ได้โอกาสแยกซอยอีกแล้วค่ะ
ไฮปาร์ค ที่เราเรียกกันจนกลายเป็นทั้งคำนามและคำกริยา มาจากคำว่า Hyde Park สวนสาธารณะใหญ่ในกรุงลอนดอน เคยได้ยินคำนี้มานานแล้ว ก็อยากรู้ว่าของจริงเป็นยังไง
พอไปเจอเข้าจริงๆ รู้ได้อย่างเดียวว่าเดินขาลากกว่าจะข้ามสวนไปได้ ถ้าไปอีกหน คงเดินไม่ไหวแล้ว
ส่วนที่เขาพูดกันอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้ มองไม่เห็น หรือว่าเลิกกันไปนานแล้วก็ไม่ทราบค่ะ ใครทราบช่วยบอกด้วย
บริเวณที่คุณเทาชมพูสนใจในสวนไฮด์ปาร์ค์เรียกว่า "มุมนักพูด" Speakers' Corner อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณสวน
คุณวิกกี้
http://en.wikipedia.org/wiki/Speakers%27_Corner เล่าเกี่ยวกับเรื่องมุมนักพูดนี้ไว้ว่า
Speakers there are allowed to speak as long as the police consider their speeches lawful. Contrary to popular belief, there is no immunity from the law, nor are any subjects proscribed, but in practice the police tend to be tolerant and therefore only intervene when they receive a complaint or if they hear profanity.
Historically there were a number of other areas designated as Speakers' Corners in other parks in London, (e.g. Finsbury Park, Clapham Common, Kennington Park and Victoria Park) as well as other countries.

คุณวิกกี้เล่าถึงเรื่องไฮด์ปาร์คในประเทศไทยว่า จัดขึ้นครั้งแรกที่ท้องสนามหลวง
An area was set up in Bangkok in the 1930s, and quickly became known as Hyde Park, to enable freedom of speech and the airing of political views in Thailand. The area was shut down after student rioting and the lethal intervention of the army and it is not discussed openly today.
In 1955, Marshal Plaek Pibulsonggram had visited the London as part of an international tour. He became impressed with the 'Speakers' Corner' in Hyde Park. Upon his return to Thailand a 'Hyde Park' space for free speech and assembly was instituted at the Phramane Grounds in Bangkok. The experiment was well received and effectively stimulated political debate. The experiment was not appreciated by the government though, and in February 1956 restrictions were imposed on the Phramane 'Hyde Park'. However, during this period the Hyde Park Movement Party had evolved, upholding the legacy of the Hyde Park experiment.
การไฮด์ปาร์คมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๔๙๗ ณ ท้องสนามหลวง เป็นการอภิปรายปัญหาแบบเรียนเบสิคของหลวงพรหมโยธี จากนั้นมาทุกเย็นวันเสาร์-อาทิตย์ก็จะมีการวิจารณ์ทางการเมือง อภิปรายความผิดพลาดของรัฐบาล ไฮด์ปาร์คเฟื่องฟูอยู่ได้ไม่นานก็ถูกทางการห้ามเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ แต่ต่อมาก็อนุญาตให้ไฮด์ปาร์คได้อีกจนปัจจุบัน
ข้อมูลจาก หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี
