เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 51609 ศิลปะ วัฒนธรรมยุคท่านผู้นำ - จอมพลป.
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 14:07

ฟังเพลงไทยเดิม แสนคำนึง ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.phrapiyaroj.com/homrong2/page3.html
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 14:18

เรื่องการปรับปรุงระบบการเขียน หากอ้างว่าเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้นั้น ผมยอมรับได้ครับ

จีนซึ่งมีการปรับปรุงในเวลาไล่เลี่ยกัน (และก็โดนสวดพอๆกัน) ส่งผลให้คนอ่านออกเขียนได้ง่ายขึ้นจริง

ลาวก็มีการปรับปรุงเหมือนกัน นัยว่ารับแนวคิดไปจากไทย(?) ผมไม่แน่ใจว่าที่จุดเริ่มต้นนั้นเป็นอย่างไร แต่ถึงปัจจุบัน ระบบการเขียนของลาวนั้นมีหลักมีเกณฑ์ชัดเจนและช่วยให้คนลาวไม่ต้องกังวลกับเรื่องสะกดผิดสะกดถูกอีกต่อไป

แล้วของเรา ? ผมไม่อยากจะติเรือทั้งโกลน แต่เห็นเขาเก็บ ธ กับ ภ เอาไว้ ผมก็รับไม่ได้แล้วครับ

ไม่รู้จะเหลือไว้ทำอะไร หาหลักหาเกณฑ์ไม่ได้เลย แทนที่จะทำให้มันง่าย กลับต้องมาคอยจำข้อยกเว้นไว้อยู่ดี
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 14:24

ลงชื่อเข้าชั้นเรียน ครับ

อ่านภาสาวัธนธัมแล้วชวนมึน ต้องอาศัยคู่มืออักสรภาสาวัธนธัม

      เปนคู่มือสำหรับการเขียนอักสรแบบไหม่ โดย อุทัย พูลมา พิมพ์ที่โรงพิมพ์ดำรงธรรม
ถนนสมเด็ดเจ้าพระยา ธนบุรี พ.ส. 2485


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 14:38

ที่จิงถ้าได้ยินยังไง  ก้อเขียนไปตามนั้นจะง่ายกว่า  เหมือนภาสาในเนท    ยิ้ม

เก็บ ท ไว้ตัวเดียว  พ ก็ตัวเดียว
เช่น วัทนทัม   พัทนาการ  คุณศิลาก็ต้องชื่อคุณสิลา  เก๋กว่าชื่อกำทอนอยู่ดีละค่ะ
ถ้าเรายังใช้กันมาจนทุกวันนี้ ชื่อคุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  จะสะกดยังไงนะ?   
อพิสิท เวดชาชีวะ  งั้นหรือคะ ?
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 14:48

ผมคิดว่า ถ้าได้ยินแล้วยังไม่แน่ใจว่าต้องเขียนหย่างไรถือว่าล้มเหลวแล้วคับ

ต้องเอาหย่างลาว อะพิสิด เวดชาชีวะ

แม่กด จะเอา ท เอา ช มาเป็นตัวสะกดทำไมเล่าคับ

ยิงฟันยิ้ม

จะว่าไป แบบลาวนี่ก็ง่ายดีนะคับ ไม่เห็นต้องแก้สักกี่คำเลย

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 15:23

จิงค่ะ ขอสะกดตามเสียงไห้คุณม้าอ่านนะคะ
ปันหาคือพาสาจอมพนปอ ไม่ไช่ว่าได้ยินหย่างไร  ก้อเขียนตามนั้น  ยังรักสาคัมบางคัมที่ซั้มเสียงไว้  เลยทำไห้เขียนยาก  เขียนง่ายต้องเขียนหย่างดิฉันสะกดค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 15:54

คุณศิลาตั้งประเด็นจากกระทู้เก่าให้พูดถึงศิลปวัฒนธรรมสมัยจอมพล ป. ที่ว่าเป็นด้านสว่าง(?) ของท่าน    ดิฉันยังไม่พบว่าด้านอื่นสว่างกี่แรงเทียน  แต่ในด้านภาษา รู้สึกว่ามืดมากกว่าสว่าง    เพราะการสะกดแบบใหม่จะว่าทำให้ง่ายขึ้นมันก็ไม่เชิง    เพราะหลักเกณฑ์ไม่ชัดเจน  เห็นด้วยตามที่คุณม้าคอมเม้นท์มา
ถ้าแก้ให้ง่ายสุดคือสะกดตามได้ยิน ไม่ต้องไปคำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น     เสียง  ท พ  ย ตัวเดียวพอแล้ว   แต่ไปเก็บ ถ ธ เอาไว้ให้รุงรังเปล่าๆ   ญ ก็ตัดเชิงออก ทำไมก็ไม่รู้
สิ่งสำคัญอีกอย่างของรูปภาษา คือความรู้สึกขณะอ่าน     จริงอยู่  คำก็ออกเสียงเหมือนกันระหว่าง"อะพิสิด" กับ "อภิสิทธิ์"  แต่สัมผัสทางสายตาไม่เหมือนกัน   ตัวอักษรที่มีที่มาจากบาลีสันสกฤตประทับลงในความรู้สึกของคนไทยภาคกลางมาหลายร้อยปีแล้วว่าขลังและสง่างาม   อาจเป็นเพราะเป็นภาษาของพระไตรปิฎก  ผ่านศรัทธาในพระพุทธศาสนามาอีกชั้นหนึ่ง    นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่ต้องมาเรียนกันอย่างเวียนหัว  ทั้งหมดนี้ ทำให้ภาษาวัธนธัมไม่ประทับใจคนไทย   เมื่อพ้นยุคจอมพลป.  ถูกยกเลิกไป ก็ไม่มีเสียงคัดค้าน
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 16:07


สิ่งสำคัญอีกอย่างของรูปภาษา คือความรู้สึกขณะอ่าน     จริงอยู่  คำก็ออกเสียงเหมือนกันระหว่าง"อะพิสิด" กับ "อภิสิทธิ์"  แต่สัมผัสทางสายตาไม่เหมือนกัน   ตัวอักษรที่มีที่มาจากบาลีสันสกฤตประทับลงในความรู้สึกของคนไทยภาคกลางมาหลายร้อยปีแล้วว่าขลังและสง่างาม   อาจเป็นเพราะเป็นภาษาของพระไตรปิฎก  ผ่านศรัทธาในพระพุทธศาสนามาอีกชั้นหนึ่ง    นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่ต้องมาเรียนกันอย่างเวียนหัว  ทั้งหมดนี้ ทำให้ภาษาวัธนธัมไม่ประทับใจคนไทย   เมื่อพ้นยุคจอมพลป.  ถูกยกเลิกไป ก็ไม่มีเสียงคัดค้าน

เห็นด้วยเป็นหย่างยื่งคับ-ขอบิน ทะ บาด ตัว ท ธ พ ภ  ไว้ก่อนนะคับคุนเคซี่ฮ้อด

 ยิงฟันยิ้ม



หลังคาโบสถ์ที่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงษ์  ย่อมต่างจากหลังคาเรียบๆแน่นอน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 16:36

ญ ก็ตัดเชิงออก ทำไมก็ไม่รู้

ตรงนี้ท่านจอมพลมีความเห็นตรงกับจิตร ภูมิศักดิ์




อยากทราบเหตุผลของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่เห็นว่าตัว ญ ไม่ควรมีเชิงครับ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/01/K5040700/K5040700.html

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 16:49

เมื่อวานได้ประชุมร่วมกับคณะทำงานจัดทำสารคดรเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ที่เพิ่งกลับจากญี่ปุ่น  ทีมงานแจ้งให้ทราบว่า ได้พบจดหมายเหตุที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นบันทึกเรื่องล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสญี่ปุ่นเมื่อร้อยกว่าปี  แต่ปัญหาใหญ่คือ จดหมายเหตุนั้นบันทึกไว้ด้วยอักษรตันจิโบราณสมัยเมจิ  ซึ่งคนญี่ปุ่นปัจจุบันอ่านไม่ได้  เอกสารราว ๕๐ หน้า อ่านได้แต่เฉพาะพระนาม "วชิราวุธ" เท่านั้น  เรื่องการเรียนภาษาไทยจึงน่าจะเป็นยาขมสำหรับชาวญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นแน่

สำหรับเอกสารจดหมายเหตุชุดดังกล่าวได้ทราบว่า มีนักเรียนไทยที่เคยไปเรียนวรรณคดีญี่ปุ่นที่ญี่ปุ่นรับจะช่วยอ่านและแปลให้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
pa15
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 17:42

มารายงานตัวเข้าเรียนค่ะ  พอได้ติดตามอ่านไม่ทราบว่าจะหัวเราะ หรือ ร้องไห้ดีกับภาษาไทยที่ใช้ในสมัยนั้น ความสวยงามของภาษาไทยหายไปหมด แต่ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านนะค่ะ ที่ไขความกระจ่างถึงหนังสือเก่า ๆ ที่เคยเห็นและสงสัยว่าทำไมเขาสะกดอย่างนั้น  ตอนนี้ทราบแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 01 ก.ย. 10, 19:12

ตัวอักษรขอมมีเชิงอยู่มากมายหลายตัว   ไทยเราก็ตัดออกไปเกือบทุกตัว 
ถ้าเหลือเชิง ญ เอาไว้  ไม่ให้เวลาเขียนหวัดๆ ไปสับสนกับ ณ  ดิฉันก็ไม่รังเกียจเชิงหรอกค่ะ
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 01:24

เข้ามาลงชื่อรอบดึกครับ

แสดงตัวว่าเพิ่งจะเข้าเรียน มาช้าไปหลายวัน
พอดีว่า ต้องไปเป็นเจ้าภาพสามคืนและเป็นประธานทอดผ้าฯให้กับลูกน้อง วันนี้เพิ่งเสร็จกิจ


เห็นหัวข้อกระทู้แล้ว ก็เลยต้องลงชื่อซิทอิน นั่งอ่านนั่งเรียนครับ

ว่าแล้วก็ ขอถามคำถามข้อเดียว แต่อาจจะเป็นสองคำถามนะครับ


ผมจำไม่ได้ว่า ได้ยินหรือได้อ่านมาจากใหน

แต่ท่านๆในวงการสถาปัตยกรรม เคยเล่าให้ฟังว่า ศาลากลาง(จังหวัด)สำเร็จรูป  และ โบสถ์สำเร็จรูปแบบ ก ข ที่เราเห็นกันได้ทุกหัวระแหงในเมืองไทย
ก็ล้วนแล้ว เป็นผลพวงจากดำริ และ ข้อกำหนด จากสมัยของท่านผู้นำฯ

ไม่ทราบว่า จริงแท้แค่ใหนครับ

ผมว่า ท่าน จขกท น่าจะให้ความเห็นได้ในฐานะสถาปนิกผู้ใหญ่นะครับ
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 09:41

ก็จริงอยู่ครับ สมัยจอมพลป.มีแบบสำเร็จรูปดังว่าออกมาจริงๆ พอสร้างออกมาแล้ว คนชอบก็มีแต่คนไม่ชอบมากกว่า

ก่อนสงครามจะเริ่มต้นก็เข้าสู่ยุคของModern Architectureแล้ว เพราะวัสดุก่อสร้างใหม่ๆสามารถทำโครงสร้างได้แข็งแรงขึ้น เช่นเหล็กเมื่อเทียบกับไม้แล้วเมื่อนำมาสร้างอาคาร ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีเสาหรือคานที่ใหญ่โต และถี่เหมือนเดิม ส่งผลให้หน้าตาของสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลงไปด้วย และในยุคนี้ ความต้องการประโยชน์ใช้สอยของอาคารก็มีมากขึ้นกว่าเดิมที่อาคารขนาดใหญ่ จะออกแบบเพื่อเป็นโบสถ์วิหารของพระเจ้า หรือวังของพระจักรพรรดิ์เท่านั้น

ฮิตเลอร์เป็นคนแรกๆที่ต้องการรูปแบบสถาปัตยกรรมใหม่ๆที่สะท้อนถึงพลังอำนาจของอาณาจักรไรซ์ที่3 และAlbert Speer คือสถาปนิกที่ตีโจทย์แตกได้ใจฮิตเลอร์ จอมพลป.ก็จึงมีหลวงบุรกรรมโกวิท(ล้อม บุรกรรมโกวิท) อธิบดีกรมโยธาเทศบาลเป็นสถาปนิกคู่ใจในสมัยท่านผู้นำพาไทยไปสู่มหาอำนาจ




บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 09:48

มาลงชื่อเข้าเีรียนตอนสาย ๆ ค่ะ

กระทู้นี้จะต้องเป็นกระทู้คุณภาพคับแก้วที่ต้องเก็บสะสมค่ะ

ทุกอย่างที่เขียนกันในนี้ จากหลักฐาน จากการวิเคราะห์และแสดงความเห็นที่หลากหลาย

ต่อไปภายหน้า หากจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย(ซ้ำบ่อย ๆ )

ใครจะทำอะไรแบบท่านจอมพลคนหัวปีจะได้คิดก่อนทำให้ดี ๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง