เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 83936 แหงนดูศิลปะบนเพดาน
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 20:41

ขอกลับมาต่อเรื่องเพดานนี้อีกสักหน่อยครับ เพราะเรียงภาพไว้นานแล้วไม่ได้เอามาลงสักที  ยิงฟันยิ้ม

ย้อนกลับไปที่ตัวอย่างเพดานที่พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลกก่อนครับ ปัจจุบันมีการซ่อมแซมเอาของใหม่ไปติดไว้ที่พระปรางค์ ซึ่งแบ่งเป็น2ชุด ชุดแรกเป็นชุดเพดานของห้องทางเข้าสู่ห้องคูหาภายในเรือนธาตุ และชุดที่สองเป็นเพดานของคูหาเรือนธาตุของพระปรางค์


 
การประดับเพดานของห้องทางเข้าคูหาพระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯนั้น ใช้รูปแบบตารางแบ่งช่องสำหรับบรรจุดอกกลมที่ไม่ใช่ดอกบัว แต่เป็นลักษณะของกลีบปลายโค้งมน
มีเส้นกลางกลีบ ล้อมรอบพื้นที่วงกลมนูนเล็กน้อยจำนวนสองชั้น ที่มุมมีลายประดับเป็นรูปเลขหนึ่งไทยหันชนกันสองรูป คือมีรูปเล็กโอบรูปใหญ่ไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อเติมเต็ม
พื้นที่มุมฉาก และแตกลายบังคับพื้นที่ว่างให้อยู่ในรูปวงกลมรับตัวดอกกลมนั้น



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 20:43

สำหรับลายหน้ากระดานที่สันไม้ริมนอกมีแบบอย่างน่านสนใจ คือใช้ลายในแผนพังสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสลับดอกสี่กลีบ
โดยลายในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนั้นมีดอกกลมตรงกลาง แล้วแตกช่อเป็นกระหนกรูปเลยหนึ่งไทยสลับลดขนาดกันสองวง
และมีลักษณะคล้ายกาบมาประดับแต่กาบยังไม่มาหุ้มทับตัวกระหนก ปลายกาบสะบัดพริ้วอยู่ในระเบียบของพื้นที่สี่เหลี่ยมขอนมเปียกปูน
ลายชุดนี้ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ว่างซึ่งมีกรอบเป็นก้านลาย ที่ปลายหยักเป็นบ้าแล้วม้วนเป็นกระหนก อยู่ในตำแหน่งของก้ามปู
อย่างระเบียบลายประจำยามก้ามปูทั่วไป

ส่วนลายดอกสี่กลีบนั้นอยู่ในจุดคั่นจังหวะรับรับชุดก้ามปูนั้นไว้อย่างหน้าชม กลีบดอกใช้เส้นหยักมีบ่าปลายแหลม บรรจุลายสามแฉกอย่างใบมะตูม
ปกติแล้วระเบียบลายเช่นนี้มักมีประดับเป็นท้องไม้ของธรรมาสน์บางองค์
เช่น ธรรมาสน์ของวัดราชบูรณะ ในพช.รามคำแหง ธรรมาสน์วัดโชติฯ ธรรมาสน์วัดศาลาปูน เป็นต้น


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 20:45

สำหรับเพดานในคูหาเรือนธาตุของพระปรางค์นั้นแบ่งช่องเป็นตาราง โดยช่องตรงกลางมีพื้นที่มากที่สุดบรรจุดอกกลมขนาดใหญ่มีลายที่มุมฉาก
ล้อมรอบด้วยช่องที่มีขนาดเล็กกว่าแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นนอกจำนวน20ช่อง และถัดเข้ามาอีก12ช่อง จึงมีช่องตารางที่มีพื้นที่เท่ากัน
ล้อมรอบอยู่รวม32ช่อง ภายในช่องเหล่านั้นมีลายดอกกลมทำนองเดียวกับเพดานที่ห้องทางเข้า  

แต่เพดานชุดนี้มีจุดน่าสังเกตว่าซ่อมหรือทำใหม่ จึงนำมาลงไว้เพื่อให้โยงไปหาลายเฟื่องรอบนอกเท่านั้นครับ



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 20:48

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 20:52

ชิ้นส่วนลายเฟื่องนั้นมีของเก่าหลงเหลือมาเก็บรวมไว้กับโบราณวัตถุอื่นๆ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุครับ

ทำนองลายเฟื่องประดับอยู่โดยรอบนั้นมีลักษณะคล้ายกับกลีบดอกบัวซ้อนกัน เส้นกลีบมีลักษณะเป็นเส้นหยักสองจังหวะ
มีปลายยอดแหลม ปลายเส้นขมวดเป็นเลขหนึ่งไทยหันหลังชนกัน ภายในกลีบบรรจุลายช่อดอกไม้มีดอกกลม
มีกระหนกและใบไม้ประดับปนกันอย่างเป็นระเบียบ กลีบซ้อนเส้นกลีบตรงปลายแหลม บรรจุลายช่อดอกไม้
แต่เป็นดอกตูมหรือทำนองดอกบัว?หรือดอกโบตั๋น?

ที่จำเป็นต้องย้อนกลับมากล่าวถึงเพดานชุดนี้ก็เพราะว่า เป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ในกลุ่มดาวเพดานประเภทตาราง
อย่างเพดานที่วัดไชยวัฒนาราม และวัดใหม่ประชุมพลเป็นต้น

ทั้งนี้ยังสามารถทำให้พอจินตนาการได้ว่า เพดานของคูหาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงนั้น
ก็มีลักษณะเป็นช่องตารางในทำนองเดียวกันนี้ก็เป็นได้



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:09

คคห.106

ลายชุดนี้ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ว่างซึ่งมีกรอบเป็นก้านลาย ที่ปลายหยักเป็นบ้าแล้วม้วนเป็นกระหนก อยู่ในตำแหน่งของก้ามปู
อย่างระเบียบลายประจำยามก้ามปูทั่วไป


แก้ไข : ที่ปลายกรอบหยักเป็นบ่าหนึ่งจังหวะและมีปลายโค้งมน ตัวกระหนกแทรกออกมา คล้ายระเบียบประจำยามก้ามปู
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:11

สำหรับเพดานอีกชุดที่ต้องกล่าวถึง ก็คือเพดานภายในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ซึ่งคาดว่าคงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ
เพดานหลักๆแบ่งเป็นสี่ห้องขนาดเท่าๆกัน และเพดานเหนือพระประธานกับเพดานบริเวณเหนือประตูทางเข้า ซึ่งเป็นช่องขนาดเล็กอีกสองช่อง
เพดานทั้งสี่ห้องมีแบบแผนเป็นคู่ๆ กล่าวคือช่องที่สองและช่องที่สามจะมีแบบแผนเดียวกัน โดยช่องที่หนึ่งกับช่องที่สี่นั้นก็จะใช้แบบแผนเดียวกัน



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:15

เพดานคู่กลางหรือห้องที่สองและสามนั้น มีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมฝืนผ้า สันไม้ที่เป็นกรอบนั้นมีลายหน้ากระดานประจำยามก้ามปูสลับลายลูกฟัก
ช่องตางรางหกช่องบรรจุดอกกลมขนาบพื้นที่ตรงกลางฝั่งละสามช่อง ทำให้พื้นที่ตรงกลางกลายเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ซึ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้สามารถบรรจุลายดอกกลมได้พอดีกับพื้นที่ ดอกกลมใหญ่นั้นแกะแบนๆ มีสันเป็นเส้นวงกลมประดับกระจกล้อมรอบ
มีพุ่มอย่างดอกบัวโผล่มาจากเส้นวงนี้ และแตกลายเป็นกระหนกรับกับส่วนโค้งของเส้น
ดอกกลมใหญ่แบ่งกลีบเป็นสี่ชั้น ชั้นนอกสุดเป็นกลีบยาวมีบ่า ปลายแหลมนิดหนึ่งอย่างใบเสมา
ตรงกลางของแต่ละกลีบมีพื้นที่ติดกระจกเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม และมีกลีบซ้อน
ชั้นถัดมาทั้งสองชั้นเป็นกลีบปลายหยักเข้าแกะดุนพื้นที่ตรงกลาง
กลีบชั้นในสุดเป็นกลีบโค้งล้อมรอบพื้นที่วงกลม




บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:19

เพดานคู่นอกหรือห้องที่หนึ่งและสี่นั้น มีลายหน้ากระดานที่สันกรอบนอกคล้ายกับเพดานคู่กลาง ถัดเข้ามาแกะเหมือนลายเฟื่องหรือคล้ายทำนองกระจังธรรมาสน์
คือมีลักษณะเป็นกระจังปฏิญาณตัวเล็กและใหญ่สลับกัน
ลายที่มุมฉากออกแบบเป็นลายช่อ คือมีก้านยื่นออกมาจากมุมมีกลีบดอกปลายโค้งสามกลีบและแตกเป็นตัวกระหนกแยกไปสองฝั่ง
ตรงกลางเป็นดอกกลมใหญ่ที่ถูกล้อมรอบด้วยเส้นวงกลม ทำนองดอกกลมใหญ่คล้ายกับดอกกลมใหญ่เพดานคู่กลาง แต่ไม่มีพื้นที่ประดับกระจกในกลีบชั้นนอกนั้น
ด้านข้างของดอกกลมใหญ่ถูกล้อมรอบด้วยดอกกลมเล็กข้างละ6ดอก จัดระเบียบเพื่อเติมเต็มเนื้อที่ให้สมบูรณ์



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:38

ที่เพดานคู่นี้มีรายละเอียดต่างกันที่น่าสนใจอยู้ด้วยครับ
คือนอกจากจะไม่มีลายเฟื่องแล้วก็คือลายหน้ากระดานที่กรอบ ซึ่งออกแบบให้เป็นดอกกลมสลับกับก้านวงของกระหนก
โดยที่บริเวณกึ่งกลางของแต่ละด้านของแถบหน้ากระดานนี้จะมีลายดอกเหลี่ยมอยู่ และลายกระหนกที่แตกมาชนกับดอกเหลี่ยมนี้
จะมีลักษณะที่ต่างไป มีลักษณะที่พลิกแพลงน่าสนใจมาก



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:39

ลายที่มุมของเพดานห้องนี้ก็ต่างไปเช่นกัน โดยใช้ลายดอกบัวตูมที่มุมแล้วแตกลายบริเวณปลายดอกเป็นวงโค้ง
มีกระหนกแทรกออกไปและมีสันกรอบรองรับด้วย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:41

ส่วนเพดานช่องเล็กเหนือประตูทางเข้านั้น มีลายหน้ากระดานที่กรอบนอกสุด ใช้ระเบียบแบบลายลูกฟักกับประจำยามก้ามปู
แต่ออกแบบให้มีเส้นกรอบลายลูกฟักมาขดพันกันเป็นดอกคั่นจังหวะที่ด้าน และใช้ลายดอกเหลี่ยมประจำยามก้ามปูที่มุม
ดอกกลมแบ่งเป็นดอกใหญ่สามดอกเรียงกันในแนวยาว และใช้ดอกเล็กเติมเต็มพื้นที่
เพดานเหนือองค์พระฝางซึ่งเป็นพระประธานนั้นไม่ปรากฏลวดลาย แต่คาดว่าอาจจะมีก็ได้




บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:42

ต่อมาเป็นตัวอย่างเพดานจากวัดปราสาท นนทบุรี ซึ่งใช้ดอกกลมขนาดใหญ่ตรงกลาง และใช้เส้นสี่เหลี่ยมย่อมุมสองเส้นกำหนดพื้นที่หน้ากระดาน
ซึ่งคร่าวๆก็คล้ายกับระเบียบของเพดานวัดใหญ่สุวรรณารามหรือวัดหน้าพระเมรุ คคห.และ
แต่ต่างไปตรงที่ในพื้นที่ของส่วนหน้ากระดานนั้นถูกเปลี่ยนเป็นการเรียงดอกกลมโดยรอบ



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:45

เพดานเหนือพระประธานในศาลาดิน วัดสิงห์ ปทุมธานี เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่ระเบียบถูกคลี่คลายออกไปอีก
โดยมีกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุม1ชั้นล้อมรอบ และใช้ลายค้างคาวที่มุมรับเส้นวงที่ขยายออกมาในชั้นสุดท้าย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 23:47

เพดานพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ลักษณะโดยรวมคล้ายตารางแบ่งเป็นช่องๆ โดยมีขื่อเป็นตัวแบ่งแต่ไม่ใช้สันไม้วางในแนวขวาง
แต่ใช้ลายค้างคาวที่มุมกั้นจังหวะแทน และลายที่มุมนั้นเมื่อหันหลังชนกันจึงอยู่ในทรงสามเหลี่ยม ในแต่ละช่องนี้มีกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุม
ล้อมรอบพื้นที่ซึ่งจัดเรียงเป็นดอกกลมเล็กแปดดอกล้อมรอบดอกกลมใหญ่ตรงกลาง



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง