เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 130110 บ้านโบราณ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 28 ต.ค. 10, 08:18

คุณปูยำมีภาพมาโชว์บ้างหรือเปล่า

อยากเห็น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 29 ต.ค. 10, 12:36

ระหว่างรอดูภาพจากคุณปูยำ เอาภาพบ้านสวย ๆ ที่เป็นฉากละครยอดฮิตมาให้ดูกันค่ะ




บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 29 ต.ค. 10, 12:38

ดูรูปกันต่อนะคะ





บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 29 ต.ค. 10, 12:41

และรูปสุดท้ายค่ะ จะเห็นได้ว่า บ้านโบราณงามมาก และควรแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง
 


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 31 ต.ค. 10, 12:40

ขอฝากสักหลังหนึ่งครับ ... สโมสรข้าราชบริพาร ถนนมหาราช ฝั่งตรงข้ามกับประตูช่องกุด


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 22:00

ความคิดที่ ๑๒๐
ผมไม่ได้ถ่ายภาพมาวันนั้น ขอเวลาอีกสักนิด
แต่วันี้มีภาพภายในบ้าน ที่เจ้าของบอกว่า มีอายุมากกว่าร้อยปีมาฝาก
เป็นฝาประตูกันห้องเรือนใหญ่ ไม่ทราบว่าเป็นฝีมือช่างจีนหรือไทย





บันทึกการเข้า
djkob
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 16 ธ.ค. 10, 15:29

ก่อนอื่นต้องกราบขออภัยที่หายไปนาน งานยุ่งมากค่ะ

กลับมาอีกครั้งมาเปิดดูแล้ว มีความสุขที่สุด รู้สึกอิ่มใจกับ

ภาพสวย ๆ ที่สงสัยมาตลอดว่าเขาไปถ่ายทำกันที่ไหน สวยงามมาก ๆๆๆๆๆ

อยากให้สถานที่เหล่านี้ ได้ยืนยงคงอยู่ ให้คนรุ่นต่อไป ได้เห็นถึงความสวยงาม

ซึ่งเป็นอมตะนิรันดร์กาลต่อไป  กราบขอบคุณทุกท่านที่เมตตานำมาให้ได้ดู

ทำให้ได้ความรู้อีกมากมาย

กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพยิ่ง

ดีเจกบ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 20 ธ.ค. 10, 11:43

เอาบ้านโบราณ ของฝรั่ง มาให้คุณดีเจกบ ดูอีกหลังค่ะ



http://www.twinwolf.net/~tsb/paul-geo.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 20 ธ.ค. 10, 16:59

ย้อนกลับมาตลาดร้อยปี สามชุก สุพรรณบุรี
เที่ยวบ้านขุนจำนงจีนารักษ์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 20 ธ.ค. 10, 17:01

ภายในเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมได้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 19:11


นำคำบรรยายมาจากคุณ siamese ในกระทู้  รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก

"บ้านพิบูลธรรม กลายมาเป็นกระทรวงพลังงาน"

กระทรวงพลังงาน ตั้งอยู่ที่บ้านพิบูลธรรม เลขที่ ๑๗ เชิงสะพานกษัตริย์ศึก เขตปทุมวัน ปัจจุบันกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวง ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งอยู่ในบริเวณ บ้านพิบูลธรรม เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส เดิม

บ้าน พิบูลธรรมเดิมชื่อบ้านนนที เป็นบ้านที่พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เสนาธิบดีกระทรวงวัง ซึ่งคงได้สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๖ อันเป็นปีที่เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าพระยา บ้านนี้มีชื่อว่าบ้านนนที ตามชื่อวัวพระนนทิการ ซึ่งเป็นเทวพาหนะของพระอินทร์ (ตราประจำเสนาบดีกระทรวงวัง คือคราพระมหาเทพทรงพระนนทิการ) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีอยู่ที่บ้านหลังนี้จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมารัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ซื้อไว้เป็นบ้านรับรองแขกเมือง เปลี่ยนชื่อว่าบ้านพิบูลธรรมจน พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงมอบให้เป็นที่ทำการของการพลังงานแห่งชาติดังกล่าวแล้วในข้างต้น

ปัจจุบัน ภายในบ้านพิบูลธรรมมีอาคารเก่าแต่แรกสร้างซึ่งมีความงดงามทั้งด้าน สถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมอยู่ ๒ หลัง และศาลาไม้อีกหลังหนึ่ง คือ อาคารสำนักงานเลขานุการกรมซึ่งอยู่หลังหน้า และอาคาร   กองควบคุมและส่งเสริมพลังงานตั้งเยื้องไปด้านหลัง ส่วนศาลาไม้อยู่ด้านขวาของอาคารสำนักเลขานุการกรมและด้านหน้าของอาคารกองควบ คุมและส่งเสริมพลังงาน


อาคารทั้งสองหลังสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ที่นิยมในยุคนั้น ลักษณะเหมือนปราสาท เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปทรงตามปีกอาคารสองข้าง และมีส่วนโค้งส่วนหักมุมและเฉลียงต่างกันแต่ได้สัดส่วนกลมกลืน ประดับลายปูนปั้นตามผนังตอนบน หัวเสา ขอบหน้าต่าง และลูกกรงระเบียง ประตูหน้าต่างไม้สลักลาย มีรูปประติมากรรมหน้าวัวหรือพระโคนนทีติดอยู่ที่เหนือประตู เฉลียงที่มุมขวาของตึกหน้า และที่ผนังข้างประตูหน้าและเหนือประตูเฉลียงข้างของตึกหลังมีสะพานคอนกรีต เชื่อมชั้น ๒ ของอาคารทั้ง ๒ หลัง

อาคารทั้งสองหลังตกแต่งภายใน อย่างวิจิตรด้วยลายไม้แกะสลักตามเพดานและผนังห้อง ประตู และหน้าต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารในซึ่งตอนหน้าส่วนกลางก่อเป็นห้องชั้นที่ ๓ อีกห้องหนึ่งนั้น ด้านหลังเป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องโถงเอกของบ้าน โดยโถงหน้าเป็นทางเชื่อมจากส่วนหน้าของอาคารสู่โถงในซึ่งมีปีกเป็นรูปโค้งมน รูปทรงของห้องโถงนี้จึงเหมือนตัว T แต่มุมหักมน นับเป็นความงามเยี่ยมทางสถาปัตยกรรม ภายในห้องโถงนี้กึ่งกลางเพดานประดับภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกเรื่องรามเกียรติ์ โถงนอกรูปรามสูรเมขลา โถงในรูปทศกัณฐ์ลักนางสีดากำลังต่อสู้กับนกสดายุ เพดานรอบๆ ภาพเขียนประดับด้วยหูช้างไม้สลักเรียงรายตลอด ถัดลงมาเป็นภาพจิตรกรรมเถาไม้ดอกสีสดสวย ผนังจากระดับขอบประตูบนลงมาประดับไม้สลักลาย ตามขอบสลักลายเถาผลไม้ เสาไม้กลมตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมสลักลาย พื้นปูหินอ่อน ห้องโถงนี้ปัจจุบันใช้เป็นห้องเลียงรับรอง ห้องด้านหน้าทางปีกซ้ายของอาคารหลังนี้ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นห้องทำงาน มีภาพจิตรกรรมแบบเดียวกันประดับที่ฝาผนังด้านขวา จับภาพตอนพระรามตามกวาง ส่าวนเพดานห้องเขียนรูปหมู่กามเทพเด็กแบบฝรั่ง

ศาลาไม้ เป็นศาลาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าประดับไม้สลักตามพนักระเบียงเสา และหูช้างรับกับตัวอาคารทั้งสองหลัง พื้นปูนหินอ่อน หลังคามุงกระเบื้องว่าว


อาคาร เหล่านี้ได้รับการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย และทาสีใหม่ สภาพอาคารหลังใหญ่ค่อนข้างชำรุดทรุดโทรม มีรอยร้าวในบางแห่งกรมศิลปากรได้ตรวจสภาพภาพจิตรกรรมแล้วขอให้สำนัก งานพลังงานแห่งชาติซ่อมหลังคาแล้วทิ้งไว้ ๒-๓ ปีเพื่อให้ความชื้นภายในแห้งก่อนจึงจะดำเนินการซ่อมแซมภาพจิตรกรรม ซึ่งสำนักงานพลังงานแห่งชาติได้เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาเป็นกระเบื้องลอน และจะได้ดำเนินการของบประมาณซ่อมแซมภาพจิตรกรรมต่อไป

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 19:14

ภาพวาดรูปทศกัณฐ์ลักนางสีดา กำลังต่อสู้กับนกสดายุ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 19:17

อีกห้องหนึ่งในบ้าน  ภาพวาดคิวปิดฝีมือคาร์โล  ริโกลี่


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=haiku&month=13-12-2010&group=20&gblog=8
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 19:28

      บ้านสุริยานุวัตร 

     เดิมเป็นบ้านของ มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) นักเศรษฐศาสตร์คนแรกของเมืองไทย ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ตราบจนกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ท่านเขียนหนังสือ "ทรัพยศาสตร์" ซึ่งถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของเมืองไทย

        พระยาสุริยานุวัตร เกิดเมื่อ พ.ศ. 2405 เมื่ออายุได้เพียง 9 ขวบ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้เป็นลุงได้ส่งไปศึกษาที่ปีนังและกัลกัตตาอยู่ 5 ปี ก่อนจะกลับมาเข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กเป็นแห่งแรก
        ต่อมาได้เจริญก้าวหน้าในราชการ เป็นอัครราชทูตสยามประจำประเทศอังกฤศ    มีเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้สร้างบ้านสุริยานุวัตรในเวลาต่อมา คือ เมื่อองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) ซึ่ง ทรงศึกษาอยู่ ประชวรไส้ติ่งอักเสบ ต้องได้รับการผ่าตัดทันที พระยาสุริยานุวัตรเห็นว่า หากรอรับพระบรมราชานุญาตจะไม่ทันการณ์ ท่านจึงอนุญาตให้แพทย์ถวายการผ่าตัดโดยขอถวายศีรษะเป็นราชพลี ปรากฎว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงปลอดภัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานความดีความชอบเป็นทุนการศึกษาแก่บุตรและธิดาทุกคน รวมทั้งพระราชทานที่ดินกว่า 7 ไร่ บริเวณถนนหลานหลวงไว้ปลูกบ้านอยู่อาศัย ตัวบ้านก็ได้รับพระราชทานทรัพย์จากสมเด็จพระพันปีหลวง
        บ้านสุริยานุวัตร สร้างขึ้นหลังจากที่ท่านกลับมารับราชการในแผ่นดินเกิด ได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ จึงน่าจะสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2448 เล่ากันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานช้าง 3 เชือกมาเหยียบดินให้แน่นก่อนที่จะเรียงซุงจำนวนมากเพื่อรองรับน้ำหนักตึกตามตำราก่อสร้างสมัยก่อน
        สถาปนิกผู้ออกแบบเป็นนายช่างอิตาเลียนคนเดียวกับที่ออกแบบก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม และได้ยึดแนวก่อสร้างแบบเดียวกันมาใช้
        หนึ่งปีให้หลังเมื่อบ้านนี้เริ่มสร้าง พระยาสุริยานุวัตร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญคือ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ผลงานของท่านมีมากมาย อาทิ ได้คิดทำสตางค์แดงขึ้นใช้แทนอัฐิแบบเดิม ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักคิดและนักปฏิบัติหัวก้าวหน้าที่สุดในยุคนั้น มีความเฉียบขาดและตรงไปตรงมา คุณสมบัติเช่นนี้ได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศอย่างมากมาย ในขณะเดียวกันก็สร้างศัตรูในหมู่คนบางคนเช่นกัน
        ผลงานสำคัญคือเสนอแนวคิดจัดการโอนการจำหน่ายฝิ่นจากนายอากรมาให้รัฐบาลทั้งหมด ทำให้เกิดผลดีต่อการเพิ่มรายได้ให้รัฐอย่างมหาศาล ทำให้นายอากรและผู้เสียประโยชน์ไม่พอใจอย่างมาก ในที่สุด พระยาสุริยานุวัตรได้กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ เพื่อระงับเหตุอันอาจจะบานปลายต่อไป
        ท่านถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ภายในบ้านที่ท่านถือว่าเป็น "ของรับพระราชทานมา" หลังนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2479

         ภายหลังอนิจกรรมของท่านราว 4-5 ปี ทายาทของท่านได้ขายที่ดินบางส่วนและตัวบ้านสุริยานุวัตรให้แก่รัฐบาล และต่อมาได้ใช้เป็นที่ตั้งของสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งในปัจจุบันก็คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)   มีการประกาศให้ตึกกลางเป็นโบราณสถานแห่งชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ไว้ และกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมในปี พ.ศ. 2533 เมื่อแล้วเสร็จ คณะผู้บริหารได้ลงมติให้ตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่า "ตึกสุริยานุวัตร"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 19:30

ภายในบ้านสุริยานุวัตร


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง