เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 130059 บ้านโบราณ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 14:48



เพลงของดิฉันเหมือนเพลงมิซซาหลุย(หลุยส์  ลีโอโนเวนส์)  ที่มีฮาเร็ม

ชื่อเพลงหมอชิตกับมิตซ่าหลุย

หมอชิต คือ นายแพทย์ มาเรียน อลองโซ ชี้ค มิชชั่นนารีหนุ่มอเมริกัน ลูกเขยหมอบรัดเลย์

มิตซ่าหลุย คือ หลุยส์ ที. เลโอโนเวนส์ ลูกชายแหม่มแอนนา

เนื้อเพลงอยู่ในหนังสือ ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์ของคุณจิรนันท์ พิตรปรีชา ออกเรทอาร์เล็กน้อย

ใครอยากทราบเนื้อเพลง

ยกมือขึ้น

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 15:34

 ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 15:48

ขอขัดจังหวะนิดหน่อยค่ะ

ใครทราบที่ตั้ง หรือ มีภาพ ร.ร. เซนต์แมรี่ เอส พี จี ที่หม่อมมณี ท่านเรียนสมัยเด็กบ้างไหมค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 17:02

ทราบมาจากเพื่อนผู้อาวุโสซึ่งเป็นหลานทวดของพญาเทพมณีสอน  ผู้แต่งเพลงนี้ว่า ชื่อเพลงที่ถูกคือ หมอชิกกับมิตซาหลุยครับ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 17:05

คุณวีหมีมาแล้ว
เห็นกระทู้ถามเรื่องบ้านอุปทูตอเมริกันไหมครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 17:47

ทราบมาจากเพื่อนผู้อาวุโสซึ่งเป็นหลานทวดของพญาเทพมณีสอน  ผู้แต่งเพลงนี้ว่า ชื่อเพลงที่ถูกคือ หมอชิกกับมิตซาหลุยครับ

เอ  แต่ข้อมูลของคุณจิรนันท์ พิตรปรีชา  บอกว่าผู้แต่งเพลงนี้ชื่อ นายแปง วณีสอน บุตรเพี้ยเทพนายช้างประจำหอหลวงนี่นา

 ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 19:42

ภาพคห. 63 ปัจจุบันยังคงอยู่ ณมุมถนนสตูลตัดกับถนนดีบุก อ.เมือง จ.ภูเก็ต

อยากเข้าไปชมบ้านชินประชาแต่ไม่รู้ว่าหลังไหน
เวลาผ่านบ้านสวยๆงามๆ
ก็จะถ่าย(แอบ) ถ่ายภาพเก็บไว้ กลัวว่าจะละเมิดสิทธิของผู้อื่น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 19:55


เพลงแหม่มศรีของผมที่ร้องหมู่กันตอนเด็กๆลับหลังครูนั้น เป็นคนละเพลงกับของคุณวันดี  
มีคนใส่เนื้อร้องจากทำนองเพลงมาร์ชง่ายๆฝรั่งแต่งไว้ ชื่อเดิมชื่ออะไรไม่แจ้ง แต่ง่ายจนวงดนตรีเด็กเล็กพึงจะเล่นได้ ผมคงเขียนเนื้อประกอบโน๊ตไม่เป็น แต่จะสะกดตามสำเนียงจริงๆ
ถ้าท่านอ่านออกเสียงดังๆตามที่ผมเขียน ก็พอจะเป็นทำนองครับ


แมมซี้  แมมซี้  เปนเมี่ย มิด_เต่อ จอน

แมมซี้  แมมซี้  เปนเมี่ย มิด_เต่อ จอน

….ราดร่ดที นอน  มิดเตอจอนไลเตะตกเตียง
นางเซียใจไปนังรองให่อยู่ใต่ทุ่นเตียง


(จุดจุดจุด คือกิริยาที่เป็นผลจากการกินอาหารเสาะท้องเข้าไปดังท่านอาจารย์เทาชมพูใบ้ไว้)



โล่งอกไปทีที่ท่านอาจารย์ใหญ่มาเฉลย   ไม่งั้นปริศนาข้อนี้คงทำให้หลอนไปอีกหลายวัน  เพิ่งหายหลอนจากบางลำพูเยาวราชมาหยกๆ ยิงฟันยิ้ม
ยังนึกไม่ออกว่าเพลงมาร์ชที่มาของเพลงนี้คือมาร์ชอะไร   แต่ช่างมันเถอะค่ะ  คิดอีกเดี๋ยวหลอนอีก
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 25 ส.ค. 10, 06:03

ทราบมาจากเพื่อนผู้อาวุโสซึ่งเป็นหลานทวดของพญาเทพมณีสอน  ผู้แต่งเพลงนี้ว่า ชื่อเพลงที่ถูกคือ หมอชิกกับมิตซาหลุยครับ

เอ  แต่ข้อมูลของคุณจิรนันท์ พิตรปรีชา  บอกว่าผู้แต่งเพลงนี้ชื่อ นายแปง วณีสอน บุตรเพี้ยเทพนายช้างประจำหอหลวงนี่นา

 ยิ้มเท่ห์




เพี้ยเทพ  คือ พญาเทพวณีสอน  เพี้ย เป็นคำภาษาถิ่นครับ  แล้วก็สมัยหมอชิกมิตซาหลุยกำลังซ่ากันนั้นพวกลูกๆ พญาเทพฯ ยังเพิ้งเข้าโรงเรียนยุพราชซึ่งเพิ่มจะตั้งขึ้นที่เชียงใหม่ครับ

เรื่องเล่าทางล้านนาอย่าไปเชื่อมากนักครับ  แม้จะเป็นเรื่องจริงแต่พอเล้ากันปากต่แปกมักจะออกแนวเพี้ยนไปแทบทุกเรื่องครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 25 ส.ค. 10, 06:18

บ้านอุปทูตอเมริกันที่ถนนวิทยุนั้น  มีบันทึกในรายงานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยว่า  ตึกของโรงเรียนริมถนนวิทยุมีอยู่ ๘ หลัง  สถานทูตอเมริกันเช่าไว้ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ รวม ๓ หลัง  พอสงครามเลิกรัฐบาลอเมริกันขอซื้อตึกพร้อมที่ดินทั้ง ๓ หลังไปเป็นกรรมสิทธิ์  โดยติดต่อแกมบังคับขอซื้อจากรัฐบาลไทย  รัฐบาลไทยถูกบีบมาก็เลยไปบีบพระคลังข้างที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้  แต่ที่ดินแปลงนี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้เก็บผลประโยชน์บำรุงโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  เหมือนพระราชที่ดินให้เก็บผลประโยชน์บำรุงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ถอนเงินทุนของโรงเรียนที่ฝากไว้กับแบงก์สนามกัมมาตลเพื่อรักษาสภาพคล่องของธนาคารที่เวลานั้นระสบปัญหาซนเซ  โปรดให้ฝากโดยมีสัญญาไม่ถอนก่อนกำหนดเป็น  ครบกำหนดฝาก ๑๐ ปีแล้ว  จึงโปรดให้ถอนเงินมาสร้างตึกเพราะผลประโยชน์ดีกว่าดอกเบี้ยธนาคาร

เมื่อพระคลังข้างที่โดนรัฐบาลบังคับก็มาต่อรองขอให้คณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยตกลงขายตึกพร้อมที่ดินแปลงที่ปลูกตึก ๓ หลังคิดเป็นพื้นที่เกือบ ๕๐ ไร่ (ที่ดินที่พระราชทานไว้เดิมมีอยู่ ๑๐๘ ไร่  เวลานี้คงเหลืออยู่แค่ ๕๙ ไร่)  เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ  หลังจากที่ต่อรองเรื่องราคากันอยู่นาน  เพราะทางสหรัฐอยากได้ของดีราคาถูก  คณะกรรมการอำนวยการฯ ก็ต้องยอมขายให้ในราคาราว ๕ ล้านบาท  จากที่เสนอมาทีแรกดูเหมือนจะ ๓ ล้านบาท  แล้วจึงมีพระบรมราชานุญาตให้ขายไป

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 25 ส.ค. 10, 08:20

^
ขอบคุณครับ

คุณแน่มาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 25 ส.ค. 10, 09:01

เรื่องเพลงข้อมูลต่างกันอยู่ ๒ อย่าง

อย่างแรก คนแต่ง คุณจิรนันท์ว่า นายแปง วณีสอน ผู้ลูก  คุณวีมีว่าเพี้ยเทพวณีสอน ผู้พ่อ

อย่างที่สอง ชื่อ หมอชิต หรือ หมอชิก

ในเนื้อเพลงภาษาอังกฤษที่ W.S. Bristowe เขียนไว้ใน Louis and The King of Siam เรียกคู่หูทั้งสองนี้ว่า Dr. Chitt and Missa Louis

หมอชิตกับมิตซ่าหลุย คล้องจองกันดี น่าจะพูดได้คล่องปากกว่า หมอชิกกับมิตซ่าหลุย


หมอชิตคนนี้คนละคนกับหมอชิตที่สถานีขนส่งสายเหนือเก่าเน้อ

หมอชิต หมอเหล็ง หมอมี...อยู่โรงพยาบาลไหนน้า?
http://somchaijiu.exteen.com/20090803/entry
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 25 ส.ค. 10, 09:46

มีมิตรรักนักเพลงยกมือขอฟังเพลงท้องถิ่นล้านนามา ๑ ท่านคือคุณศรีสยาม

เพลงนี้เป็นเรื่องของคู่หูคู่แข่งในกิจการค้าไม้สักทางเหนือ ในฮาเร็มของหมอชี้คหลังวัดมหาวัน

เป็นเพลงฮิตติดปากคนเชียงใหม่เมื่อร้อยปีมาแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ที่พอจำได้เล่าว่า กระทั่งเด็กเล็ก ๆ หรือหญิงสาวก็ชอบร้องเล่นกันดัง ๆ โดยไม่รู้สึกกระดากใจแต่ประการใด ทั้ง ๆ ที่เนื้อหานั้นบรรยายกิจกรรมทางเพศระหว่าง "หมอชิต" และ "มิตซ่าหลุย" กับนางเล็ก ๆ

ขอเชิญคุณศรีสยามรับฟังได้ ณ บัดนี้

พ่อเลี้ยงชิตกับมิตสะหลวย
เอาสาวนอนตวย (นอนด้วย)
สองคืนสิบห้า (รูปี)
อีหลวงนอนเตียง
อีออนนั่งท่า (นั่งรอ)
ขะจั๋บโวย ๆ พ่อเลี้ยง...(ขยับไว ๆ พ่อเลี้ยง)

พ่อเลี้ยงชิตกับมิตสะหลวย
เอาสาวนอนตวย
สองคืนสิบห้า
อีดำขอเงิน
อีเฮือนขอผ้า
อีโนจาขอจ๊าง (ช้าง)
ขะจั๋บโวย ๆ พ่อเลี้ยง....

คนอื่น ๆ ขอเงิน ขอผ้า ยังพอว่า

โนจาเล่นขอช้าง สมัยนี้เทียบกับรถเบนซ์กระมัง

โนจานี้เป็นถึงนางพระราชทานจากองค์เจ้าหลวงทีเดียว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 25 ส.ค. 10, 10:11

จากเชียงใหม่ขอเชิญไปชมบ้าน (ตึก) โบราณอีกแห่งหนึ่งที่ปราจีนบุรี



ตึกนี้ใคร ๆ ก็ทราบว่าคือ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

http://www.abhaiherb.com/main/index.php?option=com_content&view=section&layout=blog&id=5&Itemid=6&lang=en

แต่ทราบไหมว่ามีตึกแฝดของตึกนี้อยู่อีกตึกหนึ่งอยู่ที่พระตะบอง

ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้จ้างช่างชาวอิตาเลียนให้สร้างตึกขึ้นหลังหนึ่ง แต่ไม่เคยขึ้นไปอยู่ ต่อมาได้ขายให้รัฐบาลฝรั่งเศสใช้เป็นที่ว่าการจังหวัดพระตะบอง ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน ทางจังหวัดพระตะบองกำลังหาทางบูรณะเพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์

ตึกในไทยสร้างที่หลังเลยสวยกว่า

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 25 ส.ค. 10, 11:53

ว่าด้วยเรื่องแหม่มสี จากข้อมูลที่ค้นได้นะคะ
ออกตัวก่อนค่ะ ว่า ดิฉันไม่แน่ใจว่าจะเป็นคนเดียวกับแหม่มศรี(หรือ สี)
เจ้าของที่ดินและคอกม้า ก่อนจะขายให้ใช้เป็นสถานทูตอเมริกาที่ถนนวิทยุค่ะ

ผู้ที่เรียกกันว่าแหม่มสี ชื่อจริง คือ Miss Lucy Dunlap
เป็น Missionary อเมริกัน และเป็นอดีตครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนสตรีวิทยา
สมัยนั้นเรียกว่า "โรงเรียนแหม่มสี"

เธอเกิดในคุกที่กรุงเทพ ขณะที่มารดาถูกคุมขังรอการพิพากษาโทษฐานทำการฆาตกรรมสามีชาวอเมริกันนิโกร
(ตรงนี้แปลว่าเธอน่าจะเป็นคนผิวสี)

ท่านศาสนาจารย์และ มิสซิซ E.P.Dunlap ได้ขอทารกนี้มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และให้ใช้นามสกุลของพวกเขา ต่อมาได้พาเธอไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีโอกาสศึกษาเพิ่มเติมในระดับสูง และได้กลับมาเป็นครูที่ ร.ร.สตรีวังหลัง จนรัฐบาลไทยขอให้มาสอนที่ ร.ร.แหม่มสี หรือ สตรีวิทยา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง