เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 863870 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 19:27

นำชมอดีตต่อไป
สองท่านนี้คือสองในปรมาจารย์ของคณะอักษรศาสตร์
ซ้าย ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา และขวา ศาสตราจารย์ม.ล.ปิ่น มาลากุล
ยุคในภาพเป็นยุคที่นิสิตหญิงยังไม่มีเครื่องแบบ  แต่งกายกันได้ตามใจแต่ต้องสุภาพ  สมัยแม่ดิฉันเรียนก็ไม่มีเครื่องแบบ  นุ่งซิ่นยาวสวมเสื้อขาวแบบไหนก็ได้แต่ต้องมิดชิด   แต่พวกผู้ชายมีชุดพระราชทานแล้ว
ผู้ออกแบบเครื่องแบบนิสิตหญิง ท่านหนึ่งคือศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร   ท่านเคยเล่าให้พวกเราฟังขำๆว่า ออกแบบเข็มขัดหนังกลับสีน้ำตาล แล้วมานึกทีหลังว่าเข็มขัดน้ำตาลกับกระโปรงสีกรมท่า มันจะเข้ากันได้ยังไงเล่า   
กระโปรงนิสิตสมัยดิฉันเรียน ไม่มีสีดำ ทุกคนนุ่งกระโปรงสีน้ำเงินกรมท่า    มีคณะเดียวที่นิสิตหญิงนิยมนุ่งกระโปรงดำคือคณะรัฐศาสตร์ เพราะสีประจำคณะคือสีดำ     ในคณะอักษรฯถ้าใครนุ่งดำแปลว่าไว้ทุกข์    แต่พอถึงสมัยลูกสาว นุ่งดำกันหมด เพราะสีดำฮิท


บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 21:25

ท่าน อ.ม.ร.ว.ดวงใจฯ ท่านขาวๆทัวมๆ สูงประมาณ 165ซม. เสียงดังฟังชัดดี นะครับ
มานิต
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 13:29

อ่านชาวอักษรจุฬาระลึกความหลังด้วยความตั้งใจ เพราะสถาบันแห่งนี้ ผลิตบัณฑิตมีคุณภาพในสาขานี้มากมายค่ะ

ที่เกษตรก็มีสามแยก ปาก.....เหมือนกัน แต่คนที่จับจองพื้นที่ตรงนั้น เป็นพวก วนศาสตร์ คณะนี้ ไม่มีใครกล้ามีเรื่องด้วย ท่านน่าเกรงขามมาก

การตีกันในจุฬา ดิฉันเกิดทันได้เห็นและเข้าไปที่นั่นหลังเหตุการณ์ด้วย เพราะ มีอาเป็นอาจารย์แพทย์ศาสตร์ เห็นท่าน ๆ ชาววิศวะพังโต๊ะเก่้าอี้ไปหลายตัว แปลกใจที่ตีกันเองในมหาวิทยาลัยเดียวกัน

คุณจิตร ภูมิศักดิ์ ท่านเป็นคนหัวรุนแรงที่น่านับถือ เพราะเก่งมาก จัดว่าเป็นปราชญ์คนหนึ่งนะคะ และกว่าจะผลิตผลงานแต่ละชิ้น ท่านค้นคว้าหลักฐานจนน่าจะเป็นวิทยานิพนธ์เสียมากกว่าหนังสือธรรมดา

บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 14:03

เอารูปรถคุณปู่มาฝากอาจารย์เทาค่ะ


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 14:07

รูป "ป๊อกแป๊ก" หาบเร่ชาวจีนที่ขายของสารพัด เดินไปพร้อมแกว่งกลองหนังเล็ก ๆ ให้มีเสียงบอกว่า ป๊อกแป๊กมาแล้วจ้า


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 14:09

และนี่คือร้านขายของเล่นที่ทำจากกระดาษ และไม้่ระกำ แบบเดียวกับที่เห้นในสนามหลวง เพียงแต่รูปนี้ เป็นร้านค้าถาวร ในสมัย ร.5 ค่ะ


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 14:13

หาบเร่ขายอาหารชาวจีน สมัยเด็ก ๆ ยังเห็นมีอยู่
ขายก๋วยเตี๋ยว้าง  บางทีก็เต้าหู้ทอด หรือไม่ก็ข้าวต้มใส่เกลือชามละ 1 สะลึ๋ง
ขายคนจน ๆ ส่วนใหญ่เป็นกรรมกร แต่เราเ็ด็ก กลับชอบใจ
เพราะรู้สึกอร่อยกว่าของทำเองในบ้าน ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเป็นเช่นนั้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 14:32

ใช่ค่ะ  อาจารย์ม.ร.ว.ดวงใจ  ราชสกุลเดิม จิตรพงศ์

ขอพาทัวร์ออกจากจุฬาไปสนามศุภชลาศัย    เพื่อไปดูงานใหญ่ของชาวจุฬา  ที่น้องใหม่สมัยโน้นตั้งตาคอยตั้งแต่เริ่มเข้ารั้วมา - ฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์



ถ้าเล่าถึงชีวิตนิสิตจุฬาสมัยโน้นแล้วไม่เล่าถึงฟุตบอลประเพณี   ก็เหมือนคุณนวรัตนเล่าเรื่องการเมืองไทยในอดีตแล้วไม่เล่าถึงรัฐประหาร  มันจะขาดสาระสำคัญไป

ฟุตบอลประเพณีจุดไฟฝันให้เด็กเตรียมอย่างดิฉันฝันอยากย้ายรั้วมาเข้าจุฬา   เพราะวันบอลประเพณีเป็นวันบิ๊กเบิ้มของปี     ตื่นเช้าไปร.ร.เห็นพี่ๆเขาใส่เสื้อยืดสีชมพูสว่างโร่มาแต่ไกล  เบียดเสียดกันมาในรถกระบะเปิดประทุนซึ่งสมัยนี้จะมีได้ก็แต่เล่นน้ำสงกรานต์เท่านั้น  แล่นไปแล่นมาอยู่ตลอดเช้าเพื่อตอนบ่ายจะไปเข้าสนามศุภ    ร้องเพลงเชียร์กันสนั่น  สวนทางกับรถของพี่ๆธรรมศาสตร์ที่สวมเสื้อยืดเหลือง ก็บูมเข้าใส่กันอย่างครึกครื้น เป็นเป้าสายตาประชาชน    ในสายตาเด็กอย่างเรา  เกิดมาไม่เคยเห็นอะไรเท่ขนาดนั้นเลยในชีวิต  พี่ๆก็ดูเท่เสียยิ่งกว่าซูเปอร์สตาร์
สมัยนั้นรถยังไม่ติดเท่าไร ลื่นไหลไปได้สะดวก  จึงไม่มีประชาชนออกมาบ่นด่ารถพวกนิสิตนักศึกษาว่าเพิ่มจำนวนรถในถนน  น้ำมันก็ถูกมากจนไม่รู้สึกว่าผลาญ 
ในที่สุดเมื่อเข้ารั้วสีชมพูได้  ก็ตั้งหน้าตั้งตาคอยวันบอลประเพณี   
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 14:57

เล่นด้วยครับ ตอนผมเข้าสามย่านได้ วันที่ผมกลัวที่สุดคือ วันรับน้องใหม่ เพราะท่านrepeater ทั้งหลายท่านหมายศรีษะย์ ผมไว้(ให้ได้ยินซะด้วย) ผมจะไม่ไปอยู่แล้วก็ปรึกษาพี่ ท่านบอกว่าถ้าไม่ไปจะเสียโอกาสที่จะได้รับประสบการณ์ที่สำคัญที่จะไม่มีกับชีวิตอีกแล้วในรั้วจามจุรี ตอนเช้ารับน้องจุฬาก็เข้าไปตะเบ็งเสียงกันในหอประชุม ใครเสียงแห้งทางคณะเขามีน้ำแจก ตอนบ่ายรับน้องคณะผมเดินผ่านซุ้มรุ่นพี่repeaterด้วยความไหวหวั่น แต่ผิดคาดครับท่าน เพราะไม่มีอะไร เพียงแต่คำว่า"ไอ.. นิด มึ.. เสียงดังนักนะ"เท่านั้นเอง ถ้าผมไม่ไปร่วมคงเสียใจไปตลอดชีวิต
อ้อสำหรับท่านวิศวกร crazyhorse (ไม่กล้าเรียกสั้นๆกลัว)หอประชุมจุฬาสมัยนั้นตรงข้างฝามีพัดลมใหญ่มากแต่ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ เพราะเปิดแล้วกำแพงสั่น พื้นก็มาออกแบบกันใหม่ตอนทำวิทยานิพนธ์ สนามกีฬาก็ออกแบบกันใหม่ทางด้าน permeability นะครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 15:11

ขอขอบคุณคุณruamrudeeที่กรุณาเปิดกรุภาพเก่ามาให้ชม...ภาพงามๆหายากทั้งนั้นเลยครับ.....

เข้าใจว่าภาพ   -ป็อกแป๊ก-  คงเป็นที่มาของหนัง ทายยาทป๋องแป๋งของคุณกำธร ทัพฯ........





เรื่องสามแยกปากหมาน....คงมีทุกมหาวิทยาลัย..แถวๆท่าพระจันทร์..ก็อยู่ใต้ตึกโดม..ปัจจุบันก็ติดกับศูนย์หนังสือฯ
หนุ่มๆสถาบันไหน..ก็ปากหมานพอกันกระมัง..?


บอลประเพณีนั้น...สุดยอดความบันเทิงของชาวรั้วเหลืองแดงและชมพู...เพราะสมัยนั้นไม่มีสถานบันเทิงมากเหมือนสมัยนี้...
อีกกิจกรรมที่ชอบกันมาก...ภาพยนต์การกุศลรอบพิเศษ...โรงหนังขวัญใจ...น่าจะเป็นโคลีเซี่ยมที่สะพานยมราชเพราะจุที่นั่งมาก...ค่าเช่าถูกกว่า?


 ยิงฟันยิ้ม


หอมเอยหอมดอกกระถิน.....รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟาง.....


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 15:19

มาเล่าเรื่องบอลประเพณี ต่อ

ในยุคนั้น คนสวยของคณะจะได้ 2 ตำแหน่งใหญ่ๆ คือนางนพมาศคณะ ที่ไปประกวดเป็นนางนพมาศจุฬาอีกปีหนึ่ง    คนที่ได้ตำแหน่งนี้ต้องสวมชุดไทยสไบเฉียงได้สวย   นั่งพับเพียบไปบนเสลี่ยง ไม่ต้องออกแรงมาก    ส่วนอีกตำแหน่งหนึ่งคือดรัมเมเยอร์ไม้หนึ่งของคณะ     รองลงมาเหมือนรองน.ส.ไทยคือดรัมเมเยอร์ไม้สอง    

ที่แปลกคือเชียร์ลีดเดอร์ซึ่งสมัยนี้เป็นตำแหน่งคนสวยคนหล่อ  ยุคโน้นไม่ดังเท่าไร   ไม่ได้หมายความว่าไม่เลือกคนสวย พี่ก็เลือกคนหน้าตาดีๆ และหุ่นดีๆไปเป็นเชียร์หลีด    แต่เลือกความเท่ทะมัดทะแมงเป็นส่วนใหญ่  ไม่ได้เป็นที่สะดุดตาเท่าดรัมเมเยอร์  
กิจกรรมของบอลประเพณีเป็นของน้องปีหนึ่งทั้งหมด   มีแต่นักฟุตบอลเท่านั้นที่พี่ๆเขาลงสนามได้ตลอด ๔ ปีที่เรียน   น้องใหม่ที่นำออกโชว์เช่นดรัมเมเยอร์ เป็นหญิงทั้งหมด   พวกผู้ชายเป็นได้แต่เชียร์ลีดเดอร์   ซึ่งมีทั้งชายและหญิง

คนสวยของคณะต่างๆที่ได้เป็นดรัมเมเยอร์ไม้หนึ่งยุคโน้น  ที่จำได้คือคุณมณฑินี บุณยะประสพแห่งคณะบัญชี    ปัจจุบันคือท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน    อีกคนคือม.ร.ว. สิริมาดา วรวรรณ  คุณแม่ของแบม จณิสตา    ตอนเย็นๆตอนเลิกเรียนกลับบ้าน เห็นม.ร.ว.สิริมาดาไปหัดโยนไม้บาตองอยู่ที่สนามใหญ่ใกล้สระน้ำ      
ชุดดรัมเมเยอร์สมัยนั้นเป็นกระโปรงบานสั้น สวมกับบู๊ํตและสวมหมวกสูง เดินควงคธาหรือไม้บาตองอย่างองอาจ   แฟลชวูบวาบจากอัฒจันทร์ตอนเดินไปตามลู่ของสนามศุภ   แต่ปีที่ดิฉันเข้าเรียนอักษร ดรัมเมเยอร์ฉีกแนวไป นุ่งกระโปรงบัลเล่ต์สีขาวกับชมพู ประดับขนนกเทียมฟูฟ่อง เหมือนชุดระบำหงส์เหิร  เดินกันตั้งแต่จุฬาไปสนามศุภ     ยุคนั้นแดดและอากาศในกรุงเทพไม่ร้อนเท่าไร  อย่างน้อยเดินไปก็ไม่รู้สึกว่าร้อน   ถ้าเป็นยุคนี้ คงมีดรัมเมเยอร์เป็นลมแดดกันไปบ้าง

หารูปดรัมที่ว่ามาเท่าไรก็ไม่ได้   ได้มารูปหนึ่ง คนขวาคือนีรนุช ปัทมสูตร


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 16:29

หารูปเมื่อ ๖๐ ปีที่แล้วมาแจม ครับ

ม ธ ก



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 16:55

บนอัฒจันทร์ 


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 16:57

ฝั่งจุฬาฯ สังเกตจากตราพระเกี้ยวบนหมวกและเสื้อ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 19 ส.ค. 10, 17:52

สองนิสิตสาว (อดีตและปัจจุบัน) ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง