เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27
  พิมพ์  
อ่าน: 160148 จอมพลป.2 ไม่ผ่านขึ้นป.3
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 10:35

ประตูเข้าเรือนไทยไปอ่านต้นฉบับก็มีอยู่

แต่หายากหน่อย

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 11:02

ต้องหาอย่างพินิจพิเคราะห์แบบคุณเพ็ญชมพูชอบทำ    ซึ่งหายากทั้งลิ้งค์และผู้หาแบบนี้  ยิ้มเท่ห์
ถ้าจะหาง่ายๆ โดยให้เครดิตคุณเล่าขลุ่ยที่อุตส่าห์นำไปลงในเว็บตัวเองด้วย ก็อาจทำได้แบบนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 21 ส.ค. 12, 05:21

เพิ่งอ่านประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
ของอาจารย์แถมสุข นุ่มนนท์  ได้มุมมองของจอมพล ป. พอสมควร
ท่านอาจารย์ตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับจอมพล แต่ไปตั้งชื่อเสียอีกอย่าง
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 29 ก.ย. 12, 09:29

^
ขอออกความเห็นตอบกลับไปบ้าง  ชักมัน
ไหนๆอาจารย์ยังควบธันเดอร์เบิร์ดกลับมาไม่ถึง   ห้องเรียนก็ไม่ควรเงียบสนิท  จริงไหมคะ

จิตร เป็นคนหนึ่งที่เหมาะสมกับคำว่า "เกิดก่อนยุคสมัย" หรือ "เกิดผิดยุคสมัย"    รุ้ง จิตเกษมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เหมาะกับสองคำนี้  ต่างกันว่าคนหนึ่งอยู่ในโลกจริง อีกคนอยู่ในจินตนาการ  แต่ก็จบชีวิตก่อนเวลาอันควรทั้งสองคน

ดิฉันขอแบ่งจิตรออกเป็น 2 ภาค   คือจิตรที่เป็นปัญญาชนนักวิชาการ   กับจิตรที่เป็นนักต่อสู้ทางการเมืองเพื่ออุดมการณ์     สองบทบาทนี้ ถ้ามองดีๆจะแยกออกจากกันได้
ถ้าจิตรคงคุณสมบัติข้อแรก  รอดตายจากพ.ศ. 2509 มาได้    เขามุ่งไปทางพัฒนาฝีมือสติปัญญาในเรื่องวิชาการให้ต่อเนื่อง ด้านภาษาและประวัติศาสตร์ อย่างสุขุมลุ่มลึกตามวัย  เขาคงจะได้รับเชิญไปเขียนคอลัมน์ประจำ เป็นเกียรติแก่ค่ายมติชนมาหลายปีแล้ว  
อาจจะได้รับการประกาศชื่อเป็นนิสิตเก่าดีเด่นของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เช่นเดียวกับดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์    และเช่นเดียวกับดร.นิธิ   จิตรอาจปฏิเสธเกียรติเรื่องนี้   จิตรอาจได้รับเชิญไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเป็นประจำ นอกเหนือจากที่ธรรมศาสตร์  สถาบันพระปกเกล้า และที่อื่นๆ  

สวรรค์ส่งให้จิตรเกิดมาเพื่อเป็นนักวิชาการผู้มีคุณค่า     เขาจงเห็นอะไรหลายอย่างที่ปรมาจารย์หลายท่านยังมองไม่เห็น หรือไม่ได้ดูตามเส้นทางนั้น   ชายหนุ่มอย่างจิตรสร้างงานค้นคว้าหลายชิ้นที่น่าทึ่ง  เป็นนวัตกรรมของชาวอักษรศาสตร์  ซึ่งในฐานะที่ดิฉันจบมาจากที่นั่นก็บอกได้ว่า กาลเวลาในคณะอักษรศาสตร์ แน่วแน่ แต่แน่วนิ่ง   พูดภาษาง่ายกว่านี้คือเดินได้ช้ามาก   อาจจะเร็วในยุคนี้ แต่ไม่ใช่ยุคก่อน
จิตรเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ที่ไวกว่ายุคมาก   จึงน่าเสียดายว่า จิตรอาจจะไม่รู้ว่าคนอย่างเขาเกิดมาเพื่อควรทำงานอะไรให้เต็มร้อย    เขาจึงแบ่งชีวิตไปให้อีกภาคหนึ่ง คือภาคที่สอง

ภาคที่สองของจิตรในฐานะนักต่อสู้ทางการเมืองที่มีอุดมการณ์   มีชะตากรรมที่ไม่ได้ต่างจากนักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์อื่นๆ ทั่วโลก   คือสร้างแบบอย่างไว้ให้เป็นอนุสาวรีย์แก่คนรุ่นหลัง    แต่ตัวเองไม่เคยทันเห็นการบรรลุผล   สิ่งตอบแทนคือความคับแค้นใจ ขมขื่น  เดือดร้อนแก่ตัวเองและครอบครัว     เหมือนแบกรับผลร้ายเอาไว้หมด เพื่อผลดีให้คนรุ่นหลังชื่นชมศรัทธา   แต่จนแล้วจนรอดอุดมการณ์นั้นก็ไม่มีวันเป็นจริง
เป็นชะตากรรมที่เดินเข้าไปแล้วร้อยทั้งร้อยเหมือนกันหมด   แต่พวกนี้ก็เต็มใจเดินเป็นเทียนที่เผาไหม้ตัวเองให้ความสว่างแก่คนอื่น    คนอื่นได้ดีจากผลงานของเขา แต่ตัวเขาไม่เคยได้อะไรเลยตลอดชีวิต    

ถ้าจิตรยังมีชีวิตอยู่จนปัจจุบัน และยังไม่แสวงหาเส้นทางเป็นหัวหน้าพรรคจิตราธิปไตย หรือเสี่ยจิตรเจ้าของสื่อ น.ส.พ. หรือสื่ออื่นๆอะไรก็ตาม    ดิฉันลงความเห็นว่าจิตรไม่สวมเสื้อสีไหนเลย   แถมอาจจะสวดยับอีกด้วย   เพราะมันไม่ใช่อุดมการณ์ของเขา  จิตรอาจมองเห็นว่ามันไม่ใช่อุดมการณ์อะไรเลยด้วยซ้ำ

จิตรไม่ได้โชคดีที่ตายก่อน หรือตายทีหลังเมื่ออายุ ๑๐๐ ปี   คนอย่างจิตรไม่เคยโชคดีเลยตั้งแต่เกิดมา  สังคมต่างหากที่โชคดี ได้มีคนอย่างจิตร

ช่วงนี้ผมพอมีเวลาว่างเลยมาไล่อ่านกระทู้ที่น่าสนใจ
ได้อ่านกระทู้นี้มาหลายวันแล้ว กำลังติดตามอ่านอย่างเมามัน และมีหลายอย่างช่วงที่อยากแสดงความเห็น(แม้จะเป็นกระทู้เก่า) แต่คิดว่า รออ่านให้จบก่อน

บังเอิญมาอ่านของท่านเทาชมพู เลยนึกถึงตัวเอง และนึกถึงเพื่อนสนิทอีกคนหนึ่งที่กำลังทุ่มเททำงานเพื่อชาติ (หมายถึงเพื่อนผมคนนั้นนะครับ ไม่ใช่ผม)

อ่านความเห็นของท่านเทาชมพูแล้วต้องขอบอกว่า "โดนครับ" โดนมากด้วย

เป็นการใช้คำ และมุมมองที่ควรค่าแก่การได้อ่าน และเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำ เรียบเรียงข้อความเพื่อสื่อถึงความคิดเห็นที่ผมต้องแอบขโมยเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 29 ก.ย. 12, 17:25


ชีวิตคือละครโรงใหญ่ ผู้ที่เล่นเป็นนักการเมืองมีบทให้แสดงอยู่ 8 ประเภทในความเห็นของผม
1 มาอย่างพระเอก ไปอย่างพระเอก
2 มาอย่างพระเอก ไปอย่างจืดๆ
3 มาอย่างพระเอก ไปอย่างผู้ร้าย
5 มาอย่างจืดๆ ไปอย่างจืดๆ
6 มาอย่างผู้ร้าย ไปอย่างพระเอก
7 มาอย่างผู้ร้าย ไปอย่างจืดๆ
8 มาอย่างผู้ร้าย ไปอย่างผู้ร้าย
จอมพลป.ท่านได้รับบทให้โน้มน้าวใจคนดูว่า มาอย่างผู้ร้าย ไปอย่างพระเอก
ส่วนจอมพลสฤษดิ์ได้รับบทให้โน้มน้าวใจคนดูว่า มาอย่างพระเอก ไปอย่างผู้ร้าย
ส่วนจริงๆแล้ว ชีวิตของท่านทั้งสองที่อยู่นอกบทอาจจะเป็นอีกเรื่องนึง ในฐานะที่เป็นปุถุชนที่มีทั้งความชั่วและความดีเหมือนกับคนอื่น และอาจมีอีกหลายเรื่องที่ผมไม่ทราบ จึงไม่สามารถฟันธงว่าสรุปบวกลบคูณหารกันแล้ว ใครเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย

เป็นหน้าที่ที่ท่านผู้อ่านจะใช้วิจารณญาณส่วนบุคคล วินิจฉัยกันเอาเองนะครับ

ในวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง "ความน่าจะเป็น (Probability)" ถ้า "มา" มี 3 ทางเลือก คือ "มาอย่างผู้ร้าย" "มาอย่างประเอก" "มาอย่างจืดๆ" และ "ไป" มีสามทางเลือกเช่นกัน คือ "ไปอย่างพระเอก" "ไปอย่างผู้ร้าย" "และ "ไปอย่างจืดๆ" แล้ว เหตุการณ์ที่เป็นไปได้ต้องมีทั้งหมด 9 วิธีครับ ที่ขาดคือ "มาอย่างจืดๆ ไปอย่างพระเอก" และ "มาอย่างจืดๆ ไปอย่างผู้ร้าย" (แต่ไม่รู้ว่าในชีวิตจริงจะมีหรือไม่)

ที่คุณลุงเนาวรัตน์ยกมานั้นมีเพียง 7 มิใช่ 8 ครับเพราะไม่มีข้อ 4.

ต้องขอโทษด้วยครับที่แสดงความเห็นล่าช้าไปสองปี เพราะเพิ่งค้นกระทู้พบครับ

เป็นกระทู้ตำนานที่ควรค่าแก่การอ่านอย่างมาก เพราะให้คติในการดำรงชีวิตอย่างมากมาย

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 29 ก.ย. 12, 17:39

อ่านความเห็นของท่านเทาชมพูแล้วต้องขอบอกว่า "โดนครับ" โดนมากด้วย

เป็นการใช้คำ และมุมมองที่ควรค่าแก่การได้อ่าน และเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำ เรียบเรียงข้อความเพื่อสื่อถึงความคิดเห็นที่ผมต้องแอบขโมยเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
ขอบคุณครับ


หยิบไปใช้ได้ตามสบายเลยค่ะ  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 29 ก.ย. 12, 18:04

อ้างถึง
ในวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง "ความน่าจะเป็น (Probability)" ถ้า "มา" มี 3 ทางเลือก คือ "มาอย่างผู้ร้าย" "มาอย่างประเอก" "มาอย่างจืดๆ" และ "ไป" มีสามทางเลือกเช่นกัน คือ "ไปอย่างพระเอก" "ไปอย่างผู้ร้าย" "และ "ไปอย่างจืดๆ" แล้ว เหตุการณ์ที่เป็นไปได้ต้องมีทั้งหมด 9 วิธีครับ ที่ขาดคือ "มาอย่างจืดๆ ไปอย่างพระเอก" และ "มาอย่างจืดๆ ไปอย่างผู้ร้าย" (แต่ไม่รู้ว่าในชีวิตจริงจะมีหรือไม่)

ที่คุณลุงเนาวรัตน์ยกมานั้นมีเพียง 7 มิใช่ 8 ครับเพราะไม่มีข้อ 4.

ตามนั้น
.
.
ไม่มีข้อแก้ตัวครับ
 
บันทึกการเข้า
ป้าหวัน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 56


ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 20:03

เพิ่งตามอ่านมาถึงหน้า10 มันหยดติ๋งๆ คุณตาควงท่านออกโรงเยอะทีเดียวตอนนี้ จำได้ว่าท่านฝีปากคม จะตามอ่านด้วยใจระทึก ว่าเมืองไทยทำม้ายจึงมีปฏิวัติเป็นกีฬาประจำชาติ ขอquoteตัวอย่างวาทะเด็ดของ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เช่น

   
ข้าพเจ้า นายควง อภัยวงศ์ เชื่อในพุทธภาษิตที่ว่า 'อฺปปาปิ สนฺตา พหเก ชินนฺติ ' คนดีถึงแม้มีน้อยก็เอาชนะคนชั่วหมู่มากได้ เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 20:15

ู^


บันทึกการเข้า
ป้าหวัน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 56


ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 27 พ.ย. 14, 20:27

เพิ่งอ่านจบกระทู้ค่ะ ขอขอบคุณอาจารย์และเพื่อน่วมกระทู้ทุกท่านที่กรุณาแบ่งปันความรู้ ดิฉันเข้ามาอ่านช้ากว่าคนอื่น แต่ก็เห็นกระจ่างว่าประเทศไทยเหมือนตกอยู่ในวังวน มีแต่นักการเมืองที่รักชาติจนน้ำลายไหล แต่ไม่มีใครเป็นรัฐบุรุษ ร้องไห้ ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอย่างที่อาจารย์ฐิติมาท่านสอนไว้ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีคนเลวที่ยังรอธรณีสูบ ต้องเร่ร่อนเป็นปีศาจพเนจรอยู่นอกประเทศ 
บันทึกการเข้า
ป้าหวัน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 56


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 27 พ.ย. 14, 20:39

และขอคารวะสามจอกแด่อาจารย์เทาชมพูว่าท่านแสดงข้อคิดเรื่องสี่แผ่นดินได้อย่างงดงามและบรรลุถึงความเข้าใจที่มาที่ไปของวรรณกรรมเรื่องนี้ (อ้างถึงความเห็น#๓๔๘)  ดิฉันเองยอมรับว่าเป็นแฟนอาจารย์ มรว คึกฤทธิ์ อย่างแน่นเหนียว ท่านแต่งสี่แผ่นดินอย่างถอดฝีมือจริงๆ อ่านมาห้ารอบแล้วก็ยังรักภาษาเรียบง่ายแต่บรรจงของท่าน ข้าน้อยมิบังอาจวิจารณ์ความสมบูรณ์ในเพชรน้ำเอกนี้ค่ะ ต้องว่าอย่างฝรั่งคือ: - I put สี่แผ่นดิน on a pedelstal.
บันทึกการเข้า
ป้าหวัน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 56


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 27 พ.ย. 14, 20:47

ปล. เมื่อก่อนคุณยายดิฉันมีบ้านอยู่ซอยร่วมฤดี ตอนเด็กๆดิฉันรู้สึกว่าโอ่โถงมาก แต่เข้าตำราตกยาก ขายไปนานแล้วค่ะ ดิฉันพอจะจำได้ลางๆว่าซอยนี้มีบ้านอรรครฐานมากหลายหลัง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 10:39

ตอนที่พลโทผิน ชุณหวันปฏิวัติรัฐประหารเสร็จถึงกับร้องไห้ในระหว่างการแถลงข่าวว่าไม่สามารถทนเห็นการโกงกินที่เกิดขึ้นในวงการรัฐบาลพล.ร.ต.ธำรงได้ คนใกล้ชิดค.ร.ม.จากที่กระจอกๆก็ร่ำรวยกันใหญ่ ส่วนตนนั้นขนาดเป็นนายพลยังยากจน กางเกงที่นุ่งอยู่ก็เก่า ขาดแล้วก็ยังต้องปะใช้อยู่  บ้านก็ต้องอาศัยหลวง แต่ตอนที่ได้เลื่อนเป็นจอมพลผินแล้วก็ฐานะอื่นๆท่านผู้นี้ก็ดีขึ้นมากมาย เป็นปฐมบุรุษของนักการเมืองกลุ่มซอยราชครูที่ช่วงหลัง สามารถลงทุนส่งคนในค่ายขึ้นไปชิงแชมป์เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งได้หนึ่งคนคือ พลเอกชาติชาย ชุณหวัน ก่อนหน้านั้นมีเหมือนกันที่คั่วตำแหน่งรองนายกอยู่หลายสมัย คือ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ลูกเขยจอมพลผิน แต่ไม่มีวาสนาได้เป็นนายกเพราะเสียเชิงมวยในค่ายให้นายบรรหาร หลงจู้จากสุพรรณ มาซิวตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทยที่กลุ่มราชครูสร้างมากับมือไปครองเสียก่อนอย่างน่าเจ็บใจ

กลุ่มราชครู ถือกำเนิดได้จากการกุมอำนาจในกองทัพของจอมพลผิน  ภายหลังการทำรัฐประหาร 2490 ตอนแรกรู้จักกันในนามของกลุ่มผิน-เผ่า (ผิน ชุณหะวัณพ่อตา และเผ่า ศรียานนท์ ลูกเขย) เริ่มด้วยการกำจัดกลุ่มปรีดีออกไปจากคณะกรรมการบริหารบริษัทข้าวไทย ตอนนั้นการใช้หนี้สงครามให้พันธมิตรด้วยข้าวได้จบสิ้นไปแล้ว เศรษฐกิจก็กระเตื้องขึ้นโดยอัตโนมัติ ไทยเริ่มส่งออกข้าวได้ตามปกติ แต่ใครจะส่งออกข้าวได้ก็ต้องมีโควต้า พ่อค้าจีนต่างก็วิ่งเต้นตีนขวิดเพื่อให้ได้โควต้าในการส่งออกให้มากที่สุด สมัยนั้นรัฐก็กดราคาข้าวที่ชาวนาพึงจะขายได้ด้วยการตั้งภาษีขาออก เรียกว่าค่าพรีเมี่ยมข้าว ทำให้ราคาข้าวที่ชาวนาได้รับต่ำกว่าราคาข้าวที่ส่งออกไปตลาดโลกมากมาย คนฮ่องกงต้องซื้อข้าวไทยในราคาแพงลิบ เป็นเศรษฐีจึงจะกินได้ แต่ชาวนาไทยก็ยังยากจนค่นแค้นใส่กางเกงตูดปะยิ่งกว่าตัวที่พล.ท.ผินยังโยนทิ้งอย่างไม่ใยดีเสียอีก คนไทยที่รวยก็คือพ่อค้า ตั้งแต่คนกลางยี่ปั้ว ซาปั๊ว ที่รวมข้าวมาให้พ่อค่าส่งออก และคนอนุมัติโควต้าว่าเจ้าโน้นส่งได้เท่านั้นตัน คนนี้ส่งได้เท่านี้ตัน

เชิญชมครับ
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ รัฐประหาร 8 พ.ย. 2490



ภาพยนตร์ข่าวบันทึกเหตุการณ์รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร ซึ่งเป็นการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลที่สืบท¬อดจากการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเผด็จการทหาร

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ ๑ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๔


เครดิต พันทิป โดย สมาชิกหมายเลข 1074602
บันทึกการเข้า
Almansos
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


Alexandre Almansos


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 15 เม.ย. 15, 21:39

ขออนุญาติยกมือถามครับ อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไรนัก แต่ก็สงสัยมานานแล้ว ตำแหน่ง"จอมพล"คืออะไรครับ แล้วสมัยปัจจุบันตำแหน่งนี้หายไปไหนครับ (รวมถึงพลจัตวาด้วยก็หายเหมือนกัน) และอยากทราบว่าจนถึงปัจจุบัน คนที่ได้รับตำแหน่ง"จอมพล"ในประเทศไทย มีกี่คนครับ (ขอทุกเหล่าทัพเลยนะครับ) ขอขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า

Almansos
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 16 เม.ย. 15, 05:51

คำถามอย่างนี้ วิกิมีคำตอบสำเร็จรูปอยู่แล้ว

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5_(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)

ส่วนยศพลจัตวา พลเรือจัตวา พลอากาศจัตวา ถูกยกเลิกไปเพราะเกรงว่านายพลจะล้นกองทัพ ไม่มีตำแหน่งจะให้ต้องไปนั่งในตำแหน่งลอยๆรอเกษียณไม่มีศักดิ์ศรีนายพลเท่าที่ควร เขาจึงไปขยายระดับยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ให้พวกนี้ดำรงยศเดิมแต่เพิ่มคำว่า(พิเศษ)เข้าไปด้วย เป็น พันเอก(พิเศษ) นาวาเอก(พิเศษ) นาวาอากาศเอก(พิเศษ) มีพวกแก่ๆที่ยศนี้ในแต่ละกองทัพแยะเหมือนกัน  ส่วนพวกที่คิดว่าหนทางข้างหน้าในชีวิตทหารตันแล้ว ไปทำอย่างอื่นได้ดีกว่าก็จะขอเออรี่รีไทร์ รับบำเหน็จบำนาญพร้อมยศพลตรีไปทำงานกับเอกชนแทนนั่งหง่าวอยู่ในกองทัพ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง