เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 105468 ตามล่าหาหนังสืองานศพ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 11:22


     ขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพู  ผู้ยิ่งใหญ่ในหัวใจของวันดี   และ คุณหลวงเล็กผู้เป็นระเบียบในการอ้างอิงข้อมูล


       ไม่อยากรบกวนเนื้อที่ในกระทู้หนังสืองานศพ   เกินไป

กำลังค้นเรื่อง ซีจำปุก อยู่      พยายามจะหาข้อมูลของการเข้ามาในสยาม  ได้ไม่มาก

เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้ว    ก็จะมีโอกาสได้พบกับท่านผู้อาวุโสผู้ถือหนังสือในดวงใจของ คุณเพ็ญชมพู  คุณหลวงเล็ก และนักอ่านจำนวนมาก

กว่าจะได้เห็นหนังสือสักเล่มหนึ่ง   ก็ต้องทำตัวให้สมกับความไว้วางใจของผู้ใหญ่
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 11:52

เห็นกระทู้คึกคักแต่เช้า   เนื่องด้วยหนังสือพระอภัยมณีที่คุณฮอลเอามาลง
คิดว่าประเด็นหนังสือพระอภัยมณีดังกล่าว  คงจะมีเท่านี้


สมาชิกท่านใดมีหนังสืองานศพเล่มอื่นมาเสนอ  เชิญได้นะครับ


อ้อ  อย่าลืมโจทย์ข้อที่เหลือด้วยนะครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 14:20



ปัญหาเป็นอย่างนี้ค่ะ  คืออยากสแกนรูปเจ้าพระยาทั้งหลายมาให้ดู  แต่ไม่อาจคว่ำหนังสือได้   กลัวกระดาษหลุดจากสันปกค่ะ
ถ้าวางหน้าเดียวลงบนสแกนเนอร์    ใกล้ๆขอบซ้ายของรูปก็จะหายไป
[/quote]


คงต้องใช้วิธีที่ปลอดภัยที่สุดละครับ

ก็อปปี้ด้วยกล้องถ่ายรูป....แล้วปรับแต่งคอนทราสเพิ่มเติม
ยอมเสียคุณภาพบ้างดีกว่าเสียหนังสือครับ

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 14:37

ขอโชว์อีกเล่มหนึ่งค่ะ  เล่มนี้ใหม่ (คราวนี้ตรวจทานพ.ศ. 5 หน )
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. วิจิตรโฉม กิติยากร  เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2534
ข้างในรวมรวมบทความปาฐกถาที่อ่านไม่เจอในที่อื่น คือ
-บรมราชาภิเษก  
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
-ธรรมเนียมใส่โกศมาจากไหน    
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
-"สยาม" หมายความว่ากระไร
ม.ร.ว.สุมนชาติ  สวัสดิกุล
-สยาม
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
-โกศ
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระ(ยา) นริศรานุวัดติวงศ์
-วิจารณ์เห่ช้าลูกหลวง
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(ป.ล.ในหนังสือพิมพ์อย่างนี้ค่ะ)
-คติความเชื่อเกี่ยวกับเรือนไทยสมัยเก่า
พระยาอนุมานราชธน

ม.ร.ว.วิจิตรโฉม กิติยากร เป็นธิดาของม.จ.สฤษดิเดช และหม่อมเนื่อง ชยางกูร   สมรสกับม.จ.ขจรจบกิตติคุณ  กิติยากร   มีบุตรธิดาคือ
๑ ม.ร.ว.เกียรติคุณ   (สมรสครั้งแรกกับอาภัสรา หงสกุล)
๒  ม.ร.ว. สฤษดิคุณ
๓  ม.ร.ว. (ท่านผู้หญิง)สุจิตคุณ  สมรสกับคุณอาสา สารสิน

ขอบอกว่าตอนสาวๆ คุณหญิงวิจิตรโฉมท่านงามสมชื่อจริงๆ      ท่านเป็นศิษย์เก่าร.ร.เซนต์โยเซฟ และไปศึกษาต่อที่ปีนัง

ป.ล. ขอบคุณค่ะคุณศรีสยาม  ดิฉันถ่ายรูปเอาดีกว่า ปลอดภัยกว่าสแกนจริงด้วย


บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 16:35

หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงพงษ์พิศมัย  เกษมสันต์ ครับ



บันทึกการเข้า
ron199x
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 16:42

ขอโชว์อีกเล่มหนึ่งค่ะ  เล่มนี้ใหม่ (คราวนี้ตรวจทานพ.ศ. 5 หน )
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. วิจิตรโฉม กิติยากร  เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2534
ข้างในรวมรวมบทความปาฐกถาที่อ่านไม่เจอในที่อื่น คือ
-บรมราชาภิเษก  
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
-ธรรมเนียมใส่โกศมาจากไหน    
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
-"สยาม" หมายความว่ากระไร
ม.ร.ว.สุมนชาติ  สวัสดิกุล
-สยาม
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
-โกศ
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระ(ยา) นริศรานุวัดติวงศ์
-วิจารณ์เห่ช้าลูกหลวง
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(ป.ล.ในหนังสือพิมพ์อย่างนี้ค่ะ)
-คติความเชื่อเกี่ยวกับเรือนไทยสมัยเก่า
พระยาอนุมานราชธน

ม.ร.ว.วิจิตรโฉม กิติยากร เป็นธิดาของม.จ.สฤษดิเดช และหม่อมเนื่อง ชยางกูร   สมรสกับม.จ.ขจรจบกิตติคุณ  กิติยากร   มีบุตรธิดาคือ
๑ ม.ร.ว.เกียรติคุณ   (สมรสครั้งแรกกับอาภัสรา หงสกุล)
๒  ม.ร.ว. สฤษดิคุณ
๓  ม.ร.ว. (ท่านผู้หญิง)สุจิตคุณ  สมรสกับคุณอาสา สารสิน

ขอบอกว่าตอนสาวๆ คุณหญิงวิจิตรโฉมท่านงามสมชื่อจริงๆ      ท่านเป็นศิษย์เก่าร.ร.เซนต์โยเซฟ และไปศึกษาต่อที่ปีนัง

ป.ล. ขอบคุณค่ะคุณศรีสยาม  ดิฉันถ่ายรูปเอาดีกว่า ปลอดภัยกว่าสแกนจริงด้วย



ผมลองไปปรับภาพให้ชัดขึ้นดูครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 03 ส.ค. 10, 16:52

ขอบคุณมากค่ะ เห็นภาพชัดขึ้นจริงๆ
ตอนนี้ยังไม่คุ้นกับ ACDSee เวอร์ชั่นใหม่ในเครื่อง  เลยยังปรับแสงไม่ถูก  เห็
นจะต้องไปลอง faststone ที่คุณม้าแนะนำมา เผื่อจะง่ายขึ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 08:59


๑๐.เจ้าจอมมารดาอ่อน  ในรัชกาลที่ ๕
งานศพเจ้าจอมมารดาอ่อน  พิมพ์หนังสือตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
และจำได้ว่าเคยเห็นว่ามีหนังสือที่พิมพ์แจกเล่มอื่นอีกเล่มด้วย   แต่ผมจำชื่อไม่ได้
(ดูรูปหนังสือด้านล่าง  ขออภัยที่ไม่มีปก  ที่เห็นเป็นปกใน)

๑๓.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)
งานศพเจ้าคุณภาสกรวงศ์   พิมพ์หนังสือ คำกลอนของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)
ผมไม่มีฉบับตอนงานศพเจ้าคุณ  แต่มีฉบับที่เอามาพิมพ์ใหม่ในงานศพเจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ ๕
ในเล่มได้ระบุไว้ว่า  หนังสือคำกลอนของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค) พิมพ์ครั้งแรก  พ.ศ. ๒๔๖๕
ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)

และพิมพ์ครั้งที่ ๒  ๑,๐๐๐ เล่ม  ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔
ในหนังสืองานศพเล่มนี้  มีที่น่าสนใจนอกจากบทประพันธ์ของเจ้าคุณภาสกรวงศ์  และประวัติเจ้าจอมพิศว์
คือ คำไว้อาลัยของบุคคลต่างๆ  ที่เด็ดสุดก็คือ  คำไว้อาลัยของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร  ที่เล่าเรื่องต้มขาหมูแฮมทำให้ล่มจม 
เรื่องนี้  คุณวันดีคงเล่าได้โดยไม่ต้องเปิดเอกสาร ยิงฟันยิ้ม










บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 09:15

คุณ overhaul กรุณาเอาหนังสือในกรุมาให้ชม ๒ เล่ม
........
เล่มสอง  ตำรากงเต๊ก แลตำรากฐินของพระสงฆ์อานัมนิกาย พิมพ์ในโอกาสบำเพ็ญพระราชกุศพพระบรมศพรัชกาลที่ ๖ ครบศตมาหะ (หรือศตมวาร) (เล่มนี้ผมก็มี)  ขอให้สังเกตว่า  หุ้มแพร  พระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะศิริ) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร  ในครั้งนั้นได้พิมพ์หนังสือฉลองพระเดชพระคุณรัชกาลที่ ๖ หลายเล่ม  
ไม่ทราบว่า  คุณ overhaul พอจะมีหนังสืองานศพของพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะศิริ) หรือประวัติของท่านบ้างไหม ครับ

ไปค้นหนังสืองานศพที่กรุส่วนตัว    ได้หนังสืองานศพพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะสิริ) มา

มีประวัติของพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะสิริ)เล่าไว้  ดังนี้

พระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะสิริ)
เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ เดือนยี่ ปีจอ จ.ศ. ๑๒๓๖  (๑ ก.พ. ๒๔๑๗)
ที่บ้านตำบลวัดทองนพคุณ  จังหวัดธนบุรี
เป็นบุตรนายซุ่นเฮง  กับนางลี้
คุณพระกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เป็นทารก  คือ  พออายุได้ ๔ เดือน  บิดาถึงแก่กรรม
จากนั้นอีก ๑๐ เดือนต่อมา  มารดาถึงแก่กรรม  
คุณยายปิ่น  จึงแย้มปิ่น จึงได้เอาไปเลี้ยงดูจนโต

เมื่อคุณพระโตพอที่จะเรียนหนังสือ  ได้ไปเข้าเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส
ในสมัยที่ขุนอนุกิจวิธูร (น้อย  จุลวิธูร) เป็นอาจารย์ใหญ่
และได้เรียนหนังสือจีนจนพออ่านออกเขียนได้
จากนั้น  คุณพระก็ออกมาช่วยคุณยายค้าขาย   โดยหัดทำการค้าขายร่วมกับน้าชาย (ลูกชายคุณยายปิ่น)
ครั้นอายุครบบวช คุณพระได้อุปสมบทที่วัดจักรวรรดิราชาวาส  นาน ๑ พรรษา
เมื่อลาสิกขาแล้ว  ก็ได้แต่งงานกับนางสาวหยิน  จุลวิธูร






บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 09:30

นางสาวหยิน  จุลวิธูร  มีโรงพิมพ์ตั้งอยู่ที่ตำบลถนนตรีเพ็ชร  
เมื่อนายเล็ก   สมิตะสิริ  ได้มาแต่งงานอยู่กินด้วยกันแล้ว
ก็ได้เข้ามาทำอาชีพการพิมพ์หนังสือร่วมกัน  และขยายกิจการใหญ่โตมากขึ้น
จนต้องย้ายไปตั้งโรงพิมพ์ใหม่ที่ตำบลวัดเกาะ  อำเภอสัมพันธวงศ์
จากนั้นก็ได้ย้ายโรงพิมพ์มาอยู่ที่ตึกแถวถนนเจริญกรุง  ข้างวังบูรพาภิรมย์ เมื่อ ๒๔๔๓  และได้ขนานนามโรงพิมพ์ว่า  "โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร"

(ถ้าไปเจอหนังสือที่พิมพ์โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรก่อน ๒๔๔๓ ขึ้นไป  อย่าเพิ่งนึกว่าปลอม  อาจจะเป็นหนังสือที่เข้าปกใส่ชื่อโรงพิมพ์ทีหลังก็ได้)

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๙  ได้ย้ายโรงพิมพ์มาตั้งที่ถนนราชบพิธ  กิจการก็เจริญมาโดยลำดับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 09:37

       ขาหมูแฮม  ที่มาถึงเมืองไทย และมีขายตามร้านใหญ่ ๆ ในกรุงเทพสมัยนั้น   เป็นขาหลังทั้งขาของหมูใหญ่

หมักเกลือและดินประสิว(เพื่อให้เนื้อแดง)    ทาไขมันเพื่อรักษาเนื้อ    ห่อกระดาษสีขาว   แล้วห่อด้วยอะไรอีกก็ไม่ทราบชัด

ใส่ถุงผ้าดิบ  หุ้มแกลบ          มีรสเค็มจัด   ต้องมากำจัดความเค็มด้วยประการต่างๆ


     ท่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงศ์   มีฝีมือทำกับข้าวขนมชั้นเลิศ  เพราะ เจ้าคุณภาสท่านกินเก่ง  และต้องเลี้ยงฝรั่งมังค่าเสมอ

จึงพลิกผันดัดแปลงอาหารได้      ธิดาก็คงเข้าใจงานครัวและหยิบจับรวมทั้งสั่งการได้แคล่วคล่อง    คนที่ไม่เคยเห็นแล้วจะสั่งบ่าวทำอะไรนั้น

ไม่ตลอดรอดฝั่งไปได้         บ่าวและคนในครัวถ้าไม่เคยทำก็อีกนั่นแหละ   เกะกะขัดขวาง และ เสียของ
  
     เจ้าจอมพิศว์เป็นลูกมือพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในเรื่องการต้มแฮมให้หายเค็ม       เจ้านายไปเยี่ยมท่านก็ได้เสวยเพราะเจ้าจอมท่านป็น

ผู้ที่ร่าเริง  คุยกับเด็กๆกว่าได้สนุกสนาน        และท่านก็มีเครื่องปรุงคือสุราหวานหลายประเภท     ท่านก็เอ่ยว่าทำทีล่มจมนั่นแล  เพราะต้องต้มขาหมูชิ้นใหญ่

ด้วยสุราหลายขวด  ตามเวลาอันเหมาะสม    

     หมูแฮมนั้นมีการทำโดยกุ้กจีน  และแหม่มทั้งหลายอยู่บ้าง     หม่อมศรีพรหมาได้เขียนตำราไว้น่าอ่านมากเป็นศิลปอันประเสริฐ

สงสัยอยู่เหมือนกันในขั้นตอนที่นำหมูแฮมไปฝังดิน         ผู้ใหญ่(ที่จริงแก่มาก)ที่ทำกับข้าวให้ทูตขรตรีเศียรกินก็ยืนยันว่า  ใช้วิธีฝังดินไว้เหมือนกัน



     กุ้กจีนนั้นก็สืบเชื้อสายกุ้กมาจากเมืองจีนโดยประมาณ   ทำแฮมก็เป็นแฮมยูนนานไป  เนื้อแข็ง กลิ่นพิเศษคือตุ ๆ    มานึ่งกับอาหารอย่างอื่นหรือผัดผักก็อร่อยเหาะ

ที่จริงคงเหาะไม่ได้เพราะคุณหญิงวาด(รู้จักนับญาติได้ เพราะอยู่กลุ่มสามเกลอ)คงเฆี่ยนด้วยไม้ก้านธูปเป็นแน่
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 09:48

นายเล็ก  สมิตะสิริ  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว
นายเล็กฯ ก็ได้รับราชการ  ในหน้าที่ผู้พิมพ์หนังสือพระราชนิพนธ์ต่างๆ ของพระองค์

ปี ๒๔๖๒  นายเล็กได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็น ขุนโสภณอักษรกิจ  มียศมหาดเล็กเป็น รองหุ้มแพร
ปี ๒๔๖๓  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  หลวง  ในราชทินนามเดิม
ปี ๒๔๖๖  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  พระ  ในราชทินนามเดิม  
ปี ๒๔๖๗  ได้รับพระราชทานยศมหาดเล็กเลื่อนชั้นเป็น  หุ้มแพร
ในสมัยรัชกาลที่ ๗  ปี ๒๔๖๙  ได้รับพระราชทานยศเป็น  รองเสวกเอก  
ย้ายมาสังกัดกระทรวงวัง  (เดิมอยู่ในสังกัดกรมมหาดเล็ก)
และได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก


นอกจากนี้  ในสมัยรัชกาลที่ ๖ คุณพระได้รับพระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม และเสมาทองคำลงยาด้วย
กับได้รับพระราชทานนามสกุลว่า  สมิตะสิริ

พระโสภณอักษรกิจ  ได้ดำเนินกิจการโรงพิมพ์มาอย่างดี
เป็นที่ยกย่องกันว่า ในเวลานั้น  เป็นที่ทราบทั่วไปว่า
กระบวนฝีมือการพิมพ์หนังสือ  ไม่มีโรงพิมพ์ไหนจะทำได้
ประณีตดีเกินกว่าโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรของคุณพระโสภณฯ
ถ้าจะมีเสมอกันอีกโรงพิมพ์หนึ่ง ก็คือโรงพิมพ์ไทยของขุนโสภิตอักษรการ  
ทั้งสองแห่งนี้นับได้ว่าฝีมือการพิมพ์เป็นเยี่ยมในกาลนั้น
เจ้าของโรงพิมพ์ทั้งสอง  จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เข้าคู่กันดังกล่าว

(อ้าว  คุณวันดีเอาเกร็ดเรื่องขาหมูแฮมมาเสนอแล้ว)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 10:02

คุณพระโสภณอักษรกิจ  แห่งโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
มีบุตรธิดากับนางโสภณอักษรกิจ  (หยิน  สมิตะสิริ) รวม ๗ คน
เป็น หญิง ๔ คน และชาย ๓ คน  นอกจากนี้ยังมีบุตรกับภรรยาอื่นอีก ๑๖ คน

ปี ๒๔๙๐ คุณพระป่วยด้วยโรคอุจจาระพิการ มีอาการไข้
พอรักษาอาการทุเลา  โรคเบาหวานที่ประจำตัวอยู่ก็กำเริบ
ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น  ประกอบด้วยคุณพระอายุมากถึง ๗๓ ปีแล้ว
ร่างกายคุณพระจึงได้ทรุดและทรงมาโดยตลอด 

๑๑ มีนาคม  ๒๔๙๑  คุณพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะสิริ) ถึงแก่กรรม 

ส่วนกิจการของโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร  ได้ดำเนินต่อมาอีกระยะเวลาหนึ่ง
แล้วก็ยุติกิจการไป   คงเหลือแต่ชื่อโรงพิมพ์ให้นักสะสมหนังสือเก่ารู้จักกันเท่านั้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 10:07

       โสภณพิพรรฒธนากร  นั้นพิมพ์หนังสือฝีมือดี    เจ้านายโปรดปรานไว้วางพระทัย เพราะทำทันพระประสงค์

เจ้านายนั้นเมื่อต้องพระประสงค์อันใด    ข้าราชบริพารก็รีบรุดปฎิบัติงาน         งานอื่น ๆ ก็ยกลงจากแท่นพิมพ์ไปก่อน


สมัยวิ่งเก็บพงศาสดารจีนนั้นเมื่อ "สาย"  ติดต่อมา  ก็จะเก้กถามไปว่าฉบับไหน       ที่จริงก็มีแต่โสภณพิพรรฒธนากรเท่านั้น

ถามไปทำไมก็ไม่ทราบ       ตัวพิมพ์สะอาดตา    มีกรอบลายดอกไม้  ตัวพิมพ์สลับสีแดงงามตา    รูปก็ชัด
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 04 ส.ค. 10, 10:24



       นักสะสมหนังสือนั้น  สนใจประวัติโรงพิมพ์กันมาก     ไต่ถามกันไปมา  แต่ต้องอ้างแหล่งข้อมูลให้แม่น ๆ

จะมามั่วว่ารู้เรื่องเองนั้น   ไม่เป็นที่นิยม       บางทีก็จะไม่ต้องรับผิดถ้าข้อมูลเกิดผิดพลาดทางรายละเอียด

รู้ข้อมูลเรื่องใด  มาจากใคร  ที่ไหน  เมื่อใด    ต้องแจ้ง  และให้การประเมินแหล่งข่าวด้วย


       นักหาหนังสือนั้นถ้าออกถามรายละเอียดของหนังสือ  ว่าพิมพ์ครั้งแรกที่ไหน  ปีอะไร   แสดงว่าถือหนังสืออยู่ในมือแล้ว

ขออภัยค่ะคุณหลวงที่ถลาเข้าซอยไปหน่อย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง