virain
|
เนื่องจากมีสมาชิกนำภาพเขียนสวยๆบนเพดานมาลง ทำให้นึกถึงการประดับเพดานในงานสถาปัตยกรรมไทย อันที่จริงผมไม่มีความรู้เรื่องราวเชิงลึกเท่าไหร่ เพียงแต่เวลาไปดูงานตามวัดมันจะมีอะไรให้สนใจเป็นจุดๆ เพดานเป็นอีกหนึ่งจุดที่บางครั้งก็ดูบ้างไม่ได้ดูบ้าง เพราะบางที่ก็ไม่ได้มีการประดับให้อลังการเป็นที่น่าสนใจมาก ดังนั้นในที่นี้อาจไม่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ทุกท่านสามารถโต้แย้งได้ตามสมควรครับ
อย่างไรก็ดี ดาวเพดาน ก็เป็นชื่อที่เราพอจะคุ้นเคย หรือจะมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกก็แล้วแต่ผู้รู้อยากจะอธิบายตาม ความเข้าใจหรือองค์ประกอบอื่นที่นำมาพิจารณา แม้ในระยะหลังๆมาการใช้ดาวเพดานในสถาปัตยกรรมไทย จะถูกบั่นทอนลงไป ทำให้เราไม่ค่อยจะตื่นเต้นกันเมาเท่าไหร่แล้ว ดาวเพดานก็ยังต้องทำหน้าที่ของมันอยู่ เพื่อไม่ให้ฝ้าเพดานมันดูโล่งเกินไป ถึงบางที่มันจะไม่ใช่ดาวแล้วก็ตาม
ตามที่จริงการที่จะเรียกว่าสมัยรัตนโกสินทร์ บั่นทอนรายละเอียดของดาวเพดานไป ก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะดาวเพดานสมัยเก่าๆเลย เท่าที่ผมรู้จักก็ทำหน้าที่เป็นเพียงลายประดับเรียบๆ แล้วค่อยมาพัฒนาให้เป็นมิติมากขึ้น และก็ถูกลดรายละเอียดลงไปอีกที ..ภาพที่ลงนี้ไม่ได้เรียงแบบตามยุคสมัยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
srisiam
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 15:15
|
|
ขอเข้ามารอชมเป็นคนแรกครับ.. 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 15:18
|
|
สวัสดีครับ
ภาพแรกลายเพดานรูปดอกบัวแกะจากหินชนวน จากพช.พระนคร ชอบรูปแบบมากครับ เรียบๆง่ายไดีแต่ลงตัว พี่กุมาลงต่อด้วยนะ ผมไม่มีรูปเพดานวัดศรีชุม หรือใครมีก็เอามาลงให้ผมชมบ้างนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 15:24
|
|
ลายตรงมุมนี้สวยถูกใจครับ มีแกะเป็นดอกไม้จำพวกนี้ประดับ ส่วนตัวยังสรุปไม่ได้ว่าจะเรียกว่าดอกอะไรดี แต่คล้ายดอกอะไรก็เรียกแล้วกันเนอะครับ กระหนกเป็นเลขหนึ่งไทยโค้งสลับกันออกมา ว่างๆต้องเอาไปนั่งเทียบ ดูกับลายแกะบนเสมาหินทรายแดง ลายดอกบัวที่มีลักษณะเหมือนถูกทับให้แบน มีการออกแบบกลีบเลียนแบบของธรรมชาติให้เป็นงานสองมิติ แล้วแบะชั้นเปลี่ยนมุมมองเป็นสามส่วน คือส่วนนอกเป็นกลีบที่บานออก ส่วนในเป็นกลีบที่หุบเข้า แต่ไม่ได้อ้างอิงตามลักษณะ ของดอกบัวตามธรรมชาติทั้งหมด เพราะมีเส้นเกสรที่ขอบของวงนอกเพื่อเติมเต็มเส้นวง วงกลมชั้นในสุดเลยก็ตกแต่งเป็นกลีบเล็กรอบพื่นที่ว่าง แทนตำแหน่งของเม็ดบัว เจาะรูตรงกลางด้วยเหมือนจะทำอะไรสักอย่าง .... เป็นรูปแบบการแปลงความงามตามธรรมชาติ ให้อยู่ในงานศิลปะเพื่อนำมาใช้งาน เป็นการกระทำของช่างทั่วโลก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 15:25
|
|
เกาะกระทู้ ^____^
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 15:31
|
|
อ้าว... สวัสดีครับ
การใช้ลวดลายประดับเรียบๆระนาบเดียว ยังไม่ซ้อนเป็นมิติออกมา คงเป็นรูปแบบที่ใช้กันทั่วไปในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาตอนต้น ส่วนที่เก่ากว่านั้นผมไม่รู้ครับ ต้องตามไปดูพุกาม เขมร ชวาหรืออินเดีย คงมีประเด็นอะไรดีๆออกมาเพิ่มเติม ลายเพดานแกะหินชนวนอีกแผ่นหนึ่ง จากพช.รามคำแหงครับ อันนี้รูปแบบสู้อันด้านบนไม่ได้ แต่ชอบลายสี่เหลี่ยมซ้อนตรงกลางครับ
เริ่มจากลายที่ขอบสี่เหลี่ยมนอกสุด ทำเป็นกลีบๆอย่างกลีบบัวต่อไปมีการทำเป็นรูปแบบอื่นๆด้วยครับ ลายที่มุมหรือค้างคาว?นั้นเป็น แบบรูป1ใน4ของลายดอกไม้หรือร่วมแบบเดียวกับความคิดของลายประจำยาม ตรงกลางเป็นลายดอกบัวแต่คงเป็นบัวคนพันธุ์กับอันบน ชิ้นนี้คงเป็นรูปบัวเผื่อน ..? 55
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:00
|
|
เรื่องราวของระับบลายหรือวิวัฒนาการของลาย ในหนังสือกระหนกในดินแดนไทย ของอาจารย์สันติ เล็กสุขุมอธิบายไว้ครับ หรือมีภาพให้ดูในหนังสือของอาจารย์น. ณ ปากน้ำ ที่อ้างอิงไว้ก็เพราะผมอ่านงานของอาจารย์สองท่านนี้น่ะครับ
ต่อมาเป็นลายเพดานของคูหาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ตัวอย่างงานชิ้นนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่มักใช้กล่าวอ้างถึง งานในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง รูปแบบรวมๆยังคล้ายแบบแผนของเพดานแกะหินชนวนด้านบน แต่มีการใส่รายละเอียดโดยการเพิ่มลายดอกลงไปในกลีบบัวแต่ละกลีบด้วย และแบบแผนดอกบัวก็ประยุกต์ให้ทิ้งห่างจากดอกบัวจริง ไปมากกว่าเดิมเยอะขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:15
|
|
ลายค้างคาวหรือลายที่มุมฉากนั้น ทำแบบแผนลายเป็นเส้นขดอย่างกลีบดอกหรือใบไม้ เพิ่มรายละเอียดเป็นรูปเทพพนมด้านใน แล้วแตกลายออกไปด้านข้าง (รูปแบบอย่างนี้เหมือนของพม่าก็ใช้นะครับ แต่ยังไม่แน่ใจต้องถามท่านอื่นอีกทีหนึ่ง) ลายดอกใบที่แทรกอยู่ใน งานสลักไม้ชิ้นนี้ยังดูมีความคล้ายของธรรมชาติอยู่ แม้รูปแบบโดยรวมจะถูกปรับให้เป็นลายประดิษฐ์ ส่วนที่กลีบบัวของวงกลมใหญ่ ระหว่างกลีบแต่ละกลีบจะมีรูปดอกไม้ลักษณะคล้ายดอกจำปี?ก้านยาวๆ ลักษณะดอกแบบนี้ก็พบได้ ในลายสลักบนหินทรายด้วยเช่นกัน และคงจะมีใช้กันมานานก่อนหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:23
|
|
เรื่องแบบแผนของลายที่ปรากฏในงานแต่ละงานหรือแต่ละชิ้น มีความปนเปของรูปแบบที่ช่างจะทำจะนึกทำขึ้นมาได้เอง ลักษณะของงาน และความลงตัวของพื้นที่ มักจะผลักดันให้ช่างสร้างรูปแบบของลายออกมา ซึ่งบางที่รูปแบบนั้น อาจได้อิทธิพลจากของเดิมที่ช่างเคยพบ งานจากอารยะธรรมอื่นๆ หรือจินตนาการที่สร้างใหม่แต่ใช้รูปแบบความคิดร่วมกับของเก่า ... ภาพนี้แสดงกลีบของวงชั้นในครับ
ว่าแต่ไม่มีใครเข้ามาช่วยเลย ให้ผมมั่วอยู่คนเดียว T-T
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
srisiam
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:39
|
|
กำลังตามดูเพลินๆอยู่ทีเดียว...ขอบคุณมากที่ลงภาพ CU ด้วย...ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพ.... คุณvirain ไม่ต้องห่วงดอกครับ.....ดึกกว่านี้อีกหน่อย....มากันตรึมเลยละครับ สังเกตุหลายครั้ง...สมาชิกชมรมเรา...เป็นประเภทนอนดึกน่ะครับ เช้าๆจะไม่ค่อยพบ??? 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
srisiam
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:42
|
|
ขอความรู้หน่อยครับ... หินชนวนใน คห. 2 กับ คห.5 เป็นคนละสีกัน..
ไม่ทราบว่าหินชนวนที่เราใช้ในงานแกะของไทยมีกี่สีครับ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:48
|
|
อยากให้ฉันรักบางกอก มั่วละคะ ....  ตามอ่านอยู่นะ ลงมาเลย เรื่องสีต่างกัน ขึ้นอยู่กับแหล่งวัตถุดิบที่ได้มาหรือป่าวคะ คิดแบบขวานผ่าซาก..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:49
|
|
คงจะถามผมลึกไปนะครับ ผมเองก็ตอบไม่ได้จริงๆ คุณกุรุกุราเห็นงานลักษณะนี้มาเยอะ คงจะพอตอบได้เพราะพี่เขามีภาพอยู่หลายชิ้น แต่ยังไงเสมาก็ใช้ถ้าสืบหาแหล่งผลิตได้ก็น่าจะตอบได้นะครับ
แวะมาดูที่คานไม้ตรงนี้บ้างครับ ผมเองไม่รู้ชื่อเรียกจริงๆของมัน จะเรียกว่าขื่อได้ไหมก็ไม่รู้ วานท่านใดรู้ชี้แจงด้วยนะครับ ลักษณะการแกะที่คานไม้เหนือหัวเสาร่วมในนี้ เท่าที่ผมเคยพบเห็นมีอยู่ด้วยกันสองแห่ง คือที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ไม่รู้ว่ามีที่อื่นอีกหรือไม่ ข้อสังเกตที่มองเห็นอย่างหนึ่งก็คือ การวางคานไม้ลักษณะนี้ไว้บนหัวเสารูปบัวโถ ไม่ได้เสียบแทรกลงไปในบัว คงเกิดจากการใช้รูปแบบโครงสร้างเครื่องไม้ของหลังคาไม่เหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:53
|
|
คิดเหมือนกันเลยพี่แพร ... แต่สีที่ว่านี้ผมไม่แน่ใจนะครับ เพราะตอนถ่ายรูปที่พช.พระนครเขาส่องไปโทนสีเหลือง ส่วนที่พช.รามคำแหงเขาไม่ส่องไฟ บางทีอาจเกิดจากสภาพภายนอก??
ลายที่แกะชุดนี้ผมเคยลงไปแล้วในกระทู้ ศิลปะในหัวเมืองเหนือของกรุงศรีอยุธยา ยังไงกระทู้นี้ก็ขอลงไว้พอเป็นตัวอย่างนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 16 ส.ค. 10, 18:56
|
|
และภาพนี้เป็นของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลกครับ ลักษณะคล้ายๆกันเพียงแต่เหมือนว่าจะแกะประณีตกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|