เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 83885 แหงนดูศิลปะบนเพดาน
ohm md
มัจฉานุ
**
ตอบ: 87



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 23:08

เดือนพฤศจกา ๒๓๑๐ งง เหมือนกันคับว่าแตกไปยัง คำนวณไม่เป็น
แล้วพระธาตุก้อพัง ทีนี้จารึกนี่เป็นรอยขีดเขียนเฉยๆ นั่นคือแปลว่าโบสถ์ต้องสร้างมาก่อนแล้ว
เพราะในภาพถ่ายเป็นการเขียน แบบไม่มีพิธีรีตองเลย เหมือนเด็กมือบอนเขียนเล่าลงไปเฉยๆอย่างนั้นเลยคับ

ส่วนว่าพระธาตุองค์ไหน ความเห็นส่วนตัวผมว่าในสำนึกคนพื้นที่ หมายถึงพระธาตุใหญ่ หลักเมืองอยู่ที่เดียวแหละคับ
สมัยนั้น จากวัดสระบัว ก้อคงมองเห็นวัดมหาธาตุได้ชัดๆ พอเห็นพระธาตุพัง  มันเกิดอารมณ์สะเทือนอย่างรุนแรงนะคับ
ถึงขั้นต้องไปเขียนโน้ตเอาไว้ 55
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 23:14

อืม.. คุณโอห์มอธิบายได้มีเหตุผลมากๆครับ หลังจากกรุงแตก พระมหาธาตุก็พังทลาย ขนาดคนสมัยนี้ฟังแล้วยังอินตาม ... T-T

ไม่ว่าจะพุดอย่างไร ดีชั่วคนเราก็มีความรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ตัวเองผูกพัน สมัยนั้นคนแถบบนั้นคงสะเทือนใจกันยกใหญ่เพราะสูญเสีย
ความั่นคงไปหมด แม้จะไม่ได้รับการถูกโจมตีโดยตรงก็ตาม
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 23:33

กรุงศรีอยุธยาแตกวันที่ 7 เมษายน 2310 เดือนพฤศจิกาก็หลังกรุงแตกนานพอดู ถ้าเมืองเพชรได้รับผลกระทบจริงๆก็คงมีเวลาฟื้นตัวได้แล้ว

พระธาตุจะพังด้วยสาเหตุอะไรไม่ทราบแน่ชัดเลยครับ แต่คงมิใช่ภัยสงคราม ถ้าขนาดทำพระธาตุพังได้ ทั้งเมืองคงไม่เหลือแล้ว คิดว่าน่าจะเป็นด้วยซ่อมมามากเหลือเกิน ด้วยขนบแผนผังพระธาตุเมืองเพชรผิดแผกชาวบ้านชาวเมืองเขา กลับไปคล้ายวัดมหาธาตุ ราชบุรี และมหาธาุตุ สุโขทัย ซึ่งผังอย่างนี้ ทั้งที่ราชบุีรี และสุโขทัยก็เป็นการเติมต่อเหมือนกัน (แล้วก็พังเหมือนกันด้วย)

คนจะเขียนยังงี้ได้คงเป็นโหรหรือพระคำนวณเวลาได้ ท่านคงเห็นผนังวัดเป็นไดอารี่....
บันทึกการเข้า
ohm md
มัจฉานุ
**
ตอบ: 87



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 23:42

ขอพากระทู้ออกอ่าวนะคับ กรุงแตกเนี่ย ผมว่าสำหรับคนเพชร คนบ้านแหลมหรืออะไรก้อแล้วแต่
ถึงไม่เกี่ยวกะเรา แต่มันก้อกระทบคับ การค้าขายมันก้อชะงัก ที่เคยมี"ชาวยี่สารบ้านแหลม ปลากุเราปลาทูปลากระเบนย่าง ทอดเรือขายหน้าวัดแพนงเชิง"
มันก้อทำไม่ได้คับ ยุคนั้นนี่คงเสื่อมกันจริงๆล่ะคับ

เทียบกับตอน ๑๙ พค ที่บ้านผมเทครัวกันมาอยู่ที่เพชรนี่แหละคับ (บ้านอยู่ราชปรารภ!!!พ่อขับมอไซจากบ้านที่ปทุมธานีมารับแม่ตอนตีสี่คับ พ่อบอกเห็นคนเมานอนกันเกลื่อนกลาด ยางรถไหม้มากมาย เอาขอนไม้มาขวางทางตามปากซอยต่างๆ)  จากนั้นก้อไปเอารถที่บ้านพี่ชาย ธนบุรี แล้วมาปักหลักที่เพชรคับ

การที่ศิลปะอยุธยามาเบิกบานที่เพชรได้อย่างมั่นคง ถ้าเราลองเปลี่ยนจากคำว่า พ่อผม แม่ผม เป็นกลุ่มช่างฝีมือต่างๆ ดูล่ะคับ
น่าจะเห็นภาพกันได้คับ ให้ลองคิดเล่นๆคับ ไม่มีหลักฐานอะไรทั้งสิ้น 55(แต่แน่ล่ะว่า ก่อนหน้านั้นก็มีศิลปะแบบนี้อยู่ที่เพชรอยู่แล้ว)
 
ส่วนเรื่องพัง พระธาตุที่เพชรพังบ่อยมากคับ บรรดาช่างหรืออาจารย์ต่างๆของเมืองเพชรที่เคยมีประสบการณ์ปีนขึ้นไปบนยอดพระธาตุ ต่างบอกว่า ข้างบนลมแรงมาก การสร้างครั้งหลังๆในยุคที่ระบบศักดินาดูดเอากำลังทรัพย์สิน หรือผู้คนต่างๆไปไว้ที่อยุธยาหมดแล้วนั้น ก้อคงซ่อมกันอย่างตามมีตามเกิดคับ ถึงได้พังเอาๆขนาดนี้  ๒๓๑๐ พัง, ๒๓๕๗  พระซ่อมกันเอง , ๒๔๐๖ พังอีก รัชกาลที่ ๔ ใหซ่อม แต่ไม่เสรจ(ขนาดนี้แล้วยังไม่เสรจ ระบบศักดินารวมศูนย์นี่ดูดได้สุดๆจริงๆคับ 55) รัชกาลที่ ๕ ใหซ่อมต่อ กะลังซ่อมก้อพังลงมาอีก จนกระทั่ง ๒๔๗๑ ที่บรรดาเจ้าอาวาส เศรษฐีเมืองเพชรต่างๆระดมทุนกันซ่อมโดยไม่ใช้ก่ออิฐถือปูน ใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กคับและยอดข้างบนกลวงคับ จึงได้มั่นคงมาจนทุกวันนี้
เพิ่มเติมอีกว่า บนยอดสุดนั้น มีพื้นที่ให้เดินเล่นได้ประมาณ ๑ ห้องเรือนไทย และในยุคสงครามโลกที่ต้องพรางแสง ปิดไฟไม่ให้ข้าศึกเห็น พระและชาวบ้านต้องปีนเพื่อเอาใบมะพร้าวสดมาผูกแขวนพรางองค์พระธาตุซึ่งทาสีปูนขาวสะท้อนแสงจันทร์ทุกวัน ไม่ให้เครื่องบินเห็นยอดขาวโดดเด่นได้ จนกระทั่งสงครามยุติคับ

แล้วพฤศจิกา ๒๓๑๐ กะเมษา ๒๓๑๐ นี่อะไรมาก่อนกันคับ ยังงงอยู่ ปฏิทินเร็ว ช้าอะไร งง มากเลยย 555 ช่วยชี้แจงหน่อยคับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 20 ส.ค. 10, 09:10

ไม่เกี่ยวกับปฏิทินเร็วช้าครับพี่โอม แค่คิดดูว่าคนแต่ก่อนเขาเปลี่ยนปีพุทธศักราชกันวันวิสาขบูชา คือเดือนหก เพราะฉะนั้น ในจารึกถึงได้บอกว่า หกเดือนล่วงมาแล้ว เลยตรงกับเดือนสิบสอง

ผมก็พากระทู้ออกอ่าวบ้านแหลมเหมือนกัน

เมืองเพชรครานั้นเห็นจะได้รับผลกระทบน้อย มิเช่นนั้นคงไม่มีตำนานพระยาตากเอาแม่มาฝากไว้บ้านแหลม ทั้งภาคใต้ก็ยังหาใช่ทางเดินทัพของพม่าสมัยอยุธยาไม่ (ต่างจากสมัยรัตนโกสินทร์)

เพิ่งเคยได้ยินเรื่องการเปรียบเทียบความกว้างของยอดปรางค์เท่าหนึ่งห้องเรือนไทย ทำให้ผมนึกถึงความกว้างของปล่องเหลี่ยม ที่ราชบุีรี? คนแถวนั้นว่ากว้างขนาดตั้งวงไพ่ตองได้วงนึง ขยิบตา

บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 20 ส.ค. 10, 10:18

อ่านแล้วเพลิดเพลินดีแท้ น่าเอาไปเขียนบทภาพยนต์  ตกใจ


ปล.ยังไม่หลุดครับ ยังไงก็ยังมีปล่องพระธาตุ เรื่องเพดานเหมือนกัน 5555
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 20 ส.ค. 10, 10:38

แกเล่นสิเน เป็นกำนันบ้านแหลมไง
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 20 ส.ค. 10, 10:47

ขอเล่นเป็นพระเอกดีกว่าครับ เลือกนางเอกเป็นพอลล่า 5555
บันทึกการเข้า
luck-rama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 188


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 20 ส.ค. 10, 11:04

ถึงจะออกอ่าว แต่กลับฝั่งมาพร้อมความรู้และสาระแถมความบันเทิง ยิงฟันยิ้ม  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 20 ส.ค. 10, 11:07

พอลล่าเป็นนางนกเอี้ยงหรอ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 12:15

เพดานรูปแบบที่ 3 ของวัดสระบัวนั้น เป็นส่วนที่อยู่เหนือองค์พระประธาน เพราะฉะนั้นจึงเป็นเพดานที่มีการออกแบบให้ดูดีที่สุด
แม้ปัจจุบันตำแหน่งของพระประธาน จะไม่ได้อยู่ตรงกึ่งกลางของพื้นที่เพดาน แต่คิดว่าแต่เดิมนั้นองค์พระจะต้องประดิษฐาน
อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางพอดี ดังเช่นที่วัดใหญ่สุวรรณารามนั่นเอง

เริ่มจากดอกบัวกลมดอกใหญ่ที่อยู่ตรงกลาง ดอกบัวนี้ออกแบบเป็นกลีบเดี่ยวไม่มีกลีบย่อย ตัวกลีบยาวปลายแหลมซ้อนกันจำนวนสามชั้น
ก่อนจะเป็นกลีบพุ่มลอยตัวออกมาสองพุ่มลดขนาดกัน แบบแผนคล้ายอย่างเดียวกับพุ่มของหัวเม็ด ดอกกลมใหญ่นี้จะถูกล้อมรอบด้วยดอกกลม
เล็กจำนวน 10 ดอก และถูกล้อมรอบด้วยกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุม ซึ่งเป็นสันไม้ที่ยื่นออกมาจากพื้นระนาบ สันไม้นี้จะถูกลบคมทั้งสองฝั่ง
พื้นที่บนสันไม้นี้ประดับดอกเหลี่ยมเล็กๆเป็นจุดๆ
ถัดออกมาจะเป็นพื้นที่ที่ถูกล้อมด้วยกรอบย่อมุมชั้นนอกอีกที ทำให้มีลักษณะเป็นพื้นที่อย่างแถบหน้ากระดาน ซึ่งมีการประดับด้วยดอกกลมสลับดอกเหลี่ยม
ทรงข้าวหลามตัด เป็นแบบแผนคล้ายลายหน้ากระดานก้ามปูมาก

ที่มุมฉากนอกกรอบย่อมุมชั้นนอกสุดบรรจุลายค้างคาวเข้าไป ส่วนที่กึ่งกลางของด้านทั้งสี่ มีการเพิ่มเติมแผ่นรูปทรงสามเหลี่ยมด้านแอ่นโค้งเข้า
ภายในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านั้น โดยที่แผ่นสามเหลี่ยมที่ด้านกว้างจะมีขนาดใหญ่กว้าที่ด้านยาว เพราะเกิดการการใส่ดอกกลมในพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ทำให้เกิดพื้นที่บริเวณด้านกว้างมากกว่าพื้นที่บริเวณด้านยาว


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 12:29

เพดานของวัดใหญ่สุวรรณารามนี้ก็มีแบบแผนคล้ายกับวัดสระบัวมาก และมีความประณีตมากกว่าเพราะมีขนาดอาคารที่ใหญ่กว่า และมีสถาณะสูงส่งกว่า
จึงทำให้คิดได้ว่าวัดสระบัวจะได้แบบแผนจากที่วัดนี้ไป แต่การที่ผมนำภาพของวัดสระบัวลงไปก่อนนั้น เป็นเพราะว่าลวดลายที่นั่นเห็นได้ชัดกว่า
และก็เป็นรูปแบบที่นำเอามาอธิบายได้ง่ายกว่าครับ

เริ่มจากแบบแผนของเพดานเหนือองค์พระประธาน ซึ่งเพดานชุดนี้ออกแบบให้สัมพันธ์กับตำแหน่งของพระประธานได้อย่างดี
โดยดอกบัวกลมอันใหญ่ที่กึ่งกลาง ชั้นนอกหรือล่างสุดแกะเป็นกลีบๆแยกกันไม่มีกลีบย่อย ลักษณะเป็นกลีบยาวปลายแหลม
ชั้นถัดมาก็แกะทำนองเดียวกันอีกสองชั้น รวมเป็นกลีบลักษณะนี้สามชั้น ก่อนจะเป็นกลีบพุ่มประดิษฐ์ให้เป็นพุ่มๆออกมากสามพุ่ม
ทรงคล้ายหัวเม็ดทรงมัณฑ์ กลีบพุ่มชั้นแรกแกะเป็นกลีบยาวปลายแหลมไม่มีบ่ามีการซ้อนกลีบย่อย ชั้นต่อๆมาก็ทำนองเดียวกัน
แต่ลดขนาดวงลง นอกจากนี้ที่ปลายยังต่อก้านออกมาอย่างสวยงาม เพื่อแขวนร่มขาวกางเหนือองค์พระประธานด้วย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 12:32

ส่วนแบบแผนโดยรวมอื่นๆก็ดูคล้ายกับ เพดานลักษณะเดียวกันนี้ของที่วัดสระบัวมาก เพียงแต่ถูกประดับตกแต่งมากขึ้น
เพราะมีขนาดห้องที่ใหญ่กว่าและน่าจะเป็นช่างที่มีฝีมือมากกว่า?


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 12:37

เพดานห้องอื่นนอกเหนือจากเพดานเหนือองค์พระประธาน ก็ตกแต่งทำนองเดียวกับที่วัดสระบัว แต่เขียนลายประณีตตกแต่งได้อลังการกว่า
แต่เสียดายว่าเคยถูกซ่อมแซมโดยการทาสีทับ? จนทำให้เห็นลวดลายไม่ชัดเจนนัก
ภาพนี้เป็นดอกกลมที่กึ่งกลางของเพดานชุดต่อมา


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 12:39

สันไม้ที่แบ่งช่องและพื้นที่ในช่องสี่เหลี่ยมย่อยก็ทำแบบเดียวกันครับ (ดูเพดานวัดสระบัว คคห.64)



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง