Kurukula
|
วันนี้ไปค้นภาพถ่ายเก่ามาได้ภาพหนึ่ง เขาว่าเป็นภาพวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ไม่ทราบว่าคือวัดใด ท่านใดที่พอจะทราบ ช่วยชี้แนะหน่อยครับ จะได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแบ่งปันความรู้กันในอินเตอร์เนต 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 22:41
|
|
นั่นสิครับ วัดอะไรอ่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 22:47
|
|
ปะ ไปหากัน อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 22:53
|
|
ถ้ามันจมไปอยู่ใต้โบสถ์รุ่นใหม่ไปแล้วล่ะครับ จะหายังไง 555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 22:57
|
|
น่าเสียดายที่ระบุชื่อไม่ได้ ตอนแรกคิดว่าเป็นวัดหลวงสุนทราราม ที่ื่อ่างทอง แต่มันไม่ใช่ แค่คล้ายๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:00
|
|
ตกลงรู้ชื่อหรือไมรู้ แต่คุ้นเหมือนภาพวัดนึงที่ร.5ท่านเคยเสด็จประพาสต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:11
|
|
ไม่รู้ครับ ไม่ได้แกล้งยักท่าให้เดากันเล่น อิอิ ไม่รู้จริงๆครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:14
|
|
ไม่มีกั๊กกันนะครับ เดี๋ยวคนไปหาเขาจะเสียเที่ยว และหลงเพราะหาไม่เจอ T-T
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
puyum
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:15
|
|
คล้ายว่าจะเป็นวัดตูม ดูคุ้นๆอยู่ นี่เป็นลายด้าหน้า เป็นโบสถ์ที่เรียกว่ามหาอุต ด้านหลังมีตุ๊กแกห้อยหัว สระน้ำข้างอุโบสถหลังนี้มี ความคำคัญทางประวัติศาสตร์ ร.๕ เคยเสด็จ หลวงพ่อทองสุขพระพุทธรูปที่มีน้ำในเกตุ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:19
|
|
เคยได้ยินชื่อวัดตูม อยุธยามานานแต่ไม่เคยเข้าไปครับ ขอถามคุณpuyum ว่าปัจจุบันโบสถ์หลังนี้ยังอยู่ดี หรือสภาพเป็นอย่างไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:22
|
|
อืม ....... สงสัยว่าจะเป็นวัดตูมจริงๆด้วยครับ คุณ puyum นี่แฟนพันธุ์แท้จริงๆ เดี๋ยวนี้มันใหม่จนจำไม่ได้เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
puyum
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:30
|
|
ยังอยู่ครับ เห็นด้านหลังประจำเพราะเป็นทางเข้าออก ห่างออกไปจากอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรทุ่งภูเขาทองประมาณ หนึ่ง ก.ม. ด้านขวามือ ลองไปดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:38
|
|
ไปแล้วจำไม่ได้เลยครับ มันใหม่ไปหมด ถึงกับฝั่นเฟือนไปได้ วัดนี้มีหลวงพ่อที่มีน้ำไหลออกมาจากพระเศียรด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luck-rama
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 11 ส.ค. 10, 23:46
|
|
จะไปกันเมื่อไรครับ ขอไปด้วยคน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 12 ส.ค. 10, 16:01
|
|
เสด็จประพาสต้น ตอนที่ 48 : ประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า (ตอนที่ ๒)
เมื่อ ร. 5 เสด็จตาม "ลำน้ำมะขามเฒ่า" ถึงอำเภอหันคา ชื่อเรียกแม่น้ำสายนี้ก็เปลี่ยนไปเป็น "แม่น้ำสุพรรณ" ซึ่งพระองค์ได้ สำรวจต่อตามลำน้ำนั้นมา ผ่าน ปากน้ำกระเสียว สู่ แม่น้ำสุพรรณ ผ่าน บ้านเชี่ยน บึงฉวาก เข้าสู่อำเภอเดิมบางนางบวช ซึ่ง มีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ผู้นำต่อสู้กับทัพพม่าแห่งค่ายบางระจัน ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกในครั้งที่ 2 และมีรอยพระพุทธบาท อยู่ในบริเวณวัดด้วย
คลองท่าว้า หรือ ลำน้ำเขาดิน ท่าว้า เป็นสถานที่ที่มีสระศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 สระ ใช้น้ำประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้แก่ สระแก้ว, สระคา, สระยมนา และสระเกษ บริเวณนี้มีต้นโพธิปลูกอยู่ 7 ต้น เนื่องจาก ขณะนั่งเรือพระที่นั่งมายังสระทั้ง 4 มีหญิงแก่พายเรือตามมาและในเรือมีต้นโพธิ์ 7 ต้น โดยหญิงนั้นอ้างว่า ต้นโพธิ์ขึ้นอยู่ใกล้พระบรมรูปที่อยู่ที่บ้าน จึงนำมาถวาย พระองค์จึงปลูกต้นโพธิ์ไว้รอบสระที่ 4 แห่ง
วัดแก้วตะเคียนทอง หรือ วัดตะค่า ริมคลองบางยี่หน ร.5 ล่องเรือจากสุพรรณบุรี เข้า คลองบางปลาม้า ผ่านวัดตะค่า หรือวัดแก้วตะเคียนทอง ซึ่งกำลังสร้างโบสถ์ พระราชทานเงิน จำนวน 80 บาทร่วมสร้างพระอุโบสถด้วย มีหลวงพ่อแสน พุทธสโร เป็นเจ้าอาวาส
จากคลองบางปลาม้า เข้าสู่คลองล่าชะโด บ้านผักไห่ ซึ่งยังคงชีวิตแบบเดิมๆไว้จนถึงปัจจุบัน จากนั้นเข้าสู่แม่น้ำน้อย บ้านผักไห่ เป็นช่วงที่นาข้าวมีความสมบูรณ์มาก ข้าวดี แต่เสียเฉพาะที่ลุ่มเท่านั้น
วัดชีโพน (วัดชีตาเห็น) โรงเรียนสามัคคีนฤมิต (โรงเรียนวัดชีโพน) เป็นโรงเรียนที่นายอำเภอคนแรกของผักไห่ สร้างถวาย ร. 5 แต่ปัจจุบันปิดการเรียน การสอนไปแล้ว เมื่อปี 2548 เนื่องจากนักเรียนย้ายไปเรียนโรงเรียนอื่นที่ใกล้ชุมชนกว่า
วัดตึกคชหิรัญ ขณะเสด็จ มีการทอดกฐิน ซึ่งพระองค์ได้ร่วมบริจาคเงินทอดกฐินในวันนั้นด้วย โดยพระองค์บันทึกไว้ว่า จีนช้างและอำแดงเงิน เจ้าของบ้าน ยกบ้านซึ่งปลูกเป็นตึกเก๋งจีนถวายเป็นวัด วัดตึกจึงมาจากตึกเจ๊ก คชมาจากชื่อจีนช้าง หิรัญมาจากอำแดงเงิน เมื่อผสมกันจึงได้ชื่อว่า วัดตึกคชหิรัญ นั่นเอง
จากนั้นล่องเรือไป อ่างทอง ผ่านวัดหน้าโลก อ.ผักไห่ เสด็จขึ้นพบว่าลมพัดเย็นสบาย จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสว่างอารมณ์" จากนั้นเรือผ่าน "เมืองวิเศษชัยชาญ" ผ่าน "พระตำหนักคำหยาด" ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง อ่างทอง ซึ่งเป็นที่ประทับ ของพระเจ้าอุทุมพร กษัตริย์พระองค์ที่ 33 แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสละราชสมสมบัติและมาประทับ ณ พระตำหนักคำหยาด
จากนั้น เสด็จเข้าคลองบางนางร้า ซึ่งมีวัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม หรือ วัดเขาดิน อำเภอบางปะหัน ซึ่งมีสมุหนายก ถึง 2 คนช่วยปฏิสังขรวัดแห่งนี้
จากนั้น เข้าสู่ลำน้ำโพธิสามต้น
วัดตูม เป็นวัดที่ใช้ทำพิธิลงเครื่องพิชัยสงคราม มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ในวัด ร.4 เคยเสด็จทอดผ้าพระกฐินวัดนี้ และยกเป็นพระอารามหลวง มีพระประธานปางมารวิชัย ชื่อ หลวงพ่อสุขสัมฤทธิ์ ซึ่งมีน้ำซึ่งออกที่พระเศียร ถือเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านในแถบนั้นและที่ต่างๆ พากันมาขอไปดื่มอาบกันตลอดเวลา วัดศาสดา อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดคู่กับวัดตูม แต่ปัจจุบันกลายเป็นวัดร้าง
จากนั้น ล่องเรือจากลำน้ำโพธิสามต้น สู่สระบัว ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา กลับสู่พระนคร เป็นการสิ้นสุดการสำรวจลำน้ำมะขามเฒ่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|