เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 16764 หลั่งเลือดรักษาสารพัดโรค
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


 เมื่อ 21 ก.ค. 10, 09:27

หลั่งเลือดรักษาสารพัดโรค

อ้างถึง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสที่รีบไปเชิญมาตรวจอาการ เห็นแล้วใช้เข็มเจาะเส้นเลือดใหญ่แล้ว
ดูดเอาเลือดจากแขนท่านออกมาสองหลอดใหญ่ ท่านออกอาการเจ็บแสดงว่าสติกลับคืน พอหมอเรียกชื่อก็ขานรับ
15นาทีต่อมาท่านสามารถพูดกับหมอด้วยภาษาเยอรมันได้

             หมอบอกว่าท่านมีอาการของโลหิตเป็นพิษ มีความเข็มข้นสูงพร้อมจะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศ
เมล็ดโลหิตเต็มไปด้วยพิษร้าย จะต้องรีบนำไปส่งหอวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อทำการวิเคราะห์
หมอได้สั่งยาให้สามขนาน เป็นยาถ่ายหนึ่ง ยาบำรุงกำลังหนึ่ง ส่วนยาล้างพิษในกระแสโลหิต ในระหว่างสงคราม
ไปหาซื้อที่ไหนก็ไม่มี

           เพิ่งได้อ่านเรื่องราววาระสุดท้ายของพระยาทรงฯ จากกระทู้ของคุณ NAVARAT C.
นอกจากจะสะท้อนใจในชะตากรรมของมนุษย์แล้ว
              ยังติดค้างใจในเรื่องหนึ่งนั่นคือ การวินิจฉัยและรักษาอาการป่วยของพระยาทรงฯ
ที่แตกต่างห่างไกลลิบจากวิชาการแพทย์ในยุคนี้   - สมัยนั้นดูช่างขาดแคลนไปทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น
ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ การตรวจวิเคราะห์ประกอบการวินิจฉัยรักษา และหยูกยาที่มีประสิทธิภาพ
        
              
อ้างถึง
นายแพทย์คนเดิมรีบมาในเวลาไม่ถึง45นาทีแล้วรีบลงมือจะดูดเลือดอย่างเคย ครั้งนี้เข็มไม่สามารถ
แทงเข้าในเส้นเลือดได้เพราะโลหิตแข็งตัวมาก แม้จะใช้ใบมีดโกนหนวดอันคมกริบกรีดนำ แล้วเอาเข็มแทงเส้น
เข้าไปก็ดูดโลหิตออกมาไม่ได้ ด้วยความชำนาญหมอเปลี่ยนวิธีการใหม่โดยฉับพลัน จับคนไข้นอนคว่ำหน้า
เอาใบมีดกรีดเป็นริ้วๆ ตลอดแผ่นหลัง แล้วใช้แก้วลนไฟไล่อากาศออกคว่ำครอบแผลไว้ พอแก้วเย็น
ก็จะเกิดแรงดูดขึ้นมาเอง เพียงสิบห้านาทีโลหิตใหลออกมาแผลละครึ่งแก้ว ข้นคลั่ก แต่อาการของพระยาทรงมิได้ดีขึ้น


                วิธีการรักษาที่พระยาทรงฯ ได้รับในตอนนั้น คือ การนำ(หลั่ง)เลือดออกจากร่างผู้ป่วย  
                หลายคนน่าจะเคยได้ยินวิธีการนี้มาแล้วตั้งแต่เด็ก เวลามีคำอธิบายถึงสัญลักษณ์ทรงกระบอกใส
ที่มีแถบสีแดงสลับขาวหมุนอยู่ข้างใน (red and white barber's pole) แขวนไว้
หน้าร้านตัดผม
                เพื่อให้หายคาใจ จึงต้องไปค้นคุณวิกี้และคุ้ยคุณกูเกิ้ลหาเรื่องการรักษาด้วยวิธีนี้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 09:31

หมายเหตุ  บทความข้อมูลหลักจากคุณวิกี้ซึ่งเป็นเรื่องวิชาการทางแพทย์ตะวันตก

                 และ ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกรณีหลั่งเลือดทางการเมือง ครับ


Bloodletting (or blood-letting) - phlebotomy

         ส่วนใหญ่จะใช้ในความเดียวกัน แต่หากดูตามตัวศัพท์แล้ว bloodletting เป็นคำที่กว้างกว่า
เรียกรวมวิธีต่างๆ ในการนำ(หลั่ง)เลือดออกจากร่างกายในขณะที่คำว่า

phlebotomy มาจาก   phleps (gen. phlebos) - "vein" +
                -tomia -"cutting of," from tome "a cutting"

จึงหมายถึงการ (หลั่งเลือดด้วยการ) เจาะแทงหลอดเลือดดำ

           ปัจจุบัน จัดเป็นศัพท์ทางการแพทย์ - phlebotomy ที่หมายถึงการดูดเลือดเพื่อนำไป
ส่งห้องแล็บวิเคราะห์ หรือการให้เลือด
           ส่วน  Therapeutic phlebotomy นั้นเป็นการดึงเลือดออกเพื่อลดปริมาณเม็ดเลือดแดง
ในร่างกาย ใช้สำหรับรักษาเฉพาะบางโรค


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 09:36

         Bloodletting - การหลั่งเลือดรักษาโรคนี้ เป็น วิธีการรักษา หรือ ป้องกันโรค โดยการนำเลือด
จำนวนมากพอสมควรออกจากร่างกาย นิยมใช้กันอย่างต่อเนื่องมานานนับสองพันปี (หรือ สามพันปี)
ยืนยงคงทนผ่านกาลเวลา มาหมดทั้งยุคมืด ยุคสว่าง ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

           (สมัยก่อนครั้งที่ "ความรู้" เรื่องโรคมีน้อยมาก และที่รู้ยังรู้ผิดอีกต่างหาก, ยา และ
วิธีการรักษาอย่างอื่นก็แทบจะไม่มี  แพทย์ยุคนั้นจึงต้องใช้วิธีการนี้รักษาสารพัดโรค)

          ทั้งที่ในความเป็นจริง ด้วยความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน วิธีการนี้ที่มีผลเสียเป็นอันตรายนั้น
มีที่ใช้ในโรคเพียง 2 - 3 ชนิดเท่านั้น

โลกโบราณ

           วิธีการนำเลือดออกจากร่างกาย เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่เก่าที่สุด ย้อนไปได้ตั้งแต่สมัย
ชาว Mesopotamians, Egyptians, Greeks, Mayans และ Aztecs

           มนุษย์ยุคหินเชื่อว่า โรคภัยไข้เจ็บเกิดจากปีศาจร้าย ในยุคหินมีวิธีการเจาะเปิด (Trepanning)
กระโหลกเพื่อให้ปีศาจร้ายที่สิงอยู่ภายในออกจากร่างผู้ป่วย  การเจาะเลือดออกก็เป็นวิธีการจากความเชื่อ
แบบนี้เช่นกัน
             
            อุปกรณ์ในการทำ bloodletting ในสมัยก่อนนั้น ใช้วัตถุแหลมคมต่างๆ เช่น หนาม กระดูก
มีดหิน เปลือกหอย ฟันฉลาม  ลูกศร รวมทั้ง ปลิง ซึ่งพบหลักฐานเป็นภาพฝาผนังที่เก่าแก่ถึง 1400 B.C. 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 09:43

             Imhotep(2655-2600 BC) พระและแพทย์ชาวอียิปต์ เชื่อว่าชีวิตดำรงอยู่ด้วยเลือด

             ก่อนสมัย Hippocrates (460 to 377 B.C.) เชื่อกันว่าความเจ็บป่วยต่างๆ นั้น
เกิดจากโรคๆ เดียวแต่มีอาการแสดงออกต่างๆ กัน ต่อมา Hippocrates ได้ศึกษาสังเกตอาการแสดง
แล้วจำแนกอาการกับโรค

            ความเชื่อเรื่องโรคได้เปลี่ยนไปกลายเป็นเรื่องของสมดุลขององค์ประกอบทั้ง 4
ในร่างกาย (Four Humours) ประกอบด้วยของเหลวในร่างกาย 4 ชนิด ได้แก่
เลือด เสมหะ น้ำดีดำ น้ำดีเหลือง (blood, phlegm, black bile และ yellow bile)
                   คล้ายกับธาตุทั้งสี่ของ Greek : air, water, earth and fire
           เมื่อเกิดการเสียสมดุลขององค์ประกอบนี้ในร่างกายของคนๆ นั้นก็จะเจ็บป่วย
           แนวคิดนี้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเรื่องปีศาจ วิญญาณร้ายทำให้ป่วย และสนับสนุนวิธีการจัดการสมดุล
ด้วยการนำเลือดออกจากร่าง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 09:51

          Erasistratus (304 BC- 250 BC) นักกายวิภาคศาสตร์และแพทย์กรีก
เป็นผู้ตั้งสมมติฐาน ว่าโรคหลายอย่างเกิดจากภาวะที่บุคคลนั้นมีเลือดในร่างกายมากเกินไป  
ต้องจัดการโดยเริ่มด้วยการออกกำลังกาย การเสียเหงื่อ ลดปริมาณอาหาร ตลอดจนการทำให้อาเจียน

            Herophilus (335-280 BC) แพทย์กรีก ผู้ผ่าศพมนุษย์เป็นคนแรก
สนับสนุนการทำ bloodletting

          Archagathus หนึ่งในแพทย์ Greek กลุ่มแรกผู้เข้ามาทำงานรักษาใน Rome
เมื่อ 219 B.C. เชื่อว่าวิธีการนี้มีประโยชน์ เขาได้รับสมญานามจากชาวเมืองว่า  "butcher"
              
                ความเชื่อเรื่องการเสียเลือดเพื่อสุขภาพที่ดีนี้ มีแนวคิดมาจากการมีประจำเดือนของผู้หญิง
Hippocrates เชื่อว่า ประจำเดือนจะช่วย "ขับของเสีย" (bad humour) ออกจากร่างกายสตรี

            ประมาณ 169 A.D. Galen of Rome เป็นผู้ส่งเสริมความนิยมการทำ bloodletting ของกรีก -

                จากความรู้ใหม่ในยุคนั้น เมื่อ Galen ได้ทำการศึกษาพบว่า ในหลอด(เลือด) vein และ
artery ที่เดิมเชื่อว่าเป็นหลอด(มี)อากาศ(ปน)นั้น แท้ที่จริงแล้วมีเลือดอยู่
           เลือดนี้ถูกสร้างขึ้นแล้วใช้หมดไปแล้วสร้างใหม่ บางครั้งเลือดอาจไปคั่งอยู่ตามแขนขาได้
                    นั่นคือ เขายังไม่รู้ว่า เลือดในหลอดนั้น ไหลเวียน - circulate

(เลือดดำที่ไหลกลับเข้าหัวใจซีกขวาทางหลอดเลือด vein ถูกฉีดไปฟอก - รับอ็อกซิเจนเป็นเลือดแดง
ที่ปอด แล้วกลับสู่หัวใจซีกซ้าย ที่จะบีบตัวฉีดเลือดแดงออกจากหัวใจเพื่อนำอ็อกซิเจนไปสู่อวัยวะทั่วร่างกาย
ทางหลอดเลือด artery และกลายเป็นเลือดดำกลับสู่หัวใจ)
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 09:55

Aelius Galenus or Claudius Galenus (A.D. 129 – 199)

             แพทย์และนักปรัชญาชื่อดังแห่งโรม(ที่มีรากมาจากกรีก - เกิดที่ Pergamon ปัจจุบันอยุ่ในตุรกี)
ผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดด้านการค้นคว้าทางการแพทย์แห่งยุคโรมัน
             เป็นผู้ตั้งทฤษฎีทางการแพทย์ที่มีผลต่อวิชาการแพทย์ตะวันตกอย่างสูงเป็นเวลานานกว่าพันปี
ทั้งในแขนงพยาธิวิทยา กายวิภาคสาสตร์ เภสัชสาสตร์ และ ประสาทวิทยา
             โดยการศึกษากายวิภาคจากการผ่าสัตว์ทดลอง เนื่องจากในยุคนั้นการผ่าศพคนยังเป็นสิ่งต้องห้าม
              เป็นผู้ที่พบความแตกต่างระหว่างหลอดเลือดแดงและดำ artery - vein

              ต่อมาเมื่อการศึกษาวิชาการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น การผ่าศพทำในคนได้ ความรู้ใหม่จึงเข้าแทนที่ทฤษฎีเดิม
ของเขา แต่ก็ยังคงมีบางทฤษฎีของเขาเป็นที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับจนถึงปัจจุบันนี้
               เขาทำรักษาทำการผ่าตัดบางอย่างในคน และเป็นแพทย์ที่ผ่าตัดต้อกระจกด้วยหลักการที่คล้ายกับการผ่าตัด
ในยุคปัจจุบัน

Galen ทำการผ่าตัดในหมูเพื่อแสดงว่า เมื่อเขาตัดเส้นประสาท recurrent laryngeal nerves แล้ว
               สัตว์ทดลองจะเสียงแหบหายไป


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 10:01

           จากความเชื่อแห่งยุคในเรื่องสมดุลของ องค์ประกอบทั้งสี่ (Four Humours)
ที่เป็นของเหลวในร่างกาย ได้แก่  เลือด เสมหะ น้ำดีดำ น้ำดีเหลือง
              เมื่อเกิดการเสียสมดุลนี้ในร่างกาย คนนั้นก็จะเจ็บป่วย
              Galen เชื่อว่า ต้องจัดการกับองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ เลือด โดยการดึงเลือดเกินสมดุล
(plethora) ออกจากร่าง หรือ การให้ยาเพื่อกระตุ้นการอาเจียน รวมทั้งยาขับปัสสาวะ

              อาการของเลือดเกินนี้ประกอบไปด้วย ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ

(ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อ - มีไข้, การตรากตรำ ความเครียด - อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ,
โรคความดันโลหิตสูง - ปวดศีรษะ และ ฯลฯ)

           Galen จะโยงตำแหน่งของหลอดเลือดกับอวัยวะภายในเพื่อกำหนดจุดที่จะนำเลือดออก
เช่น หลอดเลือดที่มือขวาตรงกับตับ ส่วนมือซ้ายตรงกับม้าม
              (ตรงกับกายวิภาค ตับอยู่ชายโครงขวา และ ม้าม - ซ้าย)

            หากมีไข้ ปริมาณเลือดที่ดึงออกจะต้องมากกว่าไม่มีไข้

(คนมีไข้จะภาวะขาดน้ำอยู่แล้วจากการเสียเหงื่อระบายความร้อน + กินน้ำ กินอาหารได้น้อย
ถ้ากำลังจะช็อคเพราะการติดเชื้อรุนแรง ก็คงจะตายไปจากการดึงเลือดออกเป็นจำนวนมาก)

           ความรู้เรื่องการดึงเลือดออกนี้น่าจะได้รับการส่งต่อจากกรีกสู่อิสลาม แล้วข้ามไปประเทศที่พูดลาตินในยุโรป


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 10:04

สหัสวรรษที่สอง

           แม้ว่าในเวลาต่อมา ทฤษฎี องค์ประกอบทั้งสี่ จะได้ตกไป แต่การดึงเลือดออกจากร่างกาย
ยังคงอยู่ต่อในมือของศัลยแพทย์ และ กัลบก

             barber-surgeon ศัลยกัลบก เป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่พบมากที่สุดในยุคกลาง
หน้าที่หลักคือการดูแล ผ่าตัดทหารที่บาดเจ็บ ทั้งยังดูแลขุนนาง ผู้มั่งมีตามปราสาทด้วย งานของเขาเหล่านี้
นอกจากการตัดผมแล้ว ยังครอบคลุมถึง การถอนฟัน การผ่าตัดเล็ก การตัดแขนขา และแน่นอน
bloodletting
             ศัลยกรรมได้รับการยกระดับสู่ความนับถือโดยศัลยกัลบกระดับอาจารย์ชาวฝรั่งเศส
French master barber-surgeon Ambroise Pare (1510 - 1590)
ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งศัลยกรรม
                ต่อมาศัลยแพทย์และกัลบกจึงแยกจากกันในราวช่วงก่อนกึ่งศตวรรษที่ 18


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 10:07

            ประวัติศาสตร์ส่วนนี้ได้ตกทอดมาถึงปัจจุบันในรูปของสัญลักษณ์รูปทรงกระบอกใส
ภายในมีเกลียวสีแดงสลับขาวแขวนอยู่ตามหน้าร้านตัดผม mujมีความหมายดังนี้

             สีแดง คือ เลือดที่ถูกดูดออกมา ส่วนสีขาวคือ สายรัด - tourniquet เพื่อให้หลอดเลือดปูด
โปนชัดง่ายต่อการเจาะ  และ
            ทรงกระบอก นั้นคือ แท่งไม้ที่ผู้ป่วยใช้มือบีบเพื่อให้หลอดเลือดดำขยายตัว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 11:24

มาแจมด้วยรูปกระบอกหน้าร้านตัดผมค่ะ
ส่วนลิ้งค์นี้   เล่นไอเดียกับกระบอกร้านตัดผม  ด้วย photoshop


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 11:27

ตัวอย่างภาพตัดแต่งด้วย photoshop จากลิ้งค์ข้างบนนี้



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 13:48

^ กลายเป็นหอเอนปิซาบาร์เบอร์ ครับ

           การเจาะเลือดออกนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ยาวนาน ใช้ในการรักษาแทบจะทุกโรค
จนถึงกลางศตวรรษที่ 19 ประโยชน์ของวิธีการนี้เริ่มเป็นที่กังขา

          ถึงปี 1885 แพทย์ในอังกฤษเริ่มเสื่อมศรัทธาประสิทธิภาพและไม่นิยมการรักษาด้วยวิธีนี้
แต่บางคนก็ยังคงใช้รักษาบางโรคด้วยความเชื่อว่า เป็นการถ่ายเลือดเสีย - ติดเชื้อ ออกไป หรือ
ใช้รักษาภาวะเลือดออก
          ช่วงเวลา 1800s ที่การหลั่งเลือดได้รับความนิยมสูงสุดนั้น ที่อังกฤษบางคนจะไปตลาด
เพื่อนำเลือดออกเป็นประจำด้วยความเชื่อว่าจะทำให้มีสุขภาพดี ไม่มีโรค

         ส่วนที่อเมริกา bloodletting ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้น 19
ใช้เป็นการรักษา ไข้เหลือง ในช่วงที่มีการระบาดโดยนายแพทย์ Benjamin Rush ผู้ให้การรักษา
ประธานาธิบดีวอชิงตันด้วยวิธีนี้ในเวลาต่อมา   
     
          การทำให้เลือดออกด้วยวิธีต่างๆ ได้ถูกบันทึกเป็นตำราแพทย์ โดยมีการพัฒนาเป็นหลายรูปแบบวิธีการ
ที่นิยมมากที่สุดก็คือ วิธีที่หลายคนในยุคนี้คุ้นเคย นั่นคือ การเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่แขน
          บางคนก็เจาะหลอดเลือดแดง (เลือดจะพุ่งแรงเพราะความดันในหลอดเลือดสูงกว่า)

         การทำ scarification (with cupping) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กับพระยาทรงฯ นั้น
หลอดเลือดชั้นตื้นๆ ถูกเจาะด้วยเข็มและกระบอก syringe หรือ ใช้ใบมีด พร้อมแก้วที่บรรจุอากาศร้อน
ซึ่งเมื่อเย็นลงจะเกิดสูญญากาศภายในดึงดูดเลือดออกมา

รูป scarificator - อุปกรณ์ใบมีดกรีดเนื้อหนังที่ใช้ในศตวรรษที่ 19


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 13:53

อ่านกระทู้นี้แล้วนึกถึงการรักษาโรค ที่หมอฝรั่งในเขมรทำกับพระยาทรงสุรเดช
กรีดหลังท่านเสียยับเยินเอาเลือดออก    ถ้าพระยาทรงฯท่านไม่ตายด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย    แต่ยังมีสุขภาพแข็งแรงดี  การกรีดเลือดแบบนั้นส่งผลอะไรกับสุขภาพของท่านได้บ้าง  นอกเหนือจากแผลติดเชื้อ

คุณศิลาค้นพบในบทความนี้ไหมคะ  ว่าคนไข้ตายเพราะแผลติดเชื้อและโรคแทรกซ้อนอื่นๆด้วยหรือไม่ จากการหลั่งเลือด
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 13:59

            นอกจากนี้ยังมีการใช้ปลิงเป็นตัวดูดเลือดออก มานานนับสองพันปี และได้รับความนิยมแพร่หลายเช่นกัน
เหมาะสำหรับคนที่อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง

            ในช่วงทศวรรษที่ 1830 ฝรั่งเศสต้องนำเข้าปลิงถึงปีละ 40 ล้านตัว จนปลิงเกือบจะถึงแก่กาลสูญพันธุ์
ในทศวรรษต่อมาอังกฤษก็นำเข้าปลิงจากฝรั่งเศสที่เดียวมากถึง 6 ล้านตัว
            นอกจากการใช้ปลิงดูดเลือดจากผิวหนังแล้ว ยังนำปลิงสอดทางทวารเพื่อรักษาการอักเสบในช่องท้อง
เช่น ตับ ลำไส้อักเสบ การอักเสบในอุ้งเชิงกราน ไข้หลังคลอด, สอดจมูกรักษาเลือดออกทางจมูก และ
บางครั้งสอดช่องคลอดเพื่อกระตุ้นประจำเดือน  

            ถึงทศวรรษ 1960 จึงได้เลิกการใช้ปลิงดูดเลือด แต่

           ครั้นถึงทศวรรษ 1980 ปลิงดูดเลือดก็กลับมาอีกครั้ง และครั้งนี้เข้าสู่วงการแพทย์แผนปัจจุบัน
ในกรณีที่มีปัญหาหลังการผ่าตัด นั่นคือ การมีเลือดดำคั่ง และ เลือดแข็งตัวตามมา เป็นภาวะของ
venous congestion - insufficiency
         เจ้าปลิงที่มีกรรมจะได้ทำบุญจึงถูกเลือกให้มาทำหน้าที่ดูดเลือด(เก่า-เสีย)ที่คั่งค้างนี้ออก
ทำให้อาการบวมบริเวณผ่าตัดดีขึ้น
           นอกจากนี้ สารต้านการแข็งตัวของเลือด - anticoagulant (hirudin) ที่เจ้าปลิง
ปล่อยออกมายังช่วยทำให้เลือดในบริเวณนั้นไม่แข็งตัวด้วย

จะมี case ประวัติศาสตร์ ที่ผู้ป่วย VIP เกิดผลเสียร้ายแรงจากการทำ bloodletting ตามมา ครับ อาจารย์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 14:04

ยังคงหลั่งเลือดต่อไป แม้ว่า

            ในปี 1628 William Harvey ได้ต่อต้านการทำ bloodletting

            ท่านเป็นแพทย์ชาวอังกฤษ (1 April 1578 – 3 June 1657) ผู้ศึกษาและอธิบายระบบการไหลเวียน
โลหิตของร่างกายอย่างถูกต้อง 
   
              ปี 1828  Pierre Charles Alexandre Louis เป็นหนึ่งในแพทย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อต้าน
การรักษาด้วยวิธีนี้ต่อสาธารณะ

              ท่านเป็นแพทย์ชาวฝรั่งเศส (1787-1872) ผู้นำวิธีเชิงตัวเลข "numerical method"
สู่วงการแพทย์
             (แนวคิดที่ว่าความรู้เรื่อง โรค ประวัติที่มาของโรค อาการแสดง และ การรักษา นั้นได้จาก
การรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย)     
   
           โดยทำการศึกษาย้อนหลังเก็บ case ผู้ป่วย pneumonia ที่ได้รับการทำ bloodletting
แล้วพบว่า
              ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ในวันแรก - เสียชีวิตถึง 44% ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการทำ bloodletting
หลังจากวันแรก - เสียชีวิต  25%
           ท่านสรุปว่า ผู้ป่วยกลุ่มหลังที่ตายน้อยกว่านั้นเป็นเพราะพวกเขาได้รอดผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด
ของโรคมาแล้ว และ
             วิธีการ bloodletting นี้ไม่มีประโยชน์ใดๆ ในการรักษาโรคปอดติดเชื้อ และภาวะไข้อื่นๆ

            ช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 19 เมื่อวงการแพทย์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจุลชีพที่เป็นสาเหตุ
ของการติดเชื้อ แล้วมีไข้ มีการอักเสบเป็นอาการตามมา แนวทางการรักษาโรคจึงถูกเปลี่ยนไปสู่ต้นตอสาเหตุ
แทนที่การทำ  bloodletting เพื่อจัดการกับ "อาการ" ไข้ การอักเสบจากโรค แต่ไม่ใช่การรักษา

            แต่บางคนก็ยังคงศรัทธา(ผิดๆ) ในวิธีนี้ต่อไป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง