เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 30908 เรื่องของคน ๕ แผ่นดิน ท่านผู้หญิงดุษฏี มาลากุล
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 18:15

เรียน คุณwandee ครับ

   ทราบว่าท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มีพี่น้องรวม ถึง 12 คน(อ้างอิงจากกระทู้ประวัติท่านผู้หญิงกลีบ  มหิธร ผู้มารดาของท่านผู้หญิงดุษฎี) อยากทราบว่า มีนามว่าอย่างไรบ้าง เรียงตามเกิดด้วยนะครับ เท่าที่ทราบจากคุณ wandee คือ
 
      จักร
      ปาณี(นายจ่ายวด ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2463)
      ศรี(คุณหญิงศรี  ไชยยศสมบัติ 2443-2535)...มารดาของ ศ.เติมศักดิ์  กฤษณามระ(สมรสกับสมจิตร  ณ สงขลา ธิดาคนสุดท้องของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ)
      ศีล                                                                                                
      วิสุทธิ์(หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ 2446-2501 ซึ่งสมรสกับถนิต  ณ สงขลา ธิดาคนโตของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ)
      ท่านผู้หญิงดุษฎี(2448-2540)

แล้วต่อจากท่านผู้หญิงล่ะครับมีใครบ้าง .......... ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 21:09

รูปหม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล ขณะเป็นนักเรียนสวนกุหลาบ ครับ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 21:28

๑๒ พี่น้องมีดังนี้ครับ

๑)  จักร  (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
๒)  ปาณี  ต่อมาเป็น นายจ่ายวด 
๓)  ศรี  ต่อมาเป็นเป็นคุณหญิงไชยยศมบัติ (ศรี  ฤษณามระ)
๔)  ศีล  (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
๕)  วิสุทธิ์  ต่อมาเป็น หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์
๖)  ดุษฎีมาลา  ต่อมาเป็น ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา  มาลากุล
๗)  วิจิตราภรณ์
๘)  ภูษนอาภรณ์  สมรสกับคุณสังวรณ์  บุญเกตุ
๙)  นิภาภรณ์  วิมลศิริ
๑๐) มัณฑนาภรณ์
๑๑) ดารา  ต่อมาเป็นคุณดารา  ไชยยศมบัติ (สมรสกับพระยาไชยยศสมบัติ)
๑๒) รัตนาภรณ์  สมรสกับนายแพทย์ใช้  ยูนิพันธ์
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 22:54

ขอขอบคุณ คุณ V_Mee มากเลยนะครับ ที่ตอบคำถามของผม เราได้เจอกันอีกแล้ว นอกเหนือจากในpantip ผมคนชุมพรนอนกรุงเทพครับ...ผมมีข้อสังเกต ดังนี้ครับ

  -น้องสาวที่ชื่อ ดารา  ไชยยศสมบัติ หรือต่อมาคือ คุณหญิงดารา  ไชยยศสมบัติ เป็นภริยาของพระยาไชยยศสมบัติ และเป็นมารดาของคุณหญิงชฎา  วัฒนศิริธรรม...ดังนั้น จะเป็นการสมควรหรือไม่ที่ผมจะถามต่อไปว่า พระยาไชยยศสมบัติท่านนี้คือ สามีของคุณหญิงศรี  ไชยยศสมบัติผู้เป็นพี่สาวแท้ๆของคุณหญิงดารา ใช่หรือไม่ครับ

  -ถ้าหากว่า คุณรัตนาภรณ์  ยูนิพันธุ์ เป็นน้องสาวคนสุดท้องของท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา เหตุใดที่ท่านเกิดห่างกันเพียง 7 ปี เท่านั้น(ท่านผู้หญิงเกิด 2448 คุณรัตนาภรณ์เกิด 2455) เพราะว่าก่อนจะถึงคุณรัตนาภรณ์ นั้น มีพี่ๆก่อนถึง 5 คน...หรือว่าผมสงสัยจนเกินควรรึปล่าวครับ..............

  -อยากถามต่อไปว่า แล้วปัจจุบันนี้ น้องๆของท่านผู้หญิงยังมีใครบ้าง ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ครับ.................ขอขอบคุณ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 09 ก.ย. 10, 02:47


คุณวีมีรบกวนดูข้อความส่วนตัวด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ


อิอิ  คุณ ritti018   เราสหายกันทั้งสิ้นค่ะ

คุณหลวงเล็กที่นับถือ  ถ้าหนังสือยังอยู่ที่โต๊ะ  และว่างราชการ  เพราะสำนักงานต่างๆเขาก็ได้ตัวกันไปแล้วนะคะ

กรุณาโพสรูปด้านซ้ายมือของหน้า ๑๕ ด้วยนะคะ  จะได้ยืนยันคำโบราณที่ว่า"หัวปีท้ายปี"  และ "มีลูกทันใช้"
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 09 ก.ย. 10, 12:14


อิอิ  คุณ ritti018   เราสหายกันทั้งสิ้นค่ะ


ผมก็เป็นแฟนคุณพี่ คนชุมพรนอนกรุงเทพ เหมือนกันครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
djkob
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 10 ก.ย. 10, 10:41

อยากทราบว่าหนังสือ "เรื่องของคน 5 แ่ผ่นดิน" ยังมีำจำหน่ายไหม๊คะ

อ่านกระทู้นี้แล้ว ทำให้ต่อมอยากรู้อยากเห็นของเด็กหัวทื่อ มีเพิ่มขึ้น

ใคร่อยากได้หนังสือมาเพิ่มพูนปัญญาค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 10 ก.ย. 10, 10:47


ค่อนข้างจะหายากแล้วค่ะ

ในงานหนังสือปลายเดือนหน้า  ลองไปหาที่ร้านที่ขายหนังสืออนุสรณ์โดยเฉพาะ

อาจจะมี  แต่ครบชุดคงยาก   ได้เล่ม ๑ ก็ถือว่าแจ่มแล้วค่ะ

สั่งร้านหนังสือมือสองไว้ก็ได้  แต่เจ้าของร้่าเองอาจไม่มีพลังขยายวงไปหาหนังสือชุดนี้ได้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 10 ก.ย. 10, 13:22


เจ้าของร้านหนังสือโดยมากจะมีความชำนาญเฉพาะทาง

พวกเขาจะต้องหาหนังสือจากแหล่งต่าง ๆ  เช่น บ้าน  ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่า(มีหนังสือแถมมาในตู้)

รถสามล้อแดง

บางรายก็บุกร้านเช่าหนังสือที่ปิดกิจการ  เพื่อกวาดหนังสือเก่ามา

บางรายก็ออกไปตามต่างจังหวัด   ตามสถาบันการศึกษาที่ห้องสมุดมีนโยบาย ทิ้งเถอะน่า ถ้าไม่มีคนมาเช็คออกอ่านหลายปีแล้ว


       สต้อคหนังสือ  กินเงินมากค่ะ  เงินจม

เมื่อเจอหนังสือเก่าที่ดีและแพง  ก็ไม่กล้าเก็บ  เพราะร้านของตนมีลูกค้าอีกระดับ

สต้อคหนังสือนี้  บอกขายกันยกร้าน เป็น เงินหลายล้านนะคะ   เป็นที่ทราบกันดีทั่วไป

บันทึกการเข้า
Pangram
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 08:43


หม่อมหลวงปิ่นกลับมาจากนอกในเดือนตุลาคม ๒๔๗๔    ขอให้สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ
มาเป็นเถ้าแก่ขอหมั้นในวันที่ ๗ ธันวาคม
แต่งงานในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๔  ที่บ้านถนนราชวิถี     เชิญเจ้านายอภิรัฐมนตรีทุกพระองค์  เสนาบดีเชิญแต่คุ้นกับเจ้าคุณพ่อ  
ญาติเชิญแต่ชั้นผู้ใหญ่

ขออนุญาตนะคะ  ปีตามนี้หรือคะ  เหมือนท่านแต่งงานก่อนกลับจากเมืองนอก   
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 11:47


หม่อมหลวงปิ่นกลับมาจากนอกในเดือนตุลาคม ๒๔๗๔    ขอให้สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ
มาเป็นเถ้าแก่ขอหมั้นในวันที่ ๗ ธันวาคม
แต่งงานในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๔  ที่บ้านถนนราชวิถี     เชิญเจ้านายอภิรัฐมนตรีทุกพระองค์  เสนาบดีเชิญแต่คุ้นกับเจ้าคุณพ่อ  
ญาติเชิญแต่ชั้นผู้ใหญ่

ขออนุญาตนะคะ  ปีตามนี้หรือคะ  เหมือนท่านแต่งงานก่อนกลับจากเมืองนอก   

สมัยนั้นวันขึ้นปีใหม่คือ ๑ เมษายน ครับ
บันทึกการเข้า
Pangram
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 12:20

ขอถามอีกครั้งนะคะ (ขอโทษที่ไม่เข้าใจค่ะ)

ลำดับเวลา
- ตุลาคม ๒๕๗๔  ..หม่อมหลวงปิ่นกลับจากนอก
- ๗ ธันวาคม (น่าจะ ๒๕๗๔) ..สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เป็นเถ้าแก่ขอหมั้น
- ๗ มีนาคม ๒๕๗๔  ..ท่านแต่งงาน..

- ๑ เมษายน ..ขึ้นปีใหม่

..ยังไม่เข้าใจค่ะ  ขอรบกวนอีกครั้งเถอะค่ะ
วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษา แต่ชื่อเดือนยังเรียกเหมือนเดิมไม่ใช่หรือคะ หรือว่าเปลี่ยนการนับเดือนปีใหม่
แป้งเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่านี่.. ร้องไห้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 15:20

ยุคนั้น สยามกำหนดให้วันขึ้นปีใหม่คือวันที่ ๑ เมษายน ดังนั้น

๓๑ ธันวาคม ๒๔๗๔ วันถัดมาคือ ๑ มกราคม ๒๔๗๔ โปรดสังเกตว่ายังเป็นปีเดิมคือ ๒๔๗๔ นะครับ

พอถึง ๓๑ มีนาคม ๒๔๗๔ วันถัดมาจะเป็น ๑ เมษายน ๒๔๗๕ ครับ เปลี่ยนปีที่ตรงนี้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Pangram
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 16:12

ขอบคุณมากค่ะ  เข้าใจแล้ว ..

อ่านประวัติท่านแล้วงงมาหลายวัน
คิดว่าต้นฉบับพิมพ์เลขผิด ก็ไม่น่าผิดหลายเล่ม
จนมาที่นี่ก็พิมพ์ว่า ๒๔๗๔ ใจแป้งก็เถียงว่าต้อง ๒๔๗๕ สิ
โชคดีที่ยังไม่คือวิสาสะเปลี่ยน พ.ศ.ไปตามที่ใจคิด  ไม่งั้นคงแย่

เคยอ่านเจอว่ายุคนั้นเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่
แต่เพิ่งทราบนี่แหละค่ะ ว่าก่อนหน้านั้นเปลี่ยน พ.ศ.เมื่อขึ้น ๑ เมษา

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ขอบคุณมากๆๆๆเลยค่ะ
(ตั้งใจรอคำตอบเลยนะคะนี่ ยิ้มกว้างๆ)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง