เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 84011 แหงนดูศิลปะบนเพดาน
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 19:12

ลายแกะนี้แกะได้เป็นระเบียบงดงามมากครับ ลักษณะของดอกบัวถูกทำให้มีมิติขึ้นมาเหมือนดอกไม้จริง
แม้จะไม่เหมือนดอกบัวหลวงแต่ก็คิดว่าน่าจะได้รูปแบบมาจากดอกบัวครับ? ส่วนลายที่ใช้คั่นเพื่อเติมเต็ม
ช่องว่างระหว่างดอกนั้นทำเป็นดอกไม้ ซึ่งประดิษฐ์ให้ส่งเกสรแยกไปสองทางที่ปลายเพื่อให้รับกับวงโค้ง

อีกจุดหนึ่งซึ่งพอสังเกตได้ก็คือ ลายกลีบบัวที่เรียงอยู่บริเวณขอบลบมุม?ของคานนี้ มีลักษณะแบบปลายกลีบหักชน
แล้วแตกเป็นรูปอย่างใบไม้ทิ้งลงมา อาจารย์สันติกล่าวไว้ในหนังสือว่า เป็นลายที่พบในศิลปะพุกามอีกด้วย
.... เสียดายที่ผมเองก็ถ่ายภาพมาไม่ละเอียดเท่าไหร่


บันทึกการเข้า
luck-rama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 188


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 20:47

มารอชมอีกคนครับ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 21:21

สวัสดีครับ

ต่อมาเป็นกลุ่มลายเพดานจากธรรมาสน์ที่ผมเอามารวมไว้ด้วยกัน ที่เอาธรรมาสน์เข้ามาเกี่ยวด้วยนั้น
ก็เพราะธรรมาสน์มีการประดับพื้นที่ฝ้าเพดานเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดีครับ เพดานของธรรมาสน์หลังเก่าๆในประเทศไทยก็พอมีให้ดูอยู่บ้าง นอกจากที่ผมลงก็คงมีซุกๆซ่อนๆอยู่
ก็คงได้แต่ต้องตามดูกันต่อไป เพียงแต่ธรรมาสน์บางหลังนี้ผมเองอาจจะติดขัดในการบอกที่อยู่ ขอบอกอ้อมๆแล้วกันเนอะ
ทางชมรมจะได้ไม่ถูกกล่าวหา...


ภาพแรก ลายเพดานธรรมาสน์วัดนกใหญ่(นามสมมุติ) ใช้แบบแผนเหมือนลายเพดานหินชนวนชิ้นแรก แต่มีลายแถบแบบหน้ากระดานที่ใช้ระเบียบแปลกหน่อย
ตรงที่ใช้ตัวกระกนกโค้งแบบเลขหนึ่งไทยคั่นลายดอกไม้กลมๆ โดยส่งลายวนไปในทิศทางเดียวกัน ที่มุมฉากก็ใช้ดอกบัว?หรือดอกโบตั๋น?
ลายค้างคาวที่มุมฉากเป็นเลขหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน ใช้ลายรูปใบไม้ปิดจังหวะที่โค้งชน แล้วแตกลายเป็นวงโค้งสลับลดขนาดกันออกมา
แต่ลายดอกบัวถูกแกะให้มีมิติขึ้น กลีบบัวชั้นนอกมีลักษณะปลายถูกบากสองจังหวะ และมีกลีบเล็กปลายมนด้านใน
ถัดเข้าไปเป็นกลีบปลายบากจังหวะเดียวแกะพื้นเป็นเส้นๆคล้ายเกสร ถัดไปอีกเป็นกลีบลายบากจังหวะเดียวเช่นกันไม่แกะเส้นเกสร
แต่ทำเป็นร่องให้โค้งมีแกนตรงกลาง ชั้นสุดท้ายเป็นกลีบแบบหุบเข้าปลายแหลม วงกลมตรงกลางนูน ทำให้ดูออกว่าดอกบัวที่ประดับในเพดาน
ของธรรมาสน์ก็เริ่มไม่เป็นดอกบัวแล้ว แต่ก็คงใช้แนวความคิดของดอกบัวอย่างลายเพดานรุ่นเก่าเช่นกัน
แม้ว่าเพดานของธรรมาสน์ชุดนี้ น่าจะเป็นชุดที่เก่าที่สุดแล้วเท่าที่ผมหาพบ?





บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 21:35

ธรรมาสน์หลังที่สองที่มีลายเพดานน่าสนใจก็คือ ธรรมสาน์วัดวิหารไม้(นามสมมุติ)
มีลักษณะการออกแบบเป็นที่น่าสนใจมาก เริ่มจากลายค้างคาวที่มุมทำเป็นเลยหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน
ปลายด้านหนึ่งถูกโค้งเข้ามาจบกันแล้วปิดด้วยดอกกลม และที่มุมก็แกะเป็นกลีบซ้อนชั้นกัน
ลายพื้นแกะเป็นลายก้านขดที่เป็นระเบียบ โดยมีดอก(คล้ายบัวตูม?)แปดดอกซ้อนออกมา ว
างตำแหน่งรอบดอกบัวกลมตรงกลาง และมีรายละเอียดแบบใบไม้ธรรมชาติแทรกเติมเต็มพื้นที่
ส่วนดอกบัวกลมตรงกลางแกะเป็นกลีบปลายแหลมซ้อนชั้นที่วงนอกสุด ชั้นถัดมาแกะเป็นเกสร
และวงในสุดเหมือนเอาไว้ใส่อะไรสักอย่าง


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:00

5555 มีวัดนามสมมติด้วย มารอดูคนตั้งกระทู้ก่อน รอจองที่ครับ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:03

ที่วัดกุฎีทอง ตรงข้ามวัดธรรมิกราช
ยังอยู่หรือเปล่า
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:06

หลังที่สามคือธรรมาสน์ในพช.สมเด็จพระนารายณ์ ธรรมาสน์หลังนี้ลายเพดายดูเป็นระเบียบกะทัดรัดดีครับ
มีลายแถบแบบหน้ากระดานเป็นกรอบรอบ ใช้ลายดอกกลมสลับกับลายสี่เหลี่ยมขนมเปีกปูนแบบแผนทำนอง
ลายก้ามปู ลานค้างคาวที่มุมเป็นทำเป็นเลยหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน
แต่สอดก้านชูลายเพื่อปิดจังหวะโค้งชน ซึ่งได้ทำรูปแบบตรงส่วนนี้ต่างกันเล็กน้อย กระหนกที่เป็นวงโค้งมีกาบประดับ
ดอกบัวกลมตรงกลางทำเป็นกลีบยาว ปลายไม่หักเข้าแต่ทำเป็นเส้นปีกกาชี้ออกให้แหลม พื้นแกะย่อตามเส้นรอบนอกลงไปหนึ่งชั้น
และย่อเป็นกลีบปลายมนอีกหนึ่งชั้น มีกลีบซ้อนเป็นเส้นเรียวๆปลายแหลม อีกสองชั้นถัดไปเป็นกลีบทำนองเดียวกับชั้นนอกแต่เล็กกว่า
ไล่ขนาดกัน ส่วนกลีบชั้นสุดท้ายเป็นกลีบเล็กๆรอบๆวงในสุดที่นูนโค้งออกมา


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:06

เกรงว่าวัดกุฎีทองจะกลายเป็นตำนานไปเสียแล้วนะครับ เพราะไปถามกันหลายหนแล้ว กลายเป็นธรรมาสน์ลึกลับจับต้องไม่ได้ หรืออาจกลายเป็นคาร์บอนไปแล้ว ร้องไห้

ดาวเพดานที่น่าจะเก่าสุดในประเทศไทยแล้วนะครับ อันนี้ อยู่ใต้พระไตรโลกยวิชัยเหยียบพระศิวะ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:08

ธรรมาสน์วัดกุฎีทองได้ยินแว่วๆว่ามันก็เป็นชิ้นๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าไอ้ชิ้นๆที่ว่าปัจจุบันหายไปไหนแล้วครับ
พี่กุมาต่อเลยครับ ...  แทคทีม   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:11

ดูกันชัดๆแบบไม่ค่อยชัด ยิงฟันยิ้ม จากปราสาทหินศรีิวิมายปุระ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:18

ดาวเพดานจากไหนไม่รู้ ไปเจอในวัดใหญ่ในจังหวัดพระศิวโลก ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:20

ดาวเพดานสมัยอยุธยาตอนกลางที่ศิวโลก ฮืม


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:36

อ่านะ ถึงขนาดเปลี่ยนเทพกันเลยทีเดียว 555
เพดานนั้นน่าจะเป็นเพดานจากในกรุพระปรางค์ของวัด อาจารย์สันติก็กล่าวถึงไว้
ว่าน่าจะราวรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรฯ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:52

ดาวเพดานกรุงรัตนปุระอังวะ วัดบากายาจอง สร้าง 1834 หรือ พ.ศ.2377


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 ส.ค. 10, 22:57

เป็นกระทู้ที่ชมได้เพลินตาเพลินใจ...ไม่เมือยคอ...

แต่รู้สึกต้องเข้าระหัส/ถอดระหัสสนุกเพราะทั้งชื่อวัด/ชื่อจังหวัด/ชื่อเทพ..นามสมมุติทั้งนั้นเลยนะคุณกุ  คุณเน


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง