เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 83882 แหงนดูศิลปะบนเพดาน
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:51

โอ้วว สวยงามดีจริงๆ โทนสีแจ่มออกแบบสวย มีอีกป่าวพี่

ปล.ถ้างงก็คงงกันตั้งแต่ที่ผมพิมพ์แล้วล่ะครับ หุหุ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:52

สีมันแจ่มเพราะโดนโฟโต้เฉาะีครับ เศร้า
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:56

อ่านะ .... ยิ้ม

ว่าแต่ไม่มีที่อื่นอีกเหรอครับ ที่น่าจะเก่ากว่าสมัยพระนารายณ์ขึ้นไป
แล้ววัดศรีชุมละพี่ได้ถ่ายมาบ้างไหม
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:59

มันก็เป็นภาพลายเส้นสลักเป็นเรื่องเป็นราว ชาดกรกช่องหาใช่ดาวเพดานบานบุรีไม่
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 20:49

เพดานของวัดสระบัวรูปแบบที่2 มีรูปแบบตารางคล้ายวัดไชยวัฒนารามแต่แบ่งช่องต่างไป
คือแบ่งช่องกลางเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเกือบจตุรัสซึ่งมีพื้นที่มากที่สุด และแบ่งพื้นที่รอบนอกเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก
จำนวน12ช่อง มีสันไม้ลักษณะเดียวกับช่องที่แล้วมาแบ่งพื้นที่ดังกล่าว
ที่ช่องกลางมีดอกบัวกลมดอกใหญ่อยู่กึ่งกลาง ดอกบัวนี้ชั้นนอกหรือล่างสุดแกะเป็นกลีบๆแยกกันไม่มีกลีบซ้อนย่อย
ลักษณะกลับเป็นกลีบยาวมีบ่าปลายแหลม ชั้นถัดมาก็แกะทำนองเดียวกัน ก่อนจะเป็นกลีบพุ่มเป็นชั้นๆ ประดิษฐ์ให้ยาวออกมาก
จนดูคล้ายหัวเม็ดทรงมัณฑ์ กลีบพุ่มชั้นแรกแกะเป็นกลีบยาวปลายแหลมไม่มีบ่ามีการซ้อนกลีบย่อย ชั้นต่อมาก็ทำนองเดียวกัน
แต่ลดขนาดวงลงซึ่งชั้นนี้ทำทีประคองลูกกลมๆแต่มีการประดิษฐ์ให้มากขึ้น โดยการกลึงออกมาจนดูคล้ายหัวเม็ด



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 20:55

ดอกบัวดอกใหญ่นี้ถูกล้อมรอบด้วยดอกกลม ซึ่งมีกลีบโค้งสั้นๆชั้นเดียวอีกจำนวน 8 ดอก แล้วเขียนลายดอกสี่เหลี่ยม
บนพื้นไม้เป็นลายดอกเหลี่ยมทรงข้าวหลามตัด เชื่อมดอกกลมทั้ง 8 ดอกนั้น
ลายค้างคาวที่บริเวณมุมฉากของพื้นที่ใหญ่นั้น ใช้รูปแบบต่้างออกไปจากเดิม โดยแต่เดิมนั้นลายค้างคาวจะอยู่ตรงพื้นที่ว่างบริเวณ
และคอยรับเส้นวงโค้งที่ขยายออกจากดอกกลางในแนวรัศมี แต่ลายค้างคาวชุดนี้ไม่ออกแบบให้รับวงโค้งดังกล่าว


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 20:59

ตกลงเป็นสังกะสีปะ

สงสัยมานานแล้วว่า ไอ้ดวงขาวๆของวัดสระบัวมันคืออะไร ทาสีไว้เฉยๆนี่เอง
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 21:02

พื้นที่สีเหลี่ยมย่อยใช้รูปแบบของการย่อมุม เข้ามาล้อมรอบดอกกลมตรงกลาง ซึ่งมีดอกกลมที่ทำลอยตัวรูปแบบเดียวกับดอกกลมอันเล็ก
8 ดอกในช้องกลาง แต่ในช่องสี่เหลี่ยมย่อยนี้เขียนลายเป็นกลีบซ้อนเพิ่มเติมเข้าไป และมีการเขียนแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละช่องอีกด้วย
ลายที่มุมฉากนอกพื้นที่ย่อมุมก็มีการบรรจุลายต่างกันออกไปในแต่ละช่องเช่นกัน

เมื่อมองเพดานของวัดสระบัวนี้ ก็เหมือนจะทำให้มองเห็นดาวและท้องฟ้าในจินตนาการครับ



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 21:04

ทาสีแล้วมันก็ดูเป็นดาวดีนะครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 21:07

ดูใกล้ๆแล้วเขียนเบี้ยวด้วยล่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ohm md
มัจฉานุ
**
ตอบ: 87



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 22:38

ขอเพิ่มเติมเรื่องวัดสระบัวหน่อยนะคับ เดิมเราก้อเชื่อว่าเป็นอยุธยา พอวงการศิลปะเจริญขึ้น มีทฤษฎีใหม่ๆมา ก้อทำให้เราได้คิดได้ค้นกันขึ้นไปอีก
๑ เรื่องที่ว่าสร้างสมัยไหน ตอบได้ว่า สร้างก่อน พศ ๒๓๑๐ คับ
เพราะผนังพระอุโบสถแห่งนี้ มีรอยจารึกข้างพระประธาน เป็นรอยเขียนเล่าถึงพระมหาธาตุ ที่ "กระทำปาฏิหาริย์ พังลงแล"
ระบุวันเดือนปีไว้ว่า พระพุทธศักราชล่วงแล้ว .๓๑๐ พระวษา สังขยาเดือน.ล่วงแล้ว ๖เดือน ๒วัน อันเป็นปัจจุบันปีนี้ ..นวศกอยู่ในเหมกรดู เดือน ๑๒ แรม๒ ค่ำ วัน๒ เพลาเย็น
อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว คำนวณว่าตรงกับวันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน ส่วน พศ เทียบแล้ว ตรงกับ ๒๓๑๐ คับ

การจารึกอะไรแบบนี้ เป็นวิธีพื้นเมืองของเราประการนึงที่ใช้บันทึกเหตุการณ์สำคัญยิ่งของบ้านเมืองหนึ่งๆเอาไว้
คนรุ่นหลังเราอาจไม่เข้าใจ ไปลบทิ้ง ทาสีทับ ที่วัดสระบัวนี่ก้อโดนทาทับตอนซ่อมคับ
เคราะห์ดีของเมืองเพชร สีใหม่ดันลอก ให้อาจารย์ล้อมกะอาจารย์เสยย์ เกิดเจริญ ไปเจอเข้าพอดี

จารึกแบบนี้ ยังมีที่วัดมหาธาตุด้วยคับ ครูพิณ อินฟ้าแสง เจอตอนซ่อมเมื่อเจ็ดสิบปีก่อน
แต่ที่นี่กล่าวถึงพระปรางค์พังสมัย รัชกาลที่๔
ก็สรุปได้ว่าพระธาตุนี้พังหลายครั้งคับ

๒ ดาวเพดาน สังกะสี ไม่ทราบจริงๆคับ คงต้องรอซ่อมแล้วให้เจ้าหน้าที่กรมศิลป์(ที่มีความรู้และสำนึกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ)

เป็นคนชี้แจงคับ
คุณกุเคยแนะนำว่า ให้แอบเอาไม้เขี่ยๆลงมาดู5555

บันทึกการเข้า
ohm md
มัจฉานุ
**
ตอบ: 87



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 22:51

แถมด้วยภาพเมรุลอย พศ ๒๔๘๗ คับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 22:59

ถ้ามีจารึก 2310 ปีกรุงแตกพอดี แปลว่าเพชรบุรี ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเท่าไหร่จากสงคราม แต่ไม่ทราบว่าที่จารึกไว้นี้เป็นปีสร้างหรือปีซ่อม อาจจะพังเสียจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งก็เป็นได้ครับ

วัดมหาธาตุ พิษณุโลก ก็มีจาึรึกแอบๆอยู่ตามขื่อตามฝ้า สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งรู้ได้แน่ว่าเป็นจารึกหลักฐานการซ่อม

ส่วนพระมหาธาตุ ที่กระทำปาฏิหาริย์ ไม่แน่ใจว่าจะหมายถึงพระมหาธาตุเมืองเพชร หรือหมายถึงพระมหาธาตุที่ไหน อาจจะเป็นเจดีย์เล็กๆหน้าวัดก็ได้ แต่ก่อนคำเรีัยกมหาธาตุ มักใช้กับเจดีย์ทรงปรางค์ (แต่ไม่เสมอไป อ้างจากเอกสารปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์) แต่ก็ไม่จำกัดขนาด เจดีย์เล็กๆบางทีก็เรียกเป็นมหาธาตุได้ ถ้าหากหมายถึงเหตุการณ์ของวัดโดยเฉพาะ

ช่วยกันคิดหน่อยนะครับ ผมไม่ค่อยมีหลักฐานเรื่องวัดสระบัวเลย
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 23:05

ของอ้างคุณโอมนิดนึงนะครับ

พระพุทธศักราชล่วงแล้ว .๓๑๐ พระวษา สังขยาเดือน.ล่วงแล้ว ๖เดือน ๒วัน อันเป็นปัจจุบันปีนี้ ..นวศกอยู่ในเหมกรดู เดือน ๑๒ แรม๒ ค่ำ วัน๒ เพลาเย็น

ตรงกับวันที่ 9 พฤศจิกายน 2310

เป็นหลักฐานดีๆอันนึงที่แสดงว่าคนแต่ก่อนเปลี่ยนปีพุทธศักราชกันวันวิสาขบูชา ไม่ได้เปลี่ยนตอนปีใหม่มกราคมแบบทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 23:07

ว้าวว  ตกใจ  เพิ่งทราบนะครับนี่ ขอบคุณคุณโอห์มครับที่นำความรู้มาฝากกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ยิ่งหมายความว่าช่างเมืองเพชรนั้นเก่งมากครับ
และน่ายกย่องด้วย คิดถึงกระบวนการสืบเนื่องแล้ว น่าจะมีการเสนอให้เป็นมรดกโลกไปเลยทีเดียว

การที่คุณโอห์มนำข้อมูลมาเสนอนี้ ก็เป็นสิ่งยืนยันที่น่าสนใจเกี่ยวกับการที่ช่างจะหยิบตัวอย่างของงานมาใช้ออกแบบ ทั้งเรื่องรูปแบบและรายละเอียด
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีการยืดหยุ่นในการนำมาใช้เสมอ ไม่ว่าจะผลจากโครงสร้าง สภาพ แนวคิด และเงื่อนไขประกอบอื่นๆมากมาย

สำหรับเรื่องดาวเพดานนี้อย่างที่ผมกล่าวไว้แล้วครับว่า ฝ้าเพดานเป็นส่วนหนึ่งของงานเครื่องไม้ของหลังคาเครื่องบน ย่อมมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข
เพื่อประโยชน์ในการใช้งานครับ แต่อย่างไรก็ดีช่างมีสิทธิ์ที่จะเลือกรูปแบบในการซ่อมงาน ได้หลายทาง เช่น การทำใหม่หมดเลยตามแบบสมัยนิยมหรือความคิดตัวเอง
การทำใหม่หมดแต่เลียนของเดิมเท่าที่ทำได้ การเลือกใช้ของเดิม สำหรับชิ้นที่ใช้ได้ก็เอามาซ่อมแซมแล้วใส่กลับเข้าไป เป็นต้น
ดังนั้นเพดานของวัดสระบัว ก็ยังถือเป็นรูปแบบที่เราสามารถศึกษาได้ครับ เพราะมีรูปแบบของงานอื่นๆ ที่เราพอจะอ้างอายุได้เพื่อมาเทียบเคียงครับ
เรื่องเพดานที่ผมนำมาลงนี้ ก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะเสนอเนวคิดมุมมองออกมา เพื่อให้คนที่สนใจจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง