เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21
  พิมพ์  
อ่าน: 105450 ตามล่าหาหนังสืองานศพ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 15:32


สมเด็จพระนางเจ้า ฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  ได้เรียก ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี

มารับเงินไป ๒๕​ ชั่ง  และ



"อนึ่ง  ฉันมีปรารถนาที่จะให้พระยาวิสุทธมีหนังสือบอกข่าวลูกตรงถึงฉันเอง  ไม่เป็นทางราชการ   เป็นส่วนเฉพาะตัว

ที่ควรพูดจากันได้เป็นฉันกันเอง   จะเป็นที่พอใจมาก



ขอฝากลูกทั้ง ๒ จงมาก   ขอได้เมตตาช่วยว่าตักเตือนในสิ่งที่ผิด  อย่าให้เป็นไปได้   แลแนะนำในสิ่งที่ชอบที่ควร

ขออย่าให้เป็นการเผิน ๆ  แลเป็นอย่างทางราชการ        ขอให้ว่ากล่าวประหนึ่งว่าเป็นลูกเป็นหลาน

อย่าได้มีความเกรงใจเลย         ถึงแม้นว่าเวลานี้จะไม่เป็นที่พอใจของลูก   นานไปเมื่อรู้สึกดีชั่วตลอดแล้ว

ก็คงคิดถึงคุณในการที่ได้รับคำแนะนำโดยความรักนี้เป็นแน่   ไม่ต้องสงสัย     เว้นเสียว่าจะเป็นคนชั่วนั่นแหละ

ก็เป็นการที่จะต้องสูญอยู่เอง


                                      (พระปรมาภิไธย)   เสาวภาผ่องศรี"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 16:04


หนังสือกราบบังคมทูลลงวันที่ ๓ ธันวาคม  ร.ศ. ๑๑๖

เรื่องการเลือกเด็กนักเรียนที่จะถวายเป็นเพื่อนนักเรียนทูลกระหม่อมเล็กนั้น  ได้เลือกมาแล้ว ๑๐ คน

(หน้า ๑๘๒ -  ๑๘๕)

น่าสนุกมาก เพราะต่อมารับราชการเป็นข้าราชการระดับสูงทั้งสิ้น


นายเต็น   นายใจ  อายุมากเกินไป  เข้าชั้นเดียวกับทูลกระหม่อมไม่ได้

นายโห้  ฉลาดดี  มักอาย  ไม่ค่อยพูด  ไม่โปรด   ได้ข่าวว่าใจน้อย

สายหยุด  ฉลาดดี  แต่ได้เล่าเรียนทางนี้เป็นหลักฐานอยู่แล้ว     ผู้เลือกทุกคนเห็นตรงกันว่าไม่ใคร่เต็มใจ   เห็นว่ากิริยาที่พูดมีดัดจริต

สมิท   กิริยาหง่อยหงิมเงื่องไป

ติน      ฉลาดดีในการเล่าเรียน  แต่ภาษาไทยลืม  พูดไม่ได้   เป็นเด็กเล็กเกินไป

ชิน     ไปข้างทางชอบซึมเหมือนกัน

เตี้ยม  อยู่มานาน  เตรียมจะเข้า มิลิเตอรี่ คอลเลช  เจ้าตัวก็เป็นห่วงอยู่

มานิตย์  เพิ่งมาใหม่  การเล่าเรียนยังไม่เป็นหลักฐานแน่นหนา


นายพุ่ม  บุตรนายซุ้ย   ไม่ใช่บุตรผุ้มีตระกูล   แต่เกิดมาเป็นช้างเผือก   กิริยาวาจาเป้นที่ชอบของคนทั้งหลาย
ฉลาดในการเล่าเรียน  อายุ ๑๕ ปี      ทูลกระหม่อมโปรด

(นักอ่านดีใจหัวใจพองโต   ได้ข้อมูลว่า บิดา พุ่มชื่อ ซุ้ย)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 16:45

ช่วงนี้  ผมไม่มีเวลาเล่าเรื่องหนังสืองานศพที่ครอบครองอยู่
เพราะงานชุกมาก   จึงขออนุญาตลงตัวเล่าไว้ให้ดูไปพลางๆ ก่อน
ถ้าท่านทั้งหลายสนใจจะให้เล่าเรื่องในเล่มใดให้ฟัง   
ขอให้เล่าสู่กันฟังหน้าไมค์ได้นะครับ ยิงฟันยิ้ม





บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 16:49

.



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 22 ก.ย. 10, 16:44

มีผู้ที่ติดตามอ่านกระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพได้ติดต่อมาหลังไมค์ว่า

คุณหลวงเจ้าขา   พักนี้คุณหลวงไม่เห็นเอาหนังสืองานศพมาเล่าลงในกระทู้เพิ่มเติมเลย
คนอ่านเขาคิดถึงคุณหลวงนะ    เอารูปมาลงให้ดูบ้างก็ได้   


ช่วงที่ผ่านมา  คุณหลวงมีกิจการงานมาก   เพราะใกล้จะหมดปีงบประมาณ
ต้องปั่นงานบนโต๊ะและงานเกี่ยวพันทั้งหลายให้เสร็จทันเวลา
ไหนจะต้องออกเดินสายไปหาหนังสืองานศพดีๆ มานำเสนอ
เลยไม่มีเวลามาอัพกระทู้   


แต่วันนี้ฤกษ์ดี   จะเอาหนังสืองานศพ  ๒ เล่มมาลงให้ดูพอแก้อาการกระษัยที่ผู้อ่านได้บ้าง
หนังสืองานศพสองเล่มนี้  ไม่มีอะไรเป็นสลักสำคัญมาก   เพียงแต่เก็บเอาไว้นานแล้ว
จึงอยากเอามาลงให้ดู  เผื่อจะมีผู้สนใจออกตามล่าบ้าง

เชิญทัศนารูปหนังสืองานศพทั้งสองเล่ม  พร้อมภาพผู้วายชนม์

เริ่มที่เล่มแรก



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 22 ก.ย. 10, 16:45

เล่มที่สอง ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 22 ก.ย. 10, 21:28

เรียน คุณluanglek ที่เคารพ ผมกระหายเป็นอย่างมากที่อยากจะให้คุณเล่าประวัติ ของ นางศรีบุรินทร์(คุณเยื้อน  รัตนไชย)...คุณท้าวศรีสัจจา(สังวาลย์  บุณยรัตพันธุ์) และคุณท้าวโสภานิเวศน์(ศิริพงษ์  กัมปนานนท์) ให้ฟังด้วยครับ ถ้าหากว่ายาวไปเอาแค่วันเดือนปีเกิด ครอบครัว หน้าทีการงาน พอสังเขปก้ได้ครับ โดยเฉพาะคุณท้าว 2 ท่านนี้ ยิ่งกระหายใคร่รู้เป็นอย่างมากครับ..............ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 22 ก.ย. 10, 21:48


พรุ่งนี้คุณหลวงเล็กคงจะพอว่างแล้วค่ะ

ปิดงบประมาณหลายหน่วยงานได้แล้ว

ท่านน่าจะไล่ล้างไล่ต่อกระทู้ตามล่าหนังสืองานศพก่อนกระมัง

ที่จริงดิฉันก็จองคิวท่านไว้แล้ว  แต่มีหน่วยงานเกี่ยวข้องมาขอยืมตัวไป

คุณหลวงท่านก็ใจอ่อนเพราะท่านจะไปแลกหนังสือกันให้ครึกครื้น

 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 09:27

เรียน คุณluanglek ที่เคารพ ผมกระหายเป็นอย่างมากที่อยากจะให้คุณเล่าประวัติ ของ นางศรีบุรินทร์(คุณเยื้อน  รัตนไชย)...คุณท้าวศรีสัจจา(สังวาลย์  บุณยรัตพันธุ์) และคุณท้าวโสภานิเวศน์(ศิริพงษ์  กัมปนานนท์) ให้ฟังด้วยครับ ถ้าหากว่ายาวไปเอาแค่วันเดือนปีเกิด ครอบครัว หน้าทีการงาน พอสังเขปก้ได้ครับ โดยเฉพาะคุณท้าว 2 ท่านนี้ ยิ่งกระหายใคร่รู้เป็นอย่างมากครับ..............ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ

วันนี้  ผมมาแก้อาการกระหายรู้ของคุณฤทธิ์  เชิญเข้าสู่การบำบัดรักษา ณ บัดนี้

ประวัติท้าวโสภานิเวศน์  (ศิริพงศ์  กัมปนานนท์)
นามเดิม  " ดำเนิน "  ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ศิริพงศ์"
บิดาชื่อ หลวงนฤมิตรสารานุกร (เนตร  กัมปนานนท์)
มารดาชื่อ นางหนู  กัมปนานนท์ (สกุลเดิม  ณ  นคร)

เกิดวันที่ ๒๗ กันยายน  ๒๔๔๕
เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวังหลัง
แล้วมาเรียนต่อที่โรงเรียนราชินีจนจบหลักสูตร

ม.จ.พิจิตรจิราภา เทวกุล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี
ทรงนำคุณท้าวขึ้นเฝ้าฯ ถวายตัวแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระพันวัสสาฯ โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่เสมียน
ควบคุมดูแลถือบัญชีรักษาสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์
ที่อยู่ในพระตำหนักของสมเด็จพระพันวัสสาฯ ในพระบรมมหาราชวัง

ต่อมารับราชการตำแหน่งเสมียน กรมโขลน กระทรวงวัง เมื่อปี ๒๔๖๘ (ขึ้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๗)
เมื่อกระทรวงวังเป็นสำนักพระราชวังหลัง ๒๔๗๕  คุณท้าวยังคงรับราชการต่อมา
ปี ๒๔๙๓  ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เป็น ท้าวโสภานิเวศน์  ตำแหน่งท้าวนางควบคุมดูแลอันเตปุริกราชนารี
ในพระราชนิเวศน์ที่ประทับฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง

คุณท้าวถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๓  อายุได้ ๙๘ ปี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จฯ แทนพระองค์ไป
พระราชทานเพลิงศพคุณท้าว เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๕  ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
วัดเทพศิรินทราวาส

หนังสืองานศพแจก หนังสือ น้ำไหลนิ่ง ของพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา  สุภัทโท)
แต่นำมาประกอบเล่มใส่ปกใหม่และเพิ่มประวัติคุณท้าวและคำนำ




บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 09:56

ประวัติท้าวศรีสัจจา   (สังวาลย์  บุณยรัตพันธุ์)

เกิด เมื่อ ๑ มีนาคม ๒๔๓๘
บิดาชื่อ นายจ่าง  บุณยรัตพันธุ์
มารดาชื่อ นางวร  บุณยรัตพันธุ์

มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๘ คน ดังนี้
นางสาวระวิง ,นางวรรณ  บุนนาค, ท้าวศรีสัจจา,
นายจำนงราชกิจ (จรัญ), พันตรี นายแพทย์เจริญ,
นางสาวระวีวรรณ, หลวงดิฐการภักดี (จรูญ) และคุณหญิงไสววงศ์  ทองเจือ

เจ้าพระยาธรรมาธิราช บุญรอด ต้นสกุลบุณยรัตพันธุ์  มีบุตร  ๓ คน
คือ  เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) พระอนุชิตชาญชัย (ขุนทอง) และพระอนุชิตพิทักษ์ (บัว)
พระยาอนุชิตพิทักษ์ (บัว) ถูกเจ้าอนุวงศ์จับประหาร เมื่อครั้งไปสักเลขลาวเป็นไพร่หลวง

พระยาอนุชิตพิทักษ์ (บัว) มีบุตร ๑ คน คือ หลวงเสนีย์พิทักษ์ (ไม่ทราบนามเดิม)
หลวงเสนีย์พิทักษ์รับราชการฝ่ายมหาดไทย  ได้สมรสกับท่านผอบ ชูโต ราชินิกูล

ต่อมาหลวงเสนีย์ถึงแก่กรรม ท่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงศ์ ซึ่งเป็นหลานป้าของท่านผอบ
ได้ชวนท่านผอบกับเด็กชายจ่าง ซึ่งเป็นบุตรคนเล็กของท่านผอบ จากบ้านสวนคลองด่านหน้าวัดนางชี
มาพักอาศัยอยู่ใกล้เรือนท่านผู้หญิงเปลี่ยนใกล้วัดประยุรวงศ์

เด็กชายจ่างโตขึ้น  ได้รับราชการในกระทรวงธรรมการ
สมรสกับนางสาววร  หลานสาวของจอมมารดาเหี้ยง  ในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งนางสาววร เป็นสตรีที่ได้เข้ามาอบรมวิชากุลสตรีกับท่านผู้หญิงเปลี่ยน

นายจ่างกับนางวรอยู่กินที่บ้านใกล้เรือนเจ้าคุณภาสกรวงศ์ประมาณ ๑๐ ปีเศษ
มีบุตรด้วยกัน ๕ คน  จึงได้ย้ายมาปลูกเรือนที่บ้านสวนคลองด่านหน้าวัดนางชี ภูมิลำเนาเดิมของสกุลบุณยรัตพันธุ์
แต่ก็ยังได้ไปมาหาสู่ที่บ้านเจ้าคุณภาสกรวงศ์เสมอ

นายจ่างได้ย้ายไปทำงานที่แบงก์สยามกัมมาจล  และสนิทกับบุตรธิดาของเจ้าคุณภาสกรวงศ์ทุกคนโดยเฉพาะนายเพ่ง และเจ้าจอมพิศว์  

เจ้าจอมพิศว์เคยขอให้นางวร ศิษย์เก่าท่านผู้หญิงเปลี่ยน ซึ่งมีฝีมือในการเรือนมาก
ช่วยทำผลงานเข้าไปถวายในวังบ่อยๆ

บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 13:38

   ขอขอบคุึณ คุณ luanglek มากนะครับที่กรุณา สละเวลามาเเบ่งปันความรู้ ได้อ่านแล้วก็รู้สึกดับกระหายไปได้มากทีเดียวเชียวครับ ยังรอประวัตินางศรีบุรินทร์ อีกหนึ่งท่านนะครับ 555

   ผมมีข้อสังเกตเรื่องนึง คือ ผมอาจจะจำผิดคลาดเคลื่อนไปหรือไม่ว่า คุณท้าวโสภานิเวศน์ นี้ ท่านไมไ่ด้้สิ้นขณะอายุ 98 ปี แต่ท่านสิ้นมานานแล้วซักประมาณปี 2532-2533 แต่เพิ่งนำศพท่านมาพระราชทานเพลิง หรือว่าผมจำผิดครับ....แต่ถ้าคุณluanglek ยืนยันมาจากในหนังสือจริงๆดังที่ว่ามา ข้อสงสัยผมก็ตกเป็นอันพับไป...ขอขอบคุณอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 14:35

      ผมมีข้อสังเกตเรื่องนึง คือ ผมอาจจะจำผิดคลาดเคลื่อนไปหรือไม่ว่า คุณท้าวโสภานิเวศน์ นี้ ท่านไมไ่ด้้สิ้นขณะอายุ 98 ปี แต่ท่านสิ้นมานานแล้วซักประมาณปี 2532-2533 แต่เพิ่งนำศพท่านมาพระราชทานเพลิง หรือว่าผมจำผิดครับ....แต่ถ้าคุณluanglek ยืนยันมาจากในหนังสือจริงๆดังที่ว่ามา ข้อสงสัยผมก็ตกเป็นอันพับไป...ขอขอบคุณอีกครั้ง

เชิญดูหมายงานศพคุณท้าวโสภานิเวศน์  ชัดเจนแจ่มแจ้ง



บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 25 ก.ย. 10, 11:30

ขอขอบคุณ คุณluanglek เป็นอย่างสูงที่กรุณาลงหมายรับสั่งยืนยัน ตกลงว่าข้อสงสัยผมตกเป็นอันพับไป


มีเรื่องรบกวนคุณ luanglek อีกหนึ่งเรื่องครับ ไม่ทราบว่าคุณluanglek มีหนังสืองานศพของ หม่อมอุบะ  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ภรรยาของเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์(หม่อมราชวงศ์สท้าน  สนิทวงศ์) และเป็นมารดาของท่านผู้หญิงสารภี  มิ่งเมืิอง หรือไม่ครับ จำได้ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ เสด็จฯในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อปี 2547 แต่ไม่ทันได้ฟังเรื่องประวัติของท่าน ผมตามหาประวัติของหม่อมอุบะมานานมากเเล้วครับ ยังไม่มีผู้ใดให้ความกระจ่างได้ คงต้องรบกวน คุณ luanglek อีกสักครั้ง........
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 27 ก.ย. 10, 11:25

ประวัติท้าวศรีสัจจา (สังวาลย์  บุณยรัตพันธุ์) ต่อ

ครั้งก่อนได้เล่าเรื่องบรรพบุรุษของคุณท้าวไปแล้ว
แต่ยังไม่ได้เล่าเรื่องราวของคุณท้าวเลย  คราวนี้จะมาเล่าต่อ

ธรรมเนียมนิยมอย่างหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕  คือ
ผู้ดีมีสกุลมักจะส่งลูกสาวเข้าไปเรียนรู้วิชการต่างๆ ในวัง
และรับราชการฝ่ายใน   โดยอาศัยอยู่ตามตำหนักเจ้านายฝ่ายใน

เด็กหญิงระวิง  ธิดาคนโตของนายจ่างและนางวร  เข้าเรียนที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลังของแหม่มโคล
และได้รับการอบรมเรื่องวิชาการเรือนของมารดาจนมีความรู้เป็นอย่างดี 
คุณพระจันทร์   ชูโต  พระพี่เลี้ยงในสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ เห็นว่าธิดาคนโตของนายจ่างและนางวร
เป็นเด็กมีความรู้การเรือนดี  จึงเอ่ยปากขอมาเป็นข้าหลวงในตำหนักสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
ขณะนั้น นางสาวระวิง อายุได้ ๑๕ ปีแล้ว   โดยให้เหตุผลว่า   เด็กคนนี้ มีวิชาช่างดี  ทูลกระหม่อมต้องพระประสงค์อยู่

แต่นายจ่างไม่เต็มใจให้ธิดาคนโตไปอยู่ในวัง  และอ้างว่า ธิดาคนโตและธิดาคนรองนั้น
เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยครอบครัวดูแลผลประโยชน์ไร่นาที่ทำอยู่ตั้งแต่ย้ายมาอยู่หน้าวัดนางชี
แต่ยินดีจะให้เด็กหญิงสังวาลย์ ธิดาคนที่ ๓ ไปแทน  คุณพระจันทร์ จึงได้พาเด็กหญิงสังวาลย์
มาเฝ้าถวายตัวเป็นข้าหลวงสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์  กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร
ตั้งแต่อายุได้ ๘ ปี

เด็กหญิงสังวาลย์ เมื่อได้เป็นข้าหลวงในสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นแล้ว 
ก็ได้รับพระราชทานเสื้อผ้าใหม่ และถุงเท้ารองเท้า ๑ สำรับ
และถูกส่งไปเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนแหม่มโคล  โรงเรียนกับพี่สาว

ระหว่างที่เด็กหญิงสังวาลย์  เป็นนักเรียนประจำอยู่นั้น ได้ตีสนิทแม่ค้าขายขนมที่พายเรือผ่านหน้าโรงเรียนทุกวัน
ให้ส่งข่าวไปเตือนมารดาว่า เมื่อถึงวันเสาร์ให้มารับกลับไปบ้านด้วย   แม่ค้าใจดีก็ยอมสื่อข่าวให้ด้วยสงสาร

เมื่อเรียนได้มีความรู้ตามสมควรก็ได้เข้าไปประจำที่ตำหนักสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
เพื่อฝึกมารยาทและวิชาการเรือนอื่นๆ เพิ่มเติม

เด็กหญิงสังวาลย์ เป็นเด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว สั่งสอนง่าย  ฉลาด และขยันหมั่นเพียรดี
จึงเป็นที่พอพระทัยของทูลกระหม่อม  และโปรดให้ตามเสด็จไปในที่ต่างๆ เสมอ
จนกระทั่งได้ทำหน้าที่ช่วยแต่งพระองค์  และรับผิดชอบรักษากุญแจตู้เซฟเก็บเครื่องประดับมีค่าของพระองค์
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ดูแลอบรมเด็กหญิงที่เข้ามาเป็นข้าหลวงรุ่นน้องด้วย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 27 ก.ย. 10, 11:39

นางสาวสังวาลย์รับใช้ทูลกระหม่อมวไลยอลงกรณ์เป็นเวลานาน  ๓๔ ปี
จากวัยเด็กจนถึงวัยกลางคน  จนกระทั่งได้ตามเสด็จเจ้านายพระองค์นั้น
เสด็จไปทรงรักษาพระองค์ที่ยุโรปเมื่อ ปี ๒๔๘๐ แล้ว
นางสาวสังวาลย์ก็ได้กราบทูลลามาอยู่บ้านเพื่อดูแลบิดามารดาที่ชรา
พอถึงปี ๒๔๘๑ ทูลกระหม่อมวไลยอลงกรณ์สิ้นพระชนม์แล้ว
นางสาวสังวาลย์ก็ได้ออกมาอยู่บ้านระยะหนึ่ง  ขณะนั้นอายุได้ ๔๒ ปี

ในระหว่างปี ๒๔๘๑ - ๒๔๘๘  นางสาวสังวาลย์ได้อยู่บ้านพร้อมบิดามารดาพี่น้อง
และได้ทำกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ เพื่อแก้เหงายามว่างงาน  มีเล่นไพ่  และออกไปพบเพื่อนฝูงบ้าง
บางครั้งก็ไปเฝ้าเจ้านายที่คุ้นเคย  หรือไม่ก็มีแขกไปมาหาสู่ท่านเองไม่ขาด

ในช่วงสงคราม ๒๔๘๓ - ๒๔๘๘  ก็ยังแขกไปมาหาสู่นางสาวสังวาลย์ที่บ้านไปไม่ขาด
ด้วยว่าบ้านท่านอยู่เข้าไปในคลองฝั่งธน  ไม่ถูกระเบิดอย่างฝั่งพระนครหรือสถานที่สำคัญฝั่งธน
บ้านสวนของนายจ่างต่อมาได้กลายเป็นที่อพยพลี้ภัยระเบิดของชาวพระนครมากมาย
กลายเป็นสถานที่คึกคักมาก ข้าวปลาอาหารก็ไม่ขาดแคลนแม้ในยามสงคราม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง