เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 51697 ศิลปะ วัฒนธรรมยุคท่านผู้นำ - จอมพลป.
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 09:30

โครงการพุทธมณฑลนี้ต้องใช้งบประมาณ 25 ล้านบาท แต่กระทรวงการคลังมีเงินอนุมัติให้เพียง 4 ล้านบาท ด้วยความมุ่งมั่นว่า พุทธมณฑลต้องสำเร็จทันช่วงกึ่งพุทธกาล จอมพลป.จึงได้ระดมทุน โดยมอบหมายให้พล.ต.อ.เผ่า เป็นประธานจัดสร้างพระศรีศากยะทศพลญาณจำลอง เป็นพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ สร้างพระเนื้อทองคำ 2,500 องค์ เนื้อเงิน เนื้อนาก เนื้อชิน 2,421,250 องค์ เนื้อดินเผา 2,421,250 องค์ กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททอง และ กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ณ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยตามโครงการจะสร้างให้ครบทั้งหมด 5 ล้านองค์ แต่ปรากฏว่าบล็อกแตกก่อน ต่อมาจึงได้สร้างเหรียญใบเสมาเพิ่มขึ้นอีก

หลังแล้วเสร็จก็จัด พุทธาภิเษกกันเป็นมหาพิธีที่ยิ่งใหญ่ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ทำพิธีกรรมถึง 2 ครั้ง ทางการนิมนต์ พระคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิมาปลุกเสก 108 รูป สุดท้ายได้จัดฉลองสมโภช ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ช่วง เทศกาลวิสาขปุรณมีบูชา ในปี (2500) ตรงกับวันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม 7 วัน 7 คืน...สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประธานฝ่ายฆราวาส นับว่าเป็นการ ทำธุรกิจพระเครื่องโดยรัฐบาลเป็นครั้งแรก และใหญ่สุดนับแต่มีการตั้งประเทศ

ในยุคเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้วนั้น พระเครื่องที่ออกมาถือว่ามากมายมหาศาล การจำหน่ายจ่ายแจกพระ 25 พุทธศตวรรษ ดำเนินการกันทุกรูปแบบ เนื่องด้วยจำนวนองค์พระมีมากพอๆกับจำนวนประชาชนในสมัยนั้น ประชาชนได้ร่วมทำบุญเป็นเจ้าของทั้งโดยศรัทธาและโดยเกรงใจเซลล์แมน แต่ละบ้านมีกันคนละหลายๆองค์

แล้วก็ยังเหลือตกค้าง บางส่วนยังคงอยู่ตามสถานที่ราชการ (สมัยนั้นรัฐบาลส่งพระ 25 พุทธศตวรรษ ผ่านจังหวัดและหน่วยราชการ ในการจำหน่ายสู่ประชาชน) ซึ่งก็นำไป บรรจุลงกรุเจดีย์ และ โบราณสถาน หลายจังหวัด อย่างไรก็ตาม ถือว่าบรรลุตามประสงค์ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่สามารถเริ่มต้นจัดสร้างพุทธมณฑลได้ แม้จะมาสำเร็จบริบูรณ์ในยุคของพล.อ.เปรม ก็ตาม



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 10:15

          คุณ siamese มีรูปพระพุทธรูปโดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรี อีกไหมครับ

            รออาจารย์นวรัตนพาไปดูประติมากรรมต่อจากสถาปัตยกรรม และปฏิมากรรม ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 10:20

ใช่ครับ อาจารย์ NAVARAT.C

เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ตรงกับวันจันทร์ และเป็นวันวิสาขบูชา เวลา ๑๔.๒๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินด้วยเฮลิคอปเตอร์จากพระราชวังไกลกังวัง ทรงเป็นองค์ประธานหล่อพระเกตุมาลา พระพุทธรูปประธานพุทธมณฑล และเสด็จพระราชดำเนินกลับ เวลา ๑๘.๒๐ นาที


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 10:58

ตอบคุณ SILA  ผลงานปั้นพระพุทธรูป โดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 12:07

^ ขอบคุณ ครับ

            คั่นรายการจาก  Realtime ของนสพ. Bangkok Post ฉบับวันนี้
            มีเรื่องหนังไทยรีเมค ชั่วฟ้าดินสลาย ที่สร้างจากนิยายของ เรียมเอง(มาลัย ชูพินิจ)

          แทรกมาในกระทู้นี้เพราะเนื้อหาบทความบางส่วนพาดพิงถึงยุคสมัยจอมพลป.และ
            อาจเป็นของรับประทานเล่นก่อนที่อาจารย์เทาชมพูอาจจะเล่าถึงนิยายสมัยนั้น และนักเขียน
เขียนนิยายยุคภาษาวิบัติอย่างไร ครับ

            ชั่วฟ้าดินสลาย เป็นนิยายปี พ.ศ. ๒๔๘๖ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสิบปีเศษ
ตัวนิยายเล่าเหตุการณ์ในป่าลึกห่างไกลและไม่มีเรื่องราวของเมืองกรุงหลังการเปลี่ยนแปลง
            แต่ด้วยหนึ่งในลักษณะของการทำหนังและละครของผู้กำกับ เขียนบท คือ หม่อมน้อย
(ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล) ที่จะต้องมีการตีความและเสริมบทปูมหลัง ที่มาของตัวละคร
(เช่น เหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ในละครช่างมัน ฉันไม่แคร์ และ ฉากต่างแดนที่ตาอั้นไปเรียนนอก
แล้วกลับมาร่วมในกลุ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในสี่แผ่นดิน)

          คราวนี้ ในหนังจึงมี(ในหนังสือ - ไม่มี) ฉากสั้นๆ ที่เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในกรุง
ที่ยังก้องอยู่ในมโนนึกและสำนึกของตัวละครโดยเฉพาะยุพดีที่เป็นสาวจากเมืองกรุงมาอยู่ป่า
ชอบฟังเพลงฝรั่ง และอ่านงานของคาริล ยิบราน

ชั่วฟ้าดินสลาย ครั้งแรก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 12:10

หม่อมน้อยเห็นว่าเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในกรุงเทพฯ เป็น

           fitting backdrop for an unconventional, taboo-flirting woman like Yupadee,
who flees the brutality of the real world into the lull of fantasy provided by
Western books and music.

         "But what Yupadee thinks she knows about love and life is superficial.
She only reads about it and fantasises about it. She reads Khalil Gibran and
understands only the shell of it, not the essence," says Mom Noi.

         "To me, this is like what most of us do with democracy.
We know only the surface of it but we keep talking about it.
And when we can't control it, we get a lot of people into trouble,
like Yupadee did. I don't think that has changed over the years."

http://www.bangkokpost.com/entertainment/movie/194377/from-here-to-eternity

ชั่วฟ้าดินสลาย ครั้งล่า สไตล์หม่อมน้อย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 12:13

พอดีไฟฟ้าที่บ้านดับไป2-3ซั่วโมง กระทู้ของผมตามไม่ทัน ขอโทษครับที่ขอย้อนกลับไปนิดนึง

รูปของคุณหนุ่มสยาม แสดงให้เห็นรูปแบบอาคารที่สร้างขึ้นมากในสมัยจอมพลป. ก็เพราะว่าดำรงตำแหน่งในระยะแรกนั้นเป็นสิบปี จึงมีอาคารทรงกล่องเกิดขึ้นมากมาย ส่วนใหญ่แล้วคนใช้อาคารนั้นจะไม่ค่อยชื่นชอบเท่าไรเพราะมันไม่เหมาะกับเมืองร้อน ฝนตกชุกอย่างบ้านเรา ลองคิดถึงคนซิครับ ถ้าไปยืนตากแดด สวมงอบกับสวมหมวกแก๊ป ฝนตกแดดออกอะไรจะสบายกว่ากัน

หลังคาแบนแบบตึกแถว นอกจากจะร้อน(เพราะไม่มีแอร์) ก็ยังรั่วซึมแก้ปัญหาไม่ตก หลายตึกเช่นคณะสถาปัตย์จุฬาเองแท้ๆ ยังแก้ด้วยคำตอบสุดท้าย คือมุงหลังคาจั่วทับไปบนหลังคาแบน สิ้นเรื่องสิ้นราวไป หน้าต่างก็ต้องมาเติมกันสาด เพราะแดดทะลุทะลวงมาถึงกลางห้อง ฝนสาดมาก็เปียก ในที่สุดโมเดิร์นอาคิเต็กเจอร์ก็ไปไม่รอด และคนก็ไปด่าจอมพลป.กันยกใหญ่ เพราะชอบสร้างไว้เยอะนั่นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 12:15

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่จอมพลป.โดนปัญญาชนวิจารณ์อย่างหนักหน่วงก็คือ การเข้าไปบูรณะโบราณสถานในเมืองเก่าทั่วๆไป ยุคนี้เป็นยุคที่กำแพงเมืองโบราณถูกรื้อทิ้งมากที่สุด เช่นลำพูน แพร่ น่าน เพราะท่านไม่ชอบอะไรที่ดูเก่าๆชำรุดทรุดโทรม วิหารพระมงคลบพิตรที่คุณหนุ่มสยามเอาภาพให้ดูนั่นเดิมเป็นเช่นนี้ ผมโตพอทันจะได้เห็น จำได้ว่าทางกรมศิลปากรแผ้วถางเตียนแล้ว ในส่วนที่เป็นตัววิหารสามารถเข้าไปนั่งกราบพระได้ คล้ายกับที่เมืองเก่าสุโขทัยในปัจจุบันที่ทำถูกต้องตามหลักของการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ส่วนวิหารพระมงคลบพิตรนั้น ท่านสั่งให้สร้างตัววิหารขึ้นใหม่เลยโดยไม่ฟังเสียงทัดทานของใครทั้งสิ้น ตอนเสร็จใหม่ๆขนาดผมเป็นเด็กยังไม่ชอบ มันดูจอมปลอมชอบกล ขัดแย้งกับทัศนียภาพของเมืองเก่า ที่แม้จะเป็นทรากปรักหักพัง แต่ก็มีเสน่ห์ในตัวของมัน

แต่เดี๋ยวนี้ดูดีขึ้น เพราะมีการปรับปรุงมากมายในสมัยหลังๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 12:16

เจดีย์เจ้าสามพระยาก็เช่นกัน อยู่ดีๆก็มีอะไรขาวโพลน เป็นสิ่งแปลกปลอมที่งอกทะลุขึ้นมาผิดสภาพแวดล้อม ตอนเสร็จใหม่ๆน่าเกลียดมาก ดูเหมือนจะไม่ได้รับคำชมเลย ท่านก็ท้อๆ ไม่บูรณะที่ไหนเพิ่ม เลยเป็นโชคดีของกรุงเก่า มิฉะนั้นอาจจะสอบตกไม่ได้เป็นมรดกโลกตั้งแต่เสนอครั้งแรก

เดี๋ยวนี้เจดีย์ทั้งสามดูดีขึ้น เพราะเสน่ห์แห่งกาลเวลาได้บ่มให้ความหยาบกระด้างของวัสดุให้บรรเทาความกร้าวร้าวลง ของบางอย่างนั้นความเก่าดูดีกว่าความใหม่ โบราณสถานและโบราณวัตถุนั้น แน่เสียยิ่งกว่าแน่ที่ยิ่งเก่ายิ่งมีราคา ไม่ใช่เก่าสกปรกรกเลอะเทอะนะครับ เก่าแต่บำรุงรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมอย่างดี นั่นคือการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง ไม่ใช่อนุรักษ์ของเก่าด้วยการทุบทิ้งให้หมดแล้วสร้างใหม่ ท่านผู้อ่านลองสังเกตุตัววิหารมณฑปเดิมสิครับ ถูกทุบไปแล้ว ในภาพปัจจุบันที่เห็นเหมือนเสากำแพงโบราณนั่นน่ะ สร้างขึ้นใหม่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 12:19

โบราณสถานหลายแห่งในโลกเขาทิ้งสภาพปรักหักพังไว้เดิมๆ แต่เพื่อสร้างมโนภาพแก่ผู้มาเยี่ยมชมว่า แต่ก่อนนั้นมีรูปลักษณ์อย่างไร เขาจะมีมุมหนึ่งที่มีภาพเขียนใส่กระจกไว้ ใช้หลักการของหนังการ์ตูน มองภาพผ่านกระจกที่ว่าจะเห็นภาพข้างหน้าในทัศนียภาพที่เป็นอย่างนั้นเมื่อแรกสร้าง

คล้ายๆกับการซ้อนภาพที่ผมนำมาให้ดูในภาพข้างบน และในภาพนี้ คือวัดไชยวัฒนารามครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 12:38

ขอบคุณอาจารย์ NAVARAT.C  สำหรับการอธิบายเรื่อยการบูรณะกรุงเก่า วัตถุโบราณคงกระจายหายไปมากเลยนะครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 13:27

วิหารพระมงคลบพิตร เมื่อครั้งอาจารย์ NAVARAT.C เข้าไปกราบคงมีสภาพเป็นอย่างนี้เป็นแน่ มีการจัดแต่งภูมิทัศน์ให้เรียบร้อยสวยงาม ท่อนแขนขวาองค์พระได้ถูกต่อเข้ากับองค์พระเป็นที่เรียบร้อย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 13:31


          อาจเป็นของรับประทานเล่นก่อนที่อาจารย์เทาชมพูอาจจะเล่าถึงนิยายสมัยนั้น และนักเขียนเขียนนิยายยุคภาษาวิบัติอย่างไร ครับ
            

          อย่างที่เล่าไว้ข้างบนนี้แล้วค่ะ  ว่าภาษาวัธนธัมเป็นหนามยอกอกชิ้นใหญ่ของนักเขียนในยุคสงครามโลก     เพราะนอกจากอักขระที่ต้องสะกดกันใหม่เหมือนคนเขียนผิดทุกบรรทัดแล้ว    สรรพนามก็เป็นอีกอย่างที่บั่นทอนความละเมียดละไมในภาษาพูดของพระเอกนางเอกลงไปไม่มีเหลือ
         นักเขียนใหญ่บางคน ( น่าจะเป็นยาขอบ)  ถึงกับเลิกเขียนเรื่องร่วมสมัยไปเลย เพราะทนไม่ได้ที่จะพระเอกสารภาพรักกับนางเอกว่า "ฉันรักท่านจ้ะ"   
             ส่วนกวีนั่นไม่ต้องพูด  ถ้ายึดถือกันเคร่งครัด  โคลงศรีปราชญ์ก็คงจะถูกพิมพ์ใหม่ จาก เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม  ถึงพรหม  เป็น ฉันร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม  จากนั้น  กวีก็จะแล้งแหล่งสยามไปเอง

           อย่างไรก็ตาม ดิฉันขอบอกให้คุณ SILA ใจชื้นขึ้นมาอีกนิดหนึ่งค่ะ  ว่า  ในด้านเพลงสุนทราภรณ์  ขุนพลเพลงอัจฉริยะอย่างครูแก้วและครูเอื้อ ก็ยังอุตส่าห์ผลิตงานสนองวัธนธัมขึ้นมาจนได้   
       ครูเอื้อไม่มีปัญหาเท่าไรหรอก เพราะจอมพลป.ท่านไม่เข้ามาก้าวก่ายเรื่องทำนองเพลง  ท่านไม่ชอบเพลงไทยเดิม แต่ถ้าดัดแปลงไทยเดิมเป็นไทยสากล -ท่านชอบ  ดูเป็นเรื่องเกลียดตัวกินไข่อยู่บ้าง ถ้าจะมองกันไป
            แต่เนื้อร้องที่ครูแก้วเขียนเป็นประจำนี่สิ   ต้องยกนิ้วโป้งให้สองมือว่าท่านหาทางลุยของท่านเข้าไปจนได้
            ขอยกเพลงมาให้เห็นชัดๆนะคะ  ชื่อ "ภาษารัก"
     คำร้อง แก้ว อัจริยะกุล                  ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน       


 
  หนุ่มสาวเมื่อถึงคราวชื่นชู้
ต่างคนต่างรู้กัน รู้เท่าทันความนัย
ดวงตาแลดูก็รู้ดวงใจ
ความหมายสิ่งไรรู้ได้ที่ในแววตา

หากแม้กิริยานิ่งเฉย
แต่ตาเปิดเผยความ อ่านนัยตามภาษา
อันดวงตาก็คือสื่อหัวใจ มีอะไรระบายด้วยสายตา
แน่นอนหนักหนา  เหมือนวาจารักใคร่

ท่อนข้างบนนี้ไม่เท่าไหร่  ไพเราะด้วยลีลาคำตามแบบครูแก้ว  แต่ฉ็อทเด็ดอยู่ข้างล่าง

ท่านมองฉันเพลินเนิ่นนาน ขอลาปวงท่านมินานเท่าใด
ตาเท่านั้นฝากไว้ใช้แทนดวงใจรักใคร่รำพัน
ท่านมอง ฉันมองจ้องกัน
รู้เชิงกันมั่น รู้กันด้วยตา

เพลงนี้ นักร้องหญิงร้องคู่ คือคุณชวลี ช่วงวิทย์  กับคุณมัณฑนา  โมรากุล   
คนแต่ง ต้องใช้ ฉัน ท่าน ตามรัฐนิยมเปี๊ยบ



           


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 13:34

รัฐนิยมสมัย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 13:37

วกกลับเข้ามาหัวข้อเดิมนะครับ นำภาพศาลาสันติธรรม เชิงสะพานมัฆวานฯ เห็นว่าการก่อสร้างสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบเดียวกันกับยุคสมัยจอมพล ป.


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.122 วินาที กับ 20 คำสั่ง