เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 105163 ตามล่าหาหนังสืองานศพ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 00:35


       ขอต้อนรับคุณ bert631  ด้วยความยินดีค่ะ    มาเป็นเพื่อนกัน

พวกเรามีอะไรก็แบ่ง  แลกเปลี่ยนข้อมูล  หรือไปหาข้อมูลมาให้ค่ะเท่าที่คิดออกค่ะ


       คุณหลวงเล็กท่านเป็นคนโบราณ  ทักทายเพื่อน ๆ แบบ ทักสามคำค่ะ

คือ "สามสิบคำถามยากไปไหม"   และเนื่องจากท่านอยู่แผนกไทยโบราณท่านก็ไม่ฟังคำตอบของดิฉันที่อึก ๆ อัก ๆ ว่า  ยากจ้ะคุณลุง

ท่านถามต่อไปตามธรรมเนียมที่ได้อบรมมาว่า "นี่แน่ะ   ลองอีก ๕๐ คำถามนะ"     อ้าวคุณหลวงท่าน  ฟังพนักงานชาวที่อย่างอิฉันมั่งเถอะ

ท่านยิงคำถามสุดท้ายว่า  "แล้วจะส่งมาอีก ๑๐๐ คำถาม"          ว่าแล้วท่านก็เชิดเข้าฉากไป      สั่งดิฉันว่าเฝ้ากระทู้ไว้  มีอะไรให้เรือเร็วไปตามแผน

(ซึ่งน่าจะเป็นกาญจนบุรีกระมัง  เพราะขุนแผนอยู่แถวนั้น)


       เรียนคุณ Overhaul    ขออนุญาตตามกันกลางวงนะคะ

เพิ่งไปอ่านประวัติ เซอร์ ยอห์น บาวริ่งมา       โอโฮ   ท่านเป็นนักภาษาศาสตร์แท้จริงเลยนะคะ

เรียนจริง ๆ  ไม่กี่ภาษา   แต่ด้วยความสนใจพูดได้ ๖ ภาษา  อ่านออกอีกสองสามภาษา

ท่านได้อิทธิพลจากปู่ค่ะ  คือรักความยุติธรรมอย่างมาก   ท่านแปลกวีโบราณได้เป็นที่นิยมอย่างมาก

ได้พบปะเจอบุคคลสำคัญทั่วโลก    บิดาของท่านภูมิใจที่สุดคือลูกชายได้พบกับ เชอร์วอลเธอร์ สก้อต

ดิฉันอยากอ่านหนังสือที่ท่านเขียนจังเลย   นั่งหน้างออยู่นี่   อยากทราบค่ะว่าครั้งแรกที่ท่านมาสยามนั้น  ลูกทีมของท่านมีใครบ้าง

เพื่อน ๆ ไปขายหนังสือทั้งเสาร์ และ อาทิตย์ค่ะ   พรุ่งนี้จะไปที่รามคำแหงกัน


       ที่อุกอาจกล้าหาญมาแทรกข้อความไว้เพราะกลุ่มนักอ่านนั้นมีสมาชิกน้อย    ยังรวมพลังไม่ได้   และขออนุญาตคุณหลวงแล้วตอนท่านเผลอ














บันทึกการเข้า
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 01:40

 ยิ้มกว้างๆ สวัสดีครับคุณวันดี (ณ กลางวงคนคอเดียวกัน)
หลายวันมานี้ผมตื่นเต้นอยู่หลายเรื่อง เช่น คุณหลวงเปิดกระทู้นี้ ,เจอหนังสือหลายเล่มที่ตามอยู่นาน (หลังจากออมทรัพย์ได้ แต่ไร้ดอกเบี้ย) ฯลฯ ทำให้การอ่านลดๆไปบ้าง
เรามาคุยเรื่องเซอร์จอห์น เบาริ่ง ดีกว่า ท่านมีทักษะทางภาษาดี ตอนมาสยามในหลวงรัชกาลที่ 4 ยังทรงพระราชทานดิกชันนารีให้เล่มหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นสัพะ พะจะนะ ฯ ทรงพระประสงค์ให้เข้าใจภาษาไทยบ้าง และเพื่อผลทางทัศนะ หลังจากกลับออกไปแล้วก็ไปสัมพันธไมตรีอีกหลายที่ แต่ก็ไม่ลืมแต่งหนังสือเรื่องเมืองไทยที่ไปพบไปเห็นมา คือเรื่อง THE KINGDOM AND PEOPLE OF SIAM 2เล่มชุด
ผมเข้าใจว่าอย่างนี้ สมัยนั้นในคณะทูตเกือบทุกคณะจะมีทีมงานอยู่2-4คน ทำหน้าที่ลับๆ เกี่ยวกับการสำรวจภูมิประเทศ วัดร่องน้ำ สังเกตพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ในประเทศที่ไปเยือน แล้วข้อมูลเหล่านี้ก็ส่งกลับไปที่กระทรวงต่างประเทศของตน และสมาคมทางวิชาการ เช่น สมาคมภูมิศาสตร์(ในอังกฤษเป็นที่ยอมรับกันมาก) พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งบ่อยครั้งที่องค์กรเหล่านี้ออกเงินทุนให้สำรวจ หรือสนับสนุนคณะทูตแล้วขอผลประโยชน์ต่อไป ตอนนี้ผมก็กำลังตามอ่านข้อมูลของหมอจอร์ช ฟินเลย์ซัน ที่มากับคลอเฟิดอยู่ เพราะเข้ามากับทูตอย่างลับๆ แล้วชอบปลีกวิเวกไปปากน้ำ ไปนอกกำแพง(นอกคลองรอบกรุง)บ่อยๆ แล้วพอกลับไปก็ไปเวียดนามต่อ ครั้นถึงengland ก็พิมพ์หนังสือเล่มหนา
คุยเรื่องผมซะเพลิน เอาเป็นว่าท่านเบาริ่งดูประวัติแล้วน่าจะสบาย แต่... ตอนถึงแก่กรรมไม่สบายแน่ คุณวันดีทราบมั้ย ยิ้ม
บันทึกการเข้า
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 02:01

ลืมตอบคุณวันดีครับ ลูกทีมทีมาสยามด้วยกัน เด่นๆก็มี
1.แฮรี่ ปาร์ก เป็นอุปทูต
2.จอห์น ซี. เบาริ่ง ลูกชายท่านเซอร์ฯ ปกติอยู่ฮ่องกง ชอบไปๆมาๆมาเก๊า เอ้หมึง เซียงไฮ้ เพราะเป็นพ่อค้าทั้งเอกชน และหลวง จนสามารถเซ็งลี้กับนายแฮรี่ ปาร์ก มาสยามในตำแหน่งตรีทูต
3.นักศึกษารัฐศาสตร์สองนาย(จำชื่อไม่ได้) อ้างว่ามาช่วยงานคณะทูต แต่นี่แหละทีมงานเก็บข้อมูลสยาม
4.กัปตัน ทหารบก และทหารเรือที่มากับเรือคณะทูตคือ เรือrattler กับgrecian จำนวนหนึ่ง
5.เจ้าหน้าที่คุมเครื่องบรรณาการ
6.ช่างengraving ทำงานทั้งเปิดเผย และประสานกับทีมเก็บข้อมูล
ฯลฯ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 08:33

อิอิ...อ่านเพลินเลยค่ะ  คุณ overhaul

เบาริ่งตอนจวนจะเท่งทึงเป็นอย่างไรหรือคะ  ยังอ่านไปไม่ถึง

วันนี้จะตลุยอ่าน   ไปหยุดน้อยใจตอนฝรั่งเก็บหลักฐานดีเหลือเกิน  เรื่องของน้องเมียที่เป็นทหารเรือ  ปฎิบัติราชการดี

จนมีจดหมายชมเชยจากแม่ทัพเรือ  แล้วหนังสือชมเชยนี่เก็บไว้ในประวัติแม่ทัพเรือด้วย   อ่านมาถึงตอนนี้ก็ถอนใจเฮือก

การเก็บหลักฐานนี่คนไทยเราอ่อนด้อยไปหน่อย  แหะ ๆ   บางทีก็ไม่หน่อย  คือขาดพรืดไปเลย

กระทู้เรื่องหนังสืองานศพที่คุณหลวงเล็กตั้งขึ้นมีความสำคัญมาก   เรื่องนี้ดิฉันเห็นด้วยค่ะ  เพราะท่านถามเป็นชุดที่เชื่อมโยงกัน เป็นหนังสือหายาก

ใจหนึ่งก็ตุ๋ม ๆ ต้อม ๆ  เกรงจะเห็นรายชื่อชุดที่สอง    แบบกลัว ๆ  แต่ก็ยังอยากเห็น

ยอมรับแต่โดยดีเพราะไม่มีหนังสือค่ะ    
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 09:00

ช่างวาดรุปนี่มีความสำคัญมากต่อทีมงาน

ก.ศ.ร. กุหลาบ   ออกชื่อไว้หลายคน  ล้วนอยู่ในคุกทั้งสิ้น(ค่าจ้างคงไม่สูง)      คนที่ลอกรูปใช้กระดาษแก้วลอก

แล้วเอาไปทำแบบพิมพ์

อ่านเรื่องทีมโบราณคดีในอียิปต์    นักวาดรูปถือเป็นสมาชิกคนสำคัญของทีม  เพราะเป็นการเก็บรายละเอียดที่นำมาพิจารณาทีหลัง

วันหน้าเรามาคุยกันเรื่องอียิปต์ไหมคะ    เมื่อ ๖ เดือนที่แล้ว มีการค้นพบ ปิรามิดคู่ที่เป็นของอาลักษณ์คนสำคัญและบุตรชาย

มีภาพฝาผนังที่สียังสดกระจ่าง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 09:05

เปิดดูความคืบหน้ากระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพในเช้าวันทำงานแล้วตื่นเต้นดีใจ
ที่เจ้าเรือนก็ดี และสมาชิกเรือนไทยก็ดี  มาช่วยกันเพิ่มเติมความรู้กัน

ถ้ากระทู้นี้จะมีความดีความชอบบ้าง  ความดีประการหนึ่งนั้นคงได้แก่  
กระทู้นี้คงจะเป็นยากระตุ้นอย่างอ่อนๆ  ให้ท่านที่รักการอ่านและเก็บสะสมหนังสือทั้งเก่าและใหม่
ได้รื้อ รุ กรุหนังสือในความครอบครองของทุกท่านออกมาผึ่งอากาศ
และจะเป็นโอกาสอันดี  ที่ท่านจะได้กระชับพื้นที่และขอคืนพื้นที่สำหรับเก็บหนังสือเล่มอื่นๆ ต่อไป


มีเกลอรักนักอ่านหลายท่าน   เป็นผู้ชอบซื้อหนังสือ  เห็นราคาถูกและเล่มที่ต้องการเป็นต้องซื้อเก็บ
ด้วยเหตุผลว่า  ชิงซื้อไว้ก่อน  เวลาจะใช้  จะได้ไม่ต้องไปหาซื้อ   แต่พอซื้อมาแล้ว  ก็วางไว้เต็มกรุ
แต่ไม่เคยหยิบมาอ่านสักที  บางคนซื้อไว้มากจนตัวเองก็ไม่รู้ว่า  หนังสือเล่มนั้นมีแล้ว  พอไปเจอใหม่ก็ซื้ออีก
จนบางทีคนขายหนังสือต้องท้วงว่า  นี่ๆ  ลื้อเพิ่งซื้อเล่มนี้ไปเมื่อสองเดือนก่อนนะ  
คนซื้อบอกทันควันว่า  รู้แล้วๆ  แต่นี่อั๊วะต้องการเก็บไว้อีกเล่ม  เผื่อหาย  
นักอ่านที่ดีเขาต้องมีหนังสืออย่างละ ๒ เล่ม  หรือถ้าจะให้ดี  ต้องมี ๓ เล่ม
คนขายอยากได้เงินก็เลยขายให้แบบงงๆ   พลางคิดว่า  แล้วบ้านลื้อมันจะมีที่เก็บหนังสือหรือเนี่ย


สหายมือฉมังหนังสือแปลท่านหนึ่ง   บอกว่า   นี่คุณทำให้ฉันต้องรื้อจัดโกดังหนังสือครั้งใหญ่นะ  เหนื่อยชะมัด
ผมก็บอกเขาไปว่า   โถ  สหายเอ๋ย    ผมน่ะรื้อจัดห้องเก็บหนังสือทุกๆ ๒ เดือนนะ   จัดทุกครั้งกินเวลา  ๒ อาทิตย์
แถมเสียเวลาจัดรื้อหลายวัน  เพราะต้องทำงานไปด้วย  และเวลาจัดก็มักจะเสียเวลาอ่านหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ไปด้วย
(เอ๊ย  เล่มนี้ยังไม่ได้อ่าน   เล่มนั้นกำลังหาเมื่อเดือนก่อน  เพิ่งเจอ    อ้า เล่มตรงนั้นน่าสนใจ  เอามาอ่านอีกทีซิ)

ก็ถ้าอ่านกระทู้นี้แล้ว  เกิดความตั้งใจที่จะรื้อกรุหนังสือของท่าน  
ก็ให้ถือเสียว่า  ท่านกำลังจะได้สำรวจสมบัติอันมีค่าของท่านแล้ว
ก่อนที่มันจะกลายเป็นอาหารชั้นดีของปลวก หนอนหนังสือ และแมลงอื่นๆ   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 09:37

ไปเปิดตู้ จามเสียห้าหกที กว่าจะหากรุหนังสือเก่าเจอ    เล่มนี้คุณหลวงเล็กคงมีแล้ว


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 09:54

ขอบคุณคุณเทาชมพูครับ  เล่มนี้  ผมมีเหมือนกันครับ
พระราชนิพนธ์พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ภาษาบาลี
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๔
เป็นหนังสือหาอ่านยากอีกเล่ม
จำได้ว่า  มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ  เคยพิมพ์ซ้ำครั้งหนึ่ง 


หลายวันก่อน  ผมนั่งนึกอยู่ว่า  เคยเห็นประกาศรัชกาลที่ ๔
เรื่องสัญญาบัตรขุนนาง  ในหนังสือเล่มไหนหนอ  นึกเท่าไรก็นึกไม่ออก
ในประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ก็ไม่มี  ในพระบรมราชาธิบายรัชกาลที่ ๔ ก็ไม่มี
เพิ่งเจอเมื่อวันก่อน  ในหนังสืองานศพนางวิมานวัชรี 
เรื่องประชุมพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๔  (ที่ตกสำรวจ)


การค้นรื้อกรุหนังสือ  ควรมีผ้าปิดจมูกด้วยครับ  ไม่เช่นนั้นก็จามแย่ครับ ยิ้ม
แนะนำด้วยความเป็นห่วงสุขภาพครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 10:10

คุณ overhaul กรุณาเอาหนังสือในกรุมาให้ชม ๒ เล่ม

เล่มแรก  พระธรรมเทศนาในการบำเพญกุศลถวายฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ของประชาชนทั่วพระราชอาณาจักร  วันที่ ๑๒  พฤศจิกายน  ร,ศ, ๑๒๙  เล่มนี้หายาก   (แต่ผมมีเหมือนกัน)

เล่มสอง  ตำรากงเต๊ก แลตำรากบินของพระสงฆ์อานัมนิกาย พิมพ์ในโอกาสบำเพ็ญพระราชกุศพพระบรมศพรัชกาลที่ ๖ ครบศตมาหะ (หรือศตมวาร) (เล่มนี้ผมก็มี)  ขอให้สังเกตว่า  หุ้มแพร  พระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะศิริ) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร  ในครั้งนั้นได้พิมพ์หนังสือฉลองพระเดชพระคุณรัชกาลที่ ๖ หลายเล่ม   
ไม่ทราบว่า  คุณ overhaul พอจะมีหนังสืองานศพของพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะศิริ) หรือประวัติของท่านบ้างไหม ครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 10:34

ผมมีไฟล์(word)หนังสืองานศพ อยู่หลายสิบเล่ม
ก็อยากจะแบ่งกันอ่าน แต่ผมโพสไม่เป็น
ส่งเป็นแต่เมลืถ้าใครสนใจ ส่งเมล์มาแล้วกันครับ
จะถ้าไปแบ่งกันต่อ
ลองดูตัวอย่างเรื่องที่ผมมีครับ
ถ้าใครสนใจลองโพสเมล์มานะครับ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๗
เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส
ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา
ตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือแลแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ
ภาค ๔

 พิมพ์ในงารศพ
คุณหญิงผลากรนุรักษ  (สงวน เกาไศยนันท์)
เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙

พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร


หนังสือชุดประชุมพงศาวดารนี้เป็นหนังสืองานศพชุดสำคัญที่หายาก  โดยเฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรก  ทราบว่า   ประชุมพงศาวดารฉบับพิมพ์ครั้งแรก ครบชุด ราคาขึ้นหลักแสนแล้ว  ผมมีเล็กน้อยๆ บางเล่ม  (แค่เล่มเดียว  ราคาก็หลายร้อย เป็นพันก็มี) 

นอกจากจะอ่านเนื้อเรื่องพงศาวดารในแต่ละเล่ม  (ทั้งหมด ๘๒ ภาค  ถ้าจำไม่ผิด) แล้ว  ที่น่าสนใจคือประวัติผู้วายชนม์  หาอ่านยาก   โชคดี  ที่เดี๋ยวนี้มีคนใจดีเอามาใส่ไว้วีกิซอร์ซ   พอหาอ่านกันได้ง่ายหน่อย   แต่รสชาติก็ไม่เท่าอ่านจากต้นฉบับแท้ๆ

ในชุดประชุมพงศาวดารเรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส รู้สึกจะแบ่งพิมพ์ออกเป็น ๕ - ๖ เล่ม เป็นการแปลเอกสารฝรั่งเศสที่หอพระสมุดวชิรญาณได้สั่งซื้อเข้ามาเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยเฉพาะเลย   ในชุดนี้  ผมมี ๓ เล่ม  ซึ่งเจ้าของเดิมเขาเย็บเข้าเป็น ๑ เล่มใหญ่ปกแข็ง  ไว้ว่างๆ จะเอารูปมาลงให้ดู
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 10:54

ไหนๆก็จามไปแล้ว  เอาหนังสือมาให้ดูอีกเล่ม
เรื่อง "ตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์" น่าจะพิมพ์หลายครั้ง หลายวาระ  หาไม่ยากสำหรับนักสะสม
ดิฉันซื้อเล่มนี้เพราะชอบว่าภาพประกอบยังชัดเจนดี  แม้ว่าปกคร่ำคร่า ต้องหยิบจับอย่างทะนุถนอม     
ข้างในมีภาพเจ้าพระยาบางท่านที่ไม่เคยเห็นที่อื่นเลย เช่นเจ้าพระยาพิชัยญาติ(ดั่น บุนนาค)ในวัยค่อนข้างหนุ่ม     เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต(แย้ม ณ นคร)   เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) ฯลฯ
ซื้อมาในยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ต   ค้นข้อมูลต้องหาทางหนังสืออย่างเดียว   
แต่จะคว่ำหนังสือสแกนรูปให้ดู  ก็ยังใจไม่ถึง  ต้องหาทางก่อนค่ะ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 13:22


หนังสือชุดหนึ่งราคาขึ้นหลักแสน   อิอิ

หนังสืองานศพบางชุด ราคาเกินครึ่งล้าน  ก็มี

เคยนั่งในที่เกิดเหตุที่แลกหนังสือสุดหายากยอดนิยม  เห็นการเปลี่ยนมือ(เขาไม่รู้จะไล่สาวน้อยได้อย่างไร เพราะไปก่อนแล้วนั่งเก้าอี้ด้านในสุด)

ผู้คนค่อยๆทยอยเข้ามาทีละคน   ทีละคน  จนเต็มห้อง   อาจารย์ญี่ปุ่นก็มา  มหาเศรษฐีเล่นรถเก่าก็มา    อาจารย์มหาวิทยาลัยที่แสนงอนก็มา

ดร.ที่แสนสุภาพก็มา ..........ขอหัวเราะหน่อย......

หนังสือระดับนี้ขายหน้างานค่ะ  คือคนที่ซื้อติดต่อลูกค้าทางโทรศัพท์ระหว่างรื้อกองหนังสือ  และจ่ายเงินสดทันทีครึ่งหนึ่งก่อน

ดิฉันตามไปดูของเหลือๆในกล่องพิเศษ   แหมเป็นบุญตัวจริง ๆ

ขายกันไปได้  แผ่นละสองพันบาท      ซื้อแล้วเก็บเข้าตู้หลุยส์  อ่านก็ไม่อ่าน...
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 14:07

หนังสือเรื่อง "ตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระสมมตอมรพันธ์ ทรงรวบรวมและทรงเรียบเรียง  เคยพิมพ์มาแล้วอย่างน้อย  ๕ ครั้ง

ครั้งแรก  เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) พิมพ์แจกเนื่องในโอกาสทำบุญอายุครบเท่าไร?  ๗๐ ปี?  จำไม่ได้  เมื่อปี ๒๔๖๑   ฉบับครั้งแรกนี้   จำได้จะไม่มีรูปภาพ พิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ  ๑๗๙ หน้า

ครั้งที่ ๒ น่าจะเป็นฉบับที่คุณเทาชมพูนำมาแสดงนี้  เป็นฉบับปรับปรุงแก้ไข ใส่รูปภาพ และเพิ่มเนื้อหา โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ ให้เป็นปัจจุบัน (ในขณะนั้น)  เคยไปเจอที่ร้านหนังสือขาประจำ แต่หลุดเป็นแผ่นๆ  คนขายพยายามตื้อให้ซื้อให้ได้   แต่เห็นสภาพแล้ว   ซ่อมไม่ไหว  เลยไม่เอา  ฉบับนี้  มี ประมาณ  ๒๐๐ หน้า 

ครั้งที่ ๓  โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี พิมพ์เมื่อ ๒๕๑๒  แจกในงานศพหม่อมหลวงชูชาติ  กำภู   อันนี้เข้าใจว่า น่าจะมีการแก้ไขและเพิ่มเติมด้วย   มีประมาณ  ๑๖๐ หน้า  ฉบับนี้เห็นบ่อย

ครั้งที่ ๔  มีสำนักพิมพ์อะไรสำนักหนึ่งเอามาพิมพ์  ปกอ่อนสีน้ำเงิน 

ครั้งที่  ๕  คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุ พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พิมพ์เนื่องในโอกาสการพระราชพิธีสมมงคลเมื่อปี ๒๕๔๕  ปกแข็งสีน้ำเงิน แข็งแรงดี หนาประมาณ  ๔๐๐ หน้า    ปัจจุบันน่าจะราคา ๓๐๐ บาทเศษ  ถ้าแพงหน่อยก็น่าจะราวๆ ๕๐๐ บาท 
 ตกใจ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 14:20

ตั้งแต่ตั้งกระทู้มา เราได้หนังสืองานศพบุคคลตามโจทย์แล้ว ดังนี้
(ที่ใส่ดอกจัน หมายถึง พบหนังสืองานศพแล้ว)

***๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

***๒.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

***๓.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร

๔.สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

***๕.สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

***๖.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

***๗.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๘.พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช

***๙.พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

๑๐.เจ้าจอมมารดาอ่อน  ในรัชกาลที่ ๕


***๑๑.เจ้าพระยารามราฆพ  (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)

***๑๒.เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม)

๑๓.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)

๑๔.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา  (ก้อน  หุตะสิงห์)

๑๕.พลตรี  หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช

***๑๖.พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

๑๗.พระยาปดิพัทธภูบาล  (คอยูเหล  ณ  ระนอง)

๑๘.พระยาสุริยานุวัตร (เกิด  บุนนาค)

***๑๙.ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี

***๒๐.ท่านผู้หญิงกลีบ  มหิธร


๒๑.หมอบรัดเล

***๒๒.นายมาลัย  ชูพินิจ

***๒๓.นายสด  กูรมะโรหิต

๒๔.พลโท  อัมพร   ศรีไชยันต์

๒๕.หม่อมสนิท  กฤดากร

๒๖.นายนราภิบาล  (ศิลป์  เทศะแพทย์)

๒๗.เสวกโท  หลวงมหาสิทธิโวหาร  (สอ  เสถบุตร)

๒๘.นายภาวาส  บุนนาค

***๒๙.ร้อยเอก  ขุนทวยหาญพิทักษ์  (เหล็ง  ศรีจันทร์)

***๓๐.คุณหญิงมณี สิริวรสาร


เหลืออีกไม่มาก   ถ้าใครมีภาพหนังสือที่ได้เอ่ยชื่อไปแล้ว แต่ยังไม่ภาพแสดงนำมาแสดงได้นะครับ   ไม่เกี่ยงสภาพ   

ถ้าใครมีหนังสืองานศพตามโจทย์ที่ต่างออกไปจากที่ได้แสดงและอ้างชื่อไปแล้ว  ก็เชิญนำเสนอได้นะครับ   ถือว่าเป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่านทั่วไป

ส่วนใครมีหนังสืองานศพที่แม้จะไม่ตรงตามโจทย์ข้างต้น  แต่ต้องการนำเสนอข้อมูล  ก็เชิญลงได้อีกเช่นกัน  เพื่อความคึกคักของกระทู้

อนึ่ง  ท่านที่จะมาเพิ่มเติมกระทู้ต่อไป  ถ้าหนังสืองานศพที่ท่านครอบครองนั้น มีข้อมูลอะไรที่สำคัญ  เช่น ปีที่พิมพ์ โอกาสที่พิมพ์  จำนวนหน้า  ข้อความสำคัญในคำนำ  เป็นต้น  อยากให้ช่วยลงเอาไว้ด้วย  เพื่อคนอ่านคนอื่นจะได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 02 ส.ค. 10, 14:39

หนังสือเรื่อง "ตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระสมมตอมรพันธ์ ทรงรวบรวมและทรงเรียบเรียง  เคยพิมพ์มาแล้วอย่างน้อย  ๕ ครั้ง


ครั้งที่ ๒ น่าจะเป็นฉบับที่คุณเทาชมพูนำมาแสดงนี้  เป็นฉบับปรับปรุงแก้ไข ใส่รูปภาพ และเพิ่มเนื้อหา โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ ให้เป็นปัจจุบัน (ในขณะนั้น)  เคยไปเจอที่ร้านหนังสือขาประจำ แต่หลุดเป็นแผ่นๆ  คนขายพยายามตื้อให้ซื้อให้ได้   แต่เห็นสภาพแล้ว   ซ่อมไม่ไหว  เลยไม่เอา  ฉบับนี้  มี ประมาณ  ๒๐๐ หน้า 


เล่มที่มีอยู่ในมือ  พิมพ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๗๔  (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๑ ปี)   โดย มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยามุขมนตรี  (อวบ  เปาโรหิตย์) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านน้อย เปาโรหิตย์ ผู้มารดา    หนา ๑๙๙ หน้า

มีพระนิพนธ์คำนำของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เล่าถึงความเป็นมาของหนังสือ ที่กรมพระสมมติฯ ทรงรวบรวมขึ้นจากจดหมายเหตุ     เล่มนี้สมเด็จฯทรงมาปรับปรุงรายชื่อเจ้าพระยาที่ยังขาดอยู่ในการพิมพ์ครั้งแรก ให้สมบูรณ์

ส่วนประวัติท่านน้อย   เป็นธิดาหลวงจิตร์จำนงวาณิช(เส็ง  ตัณฑเสน)กับท่านฉ้าย   สมรสกับขุนศรีธรรมราช (สมบุญ เปาโรหิตย์) มีบุตรชายหญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ในพ.ศ. ๒๔๗๔  คือคุณหญิงชุ่ม ภรรยาพระยาธรรมศาสตร์นาถประนัย (จุ้ย สุวรรณทัต)   เจ้าพระยามุขมนตรี  และหม่อมชุ่ม ดิศกุล ณ อยุธยา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง