เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 865298 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 09:40

จำรถเฟียตได้ดีค่ะ อาจารย์เทาชมพูคะ เพียงแต่รุ่นของคุณปู่จะเก่ากว่าภาพที่ส่งมา และ ไฟหน้ารถ ยังเป็นดวงกลม โปน ๆ ออกมาวางไว้เหนือบังโคลนล้อหน้าค่ะ และน่าจะคันเล็กกว่าคันในรูปของอาจารย์ค่ะ

เอาเพลงมาฝากค่ะ
รำวงเกษตร

(สร้อย) เกษตรนี้หล่อจริง ๆ ผู้หญิงเขาอยากรู้จัก เกษตรนี้หล่อยิ่งนัก ถ้าใครรู้จักกินผักฟรี ๆ

เกษตรนี้หล่อจริง ๆ ผู้หญิงเขาชมไม่เบื่อ  เกษตรรูปหล่อเลิศเหลือ ถ้าใครที่เชื่อกินเนื้อฟรี ๆ
(สร้อย)

เกษตรนี้หล่อจริง ๆ ผู้หญิงว่าไม่มีใครข่ม  เกษตรรูปหล่อน่าชม ถ้าใครนิยมกินนมฟรี ๆ
(สร้อย)

เกษตรนี้หล่อจริง ๆ ผู้หญิงเขาชมกันใหญ่  เกษตรรูปหล่อใช่ใหม ถ้าใครรักใคร่กินไข่ฟรี ๆ
(สร้อย)

เกษตรนี้หล่อจริง ๆ ผู้หญิงเขาชมทั่วหน้า  เกษตรนี้หล่อหนักหนา ถ้าใครรักข้ากินปลาฟรี ๆ
(สร้อย)

เกษตรนี้หล่อจริง ๆ ผู้หญิงเขาชมกันลั่น  เกษตรรูปหล่อพวกฉัน ใครเป็นคู่หมั้นกินมันฟรี ๆ
(สร้อย)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 09:43

น้ำท่วมใหญ่ปี 2485 ค่ะ คุณศรีสยาม

รูป # 44 นายแบบนั่งเท่มาก
คุณ SILA หายไปนาน  กว่าจะกลับมาร่วมวง   ขอต้อนรับอีกครั้งค่ะ

โรงแรมรัตนโกสินทร์ ในอดีต  เห็นฟ้ากว้างกว่าเดี๋ยวนี้


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 09:48

รูปหวาดเสียงของคุณ Natadol ทั้ง 2 รูป คงไม่ใช่เหตุการณ์เดียวกันมังคะ ผู้คนด้านหลังแดนประหาร ไม่เหมือนกันเลย ต้นไม้ และพื้นก็ต่างกัน แต่.....อึ๋ยยย...น่าหวาดเสียงเท่า ๆ กันค่ะ

ยังรอฟังเรื่องที่ดินดุ ๆ ตรงหัวถนนราชดำเนินกลางอยู่ค่ะ เกี่ยวกับผี หรือ เกี่ยวกับอาถรรพ์คะ

โปรยเรื่องให้ชวนติดตามแ้ล้วห้ามหนีไปนะคะ กำลังกำพระเครื่องรอฟังอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 10:02


รบกวนถามผู้รู้ด้วยครับ...เกิดอะไรขึ้นกับกรุงเทพในช่วงนั้น...............น้ำท่วมใหญ่...เข้าใจว่านานนับเดือน์....คนกรุงจึงต้องพายเรือ...

น้ำเหนือหลาก..หรือฝนพันปี?

กรุงเทพฯ คุ้นเคยกับเหตุการณ์น้ำท่วม และถูกน้ำท่วม (ในปริมาณไม่มาก) แทบทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลากจนกลายเป็นเรื่องปกติของคนยุคนั้น แต่ว่ากลับเหตุการณ์น้ำท่วมปี ๒๔๘๕ กลับแตกต่างออกไป เพราะถึงแม้ว่าก่อนที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ กองอุตุนิยมวิทยาจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าทางวิทยุกระจายเสียง แต่ว่าด้วยความที่น้ำเหนือหลากมามาก และฝนยังตกติดต่อกันอย่างต่อเนื่องยาวนาน กรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่รับน้ำจึงถูกน้ำท่วม (หนัก) เป็นเวลาร่วม ๓ เดือน (ก.ย.–พ.ย.) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=36915




 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 10:04

รวดเร็วทันใจ..หายสงสัยในพริบตา...ขอบพระคุณมากครับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 10:07

มองจากตึกกรมโยธา สะพานที่เห็น ที่ว่าไปแล้ว
ราชดำเนินตอนนั้นไม่ทราบว่ามีเฉลิมไทย ทางซ้ายมือหรือยัง
ขวามือเขาว่าเป็นที่ดุ

จริงด้วยค่ะ คุณ puyum มาโปรยให้อยากแล้วก็จากไป  เกือบลืมไปแล้ว     
ขอบคุณคุณร่วมฤดีที่มาเตือน ดิฉันจะยกมาโชว์เป็นระยะว่าคุณปูยำยังมีหนี้สินตกค้างอยู่ค่ะ

อาคารนี้คุณร่วมฤดีคงรู้จักดี       อาคารเทพศาสตร์สถิตย์


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 10:43

จำอาคารเทพสถิตย์ได้ดีค่ะ อาจารย์เทาชมพูคะ

ก็ที่นี่แหละค่ะ ตกกลางคืน นิสิตปีหนึ่งจะถูกต้อนมาร้องเพลงเชียร์ และ  "เจอการจัดระเบียบสังคมด้วยเสียงอันดัง"
2 เดือนแรก เรียนหนังสือไม่รู้เรื่องเลย ง่วงนอน และ หวาดผวา แต่ไม่ลาออกค่ะ

รูปอาคารหน้าตะไล (หอประชุมหน้ามหาวิทยาลัย) ฝากถามคุณมานิตว่า เหคุใดชาวเกษตรจึงเรียกบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยแปลกๆ แบบนี้คะ

ด้านข้างหอประชุมมีโรงรับฝากจักรยาน เพื่อนจากจุฬาไปเยี่ยม แล้วเห็นจักรยานมากมายนี้ด้วยความงงว่า พวกเราจำรถของตัวเองได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 12:11

เข้ามาเยือนเรือนไทยทุกวัน ครับ แต่ไม่ได้ส่งเสียง
 
ภาพปี 1950 - ป้ายโฆษณาเครื่องดื่มน้ำดำที่ชานพระนคร


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 12:17

งามมากครับภาพนี้............

ไม่น่าเชื่อว่าเจ้าน้ำดำมากัดกระเพาะเราตั้งแต่ 1950 โน่น

ไม่ต่ำกว่า 60 ปีนะนี่




 เศร้า ตกใจ เจ๋ง
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 13:14

1.Fiat 500, Baby Fiat เทห์มากในประมาณปี 2495เปิดประทุนได้ด้วยมั้ง
2.ตอนผมอยู่สามย่านเวลาใครถามว่าไปไหน ผมจะตอบว่าไปโรงเรียน เดี๋ยวนี้เขาต้อง"ไปหมาลัย" ที่ท่านถาม คงแบบนี้มั้ง
3.ตอนผมอยู่ปี 4 คือ 2497 เจ้าน้ำดำ เอาถังน้ำแข็งใหญ่สีแดง มาวางไว้หน้าคณะตอนจะเที่ยง เราก็มาแข่งกินกันว่าจะได้กี่ขวด
4.เพลงเกษตรที่ว่า ผมร้องได้ แต่ผมไปที่นั่นตอน2494 หนเดียว แล้วมาไปถี่ตอนหลังตอนมีเพื่อนสนิทชื่อ ท่าน พร เรศานนท์ และ ท่าน เดชา เอกก้านตรง(เขยท่านหลวงฯ) แต่ตอนหลังไปถี่ยิบ เพราะชอบฟังเวลานิสิตเขาซ้อมดนตรีไทยกัน
5.จากสะพานควายมา ม.เกษตร เปลี่ยวมากนั่งรถเมล์สีส้ม แล้วตอนหลังก็มีสีเทา สองข้างทางมีแต่ท้องนา ยิ่งเลย ม.เกาตรไป ตอนกลางคืนจะมืดมาก ถ้าเห็นแสงไฟนีออนอีกครั้งแสดงว่าจะถึงวัดพระศรีฯแล้ว ครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 13:15

พาคุณร่วมฤดีไปย้อนความหลังในรั้วนนทรีมาหลายรูปแล้ว  พาหลายๆท่านมาสู่รั้วจามจุรีบ้าง

นี่คือด้านหลังของตึกเก่าสุดของจุฬา   คือคณะอักษรศาสตร์  ถ่ายจากสนามทางด้านตึกวิศวะฯ   ดูจากรถยนต์น่าจะเป็นหลังสงครามโลกจบลงไม่นานนัก  ในยุคที่ยังไม่มีใครในเรือนไทยเกิด  นอกจากคุณมานิต
คนที่ได้เห็นตึกนี้ในยุคก่อนหน้าคุณมานิต คือแม่ของดิฉัน ท่านเข้าเรียนเมื่อพ.ศ. 2475   แม่เล่าว่าตึกนี้เคยเป็นที่เรียนของ  3 คณะคืออักษรศาสตร์ วิศวะ  และรัฐศาสตร์   แม่เรียนอยู่ชั้นบน
ตึกนี้ ซึ่งเรียกกันว่า"เทวาลัย" อยู่ยงคงกระพันในสภาพเดิมจนมาถึงสมัยดิฉันเข้าไปเรียน   ล่วงมาถึงยุคที่ลูกสาวคนโตของดิฉันเข้าไปเรียนในคณะเดียวกัน    หน้าตาและสนามหญ้าก็ไม่ต่างจากสมัยแม่และยายเรียนเท่าไร   แต่ลูกสาวไม่ได้เรียนตึกนี้  ไปเรียนที่ตึกบรมราชกุมารีซึ่งสมัยแม่เรียน ยังไม่ได้สร้าง เป็นแค่อาคารสองชั้นเล็กๆขององค์การต่างประเทศมาใช้พื้นที่ในจุฬา
 
สมัยที่ดิฉันเรียน ตัวตึกชั้นบนด้านที่เห็นนี้เป็นห้องเรียนใหญ่ เมื่อเราอยู่ปี 3  ส่วนชั้นล่างเป็นห้องใหญ่ที่รวมของภาควิชาภาษาฝรั่งเศส   ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนา ยศสุนทรเป็นหัวหน้าภาควิชา  อาจารย์ในยุคนั้น ก็มีคุณหญิงเกื้อกูล เสถียรไทย มารดาดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย    ตัวดร.สุรเกียรติ์เองตอนนั้นอายุราว 10 ขวบ  เป็นเด็กชายผิวขาวหน้าตาน่ารัก เค้าหน้าเหมือนคุณพ่อ    อีกท่านคือ(คุณหญิง)ม.ร.ว. ดวงใจ ชุมพล   
ประตูเปิดกว้างทุกบาน มีบังตาไม้ทาสีแดงแก่ ติดสปริง   เราต้องเคาะบังตาก่อนเข้าไป  ส่วนใหญ่พอเคาะเสร็จ ก็ย่อตัวลงมองลอดเข้าไปว่า เห็นขาอาจารย์นั่งอยู่หลังโต๊ะทำงานหรือเปล่า    ถ้าเห็น ก็ค่อยๆแง้มบังตาเข้าไปหา  ถ้าไม่เห็นก็ไม่เข้า  เดินกลับไปทางเดิม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 13:47

จากบันไดพญานาคลงไปที่ลานข้างสนาม   ตรงนี้ที่เรียกกันว่า ลานชงโค   

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 13:50

ท้าทายเทวพิมานตระหง่านนภพิสัย
เลอทวยสุเทพไท              ประสิทธิ์
งามตึกอักษรศาสตร์วิลาสวรวิจิตร
รื่นรมย์มโนนิตย์               นิรันดร์
เชิญเนาผองนุชเพียรบำเรียนวิวิธวรรณ
โดยเจตน์ประจวบบรร-        ลุเทอญฯ

จิตร ภูมิศักดิ์
อักษรานุสรณ์ ฉบับรับนิสิตใหม่ ประจำปี ๒๔๙๖

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 14:26

ขอเป็นไกด์พาเที่ยวถิ่นเดิมสักวันนะคะ   
นี่คือห้องโถงใหญ่ของคณะอักษรศาสตร์  สมัยดิฉันเรียนจะต้องเดินเข้าห้องโถงนี้ทุกวัน    เพราะเป็นทางไปสู่ห้องเรียนทั้ง 4 ปี
ปีหนึ่งเดินเข้าห้องโถงแล้วเลี้ยวขวา ตรงไปห้องเรียนรวมชั้นปีที่ 1  เป็นห้องประวัติศาสตร์  พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลทีื 6 เคยเสด็จมาเปิดอาคารที่ห้องนี้ 
ปีสองได้ขึ้นบันได   พอถึงชานพักตรงกลางทุกคนต้องหยุดไหว้พระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5   ถ้าเลี้ยวขึ้นบันไดไปทางปีกซ้ายก็ตรงไปห้องเรียนปี 2     ถ้าเลี้ยวไปทางขวา แสดงว่าเราขึ้นเรียนถึงปี 4 แล้ว เพราะห้องปี 4 อยู่ทางปีกขวา
ถ้าขึ้นซ้ายหรือขวาก็ตาม   แต่เดินตรงไปทางปีกหลังของตึกชั้น 2     แสดงว่าเรียนปี 3   
จำรุ่นพี่คนไหนว่าอยู่ปีไหน ก็เพราะเห็นแถวๆห้องไหน  ในปีกไหนนี่แหละค่ะ

แต่ละคาบวิชา ยาว 50 นาทีให้พวกเราได้พัก 10 นาทีก่อนขึ้นชม.ใหม่   แต่สัญญาณหมดเวลาไม่ใช้กริ่ง  ยังคงเป็นการตีระฆังแบบโบราณเหมือนระฆังวัด ก้องกังวานไปทั้งตึก
คนตีระฆังเป็นลุงแก่ๆร่างผอม สวมชุดสีกากี ทำงานมาหลายสิบปีแล้ว   ลุงช่างกลมกลืนกับบรรยากาศของตึกจนดูเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน   จนดิฉันเผลอนึกไปว่าลุงจะต้องอยู่ที่นี่ไปชั่วฟ้าดินสลายไม่ไปไหน 
แต่แล้ว วันหนึ่งก็พบว่าลุงต้องเกษียณเหมือนพนักงานทั่วไป   เล่นเอาใจหาย  เพื่อนๆก็เศร้า เมื่อรู้ว่าจะไม่ได้เห็นลุงค่อยๆเดินขึ้นบันไดมาตอนเช้า ค่อยๆเดินลงบันไดกลับไปตอนเย็น   ตอนกลางวันลุงก็เปิดกล่องข้าวออกมานั่งแอบๆ  กินอยู่เงียบๆคนเดียว   ตอนนั้นได้ข่าวว่าอาจารย์ม.ร.ว.ดวงใจพยายามขอให้ลุงได้ต่ออายุงาน แต่ไม่สำเร็จ
วันสุดท้าย ก่อนลุงเกษียณ ดิฉันก็ไปเลี้ยงลาด้วยการเอาข้าวกลางวันกับกับข้าวใส่ปิ่นโตจากบ้านไปให้  ยังจำลุงมาได้จนทุกวันนี้ แม้ว่าลุงคงไปตีระฆังสวรรค์มาหลายสิบปีแล้วก็ตาม

พี่กฤษณา คงจำลุงได้นะคะ

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 14:53

มาลงชื่อ ขอตามขบวนชมตึกคณะอักษรศาสตร์ด้วยคนครับ เรียนอยู่คณะข้างๆกันก็หลายปี แต่ไม่เคยได้เข้าไปจีบ... เอ๊ยไปชมคณะอักษรฯ สักทีครับ

พูดถึงตึกเรียน ทำให้ผมนึกถึงของเก่าอย่างหนึ่งที่เคยเห็นในคณะ

ผมไม่แน่ใจว่าตึก ๓ คณะวิศวฯ สร้างตั้งแต่เมื่อใด สมัยเรียนอยู่มีการต่อเติมชั้น ๔ ขึ้นไป แล้วลือกันว่าทำได้สบายมากเพราะตึกนี้สร้างไว้เผื่อการทิ้งระเบิดตั้งแต่สมัยสงครามโลก คนออกแบบเผื่อ safety factor ไว้ถือ 50 เท่า ตอนฟังก็เฉยๆ แต่มานึกย้อนหลังเห็นว่าจะโม้เสียมากกว่า และตึกนี้จะเก่าแค่ไหน เห็นทีคงต้องให้รุ่นพี่เก่าแก่อย่างคุณมานิตมาช่วยเฉลยครับ ตึก ๑ ตึก ๒ นั้นผมไม่ติดใจอะไร แน่ใจว่าต้องเป็นตึกเก่าก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แน่นอนครับ

ตอนผมเรียน ห้องทะเบียนคณะจะอยู่ชั้นล่างของตึก ๓ ใกล้ๆกับห้องประชุม หน้าห้องมีเครื่องเหล็กชิ้นหนึ่งตั้งอยู่ หนักมากขนาดยกไม่ขึ้น หน้าตาเหมือนมอเตอร์ตัวย่อมๆ และมีมือจับสำหรับหมุน มันคือหวอเตือนภัยสมัยสงครามโลกครับ

ผมเคยมือบอน ทดลองหมุนดูพอเบาะๆ พบว่าให้เสียงโหยหวนดีทีเดียว ตัวแกนนั้นหนักมาก เมื่อหมุนแล้วจึงสะสมทอร์คไว้มากพอจะทำให้เสียงหวอนั้นดังต่อเนื่องได้อีกนานเป็นครึ่งนาทีหลังจาปล่อยมือแล้ว ถ้าหมุนเต็มที เสียงหวอคงจะค้างได้นานกว่านี้อีกมากครับ

เมื่อผมเข้าไปที่คณะเมื่อคราวน้องสาวลูกคุณอารับปริญญาเมื่อปีที่แล้ว ไม่มีเครื่องนี้อยู่หน้าห้องทะเบียนอีกแล้ว ถามน้องๆนิสิต ก็ไม่เคยเห็นและไม่ทราบว่ามีของอย่างนี้อยู่ด้วยครับ

หวังว่าคงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ใดสักแห่งนะครับ อย่าได้ถูกขายเป็นเศษเหล็กเลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 20 คำสั่ง