เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 105481 ตามล่าหาหนังสืองานศพ
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 09 ส.ค. 10, 14:09

นอกจากนี้ หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์ ยังได้รับ
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้เข้าเดินแต้มแทนพระองค์
ในการเล่นชิงนางคราวงานปีใหม่  โดยถือธงประจำพระองค์
เมื่อทรงเป็นพระบัณแถลงเขย  ๖ คนของท้าวสามล

ปี ๒๔๔๘ พระวิมาดาเธอฯ ได้ทรงนำ หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
พร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์สดับ  ลดาวัลย์   คุณจอน  และคุณช้อง  
ขึ้นถวายตัวเป็นข้าราชการฝ่ายใน  

คุณท้าววรจันทร์  ได้นำเฝ้าฯ ที่พระเฉลียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
ในครั้งนั้น  รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานขันล้างหน้าเงิน  พานรองคนละ ๑ สำรับ
กับเงินเหรียญบาทห่อผ้าขาว คนละ ๑๐ ชั่ง    

ในคราวรัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต  หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
กับหม่มราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ได้สนองพระเดชพระคุณครั้งสุดท้าย
ด้วยการเป็นลูกคู่นางร้องไห้ประจำยามประโคมที่พระบรมศพ

จากนั้น  หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี ก็คงอยู่ในพระอุปถัมภ์
ของสมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา  และได้ถวายงานหลายอย่าง
เช่นเป็นช่างพระเกศา  แต่งพระองค์ เย็บฉลองพระองค์
และทำเครื่องเสวย  มีตำแหน่งเป็น ต้นตำหนัก

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว
ท่านได้ทูลลาพระวิมาดาเธอฯ มาอยู่กับอา คือ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช

ต่อมาเมื่ออาสิ้นพระชนม์แล้ว  
หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
จึงได้รวบรวมเงินสร้างบ้านอยู่กับหลานๆ ที่ถนนพระอาทิตย์ตลอดอายุ
ท่านถึงแก่กรรมเมื่อ ๑๒  มิ.ย. ๒๕๐๘  ด้วยโรคมะเร็งปอด

ประวัติหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี สนิทวงษ์ จบ.


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 09 ส.ค. 10, 15:46

๒๘.นายภาวาส  บุนนาค

งานพระราชทานเพลิงศพนายภาวาส  บุนนาค
มีหนังสืองานศพ ๒ เล่ม คือ

เล่มแรก หนังสือภาพ เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕

เป็นหนังสือภาพถ่ายฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ ๕
ในคราวเสด็จประพาสต้น เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕
มีภาพถ่ายที่หาดูยากหลายภาพ
ทราบว่าในวงการหนังสือเก่าซื้อขายราคาสูงมาก
เพราะเป็นหนังสือดี ไม่เคยพิมพ์มาก่อน
รูปเล่มแข็งแรง  จัดพิมพ์ดี  น่าเก็บ และหายาก
เพราะมีน้อย


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 09 ส.ค. 10, 15:49

ภาพจากหนังสือเสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 09 ส.ค. 10, 15:53

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ หมื่นปฎิพทธภูวนาถ (ช้าง) อำแดงพลับ ภรรยา
และลูกๆ แห่งบ้านบางอ้ายเอี้ยง 

นายช้างเป็นคนสำคัญที่ทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงประทับพระราชหฤทัยในอัธยาศัย
ในคราวเสด็จประพาสต้นคราวแรก  (เนื้อเรื่องคงทราบกันดีจากหนังสือพระนิพนธ์
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จประพาสต้น)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 09 ส.ค. 10, 15:57

หนังสืองานศพนายภาวาส บุนนาค เล่มต่อมา ชื่อ คิดถึงกันมั่งนะ
ปกสีส้ม  พิมพ์แจกภายหลังงานพระราชทานเพลิงศพแล้วหลายปี
เป็นหนังสือที่รวบรวมงานเขียนและผลงานของนายภาวาส ไว้มากที่สุด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 09 ส.ค. 10, 15:58

ผลงานด้านศิลปะของนายภาวาส ซึ่งไม่ค่อยมีคนทราบ





บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 10 ส.ค. 10, 15:44

หนังสืองานศพนาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์ ร.น. (เลื่อน  ศราภัยวานิช)

นาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์  เป็นใคร?
ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังเปลี่ยนการปกครอง ๒๔๗๕
ย่อมน่าจะรู้จักเจ้าคุณท่านนี้เป็นอย่างดี 
เพราะท่านมีประวัติการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่โชกโชนและโลดโผนมาก
ในหนังสืองานศพท่านมีคำไว้อาลัยของนักหนังสือพิมพ์หลายคนเขียนให้
กับบทความข่าวเนื่องในการเสียชีวิตของเจ้าคุณจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ

ประวัติของนาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์  โดยย่อมีดังนี้

นาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์ เป็นบุตรนายโซว  เทียนโป๊  และนางกี๋ 
เกิดเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์  ๒๔๓๒  ที่จังหวัดนครสวรรค์

สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรตามหลักสูตรชั้น ๕ โรงเรียนอัสสัมชัญ

อุปสมบทที่วัดอรุณราชวราราม

ได้ประกาศนียบัตร จาก School of Journalism   ออสเตรเลีย

ปี ๒๔๗๐ ไปศึกษาดูงานพลาธิการทหารเรือที่ยุโรปเป็นเวลา  ๑ ปี ๔ เดือน

ชีวิตการรับราชการทหาร
๒๔๕๒  เกณฑ์ทหาร
๒๔๕๔ เป็นเลขานุการและล่ามของพลเรือตรี ยอน  ชไนเลอร์  ที่ปรึกษาราชการทหารเรือ
๒๔๕๖ เป็นเลขานุการของจอมพลเรือ  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช  จเรทหารทั่วไป
ตั้งแต่ปี ๒๔๕๘  เป็นนายเวรวิเศากระทรวงทหารเรือ (เลขานุการเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ)
๒๔๖๔ รั้งตำแหน่งเสมียนตรากระทรวงทหารเรือ  และในปีเดียวกันได้เป็นเลขานุการสภาบัญชาการกระทรวงทหารเรือ
๒๔๖๕  เป็นเลขานุการสภาธุระการทหาร
๒๔๗๔ เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม
๒๔๗๕ เป็นเจ้ากรมเสมียนตรากระทรวงกลาโหม

ออกจากราชการเป็นนายทหารรับบำนาญ ตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๕




บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 10 ส.ค. 10, 15:57

การรับและเลื่อนยศ

๑ พ.ย. ๒๔๕๑  เป็น ว่าที่นายเรือตรี
๑๔ พ.ค. ๒๔๕๒ เป็น นายเรือตรี
๗ พ.ค. ๒๔๕๕ เป็น นายเรือโท
๒๔ มี.ค. ๒๔๕๗ เป็น นายเรือเอก
๑๐ พ.ค. ๒๔๖๑ เป็น นายนาวาตรี
๒๙ มี.ค. ๒๔๖๓ เป็น นายนาวาโท
๑๑ เม.ย. ๒๔๖๖ เป็น นายนาวาเอก

การรับและเลื่อนบรรดาศักดิ์

๒๖ พ.ค. ๒๔๖๐ เป็น หลวงวิเศษสรนิต
๒๔ มี.ค. ๒๔๖๔ เป็น พระนเรนทรบดินทร์
๑ เม.ย. ๒๔๗๒ เป็น พระยาศราภัยพิพัฒน์

งานอื่นๆ

๒๔๙๐ เป็น ส.ส.จังหวัดธนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์  และปีเดียวกันได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๒๔๙๔ เป็น ส.ว.
๒๕๐๓ เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ

งานพิเศษ

๒๔๗๖ เป็น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ (ภาษาอังกฤษ)
๒๔๙๔ เป็นกรรมการอบรมนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศ
๒๔๙๗ เป้นกรรมการปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนนายเรือ
๒๕๐๕ เป็นกรรมการมูลนิธิวิชาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

สุดท้าย เอาเอกสารแสดงให้เห็นบทบาททางการเมืองของเจ้าคุณศราภัยฯ
ถ้าสนใจราละเอียดคงต้องไปอ่านจากหนังสืองานเขียนของท่าน




บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 14:33

หนังสือศพมหาอำมาตย์ตรี  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ  เศวตศิลา)
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๐




บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 14:48

หนังสืองานศพเจ้าคุณวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา)
เล่มไม่หนา  แต่มีข้อมูลน่าสนใจหลายส่วน

มหาอำมาตย์ตรี  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ  เศวตศิลา)
เป็นบุตรของนายเฮนรี  อาลาบาสเตอร์  และนางเพิ่ม  อาลาบาสเตอร์

เกิดเมื่อ ๒๒ มิ.ย. ๒๔๒๒ ที่บ้านพักใกล้พระบรมมหาราชวัง

เริ่มศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและงกฤษ ที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ท่านสอบไล่ได้ประโยค ๒ (จบหลักสูตรสูงสุด) วิชาหนังสือไทย ได้คะแนนสูงเป็นที่ ๑
เมื่อ ๑๗ เม.ย. ๒๔๓๗

จากนั้นไปศึกษาวิชาแผนที่ และสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ เมื่อ ๒๔๓๙

ได้ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่เดระกูน  อินเดีย  สำเร็จเมื่อ ๒๔๔๕

อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศ เมื่อ ๒๔๕๐

ออกไปศึกษาต่อวิชาพฤกษศาสตร์ ที่คิว (KEW) อังกฤษ เพิ่มเติม โดยทุนทรัพย์ตนเอง  สำเร็จ เมื่อ ๒๔๕๗
ได้เป็นสมาชิกในลินเนียนโซไซเอตี้  ประเทศอังกฤษ ๒๔๕๗

ประวัติการได้รับยศและบรรดาศักดิ์
๒๔๔๘ เป็นหลวงวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๕๔ เป็นรองอำมาตย์เอก
๒๔๕๕ เป็นพระวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๕๖ เป็นอำมาตย์ตรี
๒๔๕๙ เป็นอำมาตย์โท
๒๔๖๐ เป็นอำมาตย์เอก และเป็นพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๖๓ เป็นมหาอำมาตย์ตรี



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 15:03

ชีวิตการทำงาน

๑ ธ.ค. ๒๔๓๗ เป็นนักเรียนกรมแผนที่ กรมแผนที่ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๖ มี.ค. ๒๔๔๓ ย้ายมารับราชการกระทรวงมหาดไทย
๒๔๔๔ - ๒๔๔๕ ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่เดระกูน  อินเดีย  
๑ เม.ย. ๒๔๔๖ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ จังหวัดนครสวรรค์
จากนั้น ย้ายไปเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้นครลำปาง  แพร่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำพูน
และกลับมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ที่ลำพูนอีกเมื่อ ๒๔๕๒

ออกไปศึกษาต่อวิชาพฤกษศาสตร์ ที่คิว (KEW) อังกฤษ กลับมาเมื่อ ๒๔๕๗
ได้เป็นปลัดกรมป่าไม้  ย้ายไปประจำที่จังหวัดกันตัง
ไปจัดตั้งกองป่าไม้ มณฑลภูเก็ต  นครศรีธรรมราช และปัตตานี

๒๔๕๙ ย้ายจากกันตังไปสงขลา
๒๔๖๐ ย้ายมากรุงเทพฯ
๒๔๖๕ เป็นผู้บำรุงป่าไม้ตอนใต้  
๒๔๗๐ ย้ายจากกรุงเทพฯ กลับไปที่สงขลา
๒๓ มิ.ย. ๒๔๗๗ อายุ ๕๕ ปี  ออกรับพระราชทานบำนาญ

เจ้าคุณวันพฤกษ์ฯ มีพี่น้องร่วมท้อง ๑ คน
คือมหาอำมาตย์ตรี  พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย  เศวตศิลา)
ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ๓๐ ธ.ค. ๒๔๗๔

เจ้าคุณวันพฤกษ์มีบุตรธิดากับคุณหญิงวันพฤกษ์พิจารณ์ (ขลิบ บุนนาค)
และกับภรรยาอื่นๆ รวม ๑๕ คน  มีพลอากาศเอก สิทธิ  เศวตศิลา องคมนตรี
และนางสมจิตต์  อาสนจินดา  ภรรยาของ ส.อาสนจินดา เป็นต้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 15:33

ในหนังสือของเจ้าคุณวันพฤกษ์น มีเรื่องที่ลูกๆ เขียนเกี่ยวกับประวัติของท่านไว้ด้วย
ซึ่งจดเอาตามที่ท่านเคยเล่าให้ลูกฟัง
ตอนหนึ่ง ว่า  เมื่อนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ บิดาถึงแก่กรรม นั้น
เจ้าคุณวันพฤกษ์ อายุได้ ๕ ขวบ  และเจ้าคุณอินทราธิบดี อายุได้ ๒ ขวบเศษ
นางเพิ่มมารดาได้พาทั้งสองคนไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
เพราะนางเพิ่มมีตำแหน่งเป็พระนมในพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ พระองค์หนึ่ง
ทำให้ทั้งสองคนได้มีโอกาสคุ้นเคยกับเจ้านาย

ชีวิตหลังจากนายเฮนรีถึงแก่กรรมแล้ว  ค่อนข้างลำบากมาก
เพราะนายเฮนรีไม่ได้ทิ้งมรดกอันใดไว้ให้ลูกชายทั้งสองเลย
แถมต่อมา  มารดาก็ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด
พี่น้องทั้งสองต้องอาศัยอยู่กับคนอื่น  เพื่อเล่าเรียนหนังสือ
โดยพยายามหาทุนเรียนด้วยตนเอง  บางครั้งไม่มีเงินต้องหยุดเรียนไปหาเงิน
โดยขายดินสอหิน และให้เพื่อนนักเรียนเชื่อดินสอหินไปใช้ก่อนแล้วคิดดอกเบี้ยจ่ายภายหลัง
จนพอมีเงินกลับมาเรียนต่อได้จนจบ

ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ยังมีประวัตินายเฮนรี  อาลาบาสเตอร์
ซึ่งเป็นต้นตระกูลเศวตศิลาด้วย
นายอาลาบาสเตอร์ เป็นบุคคลสำคัญสำหรับเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕
เมื่อถึงแก่กรรม รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสุสานพระราชทานเป็นเกียรติ
ที่สุสานโปรแตสแตนท์ ถนนตก  (ดูภาพด้านล่าง)

นายอาลาบาสเตอร์ เคยแต่งหนังสือ The Wheel of the Law พิมพ์ที่ลอนดอน
เป็นที่เลื่องลือมาก  และนักวิชาการได้ใช้อ้างอิงต่อมามากมาย

เดิมนายอาลาบาสเตอร์ รับราชการเป็นล่ามอยู่ที่สถานทูตอังกฤษ ในจีน  ระหว่าง ปี ๒๓๙๙ - ๒๔๐๐
ต่อมาได้เข้ามาเป็นนักเรียนล่าม ประจำสถานกงสุลอังกฤษในไทย  เมื่อ ๒๔๐๑
และเลื่อนระดับขึ้นเป็นล่าม  ได้รับเงินเดือนสูงสุด ๕๐๐ ปอนด์ ต่อเดือน
รวมเวลารับราชการัฐบาลอังกฤษ  ๑๕ ปี ๙ เดือน

จากนั้นรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าให้นายอาลาบาสเตอร์ เข้ารับราชการไทย จนถึงแก่กรรม
ผลงานที่นายอาลาบาสเตอร์ ได้ทำไว้ขณะที่รับราชการฝ่ายไทยนั้นมีมาก 
หากมีโอกาสคงจะได้เล่าอีก


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 15:37

มีหนังสืองานศพอีก ๒ เล่มที่ขอเอารูปให้ดูก่อน
คราวหน้าจะมาเล่ารายละเอียด



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 15:42

ติดตามด้วยความสนใจ
บ้านในค.ห. 132 สวยมากทุกหลัง    เป็นบ้านในจังหวัดอื่นๆที่ไม่ใช่กรุงเทพหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 15:49

คุณหลวงที่นับถือและหวั่นหวาด


๑.      อาลาบาสเตอร์ เขียน หรือ แปล  The Wheel of the Law      
        เมื่อคริสตี้ประเทศไทย เปิดแสดง ในปี ๒๕๔๓    ได้ไปดู
        ประเมินราคาไว้ที่  สี่พัน - หกพันบาท    ขายจริงไปในราคาเท่าไรก็ลืมไปแล้วค่ะ

        ขอเปลี่ยนคำถามเป็นว่า พระ ประชาชีพบริบาลคือใคร  เพราะท่านเป็นเจ้าของหนังสือเล่มที่คริสตี้นำมาประมูล


        (ไปเจอคำตอบแล้วค่ะ ว่า The Wheel of the Law  แบ่งเป็น ๓ ภาค
        ภาคแรก is a revised and enlarged edition of the Modern Buddhist

        ภาคที่สอง แปลมา

        ภาคที่สาม  รวบรวมมา

        อาลาบาสเตอร์เขียนไว้ว่า  "My translation is free or literal, according to my judgment.")
    
๒.     พี่ชายต่างมารดาสามคนของพระยาวรรณพฤกษ์พิจารณ์  ชื่ออะไรบ้าง

๓.     มีประวัติคุณหญิง  Palacia  บ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง