เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13
  พิมพ์  
อ่าน: 51610 ศิลปะ วัฒนธรรมยุคท่านผู้นำ - จอมพลป.
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 08:48

เดี๋ยวนี้ กำแพงเมืองถือเป็นโบราณสถานที่เป็นเสน่ห์แห่งเมือง นับว่าเป็นทรัพยากรทางด้านการท่องเที่ยวที่ทำให้เศรษฐกิจสะพัด เป็นClean Industry ที่นำเงินมาสู่บ้านเมืองและกระจายไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงกว่าอื่น ทุกบ้านทุกเมืองพยายามที่จะทำนุบำรุงทรัพยากรที่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษอย่างสุดฤทธิ์

แต่บางแห่งก็สายเกินไปเสียแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 08:53

เราเคยเอาสิ่งที่ล้ำค่า ไปแลกถนนเส้นเล็กๆ เพียงอ้างความจำเป็นที่จะหาพื้นที่ในเมืองให้รถวิ่ง

เราไม่เคยสำเหนียกว่า โดยหลักคิดเช่นนี้ จะทุบบ้านทุบเมืองกันอีกสักเท่าไหร่ จึงจะแข่งขันกับสายการผลิตรถยนต์ได้ทัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 10:06

มาให้กิ๊ฟ
ไม่อยากขัดจังหวะด้วยหัวข้อวัฒนธรรมอื่นๆค่ะ   ขอฟังเรื่องอนุรักษ์ไปก่อน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 10:14

ขอบพระคุณครับ เรื่องนี้เอาเท่าที่ว่ามาแล้วคงเพียงพอ

เชิญเรื่องอื่นเถิดครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 06 ก.ย. 10, 11:46

อยากจะชวนท่านที่เข้ามาอ่าน ลงล้อมวงกันอ่านโจทย์วัธนธัมของท่านจอมพล ให้แตก

ข้อแรกคือเรารู้ว่า จอมพลป. รับความคิดจากตะวันตกมา ๒ ข้อใหญ่ๆ  ข้ออื่นอาจมีอีกแต่ดูกันทีหลัง    ข้อแรกคือท่านไปดูงานเมืองฝรั่งมา ท่านก็อยากให้ประเทศศิวิไลซ์เหมือนฝรั่ง   เริ่มด้วยประชาชนแต่งกายกันแบบฝรั่ง จะได้เป็นระเบียบวินัยงามตา     ท่านคงเห็นว่าการแต่งกายเท่าที่มีอยู่ในประเทศสยาม ไม่อาจจะทำให้มีระเบียบหรืออย่างไรก็ไม่แน่    ทั้งที่ผู้ชายสยามก็นุ่งกางเกงกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖  ไม่ได้นุ่งโจงกระเบนกันทั่วเมืองอย่างในต้นรัชกาลที่ ๕  เพียงแต่ไม่ใช่กางเกงและเสื้อนอกอย่างฝรั่งเท่านั้น
ข้อที่สองคือท่านเชื่อมั่นในชาตินิยม  จึงพยายามรวมให้ประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ได้ชื่อว่าไทย ไม่ใช่สยาม  ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ   ถึงกับประกาศห้ามใช้คำว่าไทยแล้วตามด้วยเชื้อชาติหรือศาสนา

แต่นโยบายของท่านจอมพลป.จะว่าเดินเป็นเส้นตรงไม่ลัดเลี้ยวก็ไม่ใช่    มีข้อขัดแย้งอยู่หลายอย่าง   ที่เห็นๆคือท่านนิยมความเป็นไทย แต่ไม่ให้กินหมาก   ทั้งๆคนไทยก็กินมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย     ให้แต่งกายแบบฝรั่ง พูดจาใช้สรรพนามแบบฝรั่ง  มีคำว่าขอบใจและขอโทษติดปาก   ให้สามีจูบลาภรรยาก่อนออกจากบ้านแบบฝรั่ง     แต่พอถึงอาหารการกิน กลับชักชวนให้กินก๋วยเตี๋ยวแบบจีน   

นอกจากนี้ที่สำคัญคือไม่ชอบเพลงไทยเดิม    แม้แต่การบรรเลงเพลงไทยเดิมก็ต้องเปลี่ยนชื่อที่มีคำว่า ลาว เขมร จีน พม่า อันเป็นที่มาของทำนองเพลง ออกไปหมด   นอกจากนี้ยังต้องเรียบเรียงใหม่ให้เข้าหลักสากล   ขุนพลเพลงอย่างครูเอื้อ สุนทรสนาน จึงนำเพลงไทยเดิมจำนวนมากมาเรียบเรียงใหม่เป็นทำนองแบบสากล     ท่านจอมพลก็พอใจกับเพลงไทยแบบนี้ เพลงแบบนี้ในตอนแรกเราจึงเรียกว่า ไทยสากล

ดิฉันก็เลยดูว่าวัธนธัมของจอมพล ป. ไม่ใช่นโยบายที่เดินตามวัฒนธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นหลัก  คือจะว่าเป็นฝรั่งหมดก็ไม่ใช่  เป็นไทยยุคใดยุคหนึ่งก็ไม่เชิง     แต่น่าจะเป็นวัธนธัมตามความเห็นชอบของท่านผู้นำ ว่าท่านชอบอะไรท่านก็ออกประกาศมาให้ประชาชนเห็นดีไปตามนั้น   ผสมผสานกันได้หลายชาติ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 14:16

อาจารย์เทาชมพูสรุปได้ดีมาก ๆ ค่ะ
กราบขอบพระคุณทุกท่านที่มาให้ความรู้ค่ะ
ต่อไปภายหน้าใครคิดจะย้อนกลับมาใช้ชื่อประเทศว่าสยาม
ก็ต้องศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไทยเสียก่อน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 16:55

เร็วๆนี้ก็มีความพยายามเสนอให้ประเทศไทยกลับไปใช้ชื่อ "สยาม"  คุณร่วมฤดีหาอ่านได้ในกูเกิ้ลค่ะ

http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=article&sid=3528

ชาญวิทย์" เสนอรัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็น"สยาม" เพื่อความสมานฉันท์ พร้อมเสนอยุบทิ้งวุฒิสภา-คืนสถานะ จ.ธนบุรี

นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง-ข้าราชการบำนาญ ได้ทำหนังสือเวียนผ่านอีเมล์ เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเปลี่ยนชื่อจากประเทศไทย เป็นประเทศสยาม ยกเลิกวุฒิสภา และคืนสถานะจังหวัดธนบุรี
เนื้อหาของหนังสือเรียกร้องดังกล่าวมีเนื้อหาดังนี้

สืบเนื่องจากการที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มีดำริที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ และเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นนั้น กระผมใคร่ขอเสนอข้อแก้ไขเพิ่มเติม 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ คือ

(1)ขอให้แก้คำในภาษาไทยที่ใช้ว่ารัฐธรรมนูญ “ แห่งราชอาณาจักรไทย ” เป็นรัฐธรรมนูญ “ แห่งราชอาณาจักรสยาม ” หรือรัฐธรรมนูญ “ แห่งสยาม ” และในภาษาอังกฤษให้เปลี่ยนจาก The Kingdom of Thailand เป็น The Kingdom of Siam หรือ of Siam ทั้งนี้ เพื่อความ “ รักสามัคคี ” “ สมานฉันท์ ” และ “ ปรองดอง ” และให้ประเทศของเรา ซึ่งมีประชากรกว่า 60 ล้านคนนั้นเป็นที่

“รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ไท/ไต ยวน ลาว ลื้อ มลายู มอญ ขะแมร์ กูย แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ แคะ จาม ชวา ซาไก มอแกน ทมิฬ ปาทาน เปอร์เซีย อาหรับ ฮ่อ พวน ไทยใหญ่ ผู้ไท ขึน เวียด ยอง ลั๊วะ/ละว้า ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ปะหล่อง มูเซอร์ อะข่า กำหมุ มลาบรี ชอง ญากูร์ บรู โอรังลาอุต ฝรั่ง (ชาติต่างๆ) แขก ( ชาติต่างๆ) ลูกครึ่ง ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ” กว่า 50 ชนชาติและภาษา”

(2)ขอให้แก้ไขให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีแต่เพียงสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร โดยให้ยกเลิก สว. หรือวุฒิสมาชิก

(3)ขอให้ดำเนินการออกกฎหมายที่เป็นประชาธิปไตย โดยคืนสถานะเดิมอันเป็นตัวของตัวเองและศักดิ์ศรีของ “ จังหวัดธนบุรี ” ที่ถูกยุบรวมและทำลายลงด้วยประกาศและอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนับเมื่อปี พุทธศักราช 2514/15

ส่วนตัวดิฉันเห็นว่าเปลี่ยนแต่ชื่อคงไม่มีผลอะไร    ถ้าเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนนโยบายที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่สมัยเปลี่ยนจาก "สยาม" เป็น "ไทย" สมัยโน้น

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 17:01

ลองคาดเดาความคิดจิตใจท่านผู้นำ ครับ

           ท่านมั่นใจในอำนาจเกินร้อย เพราะท่านและคณะสามารถเปลี่ยนการปกครองที่มีมาแต่เดิมหลายร้อยปี
ได้สำเร็จ ด้วยคณะพรรคพวกพร้อมพรั่งมีพลังอำนาจเต็มๆ
           ท่านเชื่อว่าความรู้ที่ได้ศึกษาจากตะวันตกนั้นเป็นของดี ชาวไทยส่วนใหญ่ในขณะนั้นยังมีความรู้น้อย
           เมื่อท่านเป็นผู้นำของชาติ ท่านจึงต้องชี้นำทางอย่างละเอียดยิบทุกย่างก้าวราวพ่อกับลูก

           ในยุคท่านผู้นำมีสิ่งก่อสร้างบนโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ พระบรมราชานุสรณ์ และ
เจดีย์ยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี ซึ่งในเวลาต่อมา ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของพระนเรศวรมหาราชตามมาในหลายจังหวัด

อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เคยอภิปรายเมื่อครั้งหนังเรื่องตำนานพระนเรศวรมหาราชออกฉายว่า

            พระนเรศวรผู้ปรากฏเรื่องราวในพงศาวดารนับร้อยหน้าได้รับการสร้างภาพลักษณ์เป็น มหาบุรุษ
ผู้กอบกู้อิสรภาพ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อราชอาณาจักรถูกต่างชาติตะวันตกคุกคาม พระองค์ทรงโปรดให้
ประชุมแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร และจัดแสดงภาพเขียนเหตุกาณ์จากพงศาวดารเปิดให้ประชาชนชม
ที่ท้องสนามหลวง เป็นการเปิดความรู้เรื่องกษัตริย์จากแวดวงราชสำนักสู่ประชาชน
            ในสมัยรัชกาลที่ ๖ หลังจากได้มีความพยายามค้นหาจนพบเจดีย์ยุทธหัตถี (พ.ศ. ๒๔๕๖)
แต่ติดขัดเรื่องงบประมาณในการบูรณะ
            นอกจากนี้ ยังมีการพิมพ์งานภาพจากวัดสุวรรณดารามซ้ำหลายครั้ง ทำให้ประชาชนได้รับรู้เรื่องราว
ของพระนเรศวรอย่างกว้างขวางขึ้น

            ถึงสมัยท่านผู้นำภาพลักษณ์ของพระนเรศวรยังคงอยู่แต่ไม่โดดเด่นเท่าเดิม แม้ละครปลุกใจของ
หลวงวิจิตรวาทการก็ไม่มีเรื่อง พระนเรศวรมหาราช โดยตรง หากแต่มี อานุภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
(ที่อาจจะสื่อความหมายแนวทางการปกครองของท่านผู้นำ) มี เลือดสุพรรณ และ มีงานเขียน ใครฆ่าพระเจ้าตาก
           แต่พระบรมราชานุสรณ์ ดอนเจดีย์ก็สำเร็จลงได้ในสมัยท่านผู้นำ (พ.ศ. 2495) สร้างเป็นเจดีย์แบบลังกา
ทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 17:05

           อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชออกแบบโดย อ.ศิลป์ พีระศรี ทรงพระคชาธารศึก หันพระพักตร์
ไปทางทิศตะวันตก พระคชาธารประกอบด้วยกลางช้าง ท้ายช้างและสัปคับ พร้อมด้วยอาวุธชนิดต่าง ๆ
ฐานล่างสลักภาพนูนตอนกระทำยุทธหัตถี และประกาศอิสรภาพ

ในวันที่  ๒๕ มกราคม ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบ
พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสรณ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 20:25

คงจะเลี้ยวตามคุณ SILA ออกไปสู่เรื่องศิลปะ สมัยจอมพลป.ได้เสียที

ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นช่างชาวอิตาเลียนที่รัฐบาลอิตาลีคัดเลือกมาถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตามพระราชประสงค์ที่จะได้ประติมากรชาวตะวันตกมาทำราชการในสยาม  เพื่อฝึกฝนชาวสยามให้รู้จักปั้นรูปแบบตะวันตก     ประเทศในยุโรปที่เป็นเลิศทางประติมากรรม ก็ไม่มีที่ไหนดีกว่าอิตาลี
ประติมากรหนุ่มที่ผ่านการแข่งขันกับผู้สมัครอื่นๆถึง ๒๐๐ คน   ชื่อคอร์ราโด เฟโรจี ( Corrado Ferocil) เป็นชาวเมืองฟลอเรนซ์  เป็นศิลปบัณฑิตของราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ (The Royal Academy of Art of Florence) จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปี  ได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาสอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์ มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญา   และเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม   ในพ.ศ. 2466 ท่านชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป
ด้วยเหตุนี้ ประติมากรจากอิตาลีจึงได้มาสยาม เป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา

ศาสตราจารย์เฟโรจี ทำงานอยู่ในสยามตั้งแต่รัชกาลที่ 6    ผลงานสำคัญๆที่ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้คือปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477  อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล

พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2   ชาวอิตาเลียนในประเทศไทยตกเป็นเชลยของญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง  หลวงวิจิตรวาทการได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี


เว็บนี้เก็บเรื่องราวของอาจารย์ศิลปไว้น่าสนใจ
http://www.moomkafae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=188972&Ntype=4
ท่านเป็นบุคคลแรก ที่เริ่มสร้างอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ขึ้นในเมืองไทย ด้วยฝีมือและความสามารถของช่างไทย แทนการสั่งปั้นหล่อมาจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศชาติประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เป็นอันมาก งานสร้างอนุสาวรีย์ของท่านมีมากมาย อาทิ  พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ปี๒๔๗๕) ออกแบบโดยสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ปี ๒๔๗๗), พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (ปี ๒๔๘๔), พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช (ปี๒๔๙๓-๒๔๙๔) นายสิทธิเดช แสงหิรัญ นายปกรณ์ เล็กสน นายสนั่น ศิลาภรณ์  ผู้ช่วย, พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดอนเจดีย์ (ปี ๒๔๙๙) นายสนั่น ศิลาภรณ์ นายสิทธิเดชแสงหิรัญ และคนอื่นๆ ผู้ช่วย, อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ดอยสุเทพ เชียงใหม่ (เฉพาะศีรษะ) นายเขียน ยิ้มศิริ ผู้ช่วย  ฯลฯ
   
       อย่างไรก็ตามแม้ท่านจะเป็นผู้ปั้น แต่สำหรับงานออกแบบแล้ว ก็ไม่ใช่จะตรงตามที่ท่านต้องการเสียทั้งหมดทีเดียวนัก มีรายละเอียดบางส่วนจากบทความเรื่อง ผลงานที่ไม่มีใครรู้จักของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี  โดย น.ณ ปากน้ำ ท่านบันทึกไว้ว่า

      “ ข้าพเจ้าเคยได้เห็นภาพเสก็ตช์ของอนุสาวรีย์พระปฐมบรมราชานุสรณ์  ท่าทางที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ประทับนั่งบนพระราชอาสน์ก็สวยงามสง่ามาก คือเอนพระอังสาเล็กน้อย พระบาทวางเหลื่อมกัน  โดยพระบาทข้างที่พระอังสายื่นออกมานั้นอยู่เบื้องนอก พระพักตร์เชิดอย่างสง่า ท่าแบบนี้เป็นท่าที่จัดไว้อย่างสวยงามมีชีวิตชีวา ไม่ดูประทับนั่งเฉยๆอย่างที่เห็นปัจจุบัน ข้อนี้ข้าพเจ้ารู้ความจริงภายหลังว่า คณะกรรมการได้ติชม แก้ไข พระบรมรูปให้เป็นท่าทางปัจจุบันนี้เอง เพราะเหตุนี้จึงออกเป็นเรื่องขมขื่นของท่านปฏิมากรเอกมิใช่น้อย ”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 20:35

        ตอนแรก รัฐบาลสยามทำสัญญาจ้างศาสตราจารย์ศิลปทำงาน ๓ ปี ได้รับเงินเดือน ๘๐๐ บาท ค่าเช่าบ้านต่างหาก  มีสิทธิลาพักผ่อนไปเยี่ยมบ้านเกิด ๙ เดือน เมื่อทำงานครบสามปีแล้ว  ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการทำสัญญาต่อไป หลังจาก ๓ ปีก็เลิกได้ แต่ต่อมา ก็รัฐบาลได้ต่อสัญญาโดยไม่มีกำหนด
      ช่วงแรกที่ท่านทำงาน  ได้รับความลำบากมากเพราะผู้บังคับบัญชาระดับสูงไม่เข้าใจงานอย่างช่างและศิลปิน  สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงทราบและได้ทรงช่วยเข้าช่วยเหลือหลายอย่าง 
              อาจารย์ศิลปอยู่ในสยามต่อมาในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในรัชกาลที่ ๗  จนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒   หลังสงครามโลก เงินเดือนที่ได้รับน้อยจนไม่พอค่าใช้จ่าย ท่านต้องขายรถยนต์ บ้านและที่ดิน ขี่จักรยานสองล้อมาสอนหนังสือ   ในที่สุดท่านก็เดินทางกลับอิตาลีในปี ๒๔๙๒ และต่อมาจึงเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้งและรับราชการเรื่อยมา  ดำรงตำแหน่ง คณบดีจิตรกรรมและศิลปกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ท่านถึงแก่กรรมหลังจากผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๑๔  พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕  รวมอายุได้ ๖๙ ปี.

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 11:03

         ท่องเน็ทพบเว็บ  โครงการศิลป พีระศรี สรรเสริญ ซึ่งมี

คำชี้แจง : ศิลป พีระศรี ย้อนอนุรักษ์นามเดิม ก่อนพ.ศ. 2528 "ศิลป" ไม่มีการันต์

          หนังสือออนไลน์รวมเรื่องราว "ศิลป" น่าสนใจมากมายที่

http://www.panyathai.com/silpa/silpa.html

หนึ่งในผลงานของท่านก่อนมาเมืองไทย - พระพิรุณ ในสวนโรมัน หลังวังพญาไท (ติดกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)

ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=822


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 14:02

พระพิรุณรูป ^^นี้ สวยงามมากค่ะ
สวยกว่าที่เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสียอีก
ไม่เคยเห็นมาก่อนค่ะ ต้องหาเวลาไปดูของจริง
 ไม่น่าเชื่อว่า ฝัร่ง จะทำงานศิลป์แบบไทยได้งามถึงเพียงนี้
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 14:28

ก่อนไปดูของจริง ที่วังพญาไท
เชิญคุณร่วมฤดีดูรูปและเรื่องราวพระพิรุณของอ.ศิลป ตามลิงค์ที่ลงไว้ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 14:41

ศาสตราจารย์ศิลป กับมหาวิทยาลัยศิลปากร
        
ถ้าจะพูดถึงผลงานจอมพลป.ด้านสนับสนุนศิลปะในประเทศไทย ก็ต้องยกความดีให้ว่ารัฐบาลท่านเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนศิลปะ ไม่ใช่แค่ระดับโรงเรียนอย่างเมื่อก่อน  แต่ว่ายกขึ้นไปถึงปริญญาตรี
ใน พ.ศ.2485   พอกรมศิลปากรแยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี    รัฐบาลจอมพลป.มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากร พระยาอนุมานราชธนตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ตอนแรกมีคณะจิตรกรรมประติมากรรม คณะเดียว  เปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรม  มีศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรก   ศิลปะในไทยจึงเริ่มมีในระดับปริญญา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ใน พ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ในต้นปีพ.ศ.2492        

พ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้เป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นกับ สมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art)
 ในปีพ.ศ.2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติครั้งแรกที่ประเทศออสเตรีย   ท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย(Contemporary Art inThailand) ไปเผยแพร่ในการประชุม   ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้น   ท่านเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศ

รูปข้างล่างนี้อาจารย์ศิลปกำลังปั้นพระรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ด้วยดินเหนียว


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.161 วินาที กับ 19 คำสั่ง