เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 20757 หนังสืออนุสรณ์งานศพทุกประเภท
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


 เมื่อ 03 ส.ค. 10, 16:41

กระทู้นี้ ขอเป็นอนุสรณ์งานศพทุกประเภท ที่น่าสนใจนะครับ ท่านผู้ใดอยากแบ่งปันหนังสือเพื่อเป็นวิทยาทาน ก็สามารถนำมาลงในกระทู้นี้ได้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 16:45

รอคุณฤทธิอยู่นาน   ปลวกจะขึ้นแล้วค่ะ

พระประวัติสมเด็จพระราชปิตุลา   บรมพงศาภิมุข  เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช
หม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์  เทวกุล  รวบรวมโดยพระบรมราชโองการ
พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ  เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.  2472


บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 16:51

ขอเริ่มด้วย อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ(เป็นกรณีพิเศษ) นางบูรณวุฒิ(ทรัพย์  สาระเกษตริน) ภรรยาของขุนบูรณวุฒิ อดีตศึกษาธิการจังหวัดหลังสวนและสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีอายุยืนถึง 109 ปี(2441-2550)...สำหรับความพิเศษของหนังสือเล่มนี้ คือ ประวัติของคุณทวดทรัพย์ คือ ท่านมีบุตรเมื่ออายุ 15 ปี ดังนั้นในวันที่ท่านถึงแก่กรรม(7 ก.ค. 2550) บุตรสาวคนโตของท่าน คือคุณครูบุณยพรรณ  สงวนวงศ์ มีอายุถึง 94 ปี(2456-2552) และบุตรสาวคนที่ 2 มีอายุถึง 92 ปี(2458-ปัจจุบัน)



บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 16:55

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณครูบุณยพรรณ  สงวนวงศ์ อดีตครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ซึ่งถึงแก่กรรมขณะอายุ 96 ปี

ความพิเศษของหนังสือ คือ ประวัติของคุณครูบุณยพรรณ ที่เข้ารับราชการตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี และมีคุณแม่อยู่เคียงข้างตั้งแต่เกิดจนอายุ 94 ปี...



บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 17:03

หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณพร้อม  ณ นคร ผู้ใหญ่แห่งสกุล ณ นคร มีศักดิ์เป็นหลานสาวของเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต(แย้ม  ณ นคร) ทั้งยังมีศักดิ์เป็นน้องสาวของ ท่านผู้หญิงพโยม  เสนีณรงค์ฤทธิ์(2450-2552) มารดาของท่านผู้หญิงอภิรดี  ยิ่งเจริญ คุณข้าหลวงชั้นผู้ใหญ่ในพระบาทสมเด็จฯพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

ความพิเศษของหนังสือเล่มนี้ คือ รวบรวมเอาประวัติของต้นสกุล ณ นคร ไว้ทั้งหมด ที่มาที่ไปของตำแหน่งผู้ปกครองเมือง นครศรีธรรมราชในอดีต



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 18:20


แวะมาดูด้วยความชื่นชมค่ะ

ชอบหนังสือทุกประเภท

อ่านโดยแทบไม่เลือกเลยค่ะ   กระหายความรู้อยู่เสมอ

แต่ไม่มีหนังสืออนุสรณ์เท่าไร  เนื่องจากไม่มีที่เก็บแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 09:45

หนังสือเล่มนี้ มีทั้งรายชื่อข้าราชการวังหน้า(ทำเนียบนามภาค 2) วังหลัง และทำเนียบสมณศักดิ์      เป็นหนังสือสุดหวงเล่มหนึ่งในตู้    
เพราะตอนเริ่มนิยาย"รัตนโกสินทร์"   ตามหามาหลายปี ถึงขุนนางคนหนึ่งที่รู้แต่ราชทินนาม แต่ไม่รู้หน้าที่การงานและสังกัด      จนกระทั่งได้หนังสือเล่มนี้มาอย่างบังเอิญ   ก็เลยได้คำตอบพั๊วะทันที
ไม่มีหนังสือเล่มนี้ก็เริ่มนิยาย "รัตนโกสินทร์" ไม่ได้ ค่ะ


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 13:57

ขออนุญาตปรับสีเล่มนี้นะครับ......เมตตาอย่าถือสาหาความเลย....มันคือ/มือคัน...นะครับ


 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 14:20

ตามสบายเลยค่ะ   ขอบคุณมาก
ดิฉันไม่ถูกกับ window 7  ที่จำต้องใช้อยู่ขณะนี้   โปรแกรม scanner ใช้ยากมากค่ะ

ถ้าอยากทราบเนื้อความหรืออะไรที่เกี่ยวกับหนังสือที่ดิฉันสแกนมาลง เชิญถามได้นะคะ
ให้เล่าเองก็ยังไม่รู้จะเริ่มจุดไหน
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 ส.ค. 10, 20:36



กระทู้เีงียบเหงาไป
เลยเอาหนังสืออนุสรณ์งานศพที่มีอยู่ ๗-๘ เล่มมาให้ดูบ้างครับ
เล่มนี้เกี่ยวเนื่องมาจากเห็นมีการกล่าวชื่อท่านในกระทู้ จอมพล ป.๒ ไม่ผ่านขึ้น ป.๓
น.พ.เจริญ สืบแสง หรือ ขุนเจริญวรเวช อดีตนักโทษกบฎสันติภาพ
อ่านประวัติของท่านได้ที่ http://www.kananurak.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=74134&Ntype=3
ท่านเป็นเพื่อนรุ่นน้องที่รักใคร่กันมากของคุณปู่ผม เคยเป็นผู้บริหารเทศบาลเมืองปัตตานีในยุคแรกมาด้วยกัน ผมเลยเรียกท่านว่าปู่ขุนเจริญฯ
พ.ศ.๒๕๑๒ คุณปู่ผมป่วยด้วยโรคหัวใจ ปู่ขุนเจริญฯไปเยี่ยม แล้วนั่งคุยข้างเตียงคุณปู่ผม
ไม่มีใครทราบว่าท่านคุยอะไรกัน รู้แต่ว่าท่านทั้งสองร้องไห้ หลังจากท่านกลับไปคุณปู่ผมก็สั่งพ่อว่าห้ามทิ้งขุนเจริญฯ
หลังจากนั้นคุณปู่ผมอาการทรุดหนักลงและถึงแก่กรรมในเดือน ก.ค. ๒๕๑๒
ส่วนคุณปู่ขุนเจริญฯป่วยหนัักและถึงแก่กรรมในเดือน ธ.ค. ๒๕๑๒ เรียกว่าตามกันไปติดๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ส.ค. 10, 21:09

มาช่วยคุณหมอปั่นกระทู้อีกคน



บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 ส.ค. 10, 09:50

บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 ส.ค. 10, 09:52

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 ส.ค. 10, 10:11

ที่จริง เอาลงแต่ปกหนังสือ คนเข้ามาอ่านกระทู้อาจจะไม่จุใจนัก  เพราะอ่านปกเสร็จแล้ว  ก็จบ  ไม่รู้ว่าเรื่องเป็นอย่างไร  
ดิฉันก็เลยขอเสริมถึงเนื้อหาในเล่มให้ฟังนิดหน่อยนะคะ
ขอเชิญคุณหมอ CVT และท่านอื่นๆ เล่าบ้าง แล้วแต่เห็นสมควร

เรื่องทำเนียบนามภาค 2  ตำแหน่งขุนนางวังหลัง  เป็นรายชื่อขุนนางวังหน้าวังหลัง ว่าชื่ออะไร มีหน้าที่การงานอะไรบ้าง  ตอนอ่านครั้งแรกก็เพิ่งรู้ว่า ตำแหน่งงานนั้นทำนองเดียวกับขุนนางวังหลวง    
รายชื่อในหนังสือเล่มนี้ดีมาก  เขาจับให้ดูเป็นคู่ๆ ว่าตำแหน่งขุนนางวังหน้าเทียบได้กับขุนนางวังหลวงตำแหน่งไหนบ้าง
ขุนนางวังหน้า เป็นจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา แบบเดียวกับขุนนางวังหลวงทุกอย่าง  เว้นแต่ศักดินาน้อยกันกว่าครึ่งหนึ่ง

ตำแหน่งสูงสุด คือ เจ้าพระยามุขมนตรี   เทียบได้กับสมเด็จเจ้าพระยา วังหลวง  
พระยาจ่าแสนยากร  เทียบได้กับ สมุหนายก
พระยามหาโยธา   เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ   เทียบได้กับ พระยามหาอำมาตย์
พระยามณเฑียรบาล   เสนาบดีวัง   เทียบได้กับ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์
พระยาพิไชยบุรินทรา  เสนาบดีเวียง    เทียบได้กับ เจ้าพระยายมราช
พระยาเกษตรรักษา     เสนาบดีนา         เทียบได้กับเจ้าพระยาพลเทพ

พบราชทินนาม พระพินิจอักษร  ซึ่งเราคงจำได้ว่าสมัยปลายอยุธยา คือสมเด็จพระบรมราชชนกในรัชกาลที่ 1  สังกัดวังหน้าเหมือนกัน

นอกจากนี้่เจอราชทินนาม ขุนศรีสังหาร ซึ่งบางฉบับบอกว่าเป็นพ่อสุนทรภู่  ก็เป็นขุนนางวังหน้า      มาถึงตรงนี้ทำให้สงสัยว่าเหตุใดสุนทรภู่จึงไปเป็นชาววังหลัง    ถ้าจะตอบว่าแม่เป็นแม่นมพระธิดาวังหลัง   ก็ในเมื่อแต่งงานกับขุนนางวังหน้า ทำไมแม่ไม่ถวายตัวเป็นข้าหลวงวังหน้า อย่างที่ควรทำ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ส.ค. 10, 11:15

ไปค้นหนังสือเรื่องอื่น แต่กลับเจอหนังสือเล่มนี้เข้า  เป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงเผชิญ อรรถยุติ   ท่านเป็นภรรยาคุณหลวงวิสูตร วิรัชชเทศ  ท่านทูต
เป็นหนังสือเล่มใหญ่เกือบ 300 หน้า  ปกกระดาษหนาสีขาวอย่างดี  ข้างในก็เป็นกระดาษหนาและมัน  พิมพ์ภาพสีและขาวดำพราวไปทั้งเล่ม
คุณหญิงเผชิญ อยู่ในตระกูลโชติเสถียร    จึงมีประวัติของพระยาโชฎึกฯ เล่าเถียน  พิมพ์อยู่ในหนังสือเล่มนี้ด้วย
ประวัติบรรพชนของท่านลงในหนังสืออยู่ยาวเหยียด   มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยน่าสนใจ สะท้อนความเป็นอยู่ของตระกูลใหญ่เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อนได้มากกว่าหาอ่านในตำรา
จะหาเวลามาย่อยให้ฟังค่ะ  ต้องดูก่อนว่าจะตั้งเป็นกระทู้ใหม่ หรือว่าลงในกระทู้นี้ดี

ดูรูปคุณหญิงเมื่อตอนสาว  เป็นผู้หญิงที่งามและดูทันสมัยมาก


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง