เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 30974 เรื่องของคน ๕ แผ่นดิน ท่านผู้หญิงดุษฏี มาลากุล
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 10:05


ชีวิตแต่งงาน

       "แต่งงานแล้วฉันรู้สึกตัวว่า  ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากเท่าใด   เพราะเจ้าบ่าวเข้ามาอยู่ในห้องนอนของฉัน

และใช้ห้องหนังสือของคุณพ่อ  ซึ่งฉันเคยใช้อยู่คนเดียวเป็นห้องทำงาน   เวลากินข้าวก็ยังกินกับคุณพ่อคุณแม่อยู่

เจ้าบ่าวบอกว่าจะต้องไปเชียงใหม่  เพื่อเป็นกรรมการสอบไล่นักเรียนชั้น ๘ ที่เชียงใหม่   ฉันนึกอยากไปด้วยเพื่อเป็นการ"ฮันนีมูน"

แต่คุณพ่อห้ามไว้   ท่านบอกให้คิดดูให้ดีว่า  สังคมเชียงใหม่จะซุบซิบว่ากระไร   เพราะฉันเคยไปเชียงใหม่ในฐานะลูกสาว

เสนาบดีสูงสุดเมื่อเดือนธันวาคม  พอปลายเดือนมีนาคมจะกลับไปอีกในฐานะภรรยาครูผู้น้อย   ซึ่งฉันก็เห็นด้วยกับท่าน 

เพราะเวลานั้นเชียงใหม่ไม่มีโรงแรมดี   ถ้าคนใหญ่ ๆ ไป  เขาก็จัดให้อยู่จวนเทศาหรือจวนเจ้าเมือง   แต่คนเล็ก ๆ

อย่างหม่อมหลวงปิ่นขณะนั้น  ก็จะต้องไปอาศัยบ้านศึกษาะิการจังหวัด"



      หม่อมหลวงปิ่นเป็นอาจารย์กรมวิชาการ  และเป็นอาจารย์พิเศษในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  แต่ได้เงินเดือนเพียง ๑๙๕ ​บาท

เมื่อได้เงินเดือน ๆ แรกภายหลังการแต่งงานก็นำมาให้ฉัน           แต่ฉันไม่ทราบจะใช้เงินจำนวนน้อยนิดนี้อย่างไร   

เพราะคุณพ่อเคยส่งถึงมือฉันเดือนละ ๒๗๐๐ บาท   ฉันจึงคืนเงินเดือนของ ม.ล.ปิ่นไป" (ยังมีต่อ  บ่ายๆจะกลับค่ะ)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 16:00



เมื่อแยกบ้านจากคุณพ่อแล้ว    ฉันก็รับมาจากม.ล.ปิ่นเพียงแค่ค่าอาหารและเงินเดือนคนใช้บ้างเท่านั้น

เงินเดือนทั้งหมดหม่อมหลวงปิ่นเก็บเอง   ฉันไม่สนใจในเรื่องการเงิน   ถ้าฉันสนใจก็คงต้องหย่าไปเสีย

นานแล้ว    เพราะหม่อมหลวงปิ่นชอบจ่ายเงินจนเกินรายได้ของตนเสมอ       ฉันมีทรัพย์ส่วนตัวเป็นเงินฝากธนาคารตั้ง

แต่ออกจากโรงเรียน   มีหุ้นรถไฟแม่กลองกับหุ้นบริษัทซีเมนต์ด้วย     ท่านผุ้หญิงเสงี่ยมแบ่งที่บ้านให้ลูก ๆ ทุกคน

และได้โอนโฉนดส่วนที่เป็นของหม่อมหลวงปิ่นให้เมื่อแต่งงานกับฉันเรียบร้อยแล้ว   ที่นั้นอยู่ที่ถนนหลานหลวง  เนื้อที่ ๒ ไร่แต่รกเป็นป่า

ฉันอยู่กับคุณพ่อ ๑ ปี จึงย้ายไปอยู่บ้านของเราที่ถนนหลานหลวง  แต่ตัวบ้านอยู่ใกล้วัดสระเกศ   ซึ่งเผาศพด้วยฟืนทุกวัน

เวลาออกมาเดินเล่นนอกเรือนก็เหม็นจนทนไม่ได้   เคยอยู่กับคุณพ่อฉันได้ออกกำลังกายในที่สดชื่น   เมื่อต้องมาอยู่กับ

กลิ่นเผาศพทุกวัน   ฉันก็ผอมลงทุกวัน"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 16:21

แต่งคำไหว้ครู


       "ในระหว่างที่สามีฉันเป็นอธิบดีนั้น    นายประยูร ภมรมนตรีเป็นรัฐมนตรีช่วยศึกษา   จอมพลแปลกเป็นรัฐมนตรีว่าการ  

นายประยูรไม่ชอบคำไหว้ครูของนักเรียน  ซึ่งใช้มาหลายสิบปีแล้ว  หาว่าไม่ทันสมัย   มีคำที่เป็นคำแสลงอยู่ในบทและยาวเกินไป

ขอให้อธิบดีให้คนแต่งให้ใหม่   อธิบดีขอให้อาจารย์ภาษาไทยในโรงเรียนเตรียมแต่ง  แต่เธอไม่ชอบใจ

จึงมาวานให้ฉันช่วย   ขณะนั้นฉันเพิ่งอ่านและเขียนหนังสือได้บ้างเล็กน้อยจึงแต่งว่า


      ข้าขอประณตน้อมสักการ  บูรพคณาจารย์ผู้กอร์ปเกิดประโยชน์ศึกษา   ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา   อบรมจริยา

แก่ข้าในกาลปัจจุบัน     ข้าขอเคารพอภิวันทน์  ระลึกคุณอนันต์  ด้วยใจนิยมบูชา   ขอเดชกตเวทิตา

อีกวิริยะพา   ปัญญาได้เกิดแตกฉาน    ศึกษาสำเร็จทุหประการ   อายุยืนนาน  อยู่ในศีลธรรมอันดี

โดยให้เป็นเกียรติเป็นศรี   ประโยชน์ทวี   แต่ชาตืและประเทศไทยเทอญ



     ฉันสั่งสามีไม่ให้บอกนายประยูรว่าฉันเป็นคนแต่งให้         นายประยูรในฐานะรัฐมนตรีบันทึกไว้ว่า   "คำไหว้ครูนี้ใช้ได้ดี  

ขอขอบคุณผู้แต่งที่ไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 17:02

บทไหว้ครูบทนี้  โรงเรียนดิฉันใช้อยู่   ตอนดิฉันเรียนมัธยมก็ท่องมาทุกปี  แต่ไม่ทราบว่าใครแต่ง  มาทราบเอาภายหลัง

คุณวันดีย่อเรื่องเก่งมาก   อ่านแล้วเราคงเข้าใจกันได้ดีว่าทำไมท่านรัฐมนตรีถึงเกรงใจท่านผู้หญิง     คงจะเกรงกันมาตั้งแต่หนุ่มๆสาวๆ ไม่ได้เพิ่งเกรงเมื่ออยู่ในวัยชรา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 17:53

สองสามีภรรยาคู่นี้ ท่านอายุห่างกันเท่าไหร่ครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 18:06

ท่านหม่อมหลวงปิ่น  เกิดวันที่  ๒๔  ตุลาคม  ส่วนท่านผู้หญิงเกิดวันที่  ๔  กันยายน ของปีถัดมาครับ

ในบั้นปลายชีวิตของทั้งสองท่าน  ท่านผู้หญิงมักจะปรารภกับผู้ใกล้ชิดเสมอๆ ว่า หอวชิราวุธานุสรณ์แย่งหม่อมหลวงปิ่นไปจากฉันแล้ว 
ที่ท่านผู้หญิงกล่าวเช่นนั้นเป็นเพราะท่านหม่อมหลวงปิ่นอุทิศชีวิตจิตใจให้กับหอวชิราวุธานุสรณ์  จนแม้เวลาที่ท่านหม่อมหลวงปิ่นป่วยเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล  ก็ยังไม่วายห่วงงานที่หอวชิราวุธานุสรณ์

เมื่อท่านหม่อมหลวงปิ่นถึงอสัญกรรม  ท่านได้กันเงินสดไว้เป็นมรดกแก่หลานๆ คนละ ๑ ล้านบาท  แต่สำหรับท่านผู้หญิงที่เป็นผู้ที่ท่านรักมากที่สุด  ท่านทำพินัยกรรมมอบเงินสดให้ท่านผู้หญิง ๑,๐๐๐,๐๐๑ บาท
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 18:26

บ้านของท่านที่ซอยไชยยศ หน้าโรงแรมอิมพีเรียล สุขุมวิทนั้น ทราบว่าเมื่อถึงอสัญญกรรมแล้วม.ล.ปิ่นท่านทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมนึกว่าเป็นเพราะท่านได้รับพระราชทานมาจากพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง  เมื่อเห็นว่าตนไม่มีบุตรธิดาก็เลยถวายคืน
 
แต่อ่านมาถึงตรงนี้ เข้าใจว่าไม่ใช่ใช่ไหมครับ ที่ดินและบ้านของท่านเป็นสิ่งที่ทั้งสองหามาด้วยลำพังตน มิใช่สินพระราชทาน
ท่านผู้รู้กรุณาเล่าขยายตรงนี้ด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 19:44

หม่อมหลวงปิ่น ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2538 ก่อนวันเกิดครบ 92 ปีเพียง 19 วัน สิริอายุ 91 ปี 11 เดือน

ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี 2540 สิริอายุ 93 ปี นับว่าเป็นคู่สมรสที่มีชีวิตยืนยาวทั้งสองท่านเลยนะครับ



ขอขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆอย่างนี้มากเลยนะครับ ผมอ่านด้วยความประทับใจ ประหนึ่งว่า ได้ดูหนังที่เราอยากดูประมาณนั้น...........ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 20:22

บ้านที่ซอยสุขุมวิท ๑๑ นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของท่านผู้หญิงครับ  ท่านซื้อที่ดินผืนนั้นตามคำแนะนำของพระยาไชยยศสมบัติ  ผู้เป็นพี่เขย   แล้วแลกสร้างบ้านลงในที่ดินแปลงดังกล่าว

เนื่องจากท่านทั้งสองไม่มีบุตรธิดาสืบสกุล  ท่านผู้หญิงจึงได้ทำพินัยกรรมยกบ้านนั้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยมีข้อแม้ว่า ถ้าท่านผู้หญิงถึงอนิจกรรมก่อนท่านหม่อมหลวงปิ่น  ก็ขอพระราชทานให้หม่อมหลวงปิ่นอยู่ในบ้านนี้ไปจนถึงอสัญกรรม  และเมื่อทั้งสองท่านหาชีวิตไม่แล้วท่านได้ถวาย "สีดา  ทองคำ" เด็กกำพร้าที่ท่านผู้หญิงขอมาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้ตกเป็นคนของหลวงด้วย 

เรื่องของสีดานั้น  ท่านผู้หญิงเล่าว่า วันหนึ่งท่านผู้หญิงและท่านหม่อมหลวงปิ่นนั่งรถยนต์ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  เมื่อรถไปถึงประตูพระกุเวรอยู่เฝ้า (ประตูด้านถนนราชวิถี)  สีดาเธอก็เปิดประตูลงไป  ตำรวจวังที่อยู่เวรหน้าประตูรีบทักทาย "พี่สีดา" โดยพลัน  แต่ไม่มีใครรู้จักท่านหม่อมหลวงปิ่นและท่านผู้หญิงดุษฎีที่นั่งอยู่ในรถ  เรื่องนี้ท่านเล่าว่า สีดามันใหญ่โตกว่าฉันกับหม่อมหลวงปิ่นเสียอีก
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 21:44

เคยอ่านเรื่องสร้อยพระศอมรกต และเครื่องประดับมรกตอื่นๆที่เป็นเครื่องประกอบ อันเป็นพระราชสมบัติในสมเด็จพระพันปีหลวง จำได้ว่าในหนังสือพระประวัติของหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล ท่านทรงเขียนไว้ว่า เป็นสร้อยพระศอที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อคราวเสด็จประพาสยุโรป พระศอ และพระราชอาภรณ์อื่นๆแต่เดิมนี้เป็นของพระจักรพรรดินีจูเจนีแห่งฝรั่งเศส ซึ่งพระนางจำพระทัยต้องจำหน่ายไปด้วยเหตุจากการปฏิวัติ

ที่กล่าวถึงสร้อยพระศอมรกตไว้อย่างละเอียดอีกทีก็หนังสือของคุณอุทุมพร สุนทรเวช (นางอมรดรุณารักษ์) เรื่องพระราชประวัติของพระพันปีหลวง แต่รู้สึกว่าไม่ได้พูดถึงแหล่งที่ซื้อ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 21:56

       หลังจากนั้นสุขภาพของท่านผู้หญิงก็ดีขึ้นเรื่อยๆ     ได้แปลมหาอุปรากรเรื่องเฟ้าสต์เป็นคำประพันธ์เรื่องแรก

ต่อมาก็แปลมาดามบัตเตอร์ฟลาย  รัตนาวลี  และอื่นๆติดต่อกันไปหลายเรื่อง


       ในระหว่างจะเสร็จสงครามฉันแต่งหนังสือได้เป็นเรื่อง ๆ แล้ว   หม่อมหลวงปิ่นเอาไปจัดพิมพ์เป็นเล่มโดยไม่ให้

ท่านผู้หญิงทราบมาให้เป็นของขวัญ   รูปตัวลครในเรื่องรัตนาวลีนั้น  ท่านผู้หญิงวานนายเหม เวชกรวาดภาพประกอบ

ท่านได้ตามไปถามสมเด็จกรมพระยานริศว่าตัวลครสาวิตรีที่ท่านเขียนตามที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกสบที่ ๖ ทรงขอให้เขียน  แต่งตัวอย่างไร

และตัวลครของท่านที่เขียนประกอบเรื่องถูกต้องเพียงไร


       สมเด็จกรมพระนริศร์ ฯ เมื่อ มิถุนายน ๒๔๘๗ มีลายพระหัตถ์มาว่า

เรื่องรัตนาวลีที่เอามาปรึกษานั้น  เห็นแต่งตัวเป็นครึ่ง ๆ กลาง ๆ อยุ่   เช่นพระเอกนุ่งกางเกงสวมเสื้อ

ในสมัยโบราณไม่เป็นเช่นนั้น   นุ่งกางเกงจริง  แต่มีผ้ารัตนกัมพล(สักหลาดแดง) ด้วยใช้คาดพุง

ลางทีมีกลีบด้วย  และมีใบเทศห้อยลงมาตามกลีบทุกคราวไป   แต่ที่เขียนกันมีผ้านุ่งด้วยที่จะนุ่งอย่าง "เลาะเตียะ"  เช่นเงาะนุ่ง  

เห็นข้างหลังมีเหน็บไว้   ลางทีมีชายเดียว   ลางทีมีสองชาย   สองชายนั้นไม่เห็นข้างหลังเห็นจะไม่มีเหน็บ   แล้วจึงคาดพุง

ด้วยผ้ารัตนกัมพล    ตัวนั้นล่อนจ้อนมีแต่สร้อยสนิมพิมพาภรณ์   ก็ไม่ประหลาดอันใดด้วยเมืองเราเป็นเมืองร้อน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 21:58

รู้จักสีดามาตั้งแต่เธอยังเป็นเด็กสาว   ติดตามท่านผู้หญิงไปที่มหาวิทยาลัยซึ่งท่านม.ล.ปิ่นดำรงตำแหน่งอธิการบดี    ท่านผู้หญิงตั้งชื่อให้ตามชื่อนางสีดา ที่อยู่ในผอบ  ไม่มีพ่อแม่
ได้ข่าวว่าสีดาอยู่ที่วังสระปทุมในตอนนี้   เวลามีงานพระราชพิธีต่างๆที่ประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จ ได้จะเจอสีดาทุกงาน   เธอเคร่งครัดเสมอในเรื่องนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 22:06

อ้างถึง
ให้ตกเป็นคนของหลวงด้วย

คุณวีหมีก็พูดซะอย่างกับถูกริบราชบาตร

สีดาก็ยังอยู่บ้านเดิมนั่นแหละครับ บ้านนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์นำมาให้เช่าทำร้านอาหารหรู คนเช่าคือพวกธรรมวัฒนะ สีดาก็ช่วยดูแลอาคารสถานที่เต็มที่ คนยังนึกว่าเป็นเจ้าของ คนแถวนั้นไม่มีใครไม่รู้จักสีดา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 23:43

กลอนเรื่องหมาเมืองไทยกินดีกว่านี่มาก


       เดินทางรอบโลก     หม่อมหลวงปิ่นเป็นหัวหน้าคณะไปประชุมองค์การศึกษาสหประชาชาติ เพราะประเทศไทย

จะสมัครสมาชิกในปี ๒๔๙๒

ท่านผู้หญิงแต่งนิราศเมืองไทยไปรอบโลก  และยังแต่งเรื่องเที่ยวเมืองอังกฤษ อีก หนึ่งเล่ม

ท่านได้ไปพักที่เมืองดาร์บี้ซึ่งลำบากมาก  อาหารการกินก็ต้องมีปันส่วน  ห้องที่อยู่ก็ไม่มีไฟ  น้ำก็ต้องอาบน้ำเย็น

ท่านผุ้หญิงแต่งนิราศเล่น   มีตอนหนึ่งท่านเขียนว่า


     "อนิจจาอาหารกันดารเหลือ           เจ็ดวันเนื้อเจ็ดวันไข่ใบหนึ่งหนอ  

เจ็ดวันเบคอนบางพอขวางคอ              นมจะกลั้วก็ไม่พอสักมื้อเดียว    

เนยก้อนนิดติดจานฝานไม่เข้า              ขนมปังสีเทาซ้ำแกมเขียว

สักการีนต่างน้ำตาลหวานเอียนเจียว      จำหน้าเซียวยอมจืดชืดไปเลย

หมาเมืองไทยกินดีกว่านี้มาก                มาอดอยากยิ่งหว่าหมานิจจาเอ๋ย

คนอังกฤษอดทนไม่บ่นเลย                   อดจนเคย ๑๐ ปีไม่มีกิน"


         ท่านจักรพันธุ์เพ็ญศิริ(ต่อมาเลื่อนเป็นพระองค์เจ้า)  กำลังจะไปเฝ้าเยี่ยมพระเจ้าอยู่หัวที่โลซาน

จำกลอน  "หมาเมืองไทยกินดีกว่านี้มาก"  ที่ท่านผู้หญิงท่องให้ฟัง  แล้วจำไปท่องถวายพระเจ้าอยู่หัว

แล้วกลับลอนดอนมาเล่าให้ท่านผู้หญิงฟังว่า   พระเจ้าอยู่หัวทรงขบขันในกลอนมาก       ท่านผู้หญิงเขียนว่า

"ฉันถือเป็นมงคล  ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงรู้จักกลอนของฉัน  ก่อนที่จะรู้จักตัวฉันจริง ๆ



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 00:23


สาธุชนย่อมไม่ยืมของ


       เรื่องราวที่ท่านผู้หญิงเล่ามีเกร็ดมากมาย  เพราะท่านเป็นผู้ที่ได้รับการต้อนรับจากทุกชนชั้น

จะเล่าไปก็ราวกับนวนิยาย          ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในงานหนังสือปีนี้เพื่อน ๆ ใน เรือนไทยคงควาน

หาหนังสือ เรื่องของคนห้าแผ่นดิน  มาได้   เจ้าของร้านหนังสือเก่าบางรายจะกระเซ้าดิฉันเสมอว่า  เล่นกระทู้เรื่องอะไรกัน

เพราะมีคนมาตามหาหนังสืออ่านหลายราย          ซึ่งสมความมุ่งหมายและตั้งใจของดิฉันที่จะคุยและแนะนำ

เรื่องหนังสือเก่าที่มีคุณค่าและหายาก




       วันหนึ่งท่านผู้หญิงคิดจะจัดการแสดงละครเรื่อง  กุศโลบาย  และจะเชิญเสด็จพระดำเนิน  ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัว

จะทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว  จะทรงอภืเษกสมรสก่อนพิธีบรมราชาภิเษก  จะเสด็จนิวัตรพระนครพร้อมพระคู่หมั้น

ตอนนั้นท่านผู้หญิงไม่ได้รับความช่วยเหลือจากใคร  นอกจากเพื่อน ๆ และ น้อง ๆ ไม่กี่คน   ท่านโมโหมากจึงเสนอว่า   

จะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด  ถ้าขาดทุนจะเป็นคนขาด   ถ้าได้กำไรจะมอบให้โรงเรียนทุกบาทสตางค์

     ท่านก็หาตัวละคร  จัดซ้อมเอง  เลี้ยงข้าวแกงกับกาแฟ เพื่อประหยัดรายจ่าย


       "มีผู้แนะนำให้ไปยืม ฉาก ไมโครโฟน และอื่น ๆนับสิบ ๆ รายการจากกรมศิลปากร  เพื่อจะใช้ในเวทีชั่วคราวที่จะ

สร้างชั่วคราวที่โรงเรียน   ฉันผู้ไม่เคยขออะไรใครก็กลายเป็นคนขี้ขอ


ฉันไปที่กองดุริยางค์  ซึ่งเคยเป็นศาลาเล็ก ๆ หลังหนึ่งในวัดพระแก้ววังหน้า           พอไปถึงก็เห็นตัวอักษรตัวโตแดง

เขียนไว้ว่า  "สาธุชนย่อมไม่ยืมของ"            ฉันบอกเจ้าหน้าที่ว่า  ฉันมาหาคุณธนิต  อยู่โพธิ์หัวหน้ากอง      พอคุณธนิต

ออกมาฉันก็บอกว่า  "คุณธนิตคะ  วันนี้ฉันไม่ได้เป็นสาธุชน"            คุณธนิตซึ่งเป็นคนยิ้มยาก  และคนกลัวกันทั้งโรงละคร 

ถามว่า  จะมายืมของหรือครับ    ฉันบอกว่าใช่แล้วยื่นบัญชีของที่จะยืมประมาณ ๕๐ รายการ  รวมทั้งม่านหน้าโรงและหลืบข้าง

หลืบล่างหลืบบนด้วย


คุณธนิตทำหน้าเฉยแล้วประชดฉันว่า  ขอยืมแบบนี้  ขอยืมโรงเสียเลยไม่ดีหรือ    ฉันแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ  และรีบตอบว่าดีแน่

ตกลงฉันขอยืมโรง  ขอยืมคนช่วยแต่งฉาก  และเจ้าหน้าที่ด้วยด้วย    คุณธนิตถามว่าจะเล่นให้ใครดู      ฉันตอบว่าจะเชิญเสด็จ

พระเจ้าอยู่หัว    คุณธนิตก็เลยหยุดประชดฉัน   และกลับมาพูดเป็นงานเป็นการอย่างดี  และร่วมงานอย่างดีกับดิฉันตลอดมา"


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 20 คำสั่ง