เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 51733 ศิลปะ วัฒนธรรมยุคท่านผู้นำ - จอมพลป.
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 09:55

คนไทยเป็นผู้นิยมตามแฟชั่นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เริ่มจะเป็นชาตินั้นแขกดังก็ตามแขก พอจีนดังก็ตามจีน สมัยหลังฝรั่งดังก็หันมาตามฝรั่ง ผมเคยบอกว่า ลัทธิการเมืองเป็นแฟชั่น สิ่งที่เป็นนามธรรมขนาดนั้นยังเป็นแฟชั่นแล้วที่เป็นรูปธรรมอย่างสถาปัตยกรรมจะเหลือเหรอ

อาคารสมัยนิยมขณะนั้นจะให้ความรู้สึกชัดๆด้วยการเสริมปฏิมากรรมลงไป เมื่อรับแฟชั่นนี้มาแล้ว ปฏิมากรรมแบบไทยๆก็ใช้ไม่ได้ ต้องเอาแบบของฝรั่งมาใช้ด้วย โชคดีของจอมพลป.ที่ได้อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ปรมาจารย์ชาวอิตาเลี่ยนของชาวศิลปากรมาสนองนโยบาย แม้คนจะไม่ชอบรูปโฉมอาคาร(เพราะงบก่อสร้างกระจิ๊ดเดียว เลยทำให้อลังการอย่างฝรั่งไม่ได้) แต่เห็นรูปปั้นเหมือนของอาจารย์ศิลป์แล้วก็นิ่งไป





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 09:57

พอหลังสงคราม จอมพลป.ก็เปลี่ยนรสนิยมใหม่ หันมานิยมไทยจัดทั้งๆที่เมื่อก่อนเห็นว่าล้าสมัย ในด้านสถาปัตยกรรมนั้นก็มีนโยบายให้อาคารราชการจะต้องมีเอกลักษณ์ไทย โดยเฉพาะหลังคาทรงจั่วซ้อน และปิดด้านจั่วด้วยปั้นลมและช่อฟ้าใบระกา

นี่เป็นเหตุให้เกิดศาลากลาง(จังหวัด)สำเร็จรูปขึ้นโดยกรมโยธาธิการ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่ชอบ เรื่องสวยไม่สวยนั้นก็เรื่องนึง แต่เรื่องซ้ำซากเหมือนกันหมดมันน่าเบื่อ แล้วยังแถมเปิดประเด็นท้องถิ่นนิยมอีก จะเอาสถาปัตยกรรมกรุงเทพไปยัดเยียดให้อิสาน เหนือ ใต้ได้อย่างไร พอหมดยุคจอมพลป.ก็มีการปลดล็อคนี้  หากจะสร้างก็ให้มีการออกแบบใหม่ภายใต้เอกลักษณ์ไทยท้องถิ่นได้ ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ออกข้อกำหนดท้องถิ่นให้อาคารเอกชนที่สร้างในเขตเมืองต้องมีกาแล คนเจียงใหม่ก็ด่ากันอีก

คือเรื่องชอบไม่ชอบนี่ ความคิดคนไม่เหมือนกัน ถ้าเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นได้ ก็จะเห็นความหลากหลาย ซึ่งต้องการข้อสรุป บางทีที่ผู้ตัดสินใจก็มิได้สรุปตามความเห็นส่วนใหญ่ เพราะคนกลุ่มนี้จะไม่พูด กลุ่มสนับสนุนที่พูดก็พูดน้อย กลุ่มที่พูดมาก พูดดัง และปากจัดมักจะเป็นกลุ่มค้าน ผู้ตัดสินใจจึงมักจะหลีกเลี่ยงปัญหากับคนกลุ่มนี้

ส่วนโบสถ์สำเร็จรูปนั้น เป็นแบบของกรมศาสนา มีให้เลือกจะเอาแบบ ก ข คก็ได้ เรื่องโบสถ์นี้ไม่เกี่ยวกัน แต่เป็นเพราะแต่เดิม พระท่านอยากจะสร้างอะไรก็สร้าง ทำให้เพี้ยนไปตามนิมิตของท่านบ้าง ผิดแบบแผนประเพณีไปบ้าง กรมศาสนาจึงกำหนดให้ต้องส่งแบบมาเพื่อขออนุญาตก่อสร้างก่อน แต่เมื่อแบบส่งมาแล้วใช่ว่าจะผ่านง่ายๆ ให้กลับไปแก้โน่นแก้นี่ บ่อยๆเข้าท่านก็ขอให้กรมศาสนาออกแบบให้เลยซึ่งกรมก็ไม่มีสถาปนิกจะออกแบบให้เป็นพิเศษได้ นอกจากมีแบบมาตรฐานให้
แต่อาคารทางศาสนาที่มีสถาปนิกออกแบบถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แบบมาตรฐานครับ แต่ยึดแนวข้อกำหนดในมาตรฐานก็เป็นอิสระในการออกแบบได้




บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 10:12

หากอาคาร ยังต้องมีแบบมาตรฐาน ให้พากันทำตามละก้อ

นี่คือหลักฐานว่า ท่านเป็นเผด็จการ ในกระดูกเชียวค่ะ ไม่เปิดประตูให้ใครคิดเองทำเองกันเลย

นโยบาย แบบมาตรฐาน จึงเป็นการ ฆ่าศิลปินสะกัดกั้นความคิดสร้างสรรให้แน่นิ่ง

สงสัยมาแต่เด็กค่ะว่า ทำไมอาคารต่าง ๆ ในสวนลุมพินี(ลากมาใกล้บ้านหน่อยนะคะ)

เช่น ห้องสมุดประชาชน อาคารพิพิธภันฑ์ (ปัจจุบันดูเหมือนจะเป็นสโมสรคนชรา)

หน้าตาแปลก ๆ คล้าย ๆ อุโบสถที่พุทธมณฑล
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 10:21

^
ตอนนั้นหรือตอนนี้เขาก็ด่ากันอย่างที่ว่าแหละครับ
อะไรที่มันฝืนความรู้สึกนึกคิดของคนส่วนใหญ่(ไม่จำเป็นต้องใหญ่ที่สุดด้วย)ก็อยู่ไม่ได้นาน
บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 10:25

แวะเข้ามาลงชื่อเข้าเรียนสายไปหน่อย พายุเข้า เน็ตเลยระส่ำระสายไปหมดเลยค่ะ ร้องไห้
เดี๋ยวพอมีเวลาและเน็ตเป็นปกติ จะตามอ่านย้อนหลังนะคะ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 10:35

รูปอาคาร หรือ ศาลพระถูมิกันแน่คะ รูปที่ 46 อันล่างน่ะค่ะ
 
ชอบใจมากที่มีรูปปั้นคนนั่งปิดหน้าปิดตาอยู่ที่หัวบันได

กำลังคิดว่า หากอาจารย์เฉลิมชัย โฆสิตพิพัฒน์แห่งวัดร่องขุ่นที่เชียงราย

เกิดและโตทันมาพบท่านจอมพลคนหัวปีในยุคเดียวกัน อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง

เริ่มด้วยเสียงโวยวาย....จบด้วยคุกตะรางหรือเปล่าหนอ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 10:52

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่สนองจิตวิญญาณของผู้สร้าง

อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่1 ทำแบบคติไทยที่จัดเก็บอัฐิในสิ่งก่อสร้างทรงเจดีย์

อนุสาวรีย์แบบโมเดิร์น แทนยอดแหลมขึ้นไปเสียบฟ้าของเจดีย์ด้วยปลายหอกปลายปืน เสริมด้วยปฏิมากรรมRealisticที่ส่งผลกระทบความรู้สึกของมนุษย์ได้โดยไม่ต้องตีความ สามารถสื่อให้เข้าใจถึงบทบาทและความเสียสละของผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในอนุสาวรีย์นั้น จึงใช้สนองวัตถุประสงค์(ของท่านผู้นำ)ในการเร่งเร้าให้รักชาติได้อย่างมีพลัง



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 11:22

        ภาพแรกสุดใน ความเห็นที่ ๔๕ ของอาจารย์นวรัตน - อาคารโรงภาพยนตร์ทหารบก น่าจะมาจาก
รายการพินิจนคร ตอน ลพบุรี ซึ่งส่วนหนึ่งของรายการนำเสนอสถาปัตยกรรมอาคาร อนุสาวรีย์ยุคท่านผู้นำหลายแห่ง

          เนื่องจากท่านผู้นำต้องการสร้างเมืองใหม่แห่งที่ 2 ที่นั่น จึงได้มีการสร้างอาคารล้ำสมัยไว้มากมาย
รองจากกรุงเทพฯ ได้แก่ อาคารส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการทหาร การศึกษา การประปา การไฟฟ้า โรงพยาบาล
รวมทั้งโรงภาพยนตร์แห่งนี้

          โรงภาพยนตร์ทหาน(ร)บก นับว่าเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรม ที่สำคัญแห่งหนึ่ง
ของลพบุรี สร้างขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2482 เพื่อเป็นรมณียสถานของเมือง และอาจใช้เป็น
ที่ประชุมสภาได้ หากเกิดเหตุคับขันยามสงครามโลกและต้องย้ายเมืองหลวงมาที่นี่
          ตัวอาคารมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย(อาร์ต เดโค) เป็นโรงมหรสพที่ทันสมัยและ
เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยรองจากโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง มีอายุนานถึง 70 ปีแล้ว

         แต่ปัจจุบันนี้ร่วงโรยตามกาล จนชาวลพบุรีที่เห็นคุณค่าต้องออกมาเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์โรงภาพยนตร์นี้
และอาคารอื่นๆ แห่งยุคท่านผู้นำที่มีอยู่มากมายในจังหวัด

อีกหนึ่งอาคารยุคท่านผู้นำในลพบุรี - โรงพยาบาลอานันทมหิดล



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 11:50

รูปอาคารข้างบนเป็นแฟชั่นของModern Architecture ของยุคนั้น ตึกกล่อง หลังคาแบน ช่องประตูหน้าต่างที่ไม่มีกฏเกณฑ์ ขอให้เป็นสี่เหลี่ยมเท่านั้น สถาปัตยกรรมนี้ไม่ได้มาจากจอมพลป. แต่เป็นอิทธิพลจากยุโรปที่ระบาดเข้ามาในสมัยของท่านโดยสถาปนิกไทยที่จบจากเมืองนอก

ส่วนโบสถ์วัดศาลาลอย โคราช สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของสกุลช่างล้านช้างนี้ เป็นฝีมือของวิโรฒ ศรีสุโร สถาปนิกที่จบเมืองไทย ผู้เป็นทั้งปราชญ์และกวี เกิดที่ปัตตานีแต่ไปเจริญในอิสาน เป็นบูรพาจารย์ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนเสียชีวิต เป็นอาจาย์ใหญ่สอนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลงานการออกแบบโบสถ์วัดศาลาลอยที่ผมเอามาให้ดูนั้น ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น แนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา ของ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ปี พ.ศ.2516
 
นอกจากนี้ท่านยังมีผลงานการออกแบบและตกแต่งอาคารทางศาสนาในแนวสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอีกมาก เช่น พระธาตุศรีมงคล จังหวัดสกลนคร เจดีย์พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร มหาเจดีย์นภเมทนีดล บนดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของจังหวัดเลย เป็นต้น 
เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่ลือเลื่องท่านก็เป็นผู้ริเริ่มพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จนติดตลาด ใครไปด่านเกวียนหากมีโอกาสควรไปชมพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ชื่อพิพิธภัณฑ์เกวียนที่รวบรวมเกวียนสวยๆทั่วประเทศไทยไว้ และยังมีเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ทั้งงานจักสาน ถักทอ แกะสลัก ที่ท่านรวบรวมไว้ทั้งชีวิตด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว
อาจารย์วิโรฒมีผลงานด้านหนังสือ คือ ธาตุอีสาน สถาปัตยกรรมกลุ่มชนสายวัฒนธรรมไต-ลาว สิมอีสาน เป็นต้น รางวัลที่ได้รับ นอกจากรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยามแล้ว ยังได้รับรางวัล บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขางานช่างผีมือ ของมูลนิธิเสฐียร โกเศศ และนาคะประทีป ได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พุทธศักราช  ได้รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ สถาปนิกดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม พุทธศักราช ๒๕๔๐ เรื่องสิมอีสาน จากคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ

ที่ผมเอาผลงานของท่านมาเปรียบเทียบกับแบบก.ข.ของกรมศาสนา ก็เพื่อแสดงให้เห็นอิสรภาพของสถาปนิก เช่นเดียวกับโบสถ์วัดร่องขุ่นของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่แม้ไม่ใช่สถาปนิกก็ตาม
โบสถ์ของท่านทั้งสองถูกวิพากษ์วิจารณ์พอกัน ของอาจาย์วิโรฒจะโดนว่าแรงไปจนขัดศรัทธา ส่วนอาจารย์เฉลิมชัยจะโดนว่ามากไปจนไม่ใช่สถาปัตยกรรม อย่างที่ผมบอกแหละครับ ขึ้นอยู่กับความชอบ-ไม่ชอบที่เป็นปัจเจกของมนุษย์





บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 14:33

กล่าวโดยสรุปคร่าวๆ (อาจารย์แก้ไขให้ด้วย) ลักษณะสถาปัตยกรรมยุคท่านผู้นำแยกเป็นสองช่วง คือ

        - จอมพลป.๑ ช่วงพ.ศ. ๒๔๘๑-๘๔

        งานออกแบบของทางราชการโดยสถาปนิกไทยที่จบจากต่างประเทศ เป็นสถาปัตยกรรมทันสมัยหรือสมัยใหม่
เช่น  กรมไปรษณีย์โทรเลข บางรัก
            อาคารรูปทรงเรขาคณิต แกร่งคอนกรีต

        - จอมพลป.๒ พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๕๐๐

          มีการเน้นเอกลักษณ์ของชาติ ปรากฏงานสถาปัตยกรรมทางราชการออกแบบเป็นไทยประยุกต์(อย่างง่ายๆ)
โดยการนำหลังคาไทยไปสวมลงบนกล่อง

หอประชุมม.เกษตรศาสตร์

"วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ใน สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 14:48

^
^

ถูกต้องครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 15:07

อาคารใหญ่เหล่านี้  จัดเข้าจอมพลป. 2  หรือจอมพลสฤษดิ์คะ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 19:17

ระหว่างรอท่านกูรูใหญ่กว่า   ขอย้อนกลับมาเรื่องภาษาในยุควัธนธัมอีกครั้ง
จอมพลป. เห็นว่า ภาษาของอารยประเทศ (คือภาษาอังกฤษน่ะละค่ะ) มีสรรพนาม I กับ You  เท่านั้น ใช้ได้กับทุกชนชั้น     ผิดกับไทยที่มีมากมายเกินจำเป็น  แบ่งชนชั้นวรรณะกันเปล่าๆ   ก็เลยกำหนดให้คนไทยพูดกันว่า ฉัน  ท่าน ลงท้ายว่า จ้ะ   มีคำขอบใจและขอโทษ ประกอบ
ถ้าหากว่าข้อกำหนดนี้ยังใช้มาจนทุกวันนี้   นักเขียนคงตกงานกันนับไม่ถ้วน     แถวๆนี้ก็คงมีอยู่ด้วยคนหนึ่ง  
ลองนึกภาพจะเด็ดพูดภาษานี้ดู

"ข้าพเจ้ารักจันทราด้วยใจภักดิ์ แต่รักกุสุมาด้วยใจปอง"
มาเป็น
" ฉันรักจันทราด้วยใจภักดิ์ แต่ฉันรักกุสุมาด้วยใจปอง จ้ะ"

"รักสตรีข้าพเจ้ารักได้หลายนาง แต่เมืองมาตุภูมินั้นจะรักไว้แต่เมืองเดียว"
มาเป็น
"รักสตรี ฉันรักได้หลายท่าน แต่เมืองมาตุภูมินั้นจะรักไว้แต่เมืองเดียวจ้ะ"

ส่วนที่เด็ดกว่านี้ก็มี

"เราจะบังคับให้เจ้าถวายสัตย์ แก่พระประธานในวิหารกุโสดอว่า เบื้องหน้าวาสนาจะรุ่งโรจน์ประการใด ก็จะไม่คิดแย่งเศวตฉัตรมังตราเป็นอันขาด... "
ต้องเปลี่ยนเป็น
"ฉันจะบังคับให้ท่านถวายสัตย์ แก่พระประธานในวิหารกุโสดอว่า เบื้องหน้าวาสนาจะรุ่งโรจน์ประการใด ก็จะไม่คิดแย่งเศวตฉัตรมังตราเป็นอันขาดนะจ๊ะ"

ภาษาอย่างเดียวกันนี้  ถ้าหม่อมพรรณรายโต้ตอบกับพจมาน ในบ้านทรายทอง  ก็เป็นเวอร์ชั่นที่อ่านกันไม่จืดเลยทีเดียว
ขอโทษที่ไม่มีหนังสือบ้านทรายทองที่บ้าน   เลยต้องคิดบทสนทนาเอาเองค่ะ
เช่นหม่อมพรรณรายอาจกราดเกรี้ยวกับนางเอกว่า
" แม่พจมาน    ท่านอย่าเผยอมาคิดว่าท่านเองจะได้เป็นเจ้าของบ้านทรายทอง  หน้าอย่างท่าน  ฉันไม่มีวันยอมรับเป็นสะใภ้นะจ๊ะ"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 21:52

อ้างถึง
อาคารใหญ่เหล่านี้  จัดเข้าจอมพลป. 2  หรือจอมพลสฤษดิ์คะ

คำถามบรรทัดเดียวนี่แหละครับ ทำให้ผมไปเตรียมคำตอบและรูปประกอบนานหลายชั่วโมง

ผมไม่คิดว่าการจัดรูปแบบสถาปัตยกรรมในเมืองไทยจะแบ่งไปตามยุคของนายกรัฐมนตรี แม้ว่าอิทธิพลทางการเมืองจะมีผลต่อการออกแบบก็ตาม
ในสมัยรัชกาลที่7ขึ้นไป สถาปัตยกรรมร่วมสมัยจะจ้างนายช่างฝรั่งมาออกแบบและคำนวนโครงสร้าง เช่นพระที่นั่งอนันตสมาคม และบ้านนรสิงห์หรือทำเนียบรัฐบาลซึ่งเป็นแบบฝรั่งล้วน แต่บางครั้งก็โปรดเกล้าฯให้สถาปนิกไทยแต่งตัวตึกฝรั่งให้เป็นไทย เช่นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ที่มีผู้วิจารณ์ว่าเหมือนฝรั่งใส่ชฎา หรือโบสถ์วัดเบญจมบพิตรที่กลมกลืนจนคนแยกไม่ออกว่าตรงไหนที่เป็นแบบแผนของฝรั่ง

แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว สถาปัตยกรรมก็ถูกใช้เพื่อสนองนโยบายทางการเมือง ที่จะไม่สร้างอะไรเพื่อสนองพระราชสำนักอีกต่อไป พอดีกับกระแสแฟชั่นใหม่พวกนีโอพลาสติก นีโอคลาสสิก อาร์ตเดกอ ระบาดขึ้นในยุโรปและอเมริกา ท่านผู้อ่านไม่ต้องไปจำศัพท์อะไรพวกนี้นะครับ ปวดสมอง เอาเป็นว่ารูปแบบใหม่ที่เป็นทรงกล่อง ทรงแท่งสี่เหลี่ยมที่เรียกรวมๆว่าModern Architectureก็แล้วกัน รัฐบาลคณะราษฏร์เห็นเข้าก็คว้าหมับมาทำตึกสองข้างทางถนนราชดำเนิน เป็นLandmarkของกรุงเทพยุคใหม่นำสมัยทันที แล้วกำหนดให้สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยด้วยรูปแบบใหม่ที่แยกถนนดินสอ กับทั้งให้ตัดถนนประชาธิปไตยขึ้นใหม่ จากศูนย์กลางของอนุสาวรีย์ลิ่วไปผ่ากลางพระราชวังดุสิตออกเป็น2เสี่ยง จนไปจรดถนนนครชัยศรี นัยว่าเป็นเคล็ดที่จะไม่ให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกลับมาอีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 02 ก.ย. 10, 21:57

อย่างไรก็ตาม Modern Architecturecแบบกล่องๆก็มิได้มีผู้นิยมชมชอบไปหมด คนที่ไม่ชอบก็มี ฝรั่งจึงยังคงสร้างด้วยแบบเดิมๆ เอาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาใช้กับเทคโนโลยีทางการก่อสร้างสมัยใหม่ คนไทยก็นิยมเอาบ้านทรงยุโรปมาปลูกในเมืองไทยเหมือนกัน รวมถึงเอามาใช้ในสถาปัตยกรรมสาธารณะขนาดใหญ่ด้วย ที่เด่นๆก็มีคณะวิทยาศาสตร์จุฬา และตึกโดมเป็นต้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง