชุดรัดทรงแบบโบราณของสตรี
ปัญหาคือสาวไทยไม่ได้รับคอร์เซ็ตเข้ามา  รับแต่เสื้อชั้นในที่สวมทับ  เราจะยังเรียกเสื้อคอกระเช้าว่า corset - cover ได้ไหม?



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 00:56

       ขออนุญาตคิดแตกต่างค่ะ   ที่จริงไปดู  Oxford-Duden  มาแล้วตั้งแต่เมื่อวาน

ขอเสนอ casual - traditional style top  

เป็นการเสนอครั้งสุดท้ายแล้วค่ะ

มีงานประมูลหนังสือที่ต้องไปดู



สมัยโน้นสตรีทั่วไป    ไม่น่าจะมีคอร์เซ็ทที่ให้บ่าวดึงเชือกเพื่อให้เอวกิ่ว

ไม่กล้าที่จะพูดอะไรรวม ๆ ว่าเมืองไทยไม่มีหรอก     อาจจะมีก็ได้

สาวจีนที่ครอบครัวค้าขายกับสิงคโปร์และฮ่องกงก็ล้ำสมัย

ห้องหอก็มีเหยือกน้ำและอ่างล้างมือเป็นเงินวาววาม


จำได้ว่าซูสีไทเฮายังใช้ยาย้อมผมจากต่างประเทศเลยค่ะ  โปรดมากเพราะไม่เลอะเทอะ

เจ้าหญิงที่รับอาสาถวายการย้อมโดนอ๋องผู้บิดาดุด่าว่ากล่าวยาวเหยียด  ว่าอยู่ดี ๆ ไม่ว่าดี


พจนานุกรมเดินได้แถว ๆ นี้บอกว่า  แป้งดินสอพองนั้น  แขกมีศัพท์เฉพาะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 09:28

ก็เป็นได้ว่า หญิงสูงศักดิ์ของไทยในรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๖ อาจสวมคอเซ็ตอยู่ข้างใต้เสื้อลูกไม้แขนหมูแฮมด้วย   เพราะดูจากภายนอก  เสื้อเรียบตึงสนิท อาจจะมีการรัดรึงกันอยู่ข้างใน
จุดมุ่งหมายของเรื่องนี้ ที่บรรยายความแตกต่างระหว่างคุณย่าและคุณยาย  คือคุณย่าลอออรเธอเนี้ยบแบบตะวันตก  อยู่บ้านก็แต่งตัวสวยพร้อมจะออกนอกบ้านได้ทันที   ตามอิทธิพลวัฒนธรรมอังกฤษที่เข้ามาในสมัยเธอสาว  และดำรงไว้จนถึงวัยชรา     ส่วนคุณยายทองหยดนั้นก็แสนจะเป็นไทย  นุ่งผ้าลายสวมเสื้อคอกระเช้าซึ่งถือว่าลำลองอย่างยิ่ง เป็นเสื้อชั้นในของฝรั่ง  แขกมาถึงเรือนชาน ถึงหยิบเสื้อหลวมๆตัดด้วยผ้าป่านมาสวมทับอีกที
ถ้าแปลแล้วคนอ่าน(ฝรั่ง)เข้าใจถึงความแตกต่าง  ก็ถือว่าถูกต้องค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 10:07


ขอบคุณค่ะ

ความละเมียดละไมของภาษา  อ่านแล้วมีความสุขค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 ก.ย. 10, 13:57

มาต่อให้จบ  ไม่งั้นจะหลอนยิ่งกว่ารูปเก่าในอีกกระทู้

One good example is my maternal grandmother. I still clearly remember her like it was just yesterday.

Her name was ‘Tong Yod.’ She was at the same age as the paternal grandmother. But my grandmother was the same as many elderly people who wear ‘Lai’ skirt and ‘Krachao’ shirt at home. She said it was comfortable to senior people sensitive to heat like her. She would wear white dirt powder on her face and arms when her children met her in the afternoon. If there was a guest, she would put on a loose grass shirt to cover it.

But the paternal grandmother carried pale lavender odor all the time when she passed by us. She would never have to find a new shirt as her outfit was ready for guests all the time.


version เรือนไทย

One good example of the differences  was Grandmom ,my maternal grandmother. I still clearly remember her  as if it was just yesterday.

Her name was plainly  ‘Thong Yod.’ She was  the same age as Grandma. But Grandmom, not unlike many elderly Thai ladies, loved to  wear a chinzt sarong and a  causal  traditional style top ( Thai corset-cover top)  at home. She said it was comfortable to senior people sensitive to heat like her. Her face and arms  were always white with clay powder during the hot afternoon. If   guests arrived , she would politely put  on a loose lawn blouse over her top to greet them.

On the contrary, Grandma  smelt of  soft lavender fragrance  wherever  she moved. She  would never have to change into proper  outfits  for the guests  because she was already well-dressed for all occasions.
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 ก.ย. 10, 14:22


ตั้งใจอ่านอย่างละเอียด  ถ้าคุณเจ้าของกระทู้ทราบภายหลังคงปลื้มใจมาก  ยังไม่ได้แวะไปบอกแถวนั้นเลย

ท่านสมาชิกเรือนไทยคนหนึ่งที่ท่องเที่ยวไปทั่วโลกแต่ติด สกุลไทย อย่างเหนียวแน่นเพราะตามอ่านหนังสือ  คงปลื้มไปด้วย



คุณเทาชมพูคะ

น้ำอบลาเวนเดอร์นี้ฝรั่งสมัยก่อนใช้อบเครื่องปูที่นอน เพราะมีหลายชั้นตั้งแต่ผ้าปู  หมอน  ผ้ารองผ้าห่ม

ต้นของมันถ้าเราไปกระทบก็ส่งกลิ่นหอม

สมัยนี้ก็ใช้กระดาษรองชั้นที่ทาไขที่มีกลิ่นลาเวนเดอร์   เก็บไว้นานกลิ่นก็จาง  กระดาษยังอยู่ดีค่ะ  หนากว่ากระดาษห่อของขวัญทั่ว ๆ ไป

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 ก.ย. 10, 14:43

ถ้าตรงไหนผิด grammar ก็ช่วยแก้ด้วยนะคะ   

เรื่องกลิ่นลาเวนเดอร์ เข้าใจว่าเป็นกลิ่นหอมเก่าแก่ของฝรั่ง  ตอนเด็กๆ อ่านเรื่องสั้นอะไรไม่รู้ ผู้เขียนบรรยายว่าพระเอกหอมกลิ่นลาเวนเดอร์อ่อนๆ   เราก็ปลื้มว่าเท่     จำมาเขียนมั่ง   ผ่านไปหลายสิบปีถึงย้อนกลับมาสงสัยว่าพระเอกทำไมใส่น้ำหอมผู้หญิง   เป็นไปได้ไหมว่าทั้งคนเขียนคนอ่านก็ไม่รู้พอๆกัน 
เคยอ่านพบจากนิยายของมากาเร็ต แลนดอน  ว่าถุงบุหงาฝรั่งที่เรียกว่า "โป ปูรี" ใช้กลิ่นลาเวนเดอร์  แขวนเอาไว้กับไม้แขวนเสื้อ  เพื่อระเหยอบร่ำเสื้อผ้าให้หอม  ก็เลยจำมาใช้กับคุณหญิงลอออรค่ะ
ไม่เคยเห็นกระดาษห่อของกลิ่นลาเวนเดอร์  แต่รู้จักกลิ่นนี้ดี เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ว่าที่ Watsons หรือ Boots หรือ Mark&Spencer  ผลิตกลิ่นลาเวนเดอร์ในสบู่ แป้ง โลชั่น ครีม สารพัด    พอดมกลิ่น   ภาพบ้านวิคตอเรียนกับกระโปรงสุ่มไก่ก็ลอยมาเชียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ก.ย. 10, 17:04

เจ้าของกระทู้คงส่งการบ้านให้ครูไปแล้วละค่ะ    ไม่ต้องบอกดีกว่า   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง