เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 138871 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 23 ก.ค. 10, 21:21

ไม่สายแล้วละค่ะ  โพสต์เถอะ


บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 23 ก.ค. 10, 21:29

แวะมาเข้าห้องเรียนกับกล่าวคำสวัสดีกับอาจารย์ทุกๆท่านก่อนนอนค่ะ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 06:15

อ้างถึง
พอพิมพ์คำตอบเสร็จ จะเข้ามาโพสต์ก็สายไปเสียแล้ว 

ไม่สายแล้วละค่ะ  โพสต์เถอะ

อ้าว ท่านอาจารย์ไปลบทิ้งทำไมครับ คำตอบเหมือนกันเป๊ะเพราะไปเอามาจากหนังสืองานศพของจอมพลผินเหมือนกัน
ต้นฉบับที่ผมพิมพ์ก็ลบไปแล้ว

ถ้าของท่านอาจารย์ยังอยู่ ก็เอากลับมาเถอะครับ please
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 07:27

คิดว่ามาเช้าแล้ว แต่สายกว่าคุณครู

อะไรหายไปคุณครูทั้งสองท่านรีบนำกลับมาเป็นวิทยาทานด้วยครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 07:50

ดิฉันนึกว่าคำตอบท่านกูรูใหญ่กว่าคงจะมีรายละเอียดมากกว่า ก็เลยลบของตัวเองไป   เพราะของดิฉันไม่มีอะไร ลอกจากประวัติจอมพลผิน
เอากลับมาให้อีกครั้งค่ะ

อนึ่ง มีบุคคลเป็นอันมากวิพากษ์วิจารณ์ถึงตัวข้าพเจ้าว่า เป็นผู้นำการรัฐประหารแล้ว เหตุใดจึงไม่เป็นนายกรัฐมนตรีเสียเอง ข้าพเจ้ามีเหตุผลอยู่ หลายประการ
ประการแรก ตั้งแต่รับราชการก็อยู่แต่หัวเมือง ไม่คุ้นกับข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนมากนัก คุ้นเคยแต่จังหวัดที่รับราชการอยู่เท่านั้น ตลอดจนเจ้านายก็ไม่เคยรู้จัก เว้นแต่พลโท พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 ราชบุรี และพลตรีหม่อมเจ้า ทองฑีฆายุ ผู้บัญชาการกองพลที่ 2 ปราจีนบุรี

ซึ่งข้าพเจ้าเอะอะก็จะขึ้นบริหารประเทศชาติ รู้สึกว่าจะไปไม่ได้กี่วัน

ประการที่ 2 การเมืองมีการสลับซับซ้อนกันมาก เห็นตัวอย่างมาแล้ว ได้แก่พวกก่อการ 2475 พอทำการสำเร็จก็มีกบฏเกิดขึ้น 2-3 ครั้ง ทั้งพวกก่อการด้วยกันเอง ก็แตกแยกเป็นหลายก๊กหลายพวก ถึงกับคุมพรรคพวกรบกันเอง เพื่อจะครองอำนาจเป็นใหญ่ ก็มีหลายครั้ง

ยิ่งข้าพเจ้าไม่สนใจ และไม่มีความรู้ ตลอดจนไม่ได้ ศึกษาเรื่องการเมืองแม้แต่น้อย เท่ากับมีฐานะอยู่เพียงพื้นราบ จะกระโดดทีเดียวให้ถึงยอด

อาจจะตกลงมาคอหักตาย ด้วยกลไกวิถีทาง การเมือง ก็เป็นได้

ประการที่ 3 สมัยนี้โลกคับแคบด้วยความเจริญทางวิทยาศาสตร์ การสัญจรไปมาระหว่างประเทศ ซึ่งสมัยก่อนใช้เวลาไปมาตั้งเดือน มาสมัยนี้ใช้เวลาเพียง 1 วันเท่านั้น ย่อมจะมีประมุขของประเทศต่าง ๆ มาเยี่ยมเยือนไม่เว้นแต่ละเดือน

ถ้าถูกนายกรัฐมนตรีอย่างข้าพเจ้า โดย เอ บี ไม่กระดิกหู เพียงจะคุยเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไปไม่ไหวเสียแล้ว จะเอาหน้าประเทศชาติไว้ที่ไหน

ประการที่ 4 ด้วยความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้ความยุติธรรมต่อข้าพเจ้าหลายครั้ง

ครั้งแรกมีผู้ก่อการด้วยกัน มียศพันโทไม่เต็มขั้นอยู่ 2 นาย และข้าพเจ้ามีเงินเดือนไม่เต็มขั้นชั้นพันโทเช่นเดียวกัน แต่ข้าพเจ้าได้รับยศเป็นพันเอกก่อน ถึงกับผู้ก่อการทั้งสองได้เข้าไปต่อว่าต่อขานเอากับท่านว่า ข้าพเจ้ามีดีวิเศษอย่างไร

ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ผลงานมณฑลทหารบกที่ 3 นครราชสีมา ซึ่งข้าพเจ้าครองตำแหน่งนี้อยู่ ได้ผลดีเด่นกว่าอีก 4 มณฑล

ต่อจากนั้น เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพา ข้าพเจ้าได้นำทหารกองพลที่ 3 เข้าตีและยึดเชียงตุงได้ ได้มีปากเสียงโต้ตอบกับแม่ทัพพายัพรุนแรงหลายครั้ง ทั้งรายงานข้ามหน้าแม่ทัพพายัพอีกด้วย

ถ้าจะพิจารณาวินัยทหารในเวลาสงครามแล้ว นับว่าข้าพเจ้ามีความผิดอย่างร้ายแรง แต่ด้วยความกรุณาปรานี เห็นอกข้าพเจ้าที่ทหารในกองพลที่ 3 ได้รับความลำบากยากแค้นแสนสาหัส ถึงกับส่ง

นายพล 3 นาย ขึ้นไปตรวจสอบสวนความเดือดร้อนของข้าพเจ้าและทหาร

ฉะนั้น การทำรัฐประหารครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีความประสงค์อันแน่วแน่ ที่จะให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้คำวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่เป็นธรรม และเพื่อจรรโลงประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ด้วยเหตุผลทั้งสี่ประการที่กล่าวมาแล้ว ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้.


ความเห็นส่วนตัวคือ ตราบใดจอมพลป.ยังอยู่  จอมพลผินก็คงไม่อยากเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะคงเป็นได้ไม่นาน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 08:11

ผมเคยเอาหนังสือปกเขียวสี่หน้ายกแบบหนาสองเล่มมาโชว์ท่านผู้อ่านไว้  เป็นประวัติจอมพลป.พิบูลสงครามเขียนโดยลูกชายคนโตของท่านชื่อ อ.พิบูลสงคราม แก่นในเนื้อความในหนังสือจะตรงกันข้ามกับหนังสือออื่นๆที่คนอื่นเขียนถึงจอมพลป. เลยนำมาอ้างอิงไม่ค่อยได้ ยกตัวอย่างเฉพาะเรื่องการปฎิวัติโดยจอมพลผิน ท่านอ.เขียนไว้ดังนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 08:14

เรื่อง ให้ไปเชิญนายปรีดี ฯลฯ ด้วยความระมัดระวัง ละมุนละม่อม หลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาดในการใช้อาวุธนั้น ขัดกับความจริงที่เกิดขึ้นอย่างกับขาวเป็นดำ ทหารเอารถถังไปถล่มประตูทำเนียบ ยิงกราดใส่คนในบ้าน ดีแต่ภรรยาของท่านและลูกๆไม่พลอยโดนลูกหลงไปด้วย ท่านอ.จึงเขียนสรุปว่าภาระกิจสำเร็จ ไม่มีใครเสียชีวิต

หนังสือเล่มนี้ หน้านึงมี2คอลัมน์ ข้อความที่สแกนมาเลยยาวหน่อยครับ




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 08:17

ราษฎรที่อิ่มเอิบด้วยความหวังคงจะเป็นญาติของพวกท่าน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 08:40

ตรงนี้น่าสนใจครับ
เป็นตัวอย่างของคำว่า คนละเรื่องเดียวกัน ที่ผมบ่นบ่อยๆ

เหตุการณ์ที่ท่าช้าง ทหารคณะปฏิวัติยิงสู้กับประตู ไม่มีทหารของผู้บัญชาการทหารบกที่นั่น
โน่น ทหารที่ประจันหน้ากันแล้วไม่ได้ปะทะ เพราะผู้ใหญ่ตกลงกันได้อยู่ที่สพานเกษะโกมล สามเสนโน่น

คนที่อ่านหนังสือปกเขียวเล่มเดียว ไปสอบประวัติศาสตร์ละก็ ตกแน่ครับ

เดี๋ยวผมจะนำมาเข้าเรื่องตอนจบของพล.อ.อดุลต่อ ช่วงแลนดิ้งล้อสัมผัสพื้น
ช่วงนี้จรเข้ขอบินวนรอบๆสนามตามที่ท่านอาจารย์เทาชมพูบอกก่อน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 09:01

ติดตามด้วยความสนใจ เหมือนว่าเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน
ปะทะกันเล็กน้อย = ฝ่ายพลต.อ.อดุล ปักหลักสู้งั้นหรือคะ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 09:09

อ้างถึง
พล.อ.อดุลนั้น จากที่คณะปฏิวัติแถลงฟังเหมือนว่าได้ตกลงที่จะร่วมด้วย อาจเป็นไปได้อย่างนั้น แต่หลังจากตกลงกันได้ที่ทำเนียบท่าช้างแล้วว่า พล.ร.ต.ถวัลย์จะยอมลาออกและตนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน จึงพยายามกลับเข้ามาคุยกับพวกทหารเพื่อระงับมิให้ปฏิวัติ แต่ช้าไปเสียแล้ว ป๋าผินทราบเรื่องตั้งแต่ประชุมเสร็จ จึงเปลี่ยนเวลากระทำการ พล.อ.อดุลเห็นผิดแผนจึงถอยตนกลับไปอยู่ที่กองพันที่1 กรมทหารราบที่11 บางซื่อ

...คณะปฏิวัติก็ส่งทหารกองหนึ่ง ไปตั้งประจันหน้ากันที่สพานเกษะโกมล ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเจรจา พล.อ.อดุลยอมรับข้อเสนอ...

ตามนั้นเลยครับ เขาตกลงกันได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 09:11

จอมพล ป. และสมุนบริวารของท่านไม่ชอบขบวนการเสรีไทยเอามากๆ จอมพล ป.คิดในตอนแรกว่า คงเป็นนักเรียนนอกที่ไปรับใช้อังกฤษลักลอบเข้ามาหาข่าวในเมืองไทยสิบยี่สิบคน หลังสงครามกลับกลายเป็นกองกำลังพลเรือนติดอาวุธกระจัดระจายอยู่ทั่วประเทศสิบกว่าหน่วยภายใต้อาณัฐของนายปรีดี แม้ว่าน้ำเสียงของท่านอ.ในข้อความข้างล่าง จะออกแนวดูถูกๆพวกนี้อยู่ไม่น้อย แต่อีกหลายหน้าในหนังสือที่ท่านเขียนก็ให้น้ำหนักความระแวง และความเกลียดชังขบวนการที่แปรร่างมาจากเสรีไทยนี้

นี่เป็นอีกจุดสำคัญที่กระตุ้นให้ทหารขวาจัดกระทำการปฏิวัติ ใครก็รู้ว่าขบวนการของพรรคคอมมิวนิสต์ได้เริ่มปฏิบัติการแล้วทั่วภูมิภาคโดยใช้คำว่ากู้ชาติเป็นธงนำ ในเมืองไทยจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ทหารย่อมเสียวๆอยู่ ทหารดังกล่าวนี้อาจรวมถึงผู้บัญชาการทหารบกตอนนั้นด้วยก็ได้ ท่านอาจจำเป็นต้องเลือก take side อีกแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 09:48

จุดที่น่าสงสัยอีกจุดหนึ่งก็คือ ท่านอ. ได้เขียนเรื่องเหตุการณ์ตอนขึ้นศาลอาชญากรสงครามของจอมพลผู้บิดาไว้มาก ใครไปให้การในศาลเป็นปฏิปักษ์อย่างไร ท่านก็เหน็บแนมกลับ ขนาดนายดิเรก ชัยนามให้การ ท่านก็วิจารณ์กลับเหมือนเป็นตัวตลก ส่วนพล.ต.ต.ชลอ ศรีศรากรนั้นได้ทราบจากท่านอ.ว่า ตอนเป็นนายทหารปืนใหญ่ชั้นผู้น้อย เป็นลูกน้องที่ไปนั่งศาลากินเหล้าข้างคลองบางซื่อของจอมพลป. ล่อกับแกล้มฝีมือท่านผู้หญิงพร้อมๆกับพล.อ.อดุลเป็นประจำแทบทุกวัน มิน่าเล่า พล.อ.อดุลจึงส่งพล.ต.ต.ชลอเป็นทูตไปเจรจากับจอมพลป.ที่ลพบุรี เมื่อให้การในศาลนั้นท่านอ.วิจารณ์พล.ต.ต.ชลอเสียกลายเป็นคนบ้าๆบอๆไปเลย

แปลก แปลกมากครับที่ท่านอ.เขียนถึงพล.อ.อดุลเพียงที่ผมตัดเอามาลงนี้ ไม่แตะต้องคำให้การในชั้นสอบสวนที่พล.อ.อดุลว่าไว้ยาวเหยียดละเอียดละออเลย นั่นน่ะล้วนที่ท่านและคุณพ่อจะต้องอ่านไปสะดุ้งไปทั้งนั้น

เลยทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ตอนไปให้การหน้าบัลลังก์ศาลจริงๆ พล.อ.อดุลจะเบิกความอย่างไร แบบม้วนเดียวจบ กลายเป็นมวยล้มต้มคนดูหรือเปล่า



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 10:14

ผมค้นพบบทความหนึ่งในเวป  จากผู้เขียนที่ใช้นามว่า Bugbunny แสดงความเห็นที่ผมเห็นด้วยเพราะมีตัวอย่างคนของเราคล้ายๆกันนี้ ลองอ่านดูครับ ผมขออนุญาตตัดตอนออกไปบ้างเพื่อให้กระชับ



พลเอกฮิเดกิ โตโจ ตัวอย่างของคนดีที่ทำให้ประเทศชาติพินาศย่อยยับ

 
หลังการประหารชีวิต พลเอกฮิเดกิ โตโจ ตามคำพิพากษาของศาลอาชญากรสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร ได้มีการสำรวจทรัพย์สินของนายพลผู้เฒ่าอาชญากรสงครามที่ทางสัมพันธมิตรอายัดไว้ และพบว่าเขาไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเหลืออยู่เลยนอกจากบ้านเก่า ๆ หนึ่งหลัง ฝ่ายสัมพันธมิตรตัดสินใจส่งคืนให้กับภรรยาหม้ายของโตโจไป

 พลเอกฮิเดกิ โตโจ เป็นนายทหารอาชีพที่มีเกียรติประวัติดีเด่น เขาเป็นคนดีซื่อสัตย์และมีคุณสมบัติครบถ้วนของความเป็นสุภาพบุรุษตามมาตรฐานของซามูไร เมื่อที่ประชุมร่วมกับสมเด็จพระจักรพรรดิของรัฐบาลโน้มเอียงไปในทางการทำสงคราม เจ้าชายโคโนเอะได้กราบถวายบังคมลาออกจากนายกรัฐมนตรี ทำให้ โตโจได้รับแต่งตั้งแทน อันเป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง โตโจถล่มเพิร์ลฮาเบอร์ พร้อม ๆ บุกเข้าสู่อินโดจีน สยาม มลายู ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ได้ชัยชนะติดต่อกันมาระยะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มพ่ายแพ้และกลายเป็นฝ่ายรับ หลังยุทธนาวีที่มิดเวย์ โตโจ ต้องลาออกเมื่อชัดเจนว่าญี่ปุ่นกำลังเพลี่ยงพล้ำในสงคราม ที่ยุติลงด้วยการทิ้งระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกาลงในเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นและสมเด็จพระจักรพรรดิทรงประกาศยุติสงครามด้วยการยอมแพ้ต่อสัมพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไข
 พลเอกฮิเดกิ โตโจ บริหารประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานานในช่วงสงคราม เขาเป็นตัวอย่างของนายทหารที่จงรักภักดีต่อสมเด็จพระจักรพรรดิอย่างยิ่งยวด คำให้การของเขาต่อศาลอาชญากรสงครามนั้นยืนยันความรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในการก่อสงคราม รวมไปถึงคำให้การที่ชี้ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิ์ฮิโรฮิโตมิได้ทรงเกี่ยวข้องกับการเริ่มสงคราม

  หากจะดูการกระทำของพลเอกฮิเดกิ โตโจ จะพบว่าเขาเป็นหนึ่งในคนที่เป็นตัวอย่างของการเป็นคนดี ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น ชีวิตส่วนตัวเรียบง่ายสมถะ นิยมการเขียนบทกวีและชื่นชมกับธรรมชาติ
 
ปัญหาก็คือคนดีอย่างนี้ บริหารประเทศจนพินาศย่อยยับกันอย่างที่เห็น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือ? มีตัวอย่างของคนดีจำนวนมากในประวัติศาสตร์โลกที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ตายไปโดยไม่เหลือทรัพย์สมบัติอะไรเลย แต่นโยบายและวิธีการที่ต้องการให้ประเทศเป็นรัฐในอุดมคติ กลับสร้างความพินาศต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างย่อยยับ พอลพต ก็เป็นคนดี เขาไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเลย ตายอย่างอนาถา ศพถูกเผาในโลงไม้ที่ต่อขึ้นหยาบ ๆ  ตลอดชีวิตไม่เคยหาประโยชน์ใส่ตัวเลย แม้แต่ในตอนที่ปกครองประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยอยู่ เจียงชิง และแก๊งค์สี่คน ก็ต้องการสร้างประเทศจีนที่บริสุทธิ์ในอุดมคติ ประชาชนรักประเทศชาติและระบอบสังคมนิยม เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว การปฏิวัติวัฒนธรรมมีอุดมการณ์เช่นนั้นถูกต้องแล้วหรือ ที่คนพวกหนึ่งมีความคิดแบบนั้น ต้องบังคับให้คนอื่น ๆ มีความคิดแบบเดียวกับตนเอง ที่มันเกิดผลต่อมาว่า ทุกคนต้องลำบากแสนเข็ญ หลายคนต้องตาย สมบัติของชาติถูกเผาทำลาย เพื่อให้บรรลุอุดมคตินั้นของพวกเขา นี่เป็นเรื่องกิเลศตัณหาส่วนตัว ไม่ใช่การกระทำเพื่อส่วนรวม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 10:26

มีความเห็นในเวปหนึ่งชื่อขบวนการเสรีไทย คุณcameronDZ เขียนไว้ก็โดนใจ

พูดถึง หลวงอดุล นายพลตาดุ คนนี้
เป็นคนที่น่าสนใจ น่าศึกษามาก ในประวัิตศาสตร์การเมืองไทยยุคแย่งชิงอำนาจกันระหว่างสหายร่วมรบสองฝ่าย
หลวงอดุลได้รับการยกย่อง กล่าวขานว่าเป็นคนตรง ตงฉิน ไม่เข้าใครออกใคร และไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมือง
แต่ในมุมมองของผม ผมไม่ค่ิอยเชื่อว่า คนที่กล้าเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่ว่าจะทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจะเป็น "คนตรง" แบบไม่ต้องการอำนาจอะไรเลย

ผมมองว่า หลวงอดุล เป็นคนอยากเล่นกับอำนาจ แบบกล้า ๆ กลัว ๆ มากกว่า
จึงสร้างตัวเองให้ภาพออกมาเป็นคนตงฉิน เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ไม่อยู่ข้างฝ่ายไหนชัดเจน จะเห็นได้ว่า หลวงอดุล เป็นทั้งอดีตเสรีไทย และเป็นทั้งนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่ทำงานรับใช้ "รัฐจอมพล ป." ภาพที่ใกล้เคียง หลวงอดุล มากที่สุด น่าจะเป็นภาพจอมพลสฤษดิ์ที่ได้โอกาส ฉวยประโยชน์จากอำนาจที่คลอนแคลน
แต่หลวงอดุล ไม่มีโอกาสมากอย่างนั้นภาพประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกออกมา
หลวงอดุล จึงออกจะ "ดูดี" กว่าจอมพลสฤษดิ์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง