เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 51729 ศิลปะ วัฒนธรรมยุคท่านผู้นำ - จอมพลป.
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 21:59

อาคารบางหลัง ได้ออกแบบและก่อสร้างไปบ้างแล้วแต่สมัยก่อน เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯได้ทรงวางศิลาฤกษ์คณะอักษรศาสตร์ที่เรียกว่าเทวาลัยไว้ ก็สร้างต่อมาจนเสร็จ รวมทั้งหอประชุมที่มาแล้วในสมัยหลังด้วย พวกนี้เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สร้างด้วยโครงสร้างแบบใหม่
 
แต่อาคารที่ออกแบบหลังการปฏิวัติได้ฉีกรูปโฉมแบบโบราณดังกล่าว  มาเป็นไทยประยุกต์ คล้ายสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของยุโรปที่เคยเอามาสร้างกันอยู่แล้ว เช่นหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างขึ้นสมัยจอมพลป.เป็นอธิการบดี และเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย ท่านมีส่วนผลักดันมากให้มีรูปแบบเป็นเช่นนั้น อาคารร่วมสมัยในยุคจอมพลป.จะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ทั้งสิ้น

ตรงนี้เองที่บางคนจะเรียกว่าเป็นสถาปัตยกรรมจอมพลป. แต่ในด้านวิชาการก็เรียกรวมๆกันไปว่าสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สถาปัตยกรรมจอมพลป.น่าจะหมายถึงพวกแบบมาตรฐานที่ส่งไปสร้างศาลากลาง และที่ทำการของรัฐบาลที่ออกแบบอย่างลวกๆมากกว่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 22:02

หมดยุคของจอมพลป. แต่งานก่อสร้างที่กำลังทำอยู่ หรือพวกแบบแล้วเสร็จ ได้งบประมาณไปแล้วก็ทำต่อไป โรงละครแห่งชาติที่มาเสร็จในสมัยจอมพลสฤษดิ์ได้พยายามจะประยุกต์สถาปัตยกรรมไทยลงไปในอาคารที่ต้องสนองวัตถุประสงค์ในการดูที่ชัดเจนทุกมุมมอง และการฟังที่ไม่มีจุดบอดหรือจุดสะท้อน ไม่สอดคล้องและมีปัญหาตลอดแม้ปัจจุบันก็แก้ยังไม่ตกอีกหลายจุด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 22:05

แฟชั่นของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ก็เปลี่ยนไปมีที่ใหม่กว่าตลอดเวลา ตึกกล่องไม่มีใครสร้างอีกต่อไป หลังจอมพลป.สถาปนิกมีอิสระมากขึ้นในการออกแบบอาคารที่สามารถสนองประโยชน์ใช้สอยได้อย่างตรงไปตรงมา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 22:07

รวมทั้งอิสระที่จะออกแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ที่ไม่โดนตีกรอบให้ต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 22:07

แฟชั่นของสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ต้องตามยุคสมัยให้ทัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 22:08

สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ถูกนำมาสนองการใช้เพื่อศาสนา เช่นเดียวกับเป็นจุดขายสำหรับอาคารบางอย่าง เพื่อแสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น


ผมเพียงแต่อยากจะบอกว่า สถาปัตยกรรมจอมพลป.ถึงมี ก็มีในยุคสมัยสั้นๆ การเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ มิใช่ไม่มีจอมพลป.แล้วจะเกิดไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติที่มันจะเกิดขึ้นเอง ดังนั้นหากรัฐบาลให้เพียงนโยบาย เช่นกำหนดเพียงว่าอาคารประเภทใดบ้างที่ควรจะต้องมีเอกลักษณ์แสดงความเป็นไทย โดยไม่บังคับว่าจะต้องประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกา ก็จะได้สถาปัตยกรรมที่ดีกว่าที่ผ่านมาแน่นอน


บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 23:07

โอ้โห   
ได้กอบโกยความรู้ด้านสถาปัตยกรรมสมัยท่านผู้นำฯ
(ซึ่งผมเคยได้ยิน บางท่านเรียกว่า "สัญสถาน อันเป็นผลิตผลจากยุคเผด็จการและการคลั่งแบบไทยเชื้อชาติเดียว")


ต้องขอบพระคุณ คุณครู Navarat.C ที่กรุณาครับ

และต้องขอบพระคุณ คุณครูท่านอื่นๆทุกท่านเช่นกันครับ


ทีนี้ เราก็ได้เรียนเรื่องภาษา เรื่องสถาปัตยกรรม ยุคท่านผู้นำกันแล้ว
จากหัวข้อ ศิลปะ วัฒนธรรม ยังเหลืออีกหลายเรื่อง เหมือนกันนะครับเนี่ย

คิดว่า อีกไม่นานคงถึง เรื่องนาฎศิลป์ เรื่องธรรมเนียมปฎิบัติและวิถีชีวิต ฯลฯ

รอให้คุณครู จบเรื่องตึก อาคาร ประติมากรรม ปฎิมากรรม ฯลฯ กันก่อน
จะว่าไปหากไม่เป็นการแทรก ก็อยากจะขอเรียนถามท่านกูรู เพิ่มเติม นะครับว่า
"ในสมัยนั้น มีการสร้างพระพุทธรูปใหม่ บ้างหรือไม่ครับ"

ขอบพระคุณครับ
 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 08:00

ขอนำชมอาคารเรียนที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพุทธศํกราช ๒๔๘๑ เนื่องจากเป็นความฉลาดของการออกแบบช่องระบายอากาศ ทำเป็นตัวเลขติดไว้ เลยได้ทราบถึงช่วงเวลาดังกล่าว ก็คงตกอยู่ในช่วงสมัยจอมพล ป. (รุ่น1) ปัจจุบันอาคารนี้ถูกเรียกว่า "ตึก ๒" ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ตอนสมัยเรียนจำได้ว่าตัวอาคารแข็งแรงมาก ผนังคอนกรีตหนากว่าธรรมดา และพื้นหินขัดแน่นหนามาก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 08:03

ต่อมาเป็นอีกตึกหนึ่งของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เช่นเดียวกัน ปัจจุบันกลายเป็นห้องสมุดของโรงเรียน "ตึก ๔" ตัวอาคารออกแบบสองชั้น มีหน้าต่างและช่องแสง ทรงกล่อง เรียบง่ายเช่นกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 08:04

อ้างถึง
"ในสมัยนั้น มีการสร้างพระพุทธรูปใหม่ บ้างหรือไม่ครับ"

มีครับ องค์ที่สำคัญที่สุดที่จอมพลป.มีส่วนเป็นอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นคือ องค์ที่ประดิษฐานใจกลางพุทธมณฑลชื่อ พระศรีศากยะทศพลญาณฯ  เป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกล พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทองสำริดหนัก 17,543 กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระ รวม 137 ชิ้น แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูป เพื่อเชื่อมรอยต่อและปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปสูง 15.875 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปลีลาหล่อด้วยทองสำริดที่มีลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์

พุทธลักษณะดังกล่าวได้ประยุกต์มาจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งในตอนแรกที่ออกแบบไว้นั้น พระพุทธรูปมีความสูงเพียง 2.14 เมตร แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธศาสนาอายุครบ 2,500 ปี จึงได้มีการขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น 2,500 กระเบียด (1 กระเบียด เท่ากับ 1/4 นิ้ว) ดังนั้น พระศรีศากยะทศพลญาณฯ ในปัจจุบัน จึงมีความสูงถึง 15.875 เมตร ใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ 7.5 เท่า

“พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” เป็นนามพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทรงเททองพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2524 ระหว่างกำลังดำเนินการสร้างอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการสร้างองค์พระพุทธรูปด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 08:06

ชนกันกับคุณหนุ่มสยาม เชิญต่อเลยครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 09:11

ต่อนะครับ อาจารย์ NAVARAT.C, เห็นตอบท้ายไว้เรื่องพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. ก็เลยจะขอต่อยอดไปเลยเสียทีเดียว จะได้ต่อเนื่องกันไป

พระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. คือ พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย สร้างไว้ พ.ศ. ๒๔๙๗ สำหรับประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ซึ่งศิลปะแม้ว่าจะดึงเอาอิทธิพลต้นแบบจากสุโขทัย แต่กิริยา หาได้นิ่มนวล อ่อนโยนเหมือนสมัยนั้นไม่ แต่ต้องฉับไว เชื่อมั่นในตัวผู้นำ ช่างที่ปั้นจึงปั้นองค์พระพุทธรูปปางลีลา ดูแล้วเสมือนทรงมีพลังก้าวย่างอย่างว่องไว มากกว่าสมัยโบราณ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 09:17

และจากการที่พระพุทธศาสนา อยู่ยั่งยืนมาจวนครบ ๒๕๐๐ ปี คณะรัฐบาลมีมติที่ก่อสร้างอนุสรณ์สถานในการนี้ โดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้มีการออกแบบ หล่อร่างพระพุทธรูปไว้ถึง ๔ แบบ โดยแบบหนึ่งคือ แบบเสมือนจริง สูง ๘๐ ซม. แต่คณะกรรมการได้เลือกตัดสินใจใช้แบบศิลปะสุโขทัยประยุกต์มากกว่า จึงมีมติจัดสร้างพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย ขึ้นมา


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 09:19

ขออวยพรให้กระทู้นี้ อายุยืน...ยาวววววว และขออัญเชิญผู้รู้ร่วมกันระดมข้อมูลมาไว้ที่นี่มาก ๆ ค่ะ

พระพุทธรูปที่คุณ Siamese นำมาให้ชม ปางลีลา (แบบรีบ ๆ) ดูแล้วสวยแบบไทย ๆ นะคะ
แต่แบบที่พุทธมณฑล เป็นแบบเหมือนคนจริง ๆ เพราะฝรั่งปั้น มักจะมีกล้ามเนื้อเหมือนจริง

ที่แปลกค่ะ ทำไมต้องยกมือห้าม หรือ เป็นปาง "ปรองดองแห่งชาติ" คะ
ทำไมสร้างสมัยเดียวกันแต่ยกมือคนละข้าง หรือ นี่คือเหตุที่ปรองดองไม่สำเร็จ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 03 ก.ย. 10, 09:27

วิหารพระมงคลบพิตร ก็เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๙ เช่นกัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ก.ย. 10, 10:21 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง