เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 105471 ตามล่าหาหนังสืองานศพ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 22:05

๒๒.   มาลัย   ชูพินิจ

เป็นหนังสือกว้าง ๙ นิ้ว  สูง ๑๑ นิ้ว  ปกสีขาว  มีชื่อ  มาลัย  ชุพินิจอยู่ด้านล่างซ้าย

มีชื่อนักประพันธ์หลายสิบท่านเป็นตัวอักษรเล็กๆกระจายอยู่ทั่ว

ปกรองที่สองมีรูปคุณมาลัย  ๒๔๔๙ - ๒๕๐๖

มีข้อความว่า             แม้นไม่เหลือมาลัยในปถพี
                            ก็ยังมีมาลัยคล้องใจคน



ขออนุญาตเล่าสิ่งที่น่าอ่าน  เพราะคงจะหาอ่านยากสักหน่อย

มนัส จรรยงค์  เขียนเรื่อง "ชีวิตคืออะไร"

     คุณมาลัย  ชูพินิจ  เกิดที่จังหวัดกำแพงเพชร  บิดาเป็นพ่อค้าซุง  ภายหลังไปเป็นกำนัน

เรียนหนังสือที่สวนกุหลาบ  แต่ไปเรียนภาษาอังกฤษกลางคืนที่เทพศิรินทร์      ออกมาเป็นครูที่โรงเรียนวัดสระเกศ

แล้วไปเป็นทหารเสนารักษ์


     เมื่อโรงพิมพ์ประชามิตรโดนค้น  คุณมาลัยหายหน้าไปสองสามวัน เพื่อไปวิ่งเต้นช่วยเหลือคุณกุหลาบ  สายประดิษฐ์

เพราะเคยคุ้นเคบกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม  เป็นเพื่อนบ้านในแพร่งสรรพศาสตร์

มนัส จรรยงค์เล่าต่อไปว่า  ได้ไปเยี่ยมคุณกุหลาบ  ที่ ส.น. พระราชวัง  เห็นคุณกุหลาบกำลังร้องไห้อยู่       ไม่ใช่ร้องเพราะทนความลำบากตรากตรำไม่ไหว

หรือไม่อาจทนทานต่อความขมขื่นในที่คุมขังไม่ไหว             คุณกุหลาบร้องไห้เพราะคุณสมพล(เดี๋ยวนี้เป็นบรรณาธิการหมัดๆมวยๆ)ซึ่งทำงานในโรงพิมพ์

อุตส่าห์เอาลูกเงาะไปเยี่ยมด้วยความรักใคร่นับถือ  แต่ตำรวจไม่อนุญาตให้เอาเงาะเข้าไปในกรงขัง  เกรงจะมีของร้ายซุกซ่อนอยู่เป็นต้นว่าเอกสารหรือยาพิษ

     เมื่อผมไปถึงก็พูดกับคุณกุหลาบ  พูดได้ ๓ คำก็ถูกห้าม

"จะพูดกับผู้ต้องขังไม่ได้   ถ้าจะพูดก็ต้องพูดดังๆให้ตำรวจได้ยินด้วย"

ผมก็เลยพูดดังๆพอที่ทุคนในห้องโถงจะได้ยินด้วย

"คุณกุหลาบครับ  คุณมาลัยสั่งให้มาบอกว่าไม่ต้องตกใจ   คุณมาลัยไปพบกับท่านผู้หญิงละเอียดมาแล้ว    

ท่านรับปากว่าจะช่วย  แต่ขอให้ทนเอาอีกสองสามวัน ........."


เรื่องนี้อ่านแล้วสดชื่นมาก  เงาะสมัยนั้นก็ไม่ใช่ของแพง  คุณกุหลาบก็คงซึ้งน้ำใจคนในโรงพิมพ์   คุณมนัสก็ซึ้งน้ำใจคุณมาลัย

คุณมาลัยก็คงนึกขอบคุณท่านผู้หญิงที่รักษาความเสมอต้นเสมอปลาย      ตำรวจก็คงฟาดเงาะไป


ขอเรียนคุณหลวงเล็กที่นับถือว่า  ดิฉันไม่มีหนังสืออนุสรณ์มากนักค่ะ   มีของนักประพันธ์ไม่กี่ท่าน  สหายมาทิ้งไว้ให้ทั้งนั้น

และไม่ทราบเลยว่ามีกี่เล่ม   แต่ถ้าเป็นหนังสือหายากก็พอจะมีสมบัติอยู่บ้าง   จะวิ่งไปหาตามโกดังของเพื่อนฝูงก็คงไม่ลำบากอะไรนัก

ปัญหาอยู่ที่ว่า  ไม่มีที่เก็บแล้วค่ะ  ล้นบ้าน







บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 23:42

๒๑.   หมอบรัดเล


เรียนคุณหลวงเล็กที่นับถือ

       ขออนุญาตเรียนว่าเราน่าจะช่วยกันให้ข้อมูลใหม่ ( ที่จริงเก่า) เรื่อง บรัดเลกัน  โดยมีอ้างอิงให้ครบถ้วน

หลังจากที่เราจะช่วยกันเล่าเรื่องมิชชันนารีอีกหลายคนที่เรารู้จักเพียงชื่อ  ไม่มีประวัติโดยสมบูรณ์   ไม่มีบันทึกการทำงาน

บรัดเลรักเมืองไทย   พูดถึงเจ้านายของเราด้วยความเคารพ    ช่วยเหลือคนไทยจากการเจ็บป่วยไว้มากมาย    หวังเมืองไทยเป็นเรือนตาย

เรื่องโอบาเรต์นั้นก็ยังไม่ชัด        เรื่องฟ้องร้องกันแล้วบรัดเลปิดโรงพิมพ์ก็เป็นเรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว  ไม่มีเรื่องโอบาเรต์บรัดเลก็

จะปิดโรงพิมพ์อยู่ดีเพราะขาดทุนมากมาหลายเดือน      ครูสมิทนั้น(ท่านสั่งว่าให้เรียกว่าครูเพราะท่านไม่ได้เป็นหมอ)นับถือบรัดเลมานาน  พูดถึงโดย

ความเคารพนับถือ           ท่านไม่ได้โกรธเคืองกันเหมือนที่ลอกต่อๆกันมาสักหน่อย เฮิ้ว(ขอประทานโทษ  หาวค่ะ)


เกิดเมื่อวันที่  ๑๘ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๓๔๗
ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓  มิถุนายน  พ.ศ.​๒๔๑๖


       หนังสือที่หายากที่สุดชุดหนึ่งในประเทศไทย  คือ สามก๊กครูสมิท(ดูได้จากคู่มือสามก๊กของสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ   และ งานของคุณลาวัณย์  โชตามะระ  เมื่อเล่าถึงบิดาเธอ)

ครูสมิทเขียนว่า

สามก๊ก

ตั้งแต่เล่ม ๙๕ จบ  ๗๓ สมุดไท

หนังสือพิมพ์สำหรับให้ไว้เปนสิ่งของแจกรฤก

ในงานพิธีบรรจุศพของหมอปรัดเลผู้ล่วงลับ

พิมพ์ขึ้น ๑๐๐ ฉบับ

บางกอก  สยาม

ที่โรงพิมพ์ครูสมิท

ณะ ตำบล บางคอแหลม

จุลศักราช ๑๒๓๕


หนังสือเล่มนี้  ผู้ครอบครองเล่าว่าตามหาอุตลุดตลุมบอน  เพราะมีการ "กั๊ก" ไว้  และขึ้นราคาสูงกว่าเล่มอื่นๆ

ไว้วันหน้าจะรวบรวมประวัติการพิมพ์มาเล่าใหม่นะคะ  


ท่านสมาชิกปัจจุบันในเรือนไทย ๔ ท่าน เคยเห็นรูปถ่ายหนังสือเล่มนี้มาแล้ว  ดิฉันขอประทานโทษ  ไม่มีรูปถ่ายค่ะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 23:59


ขอขอบคุณคุณโทนี่ฮุยที่แสดงพลัง

ดังนั้นจึงขอปักป้ายว่า   "เตรียมตัวไว้   คุณหลวงจะปลอมตัวไปปล้น"


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 00:08



สำหรับคุณ  Overhaul      http://www.archive.org/search.php?query=China%20Repository   เรื่องราวของกิสลับ

จากกลุ่มนักอ่านหนังสือเก่าด้วยไมตรี

อ่านแล้วก็ลงมาคุยกันนะคะ
บันทึกการเข้า
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 00:20

เห็นแล้วคันมือขอแสดงบ้างครับคุณหลวง


บันทึกการเข้า
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 00:35

สวัสดีครับคุณวันดี
ถ้าจำไม่ผิดสำนักพิมพ์white lotus เคย reprint แล้ว
ส่วนฉบับจริงเคยแต่ลูบๆ คลำๆ เพราะราคาไม่พอเพียง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 00:58

เยี่ยมเลยค่ะ  คุณ Overhaul  หนังสือที่นำมา



       ไปที่ลิ้งค์นะคะ  อ่านไปเลย  จะพบว่าอีตากิสลับนี่ต่อมาไปทำงานให้รัฐบาลอังกฤษ

ไปอ่านประวัติมา   เพื่อนร่วมสถาบันเล่าว่าแกเกิดเห็นพระฉายาเข้าเลยกลายเป็นมิชชันนารีไป

แกบ่นเมืองไทยไว้มาก   น่าแจกหมากแจกแว่นให้เหลือเกิน   อยากเห็นพจนานุกรมไทยที่เมียแกกับแกทำจัง

มีคำวิจารณ์ว่า  imperfect     ดิฉันอ่านสยามเรบพอสิทตอรีอยู่กลับไปกลับมา   สนุกมาก

ทราบเลยว่าตัวเองยังไม่รู้อะไรอีกเยอะ

     ตาแฮรี ปาร์ก  นินทากิสลับว่าพูดได้หลายภาษา  แต่ไม่ใช่ภาษาของผู้ดีมีการศึกษา    ตอนเด็กๆ ตา แฮรีต้องอ่านหนังสือให้กิสลับฟังทุกวันวันละชั่วโมง

กิสลับฝากแฮรีให้เป็นล่าม   แต่แฮรีก็สอบล่ามภาษาจีนได้เมื่ออายุยังไม่ ๑๖    ชีวิตต้องสู้สาหัสเลยค่ะแฮรี่ ปาร์ก   

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 01:08

หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ  พลเอก พลเรือเอก  เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ  พึ่งบุญ)

ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์  วัดเทพศิรินทราวาส

วันอังคารที่ ๒๖  ธันวาคม  พุทธศักราช ๒๕๑๐

เล่มสีเทาดำ  มีตราเทพทรงกระบองอยู่ซ้ายบนของปกหน้า

มีเรื่องขอมดำดิน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 01:15

หนังสือรับพระราชทานเพลิงศพ    นายสด  กูมะโรหิต   ณ เมรุวัดธาตุทอง

วันอังคารที่ ๒๓  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๒๑

เล่มสีเขียว

มีภาพร่างคุณสดสีขาว  มีลายเซ็นคุณสดอยู่ล่างขวา


ส่วนหนึ่งของชีวิตจริงของท่านอยู่ในนวนิยาย "เมื่อหิมะละลาย"
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 06:32

หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ  พลเอก พลเรือเอก  เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ  พึ่งบุญ)

ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์  วัดเทพศิรินทราวาส

วันอังคารที่ ๒๖  ธันวาคม  พุทธศักราช ๒๕๑๐

เล่มสีเทาดำ  มีตราเทพทรงกระบองอยู่ซ้ายบนของปกหน้า

มีเรื่องขอมดำดิน


ขออนุญาตเรียนชี้แจงว่า ตราเทพทรงกระบองอยู่ซ้ายบนของปกหน้า  ที่ถูกเป็นดทพยดาเชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี  ที่เป็นเทพยดาเพราะท่านเจ้าคุณรามฯ เป็นพระราชวงศ์  และเป็นผู้เชิญพระแสงขรรค์ไชยศรีในงานพระราชพธีบรมราชาภิเษหเฉลิมพระราชมณเธียรรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๕๓  หรือเมื่อเกือบๆ ๑๐๐ ปีครับ  ตรานี้พระราชทานเป็นตราในผืนธงประจำตัวนายกองดสือป่าของท่านเจ้าคุณราม 

ภาพนายกุมภการที่ปกหน้าหนังสืองานศพเจ้าพระยายมราช  และภาพเทวดาเชิญมาลาที่ปกหน้าหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุดรทราธิบดี  ก็มาจากตราในผืนธงที่พระราชทานแก่เจ้าพระยายมราชและเจ้าพระยาพระเสด็จสเรนทราธิบดี (ม.ร.เปีย  มาลากุล)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 08:01


ขอบพระคุณค่ะ  ดูไม่ออก  ตาต่ำไปหน่อย  พระขรรค์เขียนไม่ชัดเลยค่ะ


       ว่าจะไปสัมภาษณ์ผู้เคยวิ่งเล่น treasure hunt   ในห้องรับแขกสักหน่อยว่าห้องสมุดมีอะไรบ้าง

คุณพี่ผู้นี้ปัจจุบันท่านอายุ ๘๐ กว่าแล้วค่ะ  เป็นหลานอาของคุณหญิงประจวบ   สมองยังเป็นเลิศ


       คุณพี่เล่าว่า ญาติ ๆ และตัวท่านได้รับบัตรเชิญให้ขึ้นไปที่ตัวตึกใหญ่ในตอนสายๆ   แล้วคุณอาบอกว่ามาเล่นหาสมบัติกัน

อยู่ในห้องนี้ล่ะนะ        เด็กๆก็หากันใหญ่ไม่เจอ   คิดออกเมื่อคุณอาท่านบอกว่า  อยู่ในที่ที่เปิดเผยไม่ลึกลับอะไร

ก็เลยไปกราบท่านให้ลุกจากเก้าอี้   มีสายสร้อยข้อมือประดับพลอยวางไว้ใต้เบาะ

       เล่นแบบฝรั่งเลย 

       
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 08:06

เรียน  ทุกท่านที่เมตตาเข้ามาตอบกระทู้นี้

ในฐานะที่เป็นผู้ตั้งกระทู้นี้   รู้สึกปลาบปลื้มปรีดาเป็นยิ่งนัก
เมื่อได้เข้ามาเห็นสมาชิกเรือนไทยหลายท่านได้เข้ามาแย่งกันตอบกระทู้

แต่แรกที่คิดจะตั้งกระทู้นี้   สหายท่านหนึ่งซึ่งชอบสะสมนวนิยายปี 2460-2470
ร้องเตือนว่า   บ้า  เดี๋ยวคุณก็ต้องตอบกระทู้เองหรอก   ถามยากขนาดนั้น

เห็นอย่างนี้แล้ว   ไม่รู้ว่าสหายท่านนั้นจะยังคิดอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า
 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 08:17

ขอร่วมด้วยครับคุณหลวง.บังเอิญเพิ่งได้เล่มนี้มาครับ............

ลำดับที่๓.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์พระราชทานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง
เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

ขอบคุณ คุณศรีสยาม แต่ผมอยากรู้ต่อไปอีกว่า  
ทำไมจึงในหลวงทรงเลือกพิมพ์หนังสือพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรเล่มนี้

หนังสืองานศพ พระยาศรีวิสารวาจา  มีหลายเล่ม   เล่มปกสีทองๆ นี้ก็เล่มหนึ่ง



หนังสืองานศพเจ้าพระยารามราฆพ  ผมเคยเห็นอยู่ ๓ เล่ม คือ
หนังสือเรื่องขอมดำดิน ๑  บทละครเรื่องกลแตก ๑  และหนังสือประวัติของเจ้าคุณ ๑ เล่มหลังนี้พิมพ์โดยกองทัพเรือ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 08:22

       เมื่อเช้าเข้่านอนตีสี่กว่า  นั่งอ่านบทความของ "แสงทอง"  อยู่  พูดถึง "จิตรา"  และ บาทนขา

ดอนฟูโทรมาบอกว่าเดี๋ยวนี้หนังสือแพง   หนังสือแปลรุ่นนั้นที่พวกเราเก็บกันเล่มละ ๑๐๐ บาท

เดี๋ยวนี้ ๓๐๐๐ บาทแล้ว

      
        อื้อฮือ   มีอยู่เหมือนกันแต่ไม่มาก
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 10:00

ขอบคุณ คุณศรีสยาม แต่ผมอยากรู้ต่อไปอีกว่า 
ทำไมจึงในหลวงทรงเลือกพิมพ์หนังสือพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรเล่มนี้

ขอตอบคำถามนี้ด้วยคำนำของหนังสือ............

ภาพสุดท้ายเป็นปกหนังสือที่หลงอยู่ในหนังสือที่ได้มา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง