เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 105454 ตามล่าหาหนังสืองานศพ
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 16:48

สวัสดีค่ะทุก ๆ ท่านที่เคารพ

สมาชิกใหม่ที่แอบอ่านมาหลายปี เพิ่งจะสมัครสมาชิกเป็นวันนี้เองค่ะ (ไม่เก่ง Comp เอามาก ๆ)

สนใจหนังสืองานศพเป็นอย่างยิ่งค่ะ เห็นหน้าปกแล้ว อยากได้อ่านข้างในมาก ๆ ค่ะ 
ทำอย่างไรถึงจะได้อ่านคะ หนังสือเหล่านี้ มีแต่จะสูญหายนะคะ  เราจะรักษาต้นฉบับอย่างไรดีคะ

กระทู้ต่าง ๆ ในเรือนไทย มีสาระดีมากค่ะ ขอให้อาจารย์เทาชมพู รักษาคุณภาพนี้ไว้ดี ๆ นะ คะ

ด้วยความนับถือค่ะ
"ร่วมฤดี"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 17:00


       สวัสดี   และขอต้อนรับ  คุณร่วมฤดีสู่ เรือนไทยค่ะ

ชิงต้อนรับแทนคุณหลวงเล็กเจ้าของกระทู้ไปก่อนเพราะท่านคงกำลังค้นเอกสารเพื่อตอบคำถามของดิฉันแน่ ๆ

โปรดแวะมาเป็นกำลังใจและคุยกันบ้างนะคะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 17:01

รบกวนเรียนถามคุณหบวงเล็ก  หนังสือเล่มบนในความเห็นที่ ๑๓๒ ใช่เล่มที่เลาสประวัติสกุลอภัยวงศ์และปกมนตรีหรือไม่ครับ  จำได้ว่าเคยมีผู้ใหญ่ในสกุลปกมนตรีท่านให้มา ๑ เล่ม  แต่ตอนนี้หาไม่เจอ  พอจำเนื้อหาได้บ้างเป็นหนังสือที่มีค่าน่าวนใจมากๆ ครับ  สมาชิกเรือนไทยคงอยากติดตามอ่านกันเป็นแน่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 17:06

ดิฉันมีหนังสืองานศพอยู่จำนวนหนึ่ง ไม่มากนัก   หาจากร้านหนังสือเก่าเวลามีงานหนังสือที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ค่ะ  คุณร่วมฤดีเคยไปเดินดูไหมคะ
ส่วนแหล่งอื่นนั้นต้องถามคุณวันดี  เธอสะสมหนังสือไว้มาก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 17:30


       บทละคอนนอกเรื่องสังข์ทอง

พระเจ้าวรวงศเธอ  พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ
ทรงพิมพ์อุทิศถวายสนองพระคุณ
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ  เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
กรมหลวงสงขลานครินทร
ในงานพระเมรุท้องสนามหลวง
ปีมะเส็ง  พ.ศ. ๒๔๗๒

โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

หนังสือปกสีชมพูอ่อน(ปัจจุบันกลายเป็นขาวหม่นเพราะความเก่า)  มีตรามังกรเล่นแก้ว  หนังสือหนา ๒๖๙ หน้า


หน้า (๑) - (๖)   เล่าเรื่องสังข์ทองในปัญญาสชาดก

มเหสีฝ่ายขวาของท้าวพรหมทัตแห่งพรหมนครชื่อจันทา         มเหสีฝ่ายซ้ายชื่อจำปาทอง(เพราะฝันว่าพระอินทร์เอาดอกจำปามาให้)

นางรจนาในเรื่องนี้ ชื่อ คันธา

นายกราชบัณฑิตยสภาเล่าว่า  นิทานสังข์ทองมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา             พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ทรงตัด

เรื่องสังข์ทองตอนปลายมาทรงพระราชนิพนธ์ใหม่  ตั้งแต่พระสังข์หนีนางพันธุรัต

ยังมีบทละคอนตอนต้นอีกตอนหนึ่ง  ไม่ทราบผู้แต่ง  เริ่มจากกำเนิดพระสังข์ จนถึงถ่วงพระสังข์ และนางพันธุรัตนำไปเลี้ยง   เป็นสำนวนสมัยรัตนโกสินทร


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 18:15


เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี(ท้วม  บุนนาค)

ฉบับ นาย ณัฐวุฒิ  สุทธิสงคราม
เรียบเรียง
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชท่าเพลิงศพ
นาย  เทอด  บุนนาค

ณ เมรุวัดธาตุทอง  พระโขนง  กรุงเทพมหานคร

วันที่ ๑๖  สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๒๒


       หนังสือชุดนี้มี ๓ เล่ม      มีคุณค่ามหาศาลต่อนักอ่าน

ปกสีขาว    มีลายเซ็น  เทอด  บุนนาค  สีเงิน  อยู่มุมล่างขวา

       

เกิดเมื่อ  วันที่ ๘  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๔๕  ที่บ้านเจ้ากรมท่า  ธนบุรี เจ้าคุณปู่
ตาย      วันที่ ๒๘  มิถุนายน  ๒๕๒๒

บิดา        พระยาธรรมสารเนตวิชิตภักดี(ถึก   บุนนาค)
มารดา     คุณหญิงธรรมสารเนต(อบ  บุนนาค)   

เจ้าจอมเอี่ยม พี่สาวของมารดารับเข้าไปเลี้ยงในวังสวนดุสิตตั้งแต่เด็ก

คุณเทอดเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญจนอายุ ๑๘  ไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส        ในระหว่างที่อยู่เมืองกัง
ได้เป็นนักเรียนส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ ๒ ปี

เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว  ได้กลับมาอยู่กับเจ้าจอมเอี่ยมที่สวนนอก  สามเสน   รับราชการเป็นผู้พิพากษา


ภรรยา             นางสาวศรี  สิงหเสนี  ธิดาพระยานครราชเสนี  (สหัด  สิงหเสนี)

ธิดา                 พัฒศรี   บุนนาค
บุตร                 ภานุวงศ์  บุนนาค


     หนังสือชุดนี้  จัดวางไว้ในตู้กระจกประตูเลื่อนด้านขวามือของโต้ะทำงาน     คุ้นตาจนลืมไปแล้วว่าเป็นหนังสืออนุสรณ์  เรียกว่า หนังสือคุณเทอด

บางทีก็เรียกหนังสือคุณท้วม   

     เป็นหนังสือสำคัญที่สุดชุดหนึ่งเท่าที่ดิฉันเคยพบมา   เพราะประกอบด้วยพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จำนวนกว่าพันฉบับ  ถึงเจ้าคุณกรมท่า  ว่าด้วยเรื่องราชการแผ่นดิน 

     ดิฉันอ่านหนังสือเล่มนี้หลายครั้ง     อ่านด้วยความสนุกก่อน   อ่านจนจำบางตอนได้แม่นยำ   
ปีนี้ก็นำมาอ่านอีกสามครั้งแล้วเพราะตรวจสอบข้อมูลเรื่องสำคัญอื่นๆ      ถ้าไม่เคยพบเห็นหนังสือเล่มนี้  ก็คงต่อความกับเอกสารสำคัญอื่นๆไม่ได้
ในใจนั้นระลึกบุญคุณของ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี และคุณเทอด  และครอบครัวของท่านตลอดมา

จะขอย่อความเท่าที่สังเกตต่อไป   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 22:08


ธิดา                 พัฒศรี   บุนนาค
  

ขอออกนอกเรื่องหน่อยนะคะ
ตื่นเต้นที่พบชื่อพัฒศรี บุนนาค     ย้อนหลังไปเมื่อดิฉันยังเป็นนักเรียนมัธยม   นางแบบไทยเป็นสาวงามจากเวทีประกวด หรือไม่ก็ดาราหนังและทีวี
แต่จู่ๆก็มีนางแบบสวย เปรี้ยว เฉี่ยว เท่   คนหนึ่งมาปรากฏตัวขึ้น   เธอชื่อพัฒศรี บุนนาค   
เป็นผู้หญิงไทยที่ดูอินเตอร์มากๆ   ตัวเล็ก เพรียว  ผิวสีเข้ม   สะดุดตาเหมือนไม่ใช่คนไทย      เวลาโพสท่า หรือเดินเหิน ในเสื้อผ้าแต่ละชุด เหมือนเดินออกมาจากห้องเสื้อของปารีส
เธอเดินแบบอยู่พักหนึ่ง แต่อาชีพนางแบบยุคนั้นเป็นสมัครเล่นเสียมากกว่าอาชีพ     หลังจากนั้นเธอก็หายไป   เข้าใจว่าคงไปมีครอบครัว
มาเห็นอีกทีเมื่อหลายสิบปีต่อมา  ก็ยังเท่และเก๋ไม่น้อยกว่าตอนสาวๆ   จนบัดนี้ยังไม่เห็นนางแบบคนไหนเหมือนเธอเลยสักคน

ไม่รู้ว่าคุณวันดีจำได้หรือเปล่าคะ?
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 22:24

ได้เลือกที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยังทราบกันน้อย   เรื่องพระปรีชากลการนั้นถือเป็นเรื่องที่ได้นำมาสนทนากันแล้วในเรือนไทยนี้ จึงมิได้นำมาลงอีก




พระราชหัตถเลขา  ฉบับที่ ๘๑  เล่ม ๑  หน้า ๑๒๒ - ๑๒๓

"ถึงท่านกรมท่า

       ด้วยจดหมายคุณสุรวงศ์ว่าด้วยการที่จะคิดกันคนออกไปเมืองเขมร    ฉันได้พูดกับเธอคราวหนึ่งแล้ว   แต่ยังหาได้ปรึกษากันเป็นการตกลงไม่      

บัดนี้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของคนบ้าง  ผู้ซึ่งรู้เห็นมาบอกเล่าบ้างว่าคราวนี้คนซึ่งเป็นลครบ้าง   เป็นภรรยามีค่าตัว ๗ - ๘ ชั่งหนีไปเมืองเขมรถึง ๑๓ - ๑๔ คน  

เป็นความเดือดร้อนนักเหมือนกับมาขโมยเงินเหมือนกัน       ฉันเห็นว่าการที่ลูกเจ้ากรมขุนวรจักรไปนั้น   จะว่าขึ้นก็เป็นที่อับอาย  

หรือคนที่ไม่มีค่าตัวเขามาเกลี้ยกล่อมสมัครไป  หรือใช้หนี้สินให้แล้วพาไปก็ตามทีเถิด   แต่คนที่มีค่าตัวมาลักไปอย่างนี้เป็นขโมยชัด ๆ        

ถ้าจะนิ่งเสียไม่ว่ากล่าวหรือจัดการอย่างไรเลย   ก็เห็นเป็นไม่เอาธุระแก่คนทั้งปวงเลย       การที่คุณสุรวงศ์ว่ามานั้นเป็นการดีอยู่หลายอย่าง

ควรจะคิดให้ตลอดจะจัดการอย่างไร"

(อ่านโครงกระดูกในตู้ ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมทย์  เรื่องหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 22:34


แหะ ๆ....เธอเขียนตาได้เส้นโตมาก  ผิวเนียนและคลำ้จัด    รวบผมทำมวยขมวดเล็กๆที่ต้นคอ     และเป็นนางแบบของห้องเสื้อหรู ๆ ค่ะ

ขณะนั้นข้าราชการไทยเริ่มรับราชการที่เงินเดือน ๙๐๐  นะคะ

เธอมาปลูกบ้านไทยอยู่แถวหมู่บ้านเสรีรามคำแหงหมู่หนึ่งค่ะ

สมัยก่อนไม่ทราบความแตกต่างของฐานะบุคคล  แต่เธองามเด่น 

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 22:55

ฉบับที่ ๑๐๐   เล่ม ๑ หน้า ๑๓๕

   สนทนาเรื่องเจ้านายหลานของเจ้าลิชเตนสเตน  ชื่อเฮนรี่    กับเจ้าชายอันเฟรด  ลูกเจ้ามอนเตนนุโอ  เป็นหลานแอมเปอเรอะออศเตรียเก่า

ยศสูงกว่าเจ้าคนก่อน    ทรงทอดพระเนตร อาลแมนแฟกโคธา  ได้ความมา



(โปรดดู  http://en.wikipedia.org/wiki/Almanach_de_Gotha  พอเป็นน้ำจิ้มนะคะ)



โอ้   ทรงอัลมาแนคด้วย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 23:07


เรื่องภาษีปลาทูยาวเหยียด ๒ ฉบับ   เรื่องข้าวแพง  หลายฉบับ


ฉบับที่  ๑๖๕  หน้า ๑๗๘


       เรื่องหม่อมเจ้ากันในกรมหมื่นเสนีเทพ  ไปเมืองนนทบุรี  มีผู้ร้ายลักของ

เวลานี้จับตัวผู้ร้ายได้แล้ว  จะขึ้นไปว่าความที่เมืองนนท     ในหลวงไม่ให้ไปเพราะเป็นฤดูไข้ช้าง   ท่านชายต้องรับการนอนประจำ

โรงช้างอยู่ในวัง   คดีความให้นำมาชำระในกรุงเทพ   ท่านชายจะไม่ต้องเป็นกังวลกับคดีความของตน

จะได้ทันรักษาช้่างพอไม่เป็นอันตราย

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 12 ส.ค. 10, 23:32

ฉบับที่ ๑๗๖  เล่ม ๑  หน้า ๑๘๙


       เรื่องกงซุลเยอรมันมีหนังสือมาทูลว่า บ้านที่อยู่ไม่สมควรจะอยู่ได้   จะขอที่ นายนุชอาหารบริรักษ์

ท่านกรมท่าเคยขอพระราชทานว่าจะทำโรงภาษี





เรื่องข้าว  ข้าวแพง   ฝนแล้ง  ราษฏรไม่มีข้าวจะกิน   เรื่องข้าว



ฉบับที่ ๒๔๒  หน้า  ๒๓๙

เรื่อง ฝรั่งหรือชาติอะไรไม่ทราบ   ชื่อ ซาเลเรนีเกาวี(จดหมายจากไวซกงซุลเมืองร่างกุ้ง)   ขอจดทะเบียนเปเต๊นเครื่องจักรใช้แกลบต่างฟืน
ไม่โปรด


เรื่องน้ำมันปิโตรเลียม  เรื่องข้าว  ....


       นี่เพิ่งเล่ม ๑ นะคะ       ยังมีอีก ๒ เล่ม


หนังสือชุดนี้   เข้าใจว่าไม่มีการพิมพ์อีกเลย     

พระราชหัตถเลขานั้นมีปรากฏในเล่มอื่นๆบ้าง


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 13 ส.ค. 10, 09:50

ฉบับที่ ๒๘๘   เล่ม ๒  หน้า ๒๗๙

(คดีพระปรีชากลการ)  อาลบาสะเตอแปลตกเรื่อง คำปรึกษาของเคาน์ซิล



ฉบับที่ ๒๘๙  เล่ม ๒  หน้า ๒๘๐ - ๒๘๑
(คดีพระปรีชากลการ)
ตอบคำฟ้อง(ของนอกซ์)



ฉบับที่ ๒๙๐   เล่ม ๒  หน้า ๒๘๒

กงสุลอเมริกันขอเรือลงไปรับ(อดีต)ประธานาธิบดีแกรนต์   เมื่อคอเวอเนอสิงคโปร์เข้ามา  มาเป็นราชการ  การนับรองเป็นราชการ  เรือรบเข้ามาไม่ถึง
ครั้งนี้เปรซิเด้นต์แกรนต์มาเป็นการไปรเวต  มาด้วยเรือเมล์  ขึ้นมาถึงกรุงเทพ

พระราชหัตถเลขาอีกหลายฉบับ เป็นรายละเอียดของการต้อนรับเปรซิเด้นต์   จัดที่พัก  จัดให้ไปเที่ยวกรุงเก่า



ฉบับที่ ๓๐๕   เล่มสอง  หน้า ๒๙๗

ทรงตรวจจดหมายนำพระยาภาษกรวงษ(ไปอังกฤษ)
คำแปลของ apology  ผิดความเกินไปกว่าสำนวนขอโทษ  ภาษาอังกฤษเขาไม่ใช้
ถ้าจะใช้ excuse  จะไปเถียงกันขึ้น
ถ้ามีผู้แปลตรวจสอบที่เมืองนอกจะเสียที
ให้เรียกอาลบาสเตอไปไล่เลียงดู


พระราชหัตถเลขาอีกหลายสิบฉบับเป็นรายละเอียดเรื่องพระปรีชากลการ บิดาและญาติ เรื่องยี่สุ่นภรรยาพระปรีชากลการลงไปอาศัยอยู่บ้างกงซุลอังกฤษจริง


ฉบับที่ ๓๗๑   เล่ม ๒  หน้า ๓๕๘
หม่อมเจ้าปฤษฏางค์ทูลขอเงิน ๖๐ ปอนด์ ขอซื้อเครื่องมือเคมิสตรีไว้ฝึกหัดเวลากลางคืน  ด้วยเวลากลางวันต้องอยู่ในออฟฟิซไม่มีเวลาเรียน


ฉบับที่ ๓๗๒
เจ้าคุณกรมท่าวานอาลบาสเตอสั่งทุ่นเหล็กเข้ามา  อาลบาสเตอกราบทูลว่าคิดจะเหมาให้บอเนียวไปวางให้แต่บอเนียวบอกว่าไม่สามารถเพราะเป็นฤดูคลื่นลม
จะพ่วงทุ่นลากไปไม่ไหว   จะใส่เรือไฟไปเรือเล็กบรรทุกไม่ได้

พระราชหัตถเลขาอีกหลายฉบับแสดงความไว้วางใจอาลบาสเตอร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


               ๑๕
ฉบับลงวัน ๖ ฯ  ๑ คำ่  ปีเถาะเอกศก  ศักราช ๑๒๔๑
เรื่องอีแฟนนีกับบุตรภรรยาพระปรีชากลการ
เรื่องการริบราชบาทว์บุตรภรรยามาเป็นสรอฟหลวง   จะบาดหูฝรั่งแรงนัก
(สรอฟ คือ slave/ วันดี)


ฉบับที่ ๔๕๑ หน้า ๔๑๗
เรื่องเรือรบาทที่เจ้าคุณกรมท่ากราบทูลว่าสมเด็จเจ้าพระยาขอเรือรบาทไปใช้ในราชการเมืองตวันตก
ทรัพย์สินเงินทองใดที่ฉ้อไปจะได้คืนก็แต่เรือลำนี้ลำเดียว    ที่จะเอาไปใช้ในราชการทางเมืองตะวันตกเป็นราชการแผ่นดิน  ได้เหมือนกัน



หนังสือเล่ม ๒ นี้ เริ่มตั้งแต่หน้า ๒๗๑ ถึง หน้า ๖๑๖    ล้วนเป็นเรื่องน่ารู้
(สหายนักอ่านล้วนอ่านมาอย่างจำใส่ใจทั้งสิ้น  เมื่อสนทนากันเรื่องพระปรีชากลการก็จะอ้างอิงถึงรายละเอียดต่าง ๆมาเถียงกันเป็นที่สำราญ)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 13 ส.ค. 10, 16:22

เล่ม ๓  พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๗๒๒ - ๑๐๖๖


ฉบับที่ ๗๓๘   หน้า ๖๓๐
เรื่องป้อมปากน้ำ
มีพระราชดำริกับเจ้าคุณกรมท่า ว่าให้หม่อมเจ้าปฤษฏางค์ออกไปเรียนตำราใช้ตอปิโด  และจัดซื้อตอปิโดเข้ามารักษาปากน้ำ
กว่าหม่อมเจ้าปฤษฏางค์จะกลับก็คงเป็นเวลาช้านาน  ให้ใช้กัปตันริชลิวฝึกหัดคนเรือเวสาตรี โดยคิดกับพระองค์สายสนิทวงศ์




ฉบับที่ ๗๙๖  หน้า ๖๘๗   และมีพระราชหัถเลขาตามมาอีกสองสาม ฉบับ
เรื่องบารอนสติลเฟรด คิดเงินค่าถ่ายรูป ๓๗๙๕๖ เหรียญ




ฉบับที่ ๘๓๗  หน้า ๗๒๖
เรื่องการต้อนรับดุ้คออฟแมคเลนเบิก
(มีรายละเอียดอยู่ในสยามไสมยของครูสมิท/วันดี)



ฉบับที่ ๘๔๑   หน้่า ๗๒๘
ทรงพระเกษมสำราญอยู่บางปะอิน    ทรงเล่าประทานว่า ได้เสด็จไปดูจับช้างอยู่สองวัน
โขลงที่ต้อนมานี้เชื่อง    ในครั้งนี้มีการนำช้างที่จับไว้แล้ว ๕ ปีออกกับโขลง  ก็พาคนเข้าโขลงไป




ฉบับที่ ๘๖๑  หน้า ๗๔๕
ทรงปูนบำเหน็จหม่อมเจ้าปฤษฏางค์เลื่อนเป็นพระองค์เจ้าเพราะรับราชการได้ผลดี




ฉบับที่ ๘๗๒  หน้า ๗๕๓
หมอบรัดเลรับพระราชทานเงินเดือน ๒๐๐ เหรียญ




     ได้ย่อความมาตามปัญญาของนักอ่านหนังสือเก่าที่เห็นข้อมูลที่แปลก  ขอเชิญท่านที่สนใจค้นคว้าต่อตามความสามารถ
และในวันหน้าเราอาจมาสนทนากันต่อได้ถ้ามีผู้สนใจ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 13 ส.ค. 10, 16:56


หนังสือฉลองพระคุณในงานพระราชทานเพลิงศพ  พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์(ม.ร.ว. เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์)
ประเพณีในราชสำนักบางเรื่อง
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์  ๒๕๑๔

หนังสือเล่มสีดำ    ที่ปก มีตราประจำตระกูลที่ซ้ายมือบน  และลายเซ็นของท่านล่างขวา


บิดา                 หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ  ทวีวงศ์
                      โอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าทวีทวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์

มารดา              หม่อมเฉื่อย(สกุลเดิม  จารุจินดา)

วดปก               วันที่ ๗ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๔๔
ถึงแก่อสัญกรรม   วันที่ ๒๗  ตุลาคม   ๒๕๑๓

สถานที่เกิด         วังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์  ตำบลแพร่งภูธร

นามเดิม             ม.ร.ว. ภิรมย์เฉลิมลาภ

พี่น้อง                ม.ร.ว. ทิพยลาภ
                       ท่านเจ้าของประวัติ
                       ม.ร.ว. ภัทรา  สิงหเสนี
                       ม.ร.ว.  ดิลกลาภ  ทวีวงศ์

ภรรยา               ม.ร.ว. ทิพยวดี   ชยางกูร  ธิดาหม่อมเจ้า สฤษดิเดช  และหม่อมเนื่อง  ชยางกูร
                       หลังจาก ม.ร.ว.ทิพยวดี  ถึงแก่กรรม  ได้สมรสกับ ม.ร.ว. พรพรรณ  ชยางกูร

ธิดา                  หม่อมหลวง ถวัลยวดี   สมรสกับนายพูลผล  เตวิทย์    ธิดาคือ นันทวดี   บุตรคือ ณพาวุธ

                       หม่อมหลวง นราวดี  สมรสกับนายสันชัย  ธิดา ๒ คนคือ  จุฑาพร  กับ หนึ่งนุช


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 20 คำสั่ง