เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 15136 ว่าด้วยเรื่องชุดของทหารโบราณ...ทำไมทหารไทยถึงไม่สวมชุดเกราะครับ
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 14 ก.พ. 01, 05:46

สวัสดีครับคุณเทาชมพู และ ทุกๆ ท่าน
กลับมาแล้วขอถามเลยแล้วกันครับ... ( ขอน้ำทานซักขันก่อนก็ดีครับ )

บังเอิญได้ไปดูชุดเกราะโบราณๆของทหารฝรั่งมาน่ะครับ
ผมก็เลยสังเกตุว่าทหารแทบทุกชาติใส่ชุดเกราะเวลาออกรบ
ฝรั่งใส่แน่นอน ทหารจีนผมก็คิดว่าใส่เครื่องป้องกันที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ
ซามูไรญี่ปุ่นก็ใส่ชุดเกราะเช่นเดียวกันรู้สึกว่าจะเป็นหวาย พวกอาหรับก็มีชุดเกราะเช่นกัน

แต่ทำไม... ทหารไทยไม่ใส่เกราะหรือเครื่องป้องกัน

พม่าก็ไม่ใส่ แฮะ ... หรือว่ามีแต่ผมไม่ทราบครับ

ผมเดาว่าอาจจะร้อน... หรือไม่ก็เนื่องจากว่า "มีคาถาดี" เหอๆๆ  หรือว่ารับอิทธิพลมาจากอินเดีย ผมไม่แน่ใจว่าทหารอินเดียเวลารบ ใส่เกราะหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นพวกอารายันก็น่าจะมีชุดเกราะใส่นะครับ เพราะเดาว่าจะรับอิทธิพลมาจากพวกทหารเปอร์เซีย หรือไม่ก็มาจากทหารพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ซึ่งสวมเกราะออกรบ ( แม้จะไม่เป็นเหล็กหนาเตอะแบบอัศวินสมัยกลางก็ตาม  ผมสังเกตว่าชุดทหารโรมันก็มีส่วนโลหะ เป็นเกราะหุ้มตรงหน้าอก คิดว่าชุดทหารของพวกเปอร์เซียอาจจะคล้ายๆ กัน เพราะเคยเห็น หมวกเหล็ก และ บางส่วนของชุดน่ะครับ)

ไม่ทราบมีความเห็นกันว่าอย่างไรครับผม
บันทึกการเข้า
ผ่านมา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 ก.พ. 01, 02:05

ผมคิดว่าใส่นะครับ อาจจะเป็นเกราะหวาย เป็นส่วนใหญ่  เหล้กก้มีแต่อาจะมีน้อยมีเฉพาะบุคคลระดับสูงเช่นบรรดาแม่ทัพคนสำคัญ เพราะเหล็กในบ้านเราเป้นของมีค่ามีราคาเช่นกันคงไม่สามารถ เอาเหล็กจำนวนมากมาทำชุดเกราะได้มากๆ  แค่เอามาตีดาบก็น่าจะหาได้ยากพอควร
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 ก.พ. 01, 03:16

ผมก็สงสัยว่าน่าจะใส่เหมือนกันครับ ( คือควรจะมีใส่น่ะครับ )
แต่ไม่มีหลักฐาน ในหนังสือภาพวาด ใหนหนัง ในละคร
ไม่เคยเห็นมีปรากฎ รู้สึกว่าพม่าก็ไม่ใส่เกราะเหมือนกัน
( ในหนังอีกแล้วครับ )
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 ก.พ. 01, 09:12

เท่าที่อ่านในวรรณคดีอย่างขุนช้างขุนแผน หรือเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์เวลาออกศึก ไม่ได้พูดถึงเกราะไว้เลยค่ะ
นึกถึงศึกครั้งที่ไทยเสียพระสุริโยทัย  ว่าพระเจ้าแปรฟันด้วยง้าวขาดสะพายแล่ง  แสดงว่าทางฝ่ายเราไม่มีเกราะสวมป้องกันไว้   ถ้าหากว่าสวมเกราะคงไม่เป็นขนาดนั้น
เรามีคำว่า "คงกระพันชาตรี"  คิดว่าเราเชื่อเรื่องหนังเหนียว ฟันไม่เข้า นะคะ
นึกถึงขุนช้างขุนแผน  วิธีฟันของขุนแผนมีหลายครั้งที่ฟันให้หัวอีกฝ่ายขาดกระเด็น    ไม่ใช้แทง  เพราะฉะนั้นถ้าฟันที่ลำคอ   ต่อให้มีเกราะก็คงป้องกันไม่ได้
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 ก.พ. 01, 14:35

คนไทยเราเชื่อในเวทมนต์คาถามากกว่า ดังนั้นเวลาออกรบมักจะใส่เสื้อลงยันต์
ที่ผ่านการปลุกเศกแล้ว หรือห้อยตระกรุดหรือวัตถุมงคลอื่นที่ตนเองเชื่อ
แม้กระทั่งชายผ้านุ่งของแม่ผู้ให้กำเนิดก็สามารถช่วยได้ (ในแง่ของขวัญและกำลังใจ)
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.พ. 01, 17:02

ตามความคิดผม คิดว่าทหารไทยโบราณไม่น่าจะใส่เกราะเวลาออกรบครับ เนื่องจากส่วนมาก
เป็นชนชั้นไพร่ ทาส  หากเสบียงหรืออาวุธต่างๆที่ทางกองทัพจัดสรรมาไม่เพียงพอ ทหารก็
ต้องจัดหามาเอง   จึงอาจจะกล่าวได้ว่าทหารไทยโบราณเป็นนักรบที่ต้องช่วยเหลือตัวเอง
เกราะจึงเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นและหาได้ยากสำหรับทหารชนชั้นไพร่ ทาส...

อีกประเด็นหนึ่ง   ผมคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับลักษณะการใช้อาวุธของไทยด้วย    อาวุธที่ใช้แน่ๆ
คือดาบสองมือ  ดาบสองมือต้องอาศัยความคล่องแคล่วว่องไว  หากมีเกราะโลหะ หรืออะไร
ก็ตามที่มันหนักๆติดอยู่ตามเนื้อตามตัว การสู้รบก็คงไม่ถนัดนัก  เป็นเหตุให้เสียเปรียบฝ่าย
ตรงข้ามได้   แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าทหารไทยโบราณจะไม่หาเครื่องป้องกันอาวุธเสียเลย  ลึกๆแล้ว
ก็ยังกลัวตายเหมือนคนทั่วไป    ยิ่งคนที่เคยออกสนามรบแล้วได้เห็นเพื่อนๆ ถูกฟันถูกแทง
มีบาดแผลเหวอะหวะ (บาดแผลที่เกิดจากการดาบจะน่าหวาดเสียวกว่าแผลที่ถูกอาวุธปืนใน
ปัจจุบันมาก ยกเว้นถูกยิงด้วยปืนลูกซองที่หัว ) ก็ทำให้ใจเสียได้ง่าย เครื่องป้องกันอาวุธที่
เรารู้จักกันดีก็มีพวกโล่ ดั้ง เขน พวกนี้ไม่ต้องสวมติดกับลำตัว จึงไม่เป็นอุปสรรคในการรบ
ที่สำคัญคือเปลี่ยนมือ(เจ้าของ)ได้ เช่นรบไปรบมาถูกฆ่าตาย คนที่ผ่านมาก็หยิบฉวยเอาไปใช้
ได้ใหม่ ไม่เหมือนกับเกราะที่มีขนาดพอดีกับร่างกาย จะใส่จะถอดก็ยาก กว่าจะถอดออกมาได้
ก็ถูกฟันคอขาดพอดี...
เครื่องป้องกันอีกอย่างหนึ่งที่เรารู้จักกันดี คือ "เครื่องรางของขลัง" เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์
เสื้อยันต์ ผ้าประเจียด ฯลฯ ตามความคิดผม ทหารไทยโบราณ น่าจะเชื่อถือ"เครื่องรางของขลัง"
มากกว่าพวก โล่ เขน ฯลฯ เห็นได้จากในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทหารนิยมเครื่องรางของขลังกันมาก
แต่ละคนก็โอ้อวดว่าเครื่องรางของอาจารย์ตนเองดีกว่า ทำให้เกิดการทะเลาะวุ่นวายในกองทัพ
กรมพระราชวังบวรฯ ท่านทรงเห็นว่าหากปล่อยไว้จะเป็นเหตุให้กองทัพขาดความเป็นเอกภาพ  
จึงทรงริบเครื่องรางไปทำลายทิ้งทั้งหมด แล้วโปรดให้สร้างเครื่องรางขึ้นใหม่เป็นผ้าประเจียด
ที่เขียนตัวอักขระ"อุ" ไว้ตรงกลาง พระราชทานให้ทหารนำพันศีรษะไว้เป็นศูนย์รวมใจ  ทหาร
ก็เลิกทะเลาะกันเพราะเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์คือกรมพระราชวังบวรฯกันทั้งหมด ต่อมาทหารบกก็นำ
อักขระ "อุ" มาเป็นเครื่องหมายติดไว้ที่หน้าหมวกด้วย

มีเรื่องเล่าเสริมของลุงแก่หน่อยครับ ผมจำมาจากการ์ตูนเล่มละบาทที่เคยอ่านตอนเด็กๆ
ชายคนหนึ่งถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรบกับข้าศึก ก่อนไปก็ขอฉีกผ้านุ่งของแม่มารัดต้นแขนเอาไว้
เพื่อเป็นสิริมงคล ออกรบทุกครั้งก็ไม่เคยพลาดพลั้งบาดเจ็บ แถมยังได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมา
เรื่อยๆ  คราวหนึ่งเศษผ้านุ่งของแม่หลุดหาย รบไปก็กระวนกระวายใจ เมื่อมีโอกาสได้เลิกทัพ
ช่วงสั้นๆ จึงรีบกลับบ้านเพื่อจะไปขอผ้านุ่งของแม่อีก  แต่เผอิญกลับมาบ้านแล้วไม่เจอแม่
ก็เลยไปเก็บผ้านุ่งที่ตากไว้บนราวผ้ามาผืนหนึ่ง กะว่าเผื่อหลุดหายอีกจะได้มีสำรองไว้ ไม่ทันได้
พบแม่ก็ต้องรีบกลับไปประจำกองทัพ คราวต่อมาได้รบกับข้าศึก ก็เอาผ้านุ่งของแม่ที่เตรียมไว้
มาฉีกผูกต้นแขน  แต่เจ้ากรรมเพื่อนทหารคนนึงดันทักว่า  "เฮ้ย  นั่นมันผ้านุ่งของเมียมึงนี่หว่า
กูจำสีได้" เท่านั้นแหละครับ กำลังใจที่กำลังฮึกเหิมหายไปจนหมดสิ้น ฝีมือที่เคยรุ่งเรืองก็ไม่
สามารถสำแดงออกมาให้ปรากฎ ในที่สุดก็ถูกข้าศึกฟันแขนขาด...

ขออนุญาตจบห้วนๆเพียงเท่านี้ครับ เพราะหาประโยคที่เหมาะๆลงไม่ได้
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.พ. 01, 21:32

ทำไมเจ้าผัวเองจำสีผ้านุ่งเมียตัวเองไม่ยักกะได้ แต่เพื่อนข้างๆ บ้านกลับทะลึ่งไปจำผ้าถุงเมียคนอื่นได้ ฮืม??
งานนี้มีเบื้องหลังรึเปล่าครับ
The plot  thickens...
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.พ. 01, 21:45

ผมเข้าใจว่า เสื้อเกราะแม้แต่ในยุโรปเอง ก็เป็นของที่คนชั้นสูงคือทหารตัวนาย ตัวอัศวินเองเท่านั้นจึงจะมีใส่ พลทหารฝรั่งไม่ใส่ เพราะออกจะแพงนะครับ เกราะนี่

แต่ของเราไทยนี่ แน่กว่าฝรั่ง คือ ทั้งนายทั้งพลไม่ใช้เกราะ เชื่อดีว่าหนังเหนียวด้วยกันทั้งนายทั้งพล
เรื่องคล้ายๆ การ์ตูนเล่มละบาทของคุณแจ้ง ที่เคยได้ยินเป็นพระเครื่อง ที่นักเลงอาราธนาอมไว้ในปากเวลาไปตีกับนักเลงที่อื่น แต่หนหนึ่งถูกตีจนพระเครื่องหลุดจากปาก เจ้าของเสียดายรีบคว้ากลับเข้าปากแล้วก็รู้สึกว่าพระในปากเต้นเร่าๆ นึกว่าพระท่านศักดิ์สิทธิ์ เลยเกิดกำลังใจไล่ตีนักเลงถิ่นอื่นแตกไป คายออกมาดูจึงได้เห็นว่า ที่ตัวนึกว่าเป็นพระเครื่องนั้นที่จริงเป็นลูกเขียดตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง...
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 ก.พ. 01, 02:06

เหตุผลของคุณแจ้ง มีน้ำหนักมากทีเดียวครับ
แต่เรื่องผ้าถุงนี่ ผมสงสัยเช่นเดียวกับคุณพี่นกกางเขนครับ ฮี่ๆๆๆ
บันทึกการเข้า
n
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ก.พ. 01, 08:33

test
บันทึกการเข้า
*
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 ก.พ. 01, 08:35

*
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW356x010.jpg'>
บันทึกการเข้า
tonphai
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 ก.พ. 01, 17:46

คิดว่าพลทหารไทยคงไม่มีเกราะ(แบบที่เรียกว่าเกราะจริงๆ)ใส่หรอกครับ  เพราะพลทหารส่วนมากเป็นไพร่และทาสส่วนใหญ่เหมือนที่คุณแจ้งใบตองบอก และอีกนัยนึงอาจจะเป็นลักษณะรูปแบบในการรบอีกด้วย  ตัวอย่างเช่นการสู้รบของชาวญี่ป่นที่จะมีชุดเกราะเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากอากาศและการใช้อาวุธครับ  ญี่ปุ่นใช้ดาบฟันแบบที่เดียวให้ขาด  ส่วนคนไทยเราใช้ดาบแบบฟาดแล้วค่อยฟันแบบรวดเร็วครับ  เกราะก็เลยกลายเป็นความเทอะทะไป  และการไม่ใส่ชุดเกราะอาจถือเป็นเกียรติของลูกผู้ชายไปก็ได้มั้งครับ  อิอิ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 พ.ย. 05, 09:20

 คิดว่าขุดมา in trend นะครับ อิอิ เพราะอีกไม่นาน พระนเรศวร คงฉาย (ไม่รู้อีกกี่ปี ?)

ถ้าตามหลักฐานทางโบราณคดี ก็ต้องไปดูจากภาพจิตรกรรมฝาผนังต่างๆ ตามวัดครับ และถ้าจะเปรียบเทียบกับในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ผมแนะนำว่าลองไปดูภาพฉากรบที่ระเบียงนครวัด กับบายน (ดูสมุดภาพก็ได้นะครับ ถ้ายังไม่มีเวลาไปชมของจริง อิอิ) เพราะเรารับวัฒนธรรมเขมรมาค่อนข้างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙

เท่าที่ผมได้มีโอกาสไปดู ก็ไม่พบว่าทหารเขมรสวมเกราะ แต่ที่บายนมีภาพทหารจีน แต่งเกราะเต็มยศเลย ส่วนพวกจาม จำได้เล่าๆ ว่าใส่มั้ง ไม่แน่ใจเหมือนกัน อิอิ

ส่วนเรื่องไม่สวมเกราะ ผมว่าประเด็นหลักอยู่ที่อากาศร้อนครับ เหงื่อออกง่าย ในการเดินทัพ ถ้าเดินไกลๆ ใส่เกราะอบความร้อน ผมว่าเป็นลมก่อนรบครับ อิอิ เนื่องจากบ้านเราเป็นอากาศแบบร้อนชื้น นั่งเฉยๆ เหงื่อก็ออก ไม่ต้องเกราะก็ได้ครับ แค่ใส่เสื้อยืดอยู่ห้องโดยไม่เปิดพัดลมก็เหงื่อโซกแล้ว

ทางจีน ญี่ปุ่น เกาหลี หรือ ยุโรป จะเป็นเกราะที่รัดกุม เพราะอากาศเย็น ยิ่งรัดกุมยิ่งอุ่น (แต่หนัก) ส่วนพวกอาหรับใส่เกราะเหมือนกันครับ (เข้าใจว่าร้อน แต่ร้อนแห้งๆ) แต่ที่เคยเห็นจากภาพยนตร์ และจากภาพจิตรกรรมเก่าๆ เห็นจะเป็นเกราะเบา ป้องกันส่วนลำตัวเท่านั้น

ผมเห็นว่า เรื่องอากาศร้อนเป็นปัจจัยสำคัญครับ

อย่างเรื่องสุริโยทัย หรือ ที่กำลังจะมาคือพระนเรศวร เห็นใส่เกราะกันก็ตกใจเล็กน้อยครับ อิอิ เหมือนหนังแฟนตาซีเลย แต่ไม่ได้ว่าอะไรนะครับ ก็เข้าใจว่าเป็นภาพยนตร์

แต่ที่ต้องระวังคือ คนที่ไม่เคยรู้เรื่องประวัติศาสตร์ทางยุทโธปกรณ์โบราณมากก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ก็อาจเข้าใจผิดไปได้ว่าสมัยนั้นมีเกราะแบบนี้จริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 พ.ย. 05, 10:11

 วันนี้ดิฉันจะไปร่วมสยามทัศน์เสวนา ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
เวลา 13.30
ไปชมห้องศาสตราวุธไทย
จะถามผู้เชี่ยวชาญว่าทหารไทยโบราณสวมเกราะหรือเปล่า
แล้วกลับมาเล่าให้ฟัง
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 พ.ย. 05, 17:07

 ดีใจครับคุณแจ้ง ที่ยังมีคนรู้จักเรื่องของยันต์อุณาโลม ที่มาของเครื่องหมายหน้าหมวกทหารบก  บ่นๆมาหลายปีแล้วว่ายุคนี้หาคนรู้ได้น้อยตัวเต็มที

แต่ที่ผมทราบมาอาจแตกต่างจากที่คุณแจ้งเล่าไว้

คือครั้งทราบข่าวทัพพม่าครั้งสงครามเก้าทัพ ก็ประชุมพลเพื่อเตรียมยกไปรับศึก ทหารเกิดคุยทับถมเรื่องวิชาอาคม เครื่องรางของขลัง ท้าประลองกัน จนตีกันนัว เรรวนทั้งกองทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ จึงโปรดให้ริบของดีมาจำเริญด้วยพระเพลิงทั้งหมด แล้วทั้ง 2 พระองค์ก็ทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษกผ้ายันต์อุณาโลมในพระอุโบสถวัดพระแก้ว  แจกทหารทั้งกองทัพคาดหัว ก่อให้เกิดสามัคคีธรรมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั้งกองทัพ เป็นทั้งเครื่องหมายประจำทหารหาญแห่งกองทัพไทย  เป็นทั้งนิมิตมิ่งขวัญแห่งการอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งพระบรมโพธิสตว์เจ้าผู้ปกปักรักษาพระพุทธศาสนา

ครั้นเสร็จศึก ได้ชัยชนะเป็นเด็ดขาด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็โปรดฯประกอบพระราชพิธีพระบรมราชาราชาภิเษก และโปรดให้ใช้ตราอุณาโลมเป็นตราพระจำพระองค์

ยันต์อุณาโลมนี้ มีลักษณะเป็นตัว อุ กลับหัว โดยนัยยะที่เป็น 1 ใน 32 พุทธลักษณะ คือพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง  จึงน้อมนำมาเป็นนิมิตหมายแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

นี้แหละ คือ หนึ่งในจำนวนนับไม่ได้ของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่แสดงถึงการยืนหยัดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ ชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์

ตั้งใจจะอุปถัมภก
ยอยกพระพุทธศาสนา
จะป้องกันขอบขัณฑสีมา
รักษาประชาชนแลมนตรี

จากนิราศท่าดินแดงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในระหว่างเสด็จนำทัพด้วยพระองค์เองเพื่อขับไล่ทัพพม่าในสงครามเก้าทัพ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง