virain
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 01:25
|
|
ธรรมาสน์วัดบางช้างอ้อย (นามสมุมติ) นนทบุรี เป็นธรรมาสน์ที่มีความน่าสนใจเพราะโดยรูปทรงและลวดลายต่างๆ แสดงให้เห็นว่า เป็นงานที่น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เพดานนั้นใช้รูปแบบคล้ายคลึงกับเพดานธรรมาสน์ในพช.สมเด็จพระนารายณ์ (คคห.21) ซึ่งเป็นหลังที่มีอายุเก่าไปกว่ามาก เริ่มจากลายแถบแบบหน้ากระดานที่เป็นกรอบนอกสุด ใช้ลายดอกกลมสลับกับลายสี่เหลี่ยมขนมเปีกปูน แบบแผนทำนองลายก้ามปู ที่มุมเป็นลายดอกเหลี่ยม ลายแถบหน้ากระดานนี้แบ่งจังหวะได้สวยงามมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 01:26
|
|
ลายค้างคาวที่มุมทำเป็นเลยหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน มีการสอดก้านชูลายอย่างดอกโบตั๋น?ดอกบัว? เพื่อปิดจังหวะโค้งชน ส่วนดอกบัวกลมดอกใหญ่ตรงกลาง ชั้นนอกแกะเป็นกลีบยาวปลายแหลมบากโค้งๆตามเส้นรอบเป็นจังหวะ พื้นที่ภายในกลีบ ก็แกะทำนองเดียวกับเส้นรอบนั้น มีกลับซ้อนอีกสองชั้นลดขนาดกันลงไป ชั้นถัดมาเป็นกลีบทรงสามเหลี่ยมแกะลายซ้อนชั้น ทำนองเดียวกับกลีบชั้นนอก มีกลีบซ้อนอีกสองชั้นเช้นกัน กลับชั้นในสุดเป็นพุ่มของกลีบทรงสามเหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้น ล้อมประคองวงในที่แกะนูนออกมาไม่มากนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 01:43
|
|
ก่อนจะไปดูเพดานของจริง ก็มีตัวอย่างของธรรมาสน์อีกหลังหนึ่งให้ชมครับ เป็นธรรมาสน์ริมทางของวัด...จรรยาวาส (เติมคำในช่องว่าง) หุหุ ธรรมาสน์หลังนี้น่าจะสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย และมีแบบแผนของเพดานคล้ายกับเพดานธรรมาสน์ในพช.สมเด็จพระนารายณ์อีกหลังหนึ่ง (คคห.38) ซึ่งหลังนั้นมีจารึกบอกว่าสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แม้ธรรมาสน์ริมทางหลังนี้จะไม่เก่าเท่าหลังนั้น แต่ก็ใช้แบบแผนของเพดานอย่างเดียวกัน
...ตัวอย่างของเพดานธรรมาสน์สองหลัง(ล่าสุด)นี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีการพัฒนารูปแบบและรายละเอียด ของงานประดับเพดานให้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่การเลือกหรือเอารูปแบบเดิมมาใช้ ก็เป็นเรื่องปกติที่ช่างสามารถจะทำได้ หรือไม่ก็อาจเป็นการออกแบบแล้วบังเอิญใช้แนวความคิดที่ตรงกันก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
srisiam
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 07:26
|
|
ขอท่านเจ้าของกระทู้...ได้รวบรวมกระทู้นี้แล้วพิมพ์เป็นหนังสือขายได้เลยครับ..... จะรอซื้อ.... ได้ความรู้ดีมาก....ได้ถอดระหัส...เพลินๆอีกตะหาก....ขอบคุณมากๆๆๆๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 18:41
|
|
เก่งว่ะ ไปเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะเถอะ ท่าจะรุ่ง
ดาวเพดานวัดคุณนายตะกุยไม่ใช่เพดานธรรมาสน์ครับ เป็นเพดานหรือฝ้าของพระอุโบสถ เขาถอดจากของเดิม แล้วก็แปะไว้เหนือพระประธานเฉยๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 19:28
|
|
ก็ไม่ขนาดนั้นหรอกครับ .... นึกแล้วอยากไปดูของจริงมาก อยากไปอยุธยาอีกแล้ว 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 20:20
|
|
เพดานที่ใช้ในอาคารจริงนั้น ก็มีแบบแผนคล้ายๆกับอาคารจำลองอย่างบรรดาธรรมาสน์ครับ แต่เป็นเพราะอาคารจริง นั้นมีพื้นที่ของเพดานเยอะกว่า ดังนั้นการประดับฝ้าเพดานจึงต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นมา และก็เป็นสิ่งที่ช่างจะคิด ออกแบบงานได้กว้างขวางกว่า อย่างไรก็ดีงานประดับฝ้าเพดาน ของอาคารตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป นั้นมีหลักฐานเหลืออยู่ให้ดูไม่ได้มากมายนัก เหตุผลสำคัญก็คือสภาพภูมิอากาศ ฝ้าเพดา่นนั้นเป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับหลังคา และจัดเป็นส่วนหนึ่งในงานไม้ของเครื่งบน ซึ่งมีหน้าที่กันแดดกันฝน ดังนั้นจึงเป็นส่วนที่จะชำรุดและต้องมีการซ่อมแซมอยู่ตลอด เพื่อให้สามารถใช้งานอาคารนั้นๆได้ต่อไป เมื่อมีการซ่อมแซม ช่างที่ทำงานก็สามารถหยิบเอารูปแบบและความคิดใหม่ๆ เข้าไปใส่ในงานซ่อมนั้นได้ ทำให้งานเก่าถูกแทนที่ไป แต่ก็มีบางแห่งที่จะรักษารูปแบบเดิมเอาไว้หรือใช้ของเดิมอยู่ นอกจากนี้ก็ยังมีฝ้าเพดานที่เคยอยู่ในคูหาพระปรางค์ เช่นเพดานของคูหาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในพช.รามคำแหง และเพดานของคูหาพระปรางค์ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก เป็นต้น
แห่งแรกที่มีตัวอย่างของงานประดับเพดานที่น่าสนใจก็คือ ฟ้าเพดานของพระเมรุทิศวัดไชยวัฒนารามครับ แม้ปัจจุบันส่วนสำคัญอย่างดาวเพดาน หรือดอกบัวกลมตรงกลางจะสูญหายไปแล้ว ก็ยังหลงเหลือรูปแบบของการวางตำแหน่งโดยรวมไว้ให้ชม โดยหากมองโดยรวมของพื้นที่เต็มแล้ว จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสทั้งหมดออกเป็นช่องๆ (มีการเหลื่อมของการก่ออิฐเข้ามา ด้วยเหตุผลทางโครงสร้าง) โดยการวางสันไม้ยื่นออกมเป็นแนวอย่างตาราง ที่จุดตัดประดับด้วยลายดอกเหลี่ยม สันไม้นี้ลบคมมีร่องรอยการประดับกระจก พื้นที่ด้านในสี่เหลี่ยม จตุรัสย่อยแต่ละอัน จะมีชั้นย่อมุมเพื่อสร้างมิติ ก่อนจะถึงพื้นหลักที่เป็นระนาบที่ให้ติด ดอกบัวกลม สำหรับช่องตรงกลางเป็นช่องสี่เหลี่ยมจตุรัสซึ่งมีพื้นที่มากสุด และมีรอยวงกลมปรากฏ แสดงให้รู้ว่าเป็นดอกบัวกลมอันที่ใหญ่ที่สุด ส่วนอันอื่นจะมีขนาดเล็กลงไปสังเกตได้จากรอยนั้น แบบแผนของเพดานของพระเมรุทิศนี้ มีความแตกต่างจากเพดานธรรมาสน์ที่พบตรงที่มีการแบ่งพื้นที่ซับซ้อน นั่นเป็นเพราะขนาดของงานที่ใหญ่กว่ามาก และมีความจำเป็นเรื่องความแข็งแรงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นเมื่อเห็นการประดับประดาฝ้าเพดาน ในลักษณะที่ซับซ้อนนี้ ก็อาจทำให้จิตนาการได้ถึงท้องฟ้ายามคำ่คืน และดาวเพดานถ็ถูกนำมาเรียกใช้ในที่สุด?? แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นช่างอาจจะจินตนาการประกายแสงของดวงดาว ให้ถ่ายทอดออกมาโดยใช้รูปแบบของดอกไม้มาตั้งแต่ต้นก็ได้??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 20:57
|
|
ฝ้าเพดานของวัดสระบัว เป็นอีกหนึ่งที่สำคัญในการดูรูปแบบของการประดับฝ้าเพดาน เพราะมีรูปแบบอยู่ถึงสามรูปแบบด้วยกัน รูปแบบแรกเป็นการประดับด้วยการเขียนลายบนพื้นไม้ที่ทาสีแดง กรอบรูปสี่เหลี่ยมผื้นผ้าที่มีด้านยาวขนานกับผนังสกัดของอาคาร จะถูกตีกรอบด้วยสันไม้ที่ยื่นออกมาจากพื้นระนาบ สันไม้นี้ถูกลบมุมสองข้างจนขอบมาชนกันเป็นสัน ที่จุดตัดสันที่ถูกลบคมจะไม่มี เพราะต้องใช้ผื้นที่บนสันไม้นี้ เขียนกลีบของลายเพื่อประกอบให้เป็นลายประจำยามแบบสี่กลีบ พื้นที่ด้านในเขียนดอกบัวกลมดอกใหญ่ตรงกลาง โดยขีดเส้นวงกลมเป็นชั้นๆ 4 ชั้น ชั้นนอกสุดเขียนเป็นกลีบยาวมีบ่าปลายแหลม และมีกลีบซ้อนหนึ่งชั้น แล้วเขียนลายในพื้นที่ว่าง ชั้นที่2เขียนเป็นลายกระจังตาอ้อยออกลายก้านขดสองฝั่ง ถัดเข้ามาเขียนเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยมบานออกมีกลีบซ้อน ชั้นในสุดเป็นพื้นที่ว่าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:06
|
|
เมื่อพื้นที่สีเหลี่ยมผืนผ้าบรรจุลายดอกกลมดอกใหญ่ไว้ตรงกลาง ก็จะทำให้เหลือพื้นที่บริวเณด้านกว้างกับด้านยาวไม่เท่ากัน เมื่อที่บริเวณด้านกว้างมีพื้นที่มากกว่า จึงต้องบรรจุลายดอกกลมเข้าไปได้เพียงฝั่งละสามดอก ทำนองล้อมดอกกลมดอกใหญ่ตรงกลาง โดยใช้ลายค้างคาวที่มุมฉากรับจังหวะกับเส้นวงโค้ง เพื่อปรับพื้นที่ว่างก่อนจะเพิ่มลายอย่างเส้นริบบิ้นเข้าไป สร้างอารมณ์เคลื่อนไหว
เห็นได้ว่าการประดับเพดานลักษณะนี้ ใช้แบบแผนคล้ายกับเพดานธรรมาสน์ด้วย เช่นธรรมาสน์ของวัดสว่างติการาม (นามสมมุติ) นนทบุรี (คคห.37)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:10
|
|
ดาวเพดานวัดสระบัว ดูทีไรก็อัศจรรย์ใจทุกที ทำไปได้นะคนเรา แต่ลืมอันนี้ได้ไง เดี๋ยวเขาน้อยใจหมด 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:13
|
|
ก็คิดถึงอยู่ครับ แต่ไม่มีรูปอ่ะ อ่ะนะไหนๆพี่กุเอามาลงแล้ว ก็ต่อเลยครับ ... หลายที่ผมเองก็ไม่มีรูป พี่ก็เอามาลงให้ผมดูบ้างนะ ..หุหุ [color]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:15
|
|
อันนี้ด้วย ดาวเพดานวัดใหม่ประชุมพล พระนครหลวงอยุธยา (ไม่ต้องปิดบังเพราะขโมยไม่ได้) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:25
|
|
สวยงามมากมาย  เพดานในเจดีย์วัดใหม่ประชุมพลนี้ รูปแบบคล้ายคลึงกับเพดานของพระเมรุทิศวัดไชยวัฒนารามอยู่นะครับนี่ เสียดายที่ยังไม่เคยไปดูสักที ....ที่ปราสาทนครหลวงมีบ้างไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:35
|
|
เกรงว่าปราสาทนครหลวงจะไม่มีอะไรที่น้องเนต้องการเหลือแล้วล่ะครับ ดูกันชัดๆเนาะ  ดาวเพดานวัดใหม่ประชุมพล ใช้สีคล้ายๆศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามเลย จากรูปแบบเจดีย์ ฮิตมากในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ศาลาการเปรียญวัดใหญ่จะต้องเป็นสมัยปราสาททอง? งงไหมเนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:36
|
|
อีกๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|