เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21
  พิมพ์  
อ่าน: 105160 ตามล่าหาหนังสืองานศพ
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 27 ก.ย. 10, 11:50

ปี ๒๔๘๘ รัชกาลที่ ๘ เสด็จฯ นิวัติประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระพี่นางเธอ และสมเด็จพระบรมราชชนนี
นางสาวสังวาลย์ ได้เข้าเฝ้าฯ เจ้านายทุกพระองค์  ด้วยเป็นผู้คุ้นเคยของเจ้านายมาแต่กาลก่อน
สมเด็จพระบรมราชชนนี โปรดให้นางสาวสังวาลย์  เป็นผู้เตรียมสิ่งของใช้สำหรับการเสด็จน ไปทรงเยือนสหรัฐอเมริกาในปี ๒๔๘๙ ด้วย
ท่านจึงได้เป็นข้าหลวงเรือนนอกอยู่ระยะหนึ่ง

บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 30 ก.ย. 10, 13:53

เรียนคุณluanglek และผู้ชมทุกท่าน ท่านใดมีหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้ัหญิงจรวย  สุรณรงค์ หรือประวัติของท่านผู้หญิง ผมมีความยินดีที่จะเชื้อเชิญท่านนำข้อมูลมาลงให้ผมและผู้ชมท่านอื่นๆได้รับทราบด้วยครับ..................ตามหาประวัติท่านมานานแล้วพอๆกับประวัติของหม่อมอุบะ  สนิทวงศ์ ณ อยุธยาน่ะครับ...............
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 06 ต.ค. 10, 22:29


เรียนคุณหลวงเล็กและท่านที่ที่เล่นหนังสือเก่า

        ใครมี "เปลี่ยนนามสกุลกับชื่อแซ่" บ้าง   พระราชนิพนธ์ร้อยแก้ว

พิมพ์ครั้งแรก ๒๔๗๐

งานพระราชเพลิงศพ  ขุนประวิตรเวชชาชีพ

ใครมีกรุณาขยายความเล็กน้อย       ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 07 ต.ค. 10, 08:44

ผมไม่มีหนังสือเล่มที่ว่า  และลองค้นดูแล้วที่หอสมุดท่าวาสุกรีมี ๑ เล่ม ดังนี้

อ้างถึง
เรื่องเปรียบนามสกุลกับชื่อแซ่
โดย มงกุฎเกล้าเจ้าอยุ่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2463-2468, กรมศิลปากร
พระนคร : โรงพิมพ์ไทยพิทยา, 2490  
รายละเอียด:  (9), 20 หน้า
 
หมายเหตุ:  ที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนประวิตรเวชชาชีพ
ต้นฉบับจากกรมศิลปากร
มีรูปและชีวประวัติผู้ตาย
  
หอสมุดแห่งชาติ ห้อง 313   929.4 ม612รป    On shelf  
 

ค้นแล้วมีข้อมูล  แต่ตัวเล่มจะคงอยู่หรือไม่รับประกัน  เพราะอะไรก็รู้ๆ กันอยู่

ถ้าจะอ่านเฉพาะเรื่อง  ไม่เอาประวัติท่านขุน  
ก็ไปคว้าหนังสือ ปกิณกคดี  ของ รัชกาลที่ ๖
มาอ่านก็ได้  (เปลี่ยนนามสกุลกับชื่อแซ่)  
พิมพ์หลายสำนักพิมพ์ และหลายครั้ง  หาได้ทั่วไปตามท้องตลาด

ส่วนคุณฤทธิ์  ผมไม่มีหนังสืองานศพท่านผู้หญิงจรวย  โชติกเสถียร
แต่รู้ว่า  ท่านผู้หญิงจรวยเป็นโชติกเสถียรที่สมรสกับโชติกเสถียรด้วยกัน
ทำไมไม่หาหนังสืองานศพคุณหญิงลัย  เทพาธิบดี (ลัย  บุนนาค) มาอ่านเล่นดูก่อนล่ะครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 17:58


คุณหญิงขลิบ  วันพฤกษ์พิจารณ์(ขลิบ  เศวตศิลา)


หนังสืออนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ
ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส  กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๑๐  มกราคม  ๒๕๓๖


เป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธื์(เทศ  บุนนาค)   มารดาชื่อ คล้อย  วัชโรบล

เจ้าคุณพ่อมีภรรยาหลายคน  มีบุตรทั้งหมด ๖๒ คน

พี่น้องร่วมท้องของคุณหญิงขลิบ

บุตรอันดับที่ ๔๒    คลุ้ย  บุนนาค  เป็นหลวงสมานนันทพรรคในรัชกาลที่ ๖

บุตรอันดับที่ ๔๙  ชื่อคลาย  บุนนาค  เป็นหลวงวิสูตรอัศดรในรัชกาลที่ ๖

ธิดาอันดับ ๕๔  ชื่อเคลื่อน  บุนนาค

ธิดาอันดับ ๕๙  ชื่อขลิบ  บุนนาค

   
       เมื่อเด็กได้เข้าไปอยู่ในวังหลวงกับเจ้าจอมมารดาิ่ินผู้เป็นพี่สาวต่างมารดา  บุตรท่านผู้หญิงอู่

ได้รับการฝึกอบรมทางด้านการฝีมือจากในวัง

ได้สมรสกับพระยาวันพฤกษ์พิจารย์(ทองคำ  เศวตศิลา)ข้าราชการป่าไม้เมื่ออายุ ๑๙ ปี

มีบุตรธิดา ๓ คน คือ

๑.   พล.อ.อ. สิทธิ  เศวตศิลา    สมรสกับคุณหญิง ธิดา  (ศรียาภัย)

๒.  นางสมจิตต์  สกลคณารักษ์     สมรสกับ พ.ต.อ. โกไสย  สกลคณารักษ์

๓. ร.ต. สนั่น  เศวตศิลา    สมรสกับ นางชดช้อย (สมุทรวนิชย์)

มีหลาน ๑๓ คน และ เหลน ๑๔ คน   

บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 18:48

ขอปาดคุณwandee หน่อยนะครับ...นามสกุลเดิมของ ท่านผู้หญิงธิดา(ศรียาภัย)เศวตศิลา ภริยาของพล.อ.อ.สิทธิ เป็นนามเดียวกันกับชื่อโรงเรียนประจำจังหวัด
ชุมพรที่ผมเคยเรียนเลยครับ

"โรงเรียนศรียาภัย" โรงเรียนประจำจังหวัดชายของจ.ชุมพร ที่เก่าแก่เป็นอันดับต้นๆของภาคใต้ รองจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช โรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา...
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 19:40


ถือว่าท่านผู้รู้จักมาเยือนพร้อมกับมาลัยดอกไม้หอมเลยค่ะ

ยิ่งมีข้อมูลเกี่ยวข้อง  ถ้าเป็นเพียงดอกการเวกเพียงหนึ่งดอกก็หอมไกล

ดอกไม้ไทยล้วนมีกลิ่นหอมจรุงใจทั้งสิ้น

ยิ่งเป็นข้อมูลที่นำมาจากหนังสือ  หรือเป็นความรู้เดิม  เล่าสู่กันฟัง

ก็เหมือนมณฑาทิพย์     

คุณ ฤทธิ์081   มีเรื่องสกุลศรียาภัยมาเล่าต่อไหมคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 21:59



บันทึกไว้ว่า  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐  เมื่ออายุ ๘๘ ปี

คุณหญิงขลิบจึงย้ายไปอยู่กับบุตรี นางสมจิตต์  สกลคณารักษ์


เท่าที่ดูจากรูปถ่าย  บุตรธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีเลิศ

เมื่อมาถ่ายรูปกลุ่มซึ่งถือเป็นโอกาสพิเศษก็แต่งตัวงามหยดย้อยเหมือนตุ๊กตาแหม่ม

คือหวีผมโป่งด้านหน้า  ติดริบบิ้นอันโตกลางเรือนผม  มีดอกไม้ประดิษฐ์ห้อยด้านซ้าย  ปล่อยผมบานกระจายเลยไหล่

ชุดฝรั่งกระโปรงบาน  แขนสั้น  ใส่ถุงเท้าหนา  ใส่รองเท้าหรูมีโบว์อันไม่เล็ก   

คุณหญิงขลิบดูแล้วอายุยังไม่ห้่าขวบดี  ดูท่านคุ้นเคยกับการแต่งแหม่มดี

ชุดอยู่บ้านของท่านและพี่น้องก็เป็นเสื้อคอกลมแขนยาว  คอกลม  รอบคอปลายแขนและชายเสื้อ
ติดแถบลูกไม้เป็นชั้น ๆ    นุ่งโจง   ดูเหมือนจะห้อยเสมากันทุกคน
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 22:10

   ก่อนอื่นขอกล่าวถึง โรงเรียนศรียาภัย อันเป็นสถานศึกษาของผมก่อนนะครับ ว่าทำไมถึงชื่อโรงเรียนศรียาภัย เนื่องจากได้รับการบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างอาคารเรียนจาก คุณชื่น  ศรียาภัย คหปตานีชาวไชยา ซึ่งเป็นธิดาคนโตของ พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณที่มีต่อโรงเรียน จึงนำเอานามสกุลของท่านมาเป็นชื่อโรงเรียน นามว่า โรงเรียนศรียาภัย ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้มีอายุ 113 ปี เป็นโรงเรียนประจำจังหวัีดชุมพรแบบสหศึกษา มีนักเรียนกว่าสามพันคน...

นามสกุล "ศรียาภัย" เป็นนามสกุลพระราชทาน ที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานให้กับพระยาวจีสัตยารักษ์ (ฃำ)  ผู้กำกับถือน้ำ  กระทรวงมหาดไทย  บิดาคือพระศรีสรราชสงรามรามภักดี (ปาน)  ปู่คือพระอภัยณรงค์สงคราม (แพ)


ประวัติของพระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มีดังนี้


   พระยาวจีสัตยารักษ์  เดิมชื่อ ขำ  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน 11 แรม 12  ค่ำ  ปีมะโรง  พ.ศ. 2387  ตรงกับรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  นายขำมีบุตร 5 คน  คือ คุณชื่น  ศรียาภัย  พระยาประชุมพลขันธ์(ขัน  ศรียาภัย)  นายจวน  นายเขต  และนางเฉลิม
  
    นายขำ  ศรียาภัย  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4  ได้ฝึกหัดราชการอยู่ในสำนักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  สมุหพระกลาโหมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญหลายด้าน  เช่น  การค้าขาย  การจับ  และฝึกหัดช้าง  และยังมีความสามารถในการพูดภาษาจีน  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชานุชิต  ผู้ช่วยราชการเมืองไชยา  ในรัชกาลที่ 4
  
    ในสมัยรัชกาลที่ 5  ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีราชสงคราม  ปลัดเมืองไชยาและดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา  10 ปี  มีความชอบจากการไปปราบจลาจลชาวจีนที่เมืองภูเก็ต  จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทิพยาภรณ์ช้างเผือก  ขั้นที่ 5

พ.ศ. 2422  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดี  ผู้ว่าราชการเมืองไชยา  ทำความดีความชอบจนได้รับ

พ.ศ. 2422  ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑล  พระยาวิชิตภักดีได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  พระ      ยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์  จางวางเมืองไชยา

พ.ศ. 2449  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวจีสัตยารักษ์

    เนื่องจากพระยาวจีสัตยารักษ์  เป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับหัวเมืองชายทะเลปักษ์ได้  พระยาวจีสัตยารักษ์จึงได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นำเสด็จ  และเมื่อมีทางรถไฟสายใต้ได้เป็นผู้นำตรวจทางรถไฟสายใต้เป็นครั้งแรก  ตั้งแต่มณฑลปัตตานี  ถึงเมืองเพชรบุรี  นอกจากนี้ยังได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์อีกมากมาย
  
     พระยาวจีสัตยารักษ์ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน  เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2457  รวมอายุได้  70 ปี  ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา(เก่า)  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 22:15

พล.อ.อ. สิทธิ  เศวตศิลา   เขียนถึงคุณแม่ไว้   เมื่อ วันที่ ๒๕​  พ.ย. ๒๕๓๕

ขอย่อความเล่าว่า    


ท่านองคมนตรีเป็นบุตรคนโตแต่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิด เพราะคุณยายที่อยู่บ้านเดียวกันเอาไปนอนด้วย

เมื่อท่านเจ้าคุณย้ายไปสงขลาเป็นผู้บำรุงป่าไม้  ท่านองคมนตรีไปอยู่กับเพื่อนรุ่นน้องของท่านเจ้าคุณคือ

พระยาพิพิธไอศูรย์(ม.ล. ยินดี  อิสนเสนา)เพื่อเรียนหนังสือที่เซ็นต์คาเบรียลตั้งแต่อายุประมาณ ๙ ขวบ

ท่านองคมนตรีเรียกเจ้าคุณพิพิธว่า "คุณพ่ออาว์"

ท่านซักเสื้อใส่เอง  คุณแม่ส่งเงินให้เรียนทุกเดือน          พอเรียนไปได้ ๔ ปีโดยมี่ไม่มีผู้ปกครองใกล้ชิด  

ก็เริ่มคบเพื่อนหนีการเรียน  จนถูกคุณครูทำโทษ   คุณแม่ทราบเรื่องจึงพาตัวกลับสงขลา  

ไปเรียนต่อที่มหาวชิราวุธสงขลา  ก็กลับเรียนดีและสอบได้คะแนนดีเรื่อยมา

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 22:21



ประเสริฐค่ะ คุณฤทธิ์081         จังหวะเหมาะ

เรื่องคุณหญิงท่านมีไม่มาก  ดิฉันตั้งใจจะเล่าเรื่องที่ท่านองคมนตรีเล่าเรื่องฝากแหวนไว้ให้แม่

ไม่ค่อยจะมีเรื่องยืด

คุณฤทธิ์กับดิฉันไปเปิดวงช่วยกันได้แล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 22:32


       หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง    ท่านเจ้าคุณถูกปลดเกษียณตั้งแต่อายุ ๕๕

พ.ศ. ๒๔๗๗  ย้ายครอบครัวมาอยู่กรุงเทพที่บ้านข้างวัดชนะสงคราม       ครอบครัวใหญ่มาก

เพราะท่านเจ้าคุณมีภรรยาหลายคนและบุตรทั้งหมด ๑๕​คน


       ท่านองคมนตรีได้เรียนที่โรงเรียนวัดราชบพิธ ๑ ปี  แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนจบ

มัธยมแปด  แล้วสอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้คะแนนเป็นอันดับ ๑  ของ

แผนกวิทยาศาสตร์ทั้งหมด     พอเรียนสำเร็จปี ๒  สอบชิงทุนของกองทัพอากาศไปเรียนต่อที่  MIT  สหรัฐอเมริกา

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 23:28


คัดจากหนังสืออนุสรณ์


       "ผมได้จากคุณแม่ไปเรียนที่อเมริกาได้สักปีเศษก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง        ผมได้สมัคร

เข้าเป็นเสรีไทยในขบวนการใต้ดินเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น        ก่อนที่ผมจะกระโดดร่มลงที่เชียงใหม่

เพื่อปฏิบัติการที่ได้รับบอมหมายมานั้น  ผมตระหนักถึงอันตรายรอบด้าน  จึงได้ฝากแหวนทอง MIT

ไว้กับคุณหลวงดิษฐการภักดี  ซึ่งมาเยี่ยมพวกเราที่ศรีลังกา  และบอกกับคุณหลวงดิษฐการภักดีว่า

ถ้าผมเป็นอะไรไป   ให้ฝากแหวนไปให้คุณแม่ของผมด้วย"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 23:39



       "คุณแม่มักจะเล่าให้ลูกหลานฟังซ้ำ ๆ  ว่า  ก่อนผมจะเกิด   ได้ฝันว่าไปเดินเที่ยวเล่นบนภูเขา 

พอเดินลงมา  มีเด็กผมจุก  แต่งตัวคล้ายลูกเจ้านายโบราณมาคอยเดินตาม   จะหนีไปทางไหนก็คอยเดินตาม

จนลูกหลานอดขัดคอไม่ได้"
บันทึกการเข้า
Taramuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 03:22

หนังสืองานศพเป็นสิ่งตีพิมพ์ชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าควรแก่การเก็บสะสมเพื่อศึกษา
โดยเฉพาะหนังสืองานศพของบุคคลสำคัญ  ย่อมเป็นเอกสารที่ขาดเสียไม่ได้
ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติและผลงานของบุคคลนั้นๆ  

นอกจากนี้   เรื่องที่เจ้าภาพนำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสืองานศพนั้น
ก็มีประโยชน์ในด้านต่างๆ แก่ผู้อ่านด้วย

ฉะนั้น  ผมจึงอยากขอความรู้จากทุกท่านที่สัญจรในเรือนไทยได้ช่วยกันบอกหน่อยว่า
ในงานพระบรมศพ พระศพ และศพของบุคคลดังต่อไปนี้  
พิมพ์หนังสืออะไรแจกเป็นที่ระลึกบ้าง  

๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร

๔.สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

๕.สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

๖.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

๗.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๘.พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช

๙.พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

๑๐.เจ้าจอมมารดาอ่อน  ในรัชกาลที่ ๕


๑๑.เจ้าพระยารามราฆพ  (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)

๑๒.เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม)

๑๓.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)

๑๔.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา  (ก้อน  หุตะสิงห์)

๑๕.พลตรี  หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช

๑๖.พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

๑๗.พระยาปดิพัทธภูบาล  (คอยูเหล  ณ  ระนอง)

๑๘.พระยาสุริยานุวัตร (เกิด  บุนนาค)

๑๙.ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี

๒๐.ท่านผู้หญิงกลีบ  มหิธร


๒๑.หมอบรัดเล

๒๒.นายมาลัย  ชูพินิจ

๒๓.นายสด  กูรมะโรหิต

๒๔.พลโท  อัมพร   ศรีไชยันต์

๒๕.หม่อมสนิท  กฤดากร

๒๖.นายนราภิบาล  (ศิลป์  เทศะแพทย์)

๒๗.เสวกโท  หลวงมหาสิทธิโวหาร  (สอ  เสถบุตร)

๒๘.นายภาวาส  บุนนาค

๒๙.ร้อยเอก  ขุนทวยหาญพิทักษ์  (เหล็ง  ศรีจันทร์)

๓๐.คุณหญิงมณี สิริวรสาร


เอาเท่านี้ก่อน   หวังว่าจะไม่ยากเกินไปนะครับ ยิงฟันยิ้ม

ผมมีหนังสือลำดับที่ 4ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.136 วินาที กับ 20 คำสั่ง