เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 160553 จอมพลป.2 ไม่ผ่านขึ้นป.3
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 11:27

ถามคุณเพ็ญชมพู
จิตรเขียนอะไรถึงจอมพลป.บ้างหรือเปล่าคะ   ตอนกบฏแมนฮัตตัน จิตรอายุ 21 แล้ว  เมื่อจอมพลป. พ้นอำนาจในพ.ศ. 2500 จิตรก็อายุ 27  อยู่ในวัยไฟแรง   เขาน่าจะเอ่ยถึงบ้าง

จอมพลป. ดูจะรับชะตากรรมบั้นปลายได้เยือกเย็นดีมาก    เมื่อนึกว่าก่อนหน้านี้ไม่เท่าไร ท่านยังขออยู่ในอำนาจต่อไปอีก 5 ปี      นับอายุที่ท่านเข้ามาในวงการเมืองตั้งแต่พ.ศ. 2475 จน 2500  ก็ 25 ปี  ถ้าอยู่ได้อีก 5 ปี  ก็เป็น 30 ปี   นับเป็นผู้ครองอำนาจยาวนานที่สุดหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย
เรียกว่าทิ้งระยะห่างจากประธานาธิบดีอเมริกา ที่มีวาระคนละ 4 ปี  แบบประธานาธิบดีไม่เห็นฝุ่นท่านจอมพลป. เลยทีเดียว

น่าชมเชยผู้นำอย่างท่านที่รู้ว่า เมื่อพ้นจากอำนาจไปแล้วก็มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ   เปิดทางให้ประเทศได้มีคนอื่นมาแสดงความสามารถกันบ้าง  ไม่ผูกขาดเอาไว้คนเดียว
ไม่งั้นบ้านเมืองอาจจะยับเยินก็ได้  เพราะจอมพลสฤษดิ์หรือจะยอม?

ท่านคงจะตั้งใจจริง   เพราะบันทึกของม.ร.ว.เสนีย์ก็บอกให้รู้ว่า พลต.อ. เผ่าอยากจะหวนคืนกลับมารัฐประหารอีกครั้ง   แต่ไม่เอาจอมพลป.มาเกี่ยวด้วย    เป็นไปได้ว่ามีการติดต่อระหว่างบุคคลสำคัญทั้งสองก่อนหน้านี้แล้ว  ท่านจอมพลก็คงยืนยันจุดยืนเรื่องนี้
หรือถ้ามองอีกทางคือพลต.อ.เผ่าอาจจะเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องกุมบังเหียนเอง   ไม่ใส่พานยกให้จอมพลป. อย่างที่จอมพลผินเคยทำ 
เราก็คงไม่มีวันรู้คำตอบแท้จริง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 11:48

ถามคุณเพ็ญชมพู
จิตรเขียนอะไรถึงจอมพลป.บ้างหรือเปล่าคะ   ตอนกบฏแมนฮัตตัน จิตรอายุ 21 แล้ว  เมื่อจอมพลป. พ้นอำนาจในพ.ศ. 2500 จิตรก็อายุ 27  อยู่ในวัยไฟแรง   เขาน่าจะเอ่ยถึงบ้าง

เคยได้พบแต่ข้อเขียนที่จิตรเอ่ยถึงรัฐบาลของจอมพล ป. ภายใต้อิทธิพลของอเมริกา และยกคำปราศรัยของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ซึ่งอเมริกาเป็นผู้ร่างให้มาเป็นตัวอย่างด้วย


ต่อมาก็มีการแปลสุนทรพจน์ของผู้ยิ่งใหญ่หลายคนในเมืองไทย เช่น ครั้งหนึ่ง อเมริกามอบหัวรถจักรดีเซลให้การรถไฟไทย จะจัดพิธีมอบ ในพิธีนั้นทางอเมริกากล่าวมอบ และทางไทยกล่าวตอบรับขอบใจ องค์การร่วมมือของอเมริกาก็จะส่งสำเนาคำปราศรัยของทั้งสองฝ่ายมาให้แปล ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ คำปราศรัยกล่าวมอบของฝ่ายอเมริกานั้น ต้องแปลออกเป็นภาษาไทย เพื่อเอาไปให้ รมต.คมนาคมไทยอ่านล่วงหน้าจะได้รู้ว่าผู้มอบจะพูดว่าอย่างไร ส่วนคำตอบรับของ รมต.ไทยนั้น ฝ่ายอเมริกาก็เขียนให้เสร็จเรียบร้อยแต่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าเป็นผู้แปลออกเป็นภาษาไทยที่ไพเราะสละสลวย ซึ่งองค์การร่วมมือของอเมริกาจะนำไปพิมพ์ดีดเรียบร้อยใส่ซองเตรียมไว้ใน รมต.ไทยอ่านตอบรับตามนั้น พูดง่าย ๆ ว่าอเมริกาต้องการจะให้ รมต.ไทยพูดสรรเสริญบุญคุณอย่างไรให้ประชาชนไทยฟัง ก็เขียนลงไป รมต.ไทย ต้อง อ่านตามนั้น ทำท่าเหมือนว่าตนเขียนมาอ่านเอง หรือเหมือนว่า ครม.ไทย ลงมติกันมาให้พูดเช่นนั้นเอง

อีกตัวอย่างหนึ่งคือคำปราศรัยของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ซึ่งจะปราศรัยเกี่ยวกับปัญหาวัฒนธรรมในนามของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง ในโอกาสวันฉลองรัฐธรรมนูญ คำปราศรัยนั้นไม่เกี่ยวข้องกับอเมริกาเลย เป็นเรื่องของวัฒนธรรมไทยล้วน ๆ แต่ร่างคำปราศรัยกลับเขียนเป็นภาษาอังกฤษ องค์การ่วมมือของอเมริกาเป็นผู้ร่างและส่งมาให้สำนัก  ดร.เก็ดนีย์แปลออกเป็นภาษาไทย ข้าพเจ้าก็แปลและใช้ถ้อยคำให้สละสลวยสำหรับท่านผู้หญิงละเอียดเอาไปอ่านในวันงาน

เอกสารทำนองนี้มีอีกมาก แม้บริการข่าวสาร เช่น บทบรรยายภาพยนตร์ ข่าวเสด็จพระราชดำเนิน ต้นบทก็เป็นภาษาอังกฤษส่งมาจากองค์การร่วมมือของอเมริกา ข้าพเจ้าเป็นผู้แปลออกเป็นภาษาไทย หรือบางครั้งก็มีเจ้าหน้าที่ในสำนักวัฒนธรรมแปลออกเป็นภาษาไทยแล้ว แต่องค์การร่วมมือของอเมริกาก็ยังส่งทั้งฉบับอังกฤษและไทยมาให้สำนักดร.เก็ดนีย์ตรวจสอบว่าแปลตรงตามภาษาอังกฤษอย่างแท้จริงหรือไม่ จนที่สุดแม้จดหมายติดต่อบางฉบับ ก็ส่งมาให้แปล ทั้ง ๆ ที่อัตราค่าแปลสูงมาก (ชั่วโมงละ ๗๕ บาท)

ประสบการณ์เช่นนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเริ่มรู้สึกถึงการแทรกแซงและเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของอเมริกาที่มีต่อไทย รู้สึกว่าอเมริกาไม่วางใจวงการรัฐบาลไทยเลย ไม่ว่าอะไรก็ต้องขีดเส้นให้เดินทั้งสิ้น อีกด้านหนึ่งก็รู้สกว่าพวกคณะรัฐบาลของไทยมีแต่คนโง่ และบ้านเมืองถ้าอยู่ในมือของคนพวกนี้ไปเรื่อย ๆ ก็คงจะหายนะสักวันหนึ่ง ความจริงข้าพเจ้าน่าจะมองเห็นทีเดียวว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้แสดงว่าไทยเป็นเมืองขึ้นของอเมริกาชัด ๆ แต่ในขณะนั้นความรู้สึกของข้าพเจ้ายังไม่พัฒนาถึงขั้นนี้ และยังไม่รู้สึกตรง ๆ อย่างจังเช่นนี้

เรื่องชื่อจาก สมจิตร ---> จิตร  ตามรัฐนิยมของจอมพล ป. ก็ยังไม่เคยได้พบว่าจิตรบ่นถึงเรื่องนี้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 11:52

อ้างถึง
รูปครอบครัวท่านผู้นำอบอุ่นพร้อมหน้า(ขณะที่ศัตรูการเมืองของท่านกำลังเร่ร่อนลำบากกัน)
คงจะถ่ายที่บ้านบรรทมสินธุ์ หรือ ปัจจุบันคือ บ้านพิษณุโลกใช่ไหมคะคุณ Sila
ดิฉันเดาเอาจากรูปด้านหลังค่ะ

คิดเหมือนกัน ครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 12:00

ผมเชื่อว่าข่าววงในว่าจะปฏิวัติซ้อนมีตลอดเวลาในช่วงนั้น พ.ต.อ.พุฒเขียนไว้ใน"บุรุษเหล็กแห่งเอเซีย"ว่ามีคนแวะเวียนไปเจนีวาเพื่อขอสตางค์มาทำปฏิวัติบ่อยๆ แต่ถูกลูกน้องข้างตัวขัดคอ เผ่าเลยไม่ค่อยได้เสียเงิน ยิ่งทางจอมพลป.ยิ่งไม่แปลก ท่านอยู่แค่ญี่ปุ่น บ้านของท่านมีแขกเสมอๆ และแน่นอนว่าต้องมีคนชวนท่านกลับไปเล่นการเมืองอีก โชคดีที่ท่านฉลาดแล้ว

แต่ข่าวที่เข้ามาในกรุงเทพ บวกกับข่าวลือสารพัดว่า จอมพลสฤษดิ์ถ้าจะไม่ไหว เพราะม้ามใกล้หมดสภาพแล้ว พล.อ.ถนอมก็เหยาะแหยะ พล.อ.ประภาสก็มือไม่ถึง มีการยุยงคนโน้นคนนี้ จอมพลสฤษดิ์เลยปอด ถ้าจอมพลป.แวะเข้ามาจริงๆแล้วลูกน้องไม่ยอมให้ออกไปง่ายๆสงสัยจะยุ่งแน่

ชั่งน้ำหนักกันแล้วบารมีของเผ่าเทียบจอมพลป.มิได้เลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 12:13

^
แสดงว่า นักการเมืองที่ลี้ภัยไปต่างประเทศพร้อมด้วยเงินเต็มกระเป๋า ก็ได้รับการเสนอโปรเจครัฐประหารจากหลายเจ้าด้วยกัน     เป็นของมีมาแต่อดีตแล้ว
ลูกน้องพลต.อ.เผ่า นับว่าใช้ได้ทีเดียวที่ไม่ยุให้นายหมดตัว   ส่วนจอมพลป. ก็คงรู้ว่ากระแสอำนาจนั้น มีแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป   ไหนเลยจะไหลกลับคืนมา

คุณนวรัตนเอ่ยถึงจอมพลถนอมกับจอมพลประภาสมา ๒-๓ หน   ดิฉันก็เลยกลับไปทบทวนความจำว่าจำอะไรได้เกี่ยวกับสองจอมพลนี้บ้าง
จอมพลถนอมตอนขึ้นเป็นนายกฯใหม่ๆแล้วก็พ้นตำแหน่งไปในครั้งแรก   เป็นคนที่สื่อไม่เกลียด  ออกจากชอบด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับนักการเมืองอื่นๆ   
ท่านเป็นคนสุภาพ  เดินเข้างานไหนก็รับไหว้แขกในงานอย่างทั่วถึงพร้อมด้วยยิ้มสยามอย่างใจดี  ราวกับ "เล่าปี่  ผู้พนมมือทั้งสิบทิศ" ของ "ยาขอบ"
สื่อเรียกว่า "นายกคนซื่อ"  น่าจะเรียกจริงมากกว่าหยิกแกมหยอก  เพราะในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ท่านไม่เคยเสียชื่อ
มีคนเล่าว่าจอมพลถนอมเป็นที่เคารพนับถือในกองทัพบก เพราะเป็นอาจารย์มีลูกศิษย์ลูกหา  และมีลูกน้องที่ได้รับความเมตตาปรานี มาก่อน   

ส่วนจอมพลประภาส มีบุคลิกแข็งและเฉียบขาดกว่าจอมพลถนอม     อำนาจก็ดูจะกว้างไกลกว่าเพราะว่าการทั้งกลาโหมและมหาดไทยในรัฐบาลจอมพลถนอมยุคหลังเมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่กรรมไปแล้ว    แล้วยังเป็นอธิการบดีจุฬา ผู้ไม่ประสงค์จะให้นิสิตนักศึกษาไปยุ่งเรื่องการเมือง   พวกเราก็เลยได้แต่เน้นหนักไปทางกิจกรรมค่ายและชมรมต่างๆ    จะแตะการเมืองได้ก็ตอนยกป้ายเดินในสนามศุภ ในงานบอลประเพณี   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 12:20

ถามคุณเพ็ญชมพูอีกครั้ง
จิตรไม่แตะจอมพลป. ในเรื่องต่างๆที่เคยทำ  แต่ถ้าเป็นจอมพลสฤษดิ์ จิตรเล่นดุเดือดกว่ามาก   เป็นไปได้ไหมที่จิตรรู้สึกว่าการกระทำของจอมพลป. ไม่ว่าจะตั้งแต่กบฏบวรเดชมาจนยุคอัศวินผยอง   ไม่ได้มีผลกระทบต่อจิตรเป็นส่วนตัว   แต่จอมพลสฤษดิ์สั่งจับจิตรด้วยข้อหา  "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน และภายนอกราชอาณาจักรและกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์"  ติดคุกตั้งแต่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ตลอดยุคสมัยของจอมพลสฤษดิ์  เดือนธันวาคม พ.ศ. 2507  จอมพลสฤษดิ์ตายไป 1 ปีแล้ว  เขาจึงได้รับอิสรภาพ
ที่ถามเพราะแปลกใจว่า นโยบายของจอมพลป.และจอมพลสฤษดิ์ ก็แอนตี้คอมมิวนิสต์ และปรปักษ์ไม่ว่าเป็นคอมฯ หรือไม่เป็นคอมฯ พอๆกัน   แต่จิตร ดูจะชิงชังจอมพลสฤษดิ์มากกว่าหลายเท่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 13:19

ดิฉันเป็นหลานเสรีไทย และหลานนักโทษการเมือง ที่ไม่รู้เรื่องเลยว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่ในยุคนั้น เพราะสิ่งที่เกิดกับปู่ ทำให้ทุกคนในบ้าน ไม่ยอมพูดการเมืองอีกเลย ลามปามมาถึงวันสอบ Entrance ที่ดิฉันถูกตัดสิทธ์ไม่ให้เลือกบางมหาวิทยาลัย เพราะกลัวจะไปยุ่งการเมือง

เรื่องราวในยุคนั้น ต้องมาค้นหาอ่านเอาเองในภายหลัง จึงมาเป็นแฟนเรือนไทยเงียบ ๆ อยู่นาน ได้รับข้อมูลที่ขาดหายไปมากมายอย่างไม่น่าเชื่อค่ะ

อยากจะให้คุณร่วมฤดีรู้ว่า ลูกหลานครอบครัวที่ร่วมชะตากรรมการเมืองคล้ายคลึงกับคุณ ยังมีอยู่อีกค่ะ
ติดต่อกับหลานสาวของพ.ท. โพยม จุลานนท์แล้ว ขอให้เธอเขียนเล่ารายละเอียดบางอย่างมาให้ทางอีเมล์  แล้วจะนำมาเรียบเรียงให้อ่าน  เธอเข้ามาอ่านสม่ำเสมอแต่ไม่ได้โพสต์  เพราะเคยสมัครสมาชิกนานแล้ว  แต่จำ password ไม่ได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 14:50

ถามคุณเพ็ญชมพูอีกครั้ง
จิตรไม่แตะจอมพลป. ในเรื่องต่างๆที่เคยทำ  แต่ถ้าเป็นจอมพลสฤษดิ์ จิตรเล่นดุเดือดกว่ามาก   เป็นไปได้ไหมที่จิตรรู้สึกว่าการกระทำของจอมพลป. ไม่ว่าจะตั้งแต่กบฏบวรเดชมาจนยุคอัศวินผยอง   ไม่ได้มีผลกระทบต่อจิตรเป็นส่วนตัว   แต่จอมพลสฤษดิ์สั่งจับจิตรด้วยข้อหา  "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน และภายนอกราชอาณาจักรและกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์"  ติดคุกตั้งแต่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ตลอดยุคสมัยของจอมพลสฤษดิ์  เดือนธันวาคม พ.ศ. 2507  จอมพลสฤษดิ์ตายไป 1 ปีแล้ว  เขาจึงได้รับอิสรภาพ

ไม่ใช่ความแค้นส่วนตัวแน่ ๆ

จิตร ภูมิศักดิ์เป็นอะไรหลาย ๆ อย่างแต่สิ่งหนึ่งที่คนอาจลืมเลือนไปคือเขาเป็น "นักหนังสือพิมพ์"

ธรรมชาติของหนังสือพิมพ์มักสนใจในสิ่งที่ทันยุค ยังอยู่ในกระแส

บทวิเคราะห์วิจารณ์จอมพลสฤษดิ์ของจิตรในรูปของบทกวีที่ชื่อ โคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานครยุคไทยพัฒนา นี้  จิตรเขียนก่อนที่จะออกจากคุกและลักลอบส่งออกมาพิมพ์ในหนังสือ "ประชาธิปไตย" เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗  เกือบ ๑ ปีหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ตายไปแล้ว

หากจะวิจารณ์จอมพล ป. ตอนนั้นคงไม่ทันกระแส

ในฐานะคนหนังสือพิมพ์ จิตรเคยเตือนเพื่อนร่วมอาชีพให้ซื่้อสัตย์ต่อคนอ่านอย่าขายตัุวให้นักการเมืองทุจริต ในบทกวี "วิญญาณหนังสือพิมพ์"

วิญญาณหนังสือพิมพ์       นั้นลุกโรจน์กระพือฮือ
หลอมลนด้วยเปลวบือ      จนเหลือคนที่ทนไฟ

ใครคนหนังสือพิมพ์         ที่ทระนงในนามไทย
มวลชนย่อมชมใจ           และชมชื่นในผลงาน

ใครคนหนังสือพิมพ์         ที่ทรยศอุดมการณ์
เสียงแช่งจะยาวนาน        เป็นเดนปากของปวงชน

ใครคนหนังสือพิมพ์         ที่ทระนงในนามคน
ชื่อเสียงจะคงทน            ดั่งรุ้งทาบนภา.....บา !

ใครคนหนังสือพิมพ์        ที่ขายตัวเพื่อเงินตรา
จารึกบนหนังหมา           ประจานนานถึงหลานเหลน

อาสูพวกกาฝาก             จะตายซากเป็นกากเดน
พื้นฐานนั้นโงนเงน          จะพังพับอยู่นับวัน

อาเพื่อน (ยังเรียกเพื่อน)  จะขอเตือนอีกครั้งครัน
อย่าด้านและดึงดัน         อย่าดื้อดึงจนเกินไกล

"เจ้าซื่อต่อคนคด          แต่ทรยศต่อคนไทย
ลูกหลานจะอายใจ        ที่มีพ่อเป็นคนทราม"

สูเอยประวัติศาสตร์        จะจารึกประจานนาม
ตัวอย่างแสดงความ       สกุลถ่อยแห่งกรุงไทย

ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย     ถ้าไร้อายก็ตามใจ
อย่ารอจนสายไป         จะครางอา....นิจจากู !

ด้วยความปรารถนาดีจากเพื่อนเก่า !

กวี ศรีสยาม
หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย
๑๕ สิงหาคม ๒๕๐๗

***********************************
"เจ้าซื่อต่อคนคด          แต่ทรยศต่อคนไทย
ลูกหลานจะอายใจ        ที่มีพ่อเป็นคนทราม"

คนคดในยุคนั้นของจิตร คือ สฤษดิ์ ธนะรัชต์

 ยิงฟันยิ้ม
 
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 15:17

อ้างถึง
โอย....คนซอยเอกมัยนี่เอง    สงสัยว่าจะรุ่นเดียวกันหรือใกล้ ๆ กันด้วย

อาจารย์ใหญ่ท่านขี่จักรยานตระเวณอยู่แถวนั้นนานมากมาแล้ว

ไม่ใช่เอกมัยหรอกค่ะคุณวันดีคะ แต่เป็นซอยร่วมฤดีค่ะ เป็นบ้านของม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดีค่ะ ม.ร.ว.เสนีย์ไปอาศัยอยู่ที่นั่นก่อนจะมีบ้านที่เอกมัยค่ะ
 
และในซอยเดียวกันนี้ ก็มีบ้านของคุณ จำกัด พลางกูรด้วย เสรีไทยผู้นี้ เอาชีวิตไปทิ้งไว้ที่เมืองจุงกิง
ระหว่างรอคนที่เคยอยู่ซอยเดียวกัน ม.ร.ว.เสนีย์ ขณะที่เป็นทูตไทยใน US ตอบกลับมาว่าจะเอาอย่างไรเกี่ยวกับขบวนการกู้ชาติ

แปลกไหมคะ ที่ต่างทำงานเดียวกัน แต่ในช่วงเวลานั้น ต่างพลัดกันไปคนละที่ ไม่เว้นแม้แต่ปู่ดิฉัน ขณะนั้นก็ไปทำหน้าที่ ๆ อื่น ทั้ง ๆ ที่รู้จักกับพระพินิจชนคดี

ดิฉันไม่บังอาจเทียบรุ่นกับท่านอาจารย์ทั้งหลายที่นี่หรอกค่ะ คงเด็กกว่ากันมาก ขอกราบไหว้เป็นครูบาอาจารย์ดีกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 15:27

ซอยร่วมฤดี ที่ไหนคะ รู้จักแต่ซอยร่วมฤดีที่ถนนเพลินจิต     ตกใจ
เป็นซอยอยู่ติดกันทางรถไฟช่องนนทรีย์ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 15:39

.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 15:47

แปลกใจตั้งแต่เห็นนามแฝงของคุณร่วมฤดีแล้วค่ะ   
ไม่ทราบว่าบ้านของม.ร.ว.บุญรับอยู่ไหน  แต่เข้าใจว่าบ้านของคุณจำกัด พลางกูร เข้าไปไม่ลึกนัก  ใกล้ๆด้านหลังของโรงแรมพลาซ่า แอทธินี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 16:15

อ้างถึง
ลูกน้องพลต.อ.เผ่า นับว่าใช้ได้ทีเดียวที่ไม่ยุให้นายหมดตัว


ถ้านายหมดตัว ตายแล้วลูกน้องจะหิ้วอะไรกลับบ้านละครับ อุตส่าห์ทุ่มทั้งชีวิตรับใช้สารพัด ทั้งถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย เสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางก็เท่านั้น
มาอยู่เจนีวาก็หนาวปวดกระดูก จะให้คนอื่นมาประเดี๋ยวประด๋าวแล้วปาดเงินไปง่ายๆ  มันก็คงต้องรูดแหวนเพชรอัศวินไปจำนำฝรั่งเข้าสักวัน
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 16:34

อ้างถึง
ไม่ทราบว่าบ้านของม.ร.ว.บุญรับอยู่ไหน  แต่เข้าใจว่าบ้านของคุณจำกัด พลางกูร เข้าไปไม่ลึกนัก

จำตำแหน่งแห่งที่ไม่ได้หมดแล้วค่ะ อาจารย์คะ ตอนเด็กฟังผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่าตรงนั้นตรงนี้ เคยตามไปที่นั่นด้วย แต่ยังเล็กมาก นั่งตัวลีบ ๆ เชียว

ซอยนี้ เข้าจากเพลินจิตก็ได้ มาทะลุถนนวิทยุหน้าตึกเคี่ยนหงวนไงคะ เราอยู่กันด้านวิทยุค่ะ ปัจจุบัน ต้องแตกกระสานซ่านเซ็น ไม่ได้อยู่ที่นั่นกันแล้ว คนเก่าคนแก่ก็หายกันไปหมด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 23 ส.ค. 10, 16:53

อ้างถึง
ลูกน้องพลต.อ.เผ่า นับว่าใช้ได้ทีเดียวที่ไม่ยุให้นายหมดตัว


ถ้านายหมดตัว ตายแล้วลูกน้องจะหิ้วอะไรกลับบ้านละครับ อุตส่าห์ทุ่มทั้งชีวิตรับใช้สารพัด ทั้งถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย เสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางก็เท่านั้น
มาอยู่เจนีวาก็หนาวปวดกระดูก จะให้คนอื่นมาประเดี๋ยวประด๋าวแล้วปาดเงินไปง่ายๆ  มันก็คงต้องรูดแหวนเพชรอัศวินไปจำนำฝรั่งเข้าสักวัน

หุหุ  แก้ต่างให้อัศวินได้ดีมากค่ะ เห็นเหตุผลและความจำเป็น   ยิงฟันยิ้ม
พลต.อ.เผ่าอยู่เจนีวาได้ 3 ปีเท่านั้น  ส่วนจอมพล ป.อยู่ญี่ปุ่นได้นานถึง 7 ปี   

กลับมาคุยต่อกับคุณร่วมฤดี
ค่ะ  ซอยร่วมฤดีมีทางเข้าออกทะลุระหว่างเพลินจิตและถนนวิทยุได้    ตรงปากทางเข้าทางถนนเพลินจิตเป็นร.ร.แพรัตอนุสรณ์ของดร.ชวาล แพรัตกุลมาก่อนจะถูกทางด่วนเวนคืน หายไปทั้งโรงเรียน    เข้ามาในซอย คือด้านหลังของโรงแรมอิมพีเรียลที่ปัจจุบันกลายเป็นพลาซ่า แอทธินี   
วิ่งตรงเข้าไปอีกเกือบจะถึงมุมสุดของซอยก่อนเลี้ยวขวาไปออกถนนวิทยุ  คือด้านหลังของวังท่านปิยะและพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดี    เลยไปตรงหัวมุมคือโบสถ์มหาไถ่ของพวกคาทอลิค    และถ้าไม่เลี้ยวออกถนนวิทยุ ตรงเข้าไปตามทางเดินเล็กๆของชุมชน เมื่อก่อนมีทางทะลุไปโปโลคลับ
ปากซอยทางออกถนนวิทยุเป็นบริษัทรถ   ถัดไปริมถนนใหญ่ จำได้ว่าเป็นบ้านของพวก ณ นคร ค่ะ   เมื่อก่อนเป็นตึกใหญ่สวยเชียว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง