เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 105565 ตามล่าหาหนังสืองานศพ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 06:15



ขอแก้ไขข้อมูลว่าผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยใน ๑๘๖๐  คือบิดามารดาของคุณพระค่ะ

เร็บเวอเรนด์ เอส. เจ. แมคฟาร์แลนด์  ผู้ดำเนินงานในเพ็ชรบุรีอยู่ ๑๗ ปี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 07:18



ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช

พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยารัษฏานุประดิษฐ์(สินธุ์  เทพหัสดิน  ณ อยุธยา)ต จ ว, ต ช, ตม, ร จ พ,

ปีมะเมีย  พ.ศ. ๒๔๗๓

โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร



ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๗๒ หน้า ๓๖๐๙ - ๓๖๑๐

บิดา          พระยาไชยสุรินทร์(เจียม  เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
เกืด          วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๑๘
ถึงแก่กรรม  ๒๕​ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๗๒
รับราชการเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๓
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า   ตรัง  สมุทรสงคราม  นครศรีธรรมราช


เจ้าพระยาธรรมศักดิมนตรี  น้องชาย   เรียบเรียงประวัติ
เรียนหนังสือที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  สอบไล่ได้จบวิชาของโรงเรียน คือประโยคที่ ๒   ได้เรียนภาษาอังกฤษเล็กน้อย

เมื่ออยู่สตูล ได้พยายามเรียนภาษามลายูจนมีความรู้ ได้ประโยชน์ในราชการ

พระยารัษฏานุประดิษฐ์ เป็นนักเลงโดยกำเนิด  คำนักเลงในที่นี้หมายความตามที่ควรว่า มีใจเป็นนักเลงอย่างนักกีฬา

ใครเล่นอะไร  น้อยอย่างที่ท่านจะไม่เล่นด้วย  เล่นว่าวที่ตัวโตกว่าตัวเอง  ปีนหลังคาถนัดมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะเล่นว่าว

เก็บดวงตราไปรษณีย์ ฯ  เลี้ยงปลากัน  ปลาเข็ม  ปลาเงินปลาทอง  เตะตะกร้อ  ตีกระบี่กระบอง  แทงบิลเลียด  ดีดจะเข้ได้เก่งพอใช้

เมื่อเป็นหนุ่มคะนองได้เป็นนักเลงผู้หญิงกับเขาหน่อย  เมื่อเป็นผู้ใหญ่บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญแล้วจนตราบวายชนม์ได้เป็นนักเลงอารามิกอย่างน่านับถือ



กรุณาสัตว์  รักเด็ก  สงสารผู้ตกยาก   แจกเสื้อผ้าและเงินให้นักโทษที่พ้นโทษเดินทางกลับบ้านแถมให้โอวาท

ด้วยพระอุปการแห่งสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้  พระยารัษฏา ฯ

ได้จัดการสถาปนาและยกช่อฟ้าใบระกาวัดบรมธาตุแห่งจังหวัดนครศรีธรรมราช



       สำหรับตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชว่าต้นสกุลมาจากเมืองรามนคร   ที่เรียกกันว่ารามราชนครนี้เป็นแต่โวหาร

พวกพราหมณณโหรดาจารย์เมืองพัทลุงว่าต้นสกุลสืบมาแต่เมืองพาราณสี   สอบได้ความว่าเป็นจังหวัดอันเดียวกันนั้นเอง

วังอันเป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครพาราณสี  ยังเรียกว่ารามนครอยู่จนทุกวันนี้

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 08:20

คุณ Wandee เล่าไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้ว่า  กลุ่มนักอ่านหนังสือเก่ากำลังรวบรวมเรื่องมิชชันนารีที่แรกเข้ามาสู่สยามนั้น

ขอเรียนเสนอแนะให้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งพิมพ์ตอนปลายรัชกาลที่ ๖  ผมจำชื่อหนังสือไม่ได้แต่เคยสำเนาจาก "ห้องวิจิตรวาทการ" ในหอสมุดแห่งชาติส่งไปให้เพื่อนที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  ซึ่งกำลังรวบรวมประวัติความเป็นมาและบทบาทของมิชชันนารีในเมืองไทย  หนังสือเล่มนั้นเป็นภาษาอังกฤษจำชื่อเรื่องไม่ได้   จำได้แต่ว่าเป็นการรวบรวมผลงานของมิชชันนารีในรอบ ๑๐๐ ปีที่เข้ามาเมืองไทยนับแต่รัชกาลที่ ๓ - ๖  เป็นผลงานของหมอแมคฟาร์แลนด์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 12:14


ขอบคุณค่ะ  คุณวีมีืีที่เคารพ


          จะต้องอ่านให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ  เอกสารภาษาอังกฤษที่มีอยู่ตามองค์การและมหาวิทยาลัยใหญ่ๆทั่วโลก

เวลานี้เข้าถึงได้แล้ว  บันทึกที่มิชชันนารีเก็บเอง หรือรายงานที่เขียนกลับไปที่สำนักงานใหญ่ก็เปิดได้แล้ว

อ่านแล้วก็ได้ความรู้ละเอียดขึ้น        มิชชันนารีบางคนพอเข้ามาจากปากน้ำ เห็นสยามเข้าก็ประกาศว่าจะทำให้เป็นแผ่นดินของพระเจ้าให้ได้

ว่าแล้วก็เปิดหีบยาและบทสอนศาสนาออกแจกคนจีน       แล้วก็เขียนรายงานกลับไปที่ต้นสังกัดด้วยความภาคภูมิใจ     


       
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 13:44


ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒

หม่อมเจ้าปิยภักดีนารถพิมพ์แจกในงานปลงศพสนองคุณหม่อมบาง  หม่อมมารดา

ปีมโรงอัฐศก  พ.ศ. ๒๔๕๙

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย  ณ สพานยศเส


         หม่อมเจ้าปิยภักดีนารถเป็นกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ  เลือกหนังสือส่งมาให้สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ เลือกหลายเล่ม

ประสงค์จะพิมพ์เป็น ๒ เล่มอุทิศส่วนกุศลถวายสนองพระเดชพระคุณ พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหมื่นวิศนุนารถนิภาธร พระบิดา เล่ม ๑

อีกเล่ม ๑ อุทิศกุศลสนองคุณหม่อมบาง  หม่อมมารดา

       หนังสือที่พิมพ์ในเล่มนี้คือ

๑.   หนังสือทำวัตร  อาราธนากรรมฐาน  วิปัสนาภาวนาแลคาถากรวดน้ำ  ทั้งอรรถแลแปล        ต้นฉบับเป็นตัวทอง  เขียนในรัชกาลที่ ๑

      หม่อมเจ้าปิยภักดีนารถมีแต่ตอนปลาย  ค้นตอนต้นสมุดเล่มเดียวกันนั้นได้ในหอพระสมุด

๒.   เรื่องธรรมยุทธอุปมา  นายทองราชบัณฑิตย์แต่งถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ฉบับอาลักษณ์ชุบทานเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕

๓.   ตำราสร้างพระพุทธรูป   แต่งในรัชกาลที่ ๓  บอกชื่อช่างฝีมือดี

๔.   นิพพานสูตรคำฉันท์  หนังสือเก่า  ไม่ทราบชื่อผู้แต่งและปีแต่ง  สำนวนเก่าและแต่งดี


       หม่อมบางเกิดในตระกูลคฤหบดี ปี ๒๓๗๗         
ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.​๒๔๕๘

บ้านเดิมอยู่ใกล้ถนนบำรุงเมือง        มีหม่อมเจ้า ๔ พระองค์ คือ

หม่อมเจ้าหญิงใหญ่  สิ้นชีพตั้งแต่เยาว์

หม่อมเจ้าหญิงยุพี

หม่อมเจ้าชายปิยภักดีนารถ  เกิดปีมเสง พ.ศ.​๒๔๐๐  รับราชการในกระทรวงพระคลังมาหลายตำแหน่ง

หม่อมเจ้าหญิงวงแข

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 14:45

เรื่องช่างมีชื่อนั้น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติพงษ์  มีลายพระหัตถ์ ลงวันที่

วันที่ ๖ มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๕๗  กราบทูล กรมพระดำรงราชานุภาพ    อธิบายว่า


       คำไหว้ครูนี้เห็นจะแต่งในรัชกาลที่ ๓  ถูกต้องตามที่หม่อมเจ้าปิยภักดีว่า          ด้วยช่างที่ออกชื่อไว้นั้น

เป็นช่างในรัชกาลที่ ๓ หลายคน      ที่ออกชื่อเหล่านั้นคงเป็นรุ่นใหญ่  ซึ่งเป็นคนหลักแหลมมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ฤาที่ ๒ แล้ว

สมควรยกย่องได้ทั้งสิ้น        ช่างฝีมือดีในรัชกาลที่ ๓ ยังมีอีกมาก      แต่คงเป็นรุ่นเดียวกับผู้ไหว้   จัดว่าเป็นเพื่อนช่างรุ่นเดียวกันแล้ว  ไหว้ไม่ได้จึงไม่มีชื่อ


๑.  เพชวกรรม

       ในรัชกาลที่ ๑ ได้ยินฤาชื่อคนหนึ่ง  เขียนห้องพระวิทูร  ในพระอุโบสถวัดอรุณ  ซึ่งไฟไหม้เสียแล้ว

ฝีมือดีสมควรยกย่องเป็นครูได้   ทราบว่าชื่อ สีเปีย   ชรอยเมื่อเด็ก ๆ คงไว้เปีย        ในคำไหว้ครูไม่มีชื่อเดิม      คงเป็นคนชั้นผู้ใหญ่มาก

ล่วงไปนานแล้ว   จนไม่รู้จักชื่อเดิม


๒.   ขุนเทพ      คนนี้ยุ่งนักหนา          เทพที่มีฝีมือได้ยินมาถึง ๓ คนคือ

      (๑)   เทพยนต์  เจ้ากรมช่างหุ่นที่ปั้นยักษ์ยืนหน้าหอพระธาตุมณเฑียร  กับหน้าโขนหน้าหุ่นเป็นอันมาก
             ฝีมือซึ่งเหลืออยู่ทำในรัชกาลที่ ๒ ทั้งสิ้น

      (๒)   หลวงเทพ  ฝีมือดีอย่างยิ่ง  ปั้นทั้งพระทั้งลิงและยักษ์  ปรากฎอยู่ที่ประตูพระระเบียงวิหารยอดวัดพระเชตุพน
             คือยักษ์ดีบุก ๒ คู่   และหน้าโขนตกอยู่ตามบ้านบ้าง  มักเป็นหน้าขนาดเล็กสำหรับสวมผู้หญิงเสียมาก  
             กาลก่อนนั้นลครผู้หญิงมีแต่ลครหลวง          มีชื่อเสียงมาตลอดรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓

      (๓)  หลวงเทพอีกคนหนึ่ง  มีชื่อเสียงกว้างขวางเป็นที่รู้จักดี

๓.    กัลมา   ได้ยินชื่อ  เป็นพ่อปลัดกรับ  ฝีมือปั้นหน้่ายักษ์ลำ่ ๆ
       แต่ไม่ได้ชื่อ สน       คงมาทีหลังกัลมาสน

๔.    พระยาชำนิรจนา  มีชื่อเสียงเลื่องฤา         พระยาชำนิรจนา มีหลายคน    ปั้นพระแต่ไม่ดียิ่งยวด  คงชำนาญการก่อสร้าง

๕     หลวงวิจิตรเจษฏา    ฟุตโน้ตว่าชื่อทองอยู่        ช่างเรียกกันว่าครูทองอยู่ คู่แข่งของคงแป๊ะ   เขียนประชันกันร่ำไป

๖.    ตามี  ได้ยินเรียกกันว่าตามีบ้านปุ  เขียนห้องภูริทัตในพระอุโบสถวัดอรุณ    ฝีมือดีแต่ไม่เอก

(ย่อความจากหน้า ๑๙ - ๒๓)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 17:29


       บุรฉัตรรานุสรณ์   เล่มสีเทา  ตราประจำพระองค์และตัวอักษรสีเขียว  หนา ๒๓๑ หน้า


งานพระราชทานเพลิงศพ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (ป.จ.)

ณ พระเมรุ  วัดเทพศิรินทราวาส

วันเสาร์ที่  ๑๘ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๒๔


       พระประวัติ

พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร  เป็นพระโอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕  พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

และ  พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์) พระมารดา

ประสูติ  เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๘


ทรงมีเจ้าพี่ เจ้าน้องร่วมพระบิดาเดียวกัน คือ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง มยุรฉัตร

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง  ยังไม่มีพระนาม สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร

หม่อมเจ้าหญิง ฉัตรสุดา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลฉัตร

หม่อมเจ้าหญิงกาญจนศักดิ์

หม่อมเจ้าหญิง ภัทรลดา

หม่อมเจ้าชายสุรฉัตร

หม่อมเจ้าหญิงเฟื่องฉัตร

หม่อมเจ้าหญิง หิรัญฉัตร

หม่อมเจ้าชายทิพยฉัตร

หม่อมเจ้าชาย พิบุลฉัตร


ทรงรับการศึกษาเบื้องแรก  ที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์

เมื่อพระชนม์ชันษา ๘ ขวบ  ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ บอร์มัธ  จบปริญญาเกียรตินิยมอันดับ ๒ จากออกซฟอร์ด


ทรงสมรสกับ หม่อมงามจิตต์ สารสาส  บุตรี พลโทพระสารสาสพลขันธ์​(ลอง  สุนทานนท์) และนางสาสาสพลขันธ์ (สวัสดิ์ อัศวานนท์)



งานที่ทรงไว้ด้วยนามปากกา "เปรมชายา"

บทละครเรื่องพระลอ  ๒๔๘๐  เรื่องแปล

คำโคลง  "Siamese Idyll"   ปี ๒๔๘๘

ร้อยแก้ว  "The Passing Hours"  ๒๔๘๘

เรื่องผจญภัย, รักใคร่, "พระอภัยมณี" (เรื่องแปล) ๒๔๙๖

เรื่องการท่องเที่ยว "World Tour"  ๒๔๙๖

เรื่องรักใคร่ผจญภัย "ขุนช้างขุนแผน" (เรื่องแปล) ๒๔๙๘

เรื่องการท่องเที่ยว  "Scandinavian Journey"  ๒๔๙๘

เรื่องการท่องเที่ยวประเทศบราซิล ๒๕๐๔

เรื่องการท่องเที่ยวประเทศไต้หวัน

คำโคลง "The Song Gran Moon" ๒๕๑๐

เรื่องวรรณกรรมไทยเบื้องต้น (ร้อยแก้ว)

คำโคลง "A Fragile Thing" ๒๕๒๒

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 17:37


        สุนทรภู่ไปยุโรป

        ปาฐกถา  ทรงแสดงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เดือนมกราคม ๒๕๒๓


        โปรดรอสักครู่   นักอ่านต้องอ่านอีกหลายรอบค่ะ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 20:54

อ้างถึง
คุณ Wandee เล่าไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้ว่า  กลุ่มนักอ่านหนังสือเก่ากำลังรวบรวมเรื่องมิชชันนารีที่แรกเข้ามาสู่สยาม

ดิฉันมีหนังสือเรื่อง "Siam Was Our Home" ของ Mary Bulkley Stanton ฉบับที่แปลเป็นไทย โดยกลุ่มศิษย์เก่าวัฒนารุ่น 100 ใช้ชื่อว่า "สยามคือบ้านของเรา" เป็นชีวะประวัติของ Edna Bruner Bulkley ซึ่งเป็น Missionary ของคณะ Presbyterian ที่เดินทางมาทำงานประเทศไทย โดยสอนหนังสือที่ โรงเรียนสตรีวังหลัง ร่วมกับ แหม่ม Cole

ต้องขออภัยเจ้าของกระทู้ที่เล่มนี้ไม่ใช่หนังสืองานศพ แต่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ค้นคว้าเรื่องของมิชชั่นนารีในเมืองไทย และหนังสือนี้ให้ภาพประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ได้อย่างน่าประทับใจมากค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 22:21


ขอบคุณมากเลยค่ะ    คุณ ร่วมฤดี     อยากคุยเรื่องอะไรก็เชิญนะคะ  ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสืองานศพ  จะใหม่หรือเก่าก็ขอน้อมรับฟัง

โปรดนึกว่าเราปูเสื่อไว้ผืนเบ้อเริ่ม  แล้วมาญาติมิตร..เอ้ย! คุยกัน



       คุณหลวงเล็กท่านมีหนังสืออ้างอิงมากมายมหาศาล   ดิฉันเองก็อ่านไปทั่วเพราะมีเพื่อนเป็นนักอ่านทั้งนั้น

หนังสือมีเก่าโบราณบ้าง   กลางเก่ากลางใหม่บ้าง  แต่ก็คัดลอกที่เป็นข้อมูลใหม่  หรือหาอ่านยากซักหน่อย  หรือไม่มีผู้เขียนถึงนานแล้ว

เรื่องหนังสือเก่านี่ไม่ใช่ว่าจะนับอายุ ๑๐๐ ปีขึ้นไปนะคะ   เนื่องจากการพิมพ์พึ่งเริ่มขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๓  หรือจริงๆก็รัชกาลที่ ๔   

ท่านผู้อาวุโสในวงการก็ตกลงกันว่า นับกันที่หนังสือที่พิมพ์ภายในระยะเวลา ๕๐ ปี เมื่อแรกมีการพิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคิดคร่าว ๆ แล้วก็เป็นเวลาในรัชกาล

ที่ ๓  รัชกาลที่ ๔  และ เกือบทั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

       สมัยก่อนเอกสารโบราณเช่น บางกอกรีเคอเดอร์ และสยามไสมย ไม่มีการพิมพ์ใหม่         สมัยนี้มีแล้ว  นักอ่านก็สุขใจหาใดปาน(เหมือนเพลงโปรดในนวนิยายเรื่องเศรษฐีอนาถา)

Public Record Office  ของประเทศอังกฤษเราก็เข้าถึงได้่ค่ะ   ได้ข้อมูลแปลก ๆ มาเหมือนกัน   ยังไม่มีการนำมาเขียนบทความในเมืองไทย

     วันหน้าเราจะคุยกันเรื่องวรรณคดีที่เป็นที่นิยมเช่น ขุนช้างขุนแผน  หรือสังข์ทอง   ขอชวนมาแจมกัน

     ขอตีตั๋วไว้ก่อน  อิอิ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 21 ส.ค. 10, 23:16


       ปาฐกถา  ทรงแสดงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เดือนมกราคม ๒๕๓๒ (หน้า ๑๓๕ - ๑๔๕) ถอดเทป โดย คุณอัมพร  สโมสร


ย่อความ

       ชื่อของสุนทรภู่  เกียรติศักดิ์ของท่านไปถึงหลายประเทศในยุโรปแล้ว  และบางเมืองในอเมริกาด้วย        ราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษก็รู้จักท่านแล้ว

ในประเทศเดนมาร์กได้แปลพระอภัยมณีแล้ว    ทั่วสหภาพโซเวียตก็พอจะรู้จักสุนทรภู่และพระอภัยมณีของท่าน  เพราะโรงพิมพ์ของรัฐได้พิมพ์ออกมาเป็นภาษารัสเซีย


       สำคัญอย่างไรที่เราจะให้โลกรู้จักสุนทรภู่และวรรณกรรมของไทย    ข้าพเจ้าเห็นว่าสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะถ้าเราดูประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย

โดยเฉพาะประเทศใหญ่ ๆ อย่าง อิหร่าน       โลกจะลืมไม่ได้ว่าประเทศอิหร่านได้ให้จินตกวีที่สำคัญของชาติอิหร่านไว้กับโลก  คือโอมาร์คยาม

วรรณคดีจีนก็ได้แปลออกเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา    ญี่ปุ่นก็ส่งวรรณคดีญี่ปุ่นไปต่างประเทศ    อินเดียก็มีจินตกวีหลายท่านได้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ข้าพเจ้าเห็นว่าวรรณกรรมชิ้นเอกของเราไม่แพ้วรรณกรรมของชาติใด  ถึงอาจจะมีน้อยกว่าเขา   แต่ในประเทศเอเชีย  เราไม่แพ้ประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของเรา


       วรรณกรรมของไทยมีงานชิ้นเอกหลายเรื่องที่ควรเป็นที่รู้จักทั่วไป   แต่เราขาดผู้แปลที่สามารถจริง ๆ    เราต้องยอมรับ  หาได้ยากจริง ๆ

ไม่ใช่ว่าดูถูกคนไทยด้วยกัน  เรามีแต่คนที่มีความสามารถ  แต่ท่านไม่มีเวลา       

ศาตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลไว้เยอะ    ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมชก็เคยแปล


ข้าพเจ้าได้แปล  และดัดแปลงเรื่องพระอภัยมณี  พิมพ์มาได้ ๒๕ ปีแล้ว  แปลเป็นภาษาอังกฤษ   แปลเป็นภาษาเดนมาร์ค  ภาษารัสเซียแล้ว 

กำลังจะแปลเป็นภาษาโปแลนด์    ต่อไปจะแปลเป็นภาษารัสเซีย   ที่ประเทศเยอรมันกำลังพิจารณาว่าจะแปลอย่างไร


       การแปลนี้ขอให้จำว่าไม่ใช่ของง่าย   ข้าพเจ้าเคยแปลนิราศเมืองแกลงได้ครบถ้วน   สุนทรภู่แต่งไว้เมื่ออายุยังไม่ถึง ๒๑   ผู้แปลจะต้อง

เอาตัวของผู้แปลสวมไปในวืญญาณของท่านจินตกวีให้ได้   ความรู้สึกเหมือนกัน   และจะต้องศึกษาว่าสิ่งแวดล้อม  ของที่แปล   เรื่องที่แต่งไว้

ถูกต้องตามแบบฉบับเดิมหรือไม่


       ราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษได้เชิญข้าพเจ้าให้ไปบรรยาย  ซึ่งเขาไม่ค่อยเชิญใคร  ยิ่งชาวเอเชียเขาไม่ค่อยอยากเชิญ

พอข้าพเจ้าเลือกวรรณคดีไทย   และจะอ่านขุนช้างขุนแผนมีบทอัศจรรย์    เขาตกใจมาก  บอกว่า "แหม   ราชบัณฑิตของเรา

แก่แล้วเดี๋ยวจะช๊อค ถ้าอ่าน"   แล้วไปดูหน้าปกเลยช๊อคใหญ่   ข้าพเจ้่าเลยบอกว่างั้นจะไม่อ่านตรงบทอัศจรรย์   อ่านตอนอื่น   เขาก็ชอบ



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 22 ส.ค. 10, 11:03


จดหมายเหตุเรื่องทัพเชียงตุง

พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร

โปรดให้พิมพ์เปนครั้งแรก

เปนของแจกในงานศพ

พลเรือตรี พระยานาวาพยุหรักษ์

(ม.ว พิณ  สนิทวงศ์  ณ กรุงเทพ)

ปีมโรง  พ.ศ. ๒๔๕๙

หนังสือปกแข็งสีเลือดหมู   ตราหอพระสมุด และต้วอักษรสีทอง  หนา ๑๖๒  หน้า

โรงพิมพ์ไทย  ถนนรองเมือง

สังเกตว่า ม.ว  คงจะเป็นคำย่อของ ม.ร.ว. ในเวลานั้น เพราะเขียนไว้ที่ใบรองปก  และ เนื้อเรื่องด้านในอีกสองสามแห่ง


       เคยอ่านประวัติพระยาสีหศักดิ์สนิทวงศ์(ม.ร.ว. ถัด  ชุมสาย)  จำ ม.ร.ว. พิณ  สนิทวงศ์ ญาติของท่านได้ดี ว่าโตมาด้วยกัน และชวนกันซนมากทีเดียว

การที่มีตัวตั้ง หรือ เป้าหมาย target นั้น   ทำให้เข้าใจเหตุการณ์และจำบุคคลในสมัยของท่านได้ เพราะคุณถัดเขียนหนังสือสนุกมาก เปี่ยมสาระ เล่าเรื่องสำคัญ ๆ ทั้งสิ้น

       ได้กลับมาสนใจเรื่องสงครามเชียงตุงใหม่เมื่อไม่นานมานี้เอง     เพราะฮะรีปัก ที่เข้ามากับเซอร์จอนเบาริ่งสนใจเรื่องนี้อยู่  ได้ไต่ถามข้าราชการไทยว่าสรุปแล้วเกิดอะไรขึ้น

แสดงว่าข้าราชการของอังกฤษนั้นทีความสนใจในการเมืองของสยามมาโดยตลอด


       สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ นิพนธ์ไว้ว่า  เรื่องสงครามเชียงตุงเป็นเรื่องสำคัญในพระราชพงษาวดาร  ผู้ที่รู้เรื่องจริงมีน้อย

มักพูดกันไปข้างติเตียน  พากันเข้าใจว่าความเสื่อมเสียอยู่ในกรมหลวงวงษา       


บัญชีเกณฑ์ทัพ หน้า ๑๒ - ๑๗  นั้นละเอียด   น่าศึกษาต่อมาก


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 22 ส.ค. 10, 11:51

ก้าวแรกของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

ขจร   สุขพานิช

พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ  หลวงบุณยมานพพาณิชย์ "แสงทอง"

ณ เมรุวัดมกุฏกบัตริยาราม

วันที่ ๑  ธันวาคม  ๒๕๐๘


     หนังสือพิมพ์ของไทยเมื่อต้นรัชกาลที่ ๔ นั้น มี ๖ ฉบับ   หมอบรัดเลย์มีส่วนจัดออกหนังสือถึง ๕ ฉบับ

อาจารย์ขจรชมครูสมิทว่าภาษาดีกว่าบรัดเลย์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 22 ส.ค. 10, 16:53

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์​(จาด)

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ

พลโท  พระยากลาโหมราชเสนา(เล็ก  ปาณิกบุตร)
ณ  สุสานหลวง  วัดเทพศิรินทราวาส

วันที่ ๒  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๐๒



       พระราชพงศาวดารฉบับนี้  เป็นเรื่องที่หาอ่านได้ทั่วไป  ไม่ต้องทุกข์ยากลำบากกาย

แต่ประวัติท่านเจ้าคุณน่าสนใจอยู่ที่ เจ้าคุณปู่  ต้นสกุลปาณิกบุตร  คือพระยามหาเทพ(ทองปาน)

เดิมเป็นจมื่นราชามาตย์   ที่มีผู้แต่งเพลงยาวค่อนแคะว่า

"มิเสียทีที่เขามีวาสนา  แต่เห็น ๆ ที่ได้เป็นขุนนางมา    ไม่เหมือนราชามาตย์ในชาตินี้"

(มีก.ศ.ร. กระซิบ เรื่อง ธิดาของท่านอีกสองคน  ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหน   เมื่อมีเวลาก็จะได้เรียบเรียงมาฝาก/วันดี)




พระยากลาโหมราชเสนา  เป็นบุตรของ พันโท พระพิทักษ์ยุทธภัณฑ์(เทศ) และ นางพิทักษ์ยุทธภัณฑ์(ปริก)

เกิดที่บ้านริมวัดดุสิตาราม  ธนบุรี 

วดปก                ๒๘​ เมษายน  ๒๔๒๒

พี่น้องร่วมบิดามารดา   ๖​ คน

หม่อมละม้าย  เกษมศรี  ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ

ละมุน  ถึงแก่กรรมเมื่อเยาว์

หม่อมเล็ก(ละม่อม) สุขสวัสดิ์   ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงอดิศรอุดมเดช

นายแป๊ะ

พระนมจำเริญ  เกษมศรี   ในหม่อมเจ้าสมบัติบริบูรณ์  เกษมศรี   พระนมในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลวงศรีอายัติ(พลอย)  ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม


เจ้าคุณปู่ของพระยากลาโหมราชเสนา  มีธิดาคือ ท่านน้อย  สมรสกับ นายศัลวิไชย(ทองคำ)มหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓

ท่านน้อยเป็น น้อง  ของพระพิทักษ์ยุทธภัณฑ์  จึงเป็น อา ของเจ้่าคุณกลาโหม

ท่านน้อยเป็นมีธิดา คือเจ้าจอมมารดาสังวาลในรัชกาลที่ ๔

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ

พระองค์เจ้าชาย  เจริญรุ่งรังษี  สิ้นพระชนม์แต่เยาว์

พระเจ้าบรมวงษ์เธอ  พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร

       เจ้านายทั้งสามพระองค์คุ้นเคยกับเจ้าคุณกลาโหม  และ นับเป็นญาติ


พระยากลาโหมราชเสนา สมรสกับ  คุณหญิงกลาโหมราชเสนา(มิ) บุตรีพระจักรพรรดิพงษ์ กับ คุณแข

ไม่มีบุตรธิดา


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด เจ้าคุณ   สมเด็จพระพันปีก็โปรดปรานทั้งสามีและภรรยา

เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนเป็นพระยา   สมเด็จพระพันปีดำรัสแก่พระบ่ทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

"ใจลูกกับใจแมาทำไมจึงตรงกัน   แม่คิดว่าจะขอให้พระสุรเดชรณชิตเป็นพระยา  ลูกก็มาตั้งให้เสียก่อน"


     พระยากลาโหมราชเสนา ได้ยืนชิงช้าในพ.ศ. ๒๔๗๑    พิธีแห่หรูหราใหญ่โตมาก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 22 ส.ค. 10, 17:08


คำประพันธ์บางเรื่อง  ของ  พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม   กาญจนชีวะ  เปรียญ)

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ  นาวาอากาศตรี  หลวงอัมพรไพศาล(กฤษณ์  บูรณะสัมฤทธิ์)

ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร

วันที่ ๑๙  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๐๔

ผู้จัดพิมพ์คือ  ท่านผู้หญิง ยสวดี  อัมพรไพศาล ภรรยา

หนังสือหนา ๑๖๑ หน้า     น่าอ่าน

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.442 วินาที กับ 19 คำสั่ง