เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 16751 หลั่งเลือดรักษาสารพัดโรค
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 14:09

           ถึงต้นศตวรรษที่ 20  การรักษาด้วยวิธีนี้จึงเริ่มลดบทบาทลงไป เมื่อมีการค้นพบความรู้และการรักษา
ใหม่ๆ ทางการแพทย์ในโลกตะวันตก
          (แต่ไม่ถึงกับสูญหาย ยังคงถูกเขียนไว้ในตำราอายุรกรรม Principles and Practice of Medicine
ปีพิมพ์ 1923 โดย Sir William Osler หนึ่งในแพทย์ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นไอคอนของการแพทย์สมัยใหม่)

รักษาสารพัดโรค

            สารพัดโรคที่ตำราระบุว่าวิธีการนี้ใช้รักษาได้ ประกอบด้วย สิว หอบหืด มะเร็ง อหิวาต์ โคม่า ลมชัก
เบาหวาน เกาท์ เนื้อตาย อาหารไม่ย่อย โรคจิต โรคเรื้อน กาฬโรค ทรพิษ วัณโรค อัมพาต และ โรคอื่นๆ อีกมากมาย
นับร้อยโรค
    
            นอกจากนี้ยังใช้รักษาภาวะเลือดออก รวมถึงเลือดกำเดา ประจำเดือนมากผิดปกติ เลือดออกที่ริดสีดวงทวาร  

(อธิบายตามหลักวิชาการสำหรับ การหลั่งเลือดเพื่อรักษาภาวะเลือดออกในอวัยวะบางแห่งนั้น
              ผู้ป่วยที่รอดตาย คงจะยังไม่ถึงฆาต หรือร่างกายมีกลไกสำรอง ปรับตัวจนหายได้ เพราะเมื่อผู้ป่วย
เสียเลือดไป ปริมาณเลือดไหลเวียนในร่างจะลดลง ความดันโลหิตตก เมื่อถูกทำให้เสียเลือดมากขึ้นไปอีก
ก็จะยิ่งทำให้ความดันตกลงไปอีก บางรายอาจจะใกล้ช็อค ณ จุดนี้ ที่ความดันต่ำลงมาก หลอดเลือดหดตัว
เลือดที่ไหลเวียนไปสู่อวัยวะที่มีเลือดออกก็จะลดลงไปด้วย ร่วมกับขบวนการแข็งตัวของเลือดทำให้การตกเลือดลดลง
             ผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรง บุญยังมี (เกือบ)ช็อคไม่รุนแรงและไม่นาน ก็คงจะรอด แต่ ถ้าช็อครุนแรง
ร่างกายไม่แข็งแรง แน่นอนว่าไม่รอด)

                  ผู้ป่วยคนสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เป็นตัวอย่างให้ได้เรียนรู้ถึงผลเสียหายร้ายแรงถึงตาย
จากการเสียเลือดเพราะรักษา(ผิด)ด้วยวิธีนี้ก็คือ
        
               ประธานาธิบดี George Washington แห่งอเมริกา เมื่อปี 1799 ท่านได้รับการทำ bloodletting
เพื่อรักษาการติดเชื้อในลำคอที่เรียกว่า - quinsy (ฝีหนองบริเวณปริทอนซิล - Peritonsillar abscess)
แล้วเชื้อลุกลามถึงกล่องเสียง และปอด(ในยุคที่ไม่มียาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ)
             ท่านถูกเจาะเลือดออกไปมากถึง 5 pints (1.7 ลิตร) หรืออาจจะมากกว่า แล้วจึงเสียชีวิตลง
ไม่นานหลังจากนั้น
            
              กล่าวได้ว่าท่านตายจากภาวะช็อคเพราะ ถูกเจาะเลือดออกอย่างมากมาย ร่วมกับภาวะติดเชื้อ
ทางเดินหายใจที่รุนแรง ร่างกายขาดน้ำ และมีอาการหายใจลำบาก  


บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 15:07

ขอบคุณ คุณ Sila มากครับ ที่มาช่วย
ผมนึกคำ phlebotomy  กับ Bloodletting ไม่ออกเลย น่าขายหน้าจริงๆ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 15:26

         ยินดี ครับ
           เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเทียบกับบทความที่อาจารย์, คุณ NAVARAT C คุณวันดี คุณเพ็ญ
คุณหลวง และท่านอื่นๆ พากเพียรเขียนลงกระทู้
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 10:55

           ความไม่รู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรค ทั้งสาเหตุ พยาธิวิทยา กลไกการเกิด ยาและการรักษาที่ได้ผล
ทำให้การรักษาด้วยวิธีที่ผิดๆ เช่น การดึงเลือดออกนี้คงอยู่ต่อเนื่องได้ยาวนาน เพราะคนไข้ไม่มีทางเลือก อย่างน้อยก็ยัง
ได้ชื่อว่า ได้รับการรักษา และการทำอะไร "มากมาย ไม่น้อย" เช่นนี้ คงจะมีผลต่อผู้ป่วยทางจิตใจที่เรียกว่า
           placebo effect จากศรัทธา ความคาดหวังผลที่ดี ทำให้ผู้ป่วย(ปรุงแต่งความ)รู้สึกมีอาการดีขึ้น
หลังได้รับการรักษาแล้ว
           ทว่าในความเป็นจริงแล้ว คนที่รอดตาย ทั้งที่โดนซ้ำเติมด้วยการดึงเลือดออกไปมากมายนั้น น่าจะ
เป็นผู้ที่ยังไม่หมดบุญในโลกนี้ ร่างกายยังมีกลไกสำรองเข้มแข็งที่สามารถรักษาตัวเองให้หายไม่ตายได้
หรือ เป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก และถูกดึงเลือดออกไปเล็กน้อย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 10:58

หลั่งเลือดรักษาโรคในโลกปัจจุบัน

         เป็นที่ชัดเจนและยอมรับไปทั่วแล้วว่า การดึงเลือดออกนั้นนอกจากจะไม่มีประโยชน์ทางการรักษาแล้ว
ยังเป็นอันตรายอย่างมาก ยกเว้น
           ในบางโรคที่วิธีการนี้มีประโยชน์และใช้เป็นวิธีรักษา ได้แก่ 
                 hemochromatosis (ภาวะเหล็กเกินในร่างกาย ประเภทที่เกิดจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์)
ภาวะหัวใจล้มเหลวจนน้ำท่วมปอด (- ไม่ทำแล้ว) และ polycythemia vera (ภาวะเลือดข้นเนื่องจาก
จำนวนเม็ดเลือดแดงสูงขึ้น จากโรคไขกระดูก ไม่ใช่เลือดข้น จากการเป็นไข้ ขาดน้ำ หรือในคนสูบบุหรี่จัด
คนอาศัยอยู่ในที่สูง อ็อกซิเจนจาง)
              ซึ่งจะเรียกกันว่า bloodletting

              ส่วน phlebotomy นั้นปัจจุบันใช้กับการดูดเลือดจำนวนไม่มากเพื่อนำส่งตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 11:04

             เมื่อมองจากปัจจุบันย้อนไปในอดีต ได้พบกับความเชื่อ การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องต่างๆ
แล้วสะท้อนถอนใจ บางคนอาจจะเห็นเป็นขบขันปนเย้ยหยัน เพราะเราใช้มาตรฐานปัจจุบัน
เป็นตัวตั้งตัดสิน
               แต่หากลองจินตนาการไปข้างหน้าสัก 50 - 100 ปี พวกเราก็อาจจะเป็นฝ่ายถูกมอง
โดยคนรุ่นนั้นอย่างน่าเห็นใจปนขันเช่นกัน - ถ้า ตอนนั้นโลกยังอยู่ และอยู่อย่างเจริญก้าวไกล
ไม่เกิดวิกฤตจนถดถอยไปล้าหลังตั้งต้นใหม่

ภาพ - July 26, 2009

         แพทย์ชาว Palestinian ให้การรักษาผู้ป่วยชายด้วยวิธีการ bloodletting และ cupping
ที่ค่ายผุ้อพยพ - Rafah refugee camp ในฉนวน - Gaza Strip
         คำบรรยายบอกสรรพคุณของการรักษาด้วยวิธีนี้ว่า ใช้ได้กับ โรคไขข้อ rheumatism, มะเร็ง,
เป็นหมัน, ความดันโลหิตสูง, ปวดหลัง, ผื่นผิวหนังอักเสบ,เบาหวาน และ ฯ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 11:25

ภาพสำหรับคุณ CVT ครับ

              มีรายงานภาวะกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากการทำ bloodletting with cupping
ต่อเนื่องจนทำให้เกิดภาวะซีดรุนแรงเรื้อรังและหัวใจโต

Echocardiography (อัลตราซาวนด์หัวใจ) เปรียบเทียบ
         ซ้าย (A) - หัวใจโต และ
         ขวา (B) - สามเดือนต่อมาหัวใจมีขนาดลดลงเป็นปกติ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 13:19

หมอฝรั่งที่รักษาพระยาทรงสุรเดช ให้ท่านเสียเลือดไปไม่มากก็น้อย อาจทำให้สุขภาพท่านทรุดฮวบ  ถึงขั้นนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจตาย  เป็นไปได้ไหมคะ
เพราะท่านอายุห้าสิบกว่าแล้ว ลำบากตรากตรำมามาก  พอป่วยเข้า เลยไปง่ายๆ
ไปค้นรูป bloodletting มา  เห็นแต่ละรูปแล้วไม่อยากเอามาลง  ใครอยากเห็นลองไปเสิชดูเอง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 16:13

          พระยาทรงฯ น่าจะมีสุขภาพทรุดโทรมจากการตรากตรำและความเครียด
และโรคประจำตัวตามวัย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ครั้นเจ็บป่วยยารักษาก็ไม่มี
           ในวันแรกที่ทำ bloodletting แล้วได้ยาถ่ายในผู้ป่วยที่(น่าจะ)กินได้น้อย
ย่อมมีผลเสียทำให้ร่างกาย"ขาดน้ำ"ได้ (จากการเสียเลือดและขับถ่าย) แต่ไม่ชัดมากแบบ
กรณีท่านประธานาธิบดีวอชิงตัน
           เมื่อเจาะเลือดในครั้งที่สองแล้วไม่ได้เลือด แสดงว่า ความดัน หัวใจ การไหลเวียน
ทรุดลงแล้ว การกรีดและ cupping คงเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่พอดีกับภาวะหัวใจอ่อนแรง
จนในที่สุดเต้นไม่ไหว ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 22:02

ผมเพิ่งจะได้มีโอกาสเข้ามาอ่าน ขอบพระคุณที่ได้ค้นคว้าความรู้ดีๆเช่นนี้มาฝากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 23 ก.ค. 10, 08:08

สนใจปลิง (leech) ที่คุณศิลาเอ่ยถึง   อยากรู้ว่ามันเป็นปลิงชนิดไหนกันแน่    เหมือนกับปลิงที่อยู่ตามห้วยหนองคลองบึงสมัยดิฉันยังเด็กๆอยู่หรือเปล่าคะ

หนุ่มสาวชาวกรุงเทพคงไม่รู้จักปลิง   เหมือนไม่รู้จักหมามุ่ย  เลยเอารูปมาให้ดูค่ะ

คนไทยสมัยโบราณรู้จักปลิงเป็นอย่างดี  น่าจะเจอกันบ่อยๆเพราะทุ่งนาล้อมรอบเมืองอยู่  ใครอยู่หัวเมืองนาก็อยู่ติดบ้าน   จึงมีสำนวนว่า "กินน้ำเห็นปลิง" แปลความหมายคล้ายๆ หอกข้างแคร่  แต่ค่อนไปในทางตะขิดตะขวง รังเกียจ ไม่สนิทใจ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 23 ก.ค. 10, 13:56

ย่นย่อจากคุณวิกี้ ครับ

                  ปลิงจัดเป็นสัตว์กลุ่ม (phylum) annelida ("ringed worms" จาก Latin
- anellus - "little ring") ที่ประกอบด้วยสัตว์จำพวกหนอนปล้อง - segmented worms
               อยู่ใน class Hirudinea มีทั้งพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด น้ำทะเล (Aquatic Leech)
และบนดิน (Land Leech) เป็นสัตว์สองเพศในตัวเดียว
                 ปลิงส่วนใหญ่จะไม่ดูดเลือดคน เหยื่อของมันคือสัตว์ไร้กระดูกสันหลัง ที่มันจะกินทั้งตัว

                 พวกที่กินเลือด - haematophagous leeches ถูกนำใช้ในการรักษาเป็น
Medicinal leeches มีหลาย species ด้วยกัน แต่ที่แพร่หลายที่สุดคือ
                          Hirudo medicinalis - the European medicinal leech

               ส่วนชนิดอื่นร่วม genus ที่นำมาใช้ได้ ได้แก่ Hirudo orientalis, Hirudo troctina,
Hirudo verbana, ของ Mexican ก็มี Hirudinaria manillensis และ  ปลิงของ North American
คือ  Macrobdella decora


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 23 ก.ค. 10, 13:58

             เจ้าปลิงนี้มี แว่นดูด - sucker อยู่ที่ด้านหน้าและด้านท้าย  โดยแว่นท้ายใช้ยึดเกาะ
ส่วน แว่นหน้านั้นประกอบด้วยขากรรไกร และ ฟัน
                พัฒนาการของสัตว์ดูดเลือดชนิดนี้ทำให้มันมีถึง สามขากรรไกร ที่มีลักษณะเหมือนเลื่อย
แต่ละเลื่อยประกอบด้วยฟันคมนับร้อย
                เวลาที่มันดูดเลือด มันจะปล่อยสารที่ทำให้เหยื่อชาไม่รู้สึกเจ็บ และ เอ็นไซม์จากต่อมน้ำลาย
เพื่อให้เลือดไม่แข็งตัว เรียกว่า hirudin และ สารประเภท Histamine ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว
 
              บันทึกการใช้ปลิงทางการรักษาที่เก่าแก่ที่สุด โดย แพทย์ Greek - Nicander in Colophon
(197-130 BC)และปัจจุบัน ยังมีการใช้ปลิงในทางศัลยกรรมโดยเฉพาะการผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์และ
ศัลยกรรมตกแต่ง
 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 23 ก.ค. 10, 14:18

อ้างถึง
และปัจจุบัน ยังมีการใช้ปลิงในทางศัลยกรรมโดยเฉพาะการผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์และ
ศัลยกรรมตกแต่ง

เอาปลิงเข้าไปช่วยยังไงคะ   ตกใจ
บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 23 ก.ค. 10, 14:23

อื๋ออออ น่ากลัวจังค่ะ ..
สมัยเด็กๆเคยเห็นพี่โดนปลิงเกาะบ่อยๆ เพราะชอบไปเล่นน้ำคลอง เลยกลัวปลิงไปเลยค่ะ...
แต่เอาปลิงมารักษาโรคนี่ คงต้องมองปลิงใหม่เสียแล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง