เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 139193 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 14 ก.ค. 10, 18:44

^

อ้างถึง
กลัวอาจารย์หักคะแนนความประพฤติ

โอ้ โห อารายกานขนาดน้าน
ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 14 ก.ค. 10, 19:20

ก่อนจะเริ่มม้วน2 ผมของเรียนให้ทราบว่าผมได้อ่านหนังสือที่เขียนบันทึกประวัติและถึงคุณงามความดีของท่านจอมพล ป. ที่เขียนโดย อ. พิบูลสงครามลูกชายคนโตของท่านเอง และหนังสือบันทึกการสัมนา เรื่องของท่านที่จัดขึ้นทีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเชิญลูกหลานของท่านและผู้ทรงคุณวุฒินับสิบมาแสดงทัศนะต่อนักศึกษาและผู้สนใจอื่นๆ ผมได้เนื้อหาทางฝ่ายจอมพล ป. เอามาประกอบการเขียนในประเด็นที่ผมตั้งหัวเรื่องไว้ ไม่ได้หมายจะมาชูใครหรือย่ำใคร แต่เพื่อคลี่คลายความสงสัยว่า อะไรที่ทำให้เพื่อนซี้ต้องกลับเคืองกันขนาดไม่มองหน้า ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวผมก็จะไม่แตะต้องหรอก แต่ทั้งคู่เป็นบุคคลสาธารณะและเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของชาติให้ผมเรียน  ผมคิดว่าผมมีสิทธิ์และมีความชอบธรรมตราบเท่าที่ผมไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง(ที่ผมเข้าใจ)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 14 ก.ค. 10, 19:22

เล่มนี้ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ-ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์-วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ เป็นบรรณาธิการ

กูรูตัวจริงเสียงจริงทั้งนั้น


บันทึกการเข้า
dotdotdot
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 14 ก.ค. 10, 21:05



มาลงชื่อขอนั่งแถวหลัง        ไม่ห่างจากคุณจุดจุดจุด ครับ

แถวหลังนี้ แอร์ เย็นสบายครับถ้าอาจารย์ไม่เรียกให้ยืนขึ้นตอบคำถาม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 07:30

ท่านผู้อ่านที่รอลุ้นม้วนสองอยู่ ขอให้อดใจรอหน่อยนะครับ INTERMISSIONอาจจะนาน

ท่านอาจารย์ใหญ่ยังจ้ำเรือจ้างกวดมาไม่ถึง ต้องรอท่านนิดเพราะท่านจะมีอะไรดีๆใส่เรือจ้างของท่านมาเพียบ

ขืนผมจะตะบึงเรือหางยาวของผมไป จะขาดรสชาด
ลืมอะไรในช่วงที่สองเกลอยังเป็นคุณหลวงไปบ้าง

เดี๋ยวจะไม่เอร็ดอร่อยเท่าที่ควร
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 08:07

มาจองที่นั่งแถวหน้า กลัวครูจะจำไม่ได้ แอบนั่งด้านหลังมานาน  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 09:05

^

ยินดีที่ได้พบกันอีกครับ

ระหว่างนี้คุณหมอช่วยกรุณาเชิญคุณหลวงทั้งสองไปตรวจสุขภาพจิตพลางๆก่อน เอาอย่างละเอียดเลยครับ

อาจจะมีการขอรายงานแพทย์ในกระทู้นี้อีกก็ได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 09:19

ระหว่างรอเปิดม่านตอนที่สอง ขอนำบทความจาก  ต่วยตูน พ.ศ. ๒๕๔๕ มาเสนอ

จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นอาชญากรสงคราม โดย ท่านผู้หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม

หลังจากสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลงและญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้สงคราม จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีในยุคนั้น ได้ตกเป็นผู้ต้องโทษ เพราะดำเนินนโยบายรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรกับญี่ปุ่น เพื่อความอยู่รอดและเพื่อเอกราชของชาติไทย ในระหว่างสงคราม

ความผันผวนของชีวิตจอมพล ป. ในช่วงหลังสงคราม ท่านผู้หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม ได้เขียน "บันทึกความทรงจำ "ให้หนังสือ เบื้องแรกประชาธิปไตย ของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยไว้ว่า

เมื่อเสร็จสงครามแล้ว ดิฉันยังจำเหตุการณ์ตอนที่ท่านจอมพลถูกรัฐบาลในขณะนั้นตั้งข้อหาว่าเป็นอาชญากรสงครามหมายเลขหนึ่ง นับว่าเป็นโทษขั้นหนักที่สุดสำหรับประเทศ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับได้ลงข่าวกันอย่างครึกโครม

ความรู้สึกของท่านจอมพลในขณะนั้น ดิฉันรู้สึกว่าท่านชินชามาก ทั้งนี้ เพราะทราบล่วงหน้าอยู่แล้วว่าจะต้องประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้ และก่อนหน้านั้นก็มีพรรคพวกมาเตือนมาบอกให้รู้ตัวอยู่เสมอ ๆ แต่ท่านก็มิได้พูดว่ากระไร รู้สึกว่าท่านรู้ชะตากรรมของท่านดี

วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันที่เจ้าหน้าที่มาเชิญตัวท่านไปควบคุมในฐานะเป็นผู้ต้องหานั้นพวกเราทุกคนทราบล่วงหน้ากันหมดแล้ว เวลานั้นครอบครัวของเราพักอยู่ที่บ้านหลักสี่ ประมาณตีสี่ วันที่ท่านจะถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหาฉกรรจ์ มีนายทหารบกประมาณ ๔ - ๕ คนมาที่บ้าน ร้อยเอก อนันต์ พิบูลสงคราม ลูกชาย เป็นคนเปิดประตูรับนายทหารให้เข้ามาในบ้าน แล้วบอกว่า

"ขอเวลาหน่อยนะ คุณพ่อยังไม่ตื่น รอให้ท่านตื่นก่อนเถอะ แล้วค่อยเอาตัวไป"

ซึ่งนายทหารนั้นก็ยินยอมเป็นอย่างดี เมื่อจอมพลตื่นขึ้นมาทราบเข้า ท่านก็ถามว่า

"อ้อ...เขามากันแล้วหรือ พ่อก็พร้อมแล้วเหมือนกัน"

นายทหารบกคนที่มาเชิญตัวท่านนั้นชื่อ พ.ท. จำรัส รุ่งแสง ได้คุกเข่ากราบท่านและกล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอว่า "ผมทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาเท่านั้น" ซึ่งท่านก็เข้าใจและไม่ได้กล่าวอะไรอีกจนคำเดียว ก่อนฟ้าสางในตอนเช้าวันนั้นเอง ท่านก็ออกจากบ้าน จากลูกจากเมียไป โดยมี ประสงค์ พิบูลสงคราม ลูกชายคนที่สองขับรถให้คุณพ่อด้วย

ระหว่างนั้นได้มีผู้มาแสดงความเสียใจกับดิฉันเป็นจำนวนมาก มีทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ ดิฉันรู้สึกในขณะนั้นว่า ชาวต่างประเทศบางคนเสียอีกที่เข้าใจอะไร ๆ ในบ้านเมืองเราดีเสียกว่าคนในประเทศไทย

นับเป็นภาวะที่ครอบครัวของเราลำบากมากทีเดียว ระหว่างที่ท่านจอมพลอยู่ในที่คุมขังในฐานะอาชญากรสงคราม ดิฉันถึงต้องขายของเก่ากิน มีอะไรก็ขายไป พอเช้าขึ้นเจ๊กก็มาถามว่ามีอะไรจะขายให้บ้าง ดิฉันก็จัดการขายไปเรื่อย ๆ คิดเสียว่าสมบัตินอกกายไม่ตายหาใหม่ได้ ก็เก็บขายเรื่อยไป นอกจากเครื่องเพชรมีค่าชิ้นหนึ่งที่ไม่ได้ขาย แต่เอาไปไว้กับธนาคาร และได้บอกให้เช่าบ้านที่หลักสี่แก่บริษัทการบิน KLM ในราคา ๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน นับว่าเป็นราคาสูงทีเดียวสำหรับสมัยนั้น

ในตอนนี้เองที่ดิฉันได้ตระหนักดีถึงชีวิตของเมียนักการเมืองว่า บางครั้งก็ต้องลำบากระเหเร่ร่อนไปเมื่อสามีเกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นมา ชีวิตต้องขึ้น ๆลง ๆไม่ราบรื่นเช่นคนอื่น อย่างไรก็ดี ท่านจอมพลมักจะสอนลูกหลานไว้เสมอว่า ท่านเป็นนักการเมืองที่บริสุทธิ์ทำทุกอย่างเพื่อประเทศชาติเพื่อบ้านเมือง แม้จะต้องมีอันเป็นไปอย่างไรก็ตาม ลูกหลานของท่านทุกคนจะสามารถเดินเหินอยู่บนถนนเมืองไทยได้อย่างมีเกียรติมีหน้าตามีตา และท่านเชื่อเสมอว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นหรือที่ทำไปนั้นด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเพื่อประเทศชาติเป็นที่ตั้ง

ในการที่ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้พ้นจากโทษอาชญากรสงครามนั้น ดิฉันมีความรู้สึกว่าได้รับความกรุณาช่วยเหลือจากมิตรสหาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทั้งที่ให้การเป็นประโยชน์ในศาลและช่วยเหลือทั้งทางตรงและทางอ้อม นอจากนั้นก็ได้ท่านผู้มีชื่อ คือ พระมนูภาณวิมลศาสตร์ ได้กรุณารับเป็นทนายความให้ ดิฉันขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย และอีกผู้หนึ่งที่ให้การเป็นประโยชน์แก่ท่านจอมพล คิดดูให้ซึ้งจะแปลกหรือเปล่าว่าท่านผู้นั้นคือ นายพล อาเคโตะ นากามูระ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นหน่วยงิ ประจำประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านเขียนบทความในหนังสือชื่อ " ผู้บัญขาการชาวพุทธ  บันทึกผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ " แปลโดย เออิจิ มูราชิมา และ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ มีใจความว่า

ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเมื่อตอนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ ผู้พิพากษาศาลฎีกาคือพระมนูภาณวิมลศาสตร์ได้ลาออกจากตำแหน่งราชการ และได้มาเป็นทนายความแก้ต่างให้กับจอมพล ป.พิบูลสงคราม หลังจากนั้นต่อมาอีกไม่นาน จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ติดต่อผ่านสถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นอย่างไม่เป็นทางการ ขอให้ผู้บัญชาการนากามูระมาเป็นพยานให้ด้วย ข้าพเจ้าตอบว่ายินดีที่จะเป็นพยานให้ แต่ต้องขออนุญาตผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษก่อน ต่อมาอีกสองสามวันได้รับคำตอบจากผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษว่าไม่ขัดข้อง ดังนั้นในวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ กำหนดว่าเป็นวันให้การ วันนั้นข้าพเจ้าไปรายงานตัวที่ห้องข่าวสารของกองทัพอังกฤษและให้ปากคำกับพระมนูภาณวิมลศาสตร์ ซึ่งมีอดีตเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาและปัจจุบันเป็นทนายความของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ทั้งนี้ มีนายทหารอังกฤษนั่งฟังอยู่ด้วย

เขาถามว่า  "จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เข้าร่วมกับญี่ปุ่นบุกเข้าไปในพม่าผ่านรัฐฉาน ข้อนี้มีสถานการณ์ความเป็นจริงในขณะนั้นอย่างไร"

ตอบว่า  "เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง กองทหารไทยเข้าไปรักษาภาคเหนือของรัฐฉานด้วยกำลังเพียงเล็กน้อย เป็นการเรียกร้องของกองทัพญี่ปุ่น กองทหารไทยไม่เคยบุกเข้าไปในประเทศจีนและประเทศพม่าด้วยตนเอง ความต้องการของกองทัพญี่ปุ่นในขณะนั้น คือต้องการให้กองทัพไทยปฏิบัติอย่างแข็งขันต่อรัฐบาลจุงกิง ข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดา แต่กองทัพไทยไม่เคยข้ามชายแดนไปเลย"

ถามว่า  "เหตุการณ์ที่ระนอง เป็นอย่างไรบ้าง"

ตอบว่า  "เหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องเคราะห์ร้ายที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เกิดขึ้นในช่วงของการเปลี่ยนรัฐบาลจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม มาเป็นนายควง อภัยวงศ์ และกองกำลังส่วนหนึ่งซึ่งสังกัดกองทัพมลายูของญี่ปุ่น กองกำลังนั้นอยู่ติดกับกองทัพของข้าพเจ้าซึ่งไม่ทราบสถานการณ์อย่างแน่ชัดในขณะนั้น เป็นผู้ก่อเหตุการณ์ขึ้น เป็นการปฏิบัติที่ผิดพลาด และน่าเสียใจอย่างมาก ในตอนนั้น ข้าพเจ้าในฐานะเป็นผู้แทนของ พล.ท.อิชิคูโระ ผู้บัญชาการกองทัพมลายู ได้กล่าวขอขมาต่อฝ่ายไทย และเป็นผู้นำคำขออภัยของรัฐมนตรีกลาโหม หัวหน้าเสนาธิการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการกองทัพใหญ่จอมพลเทราอูจิ ไปมอบให้กับ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีควง และรัฐมนตรีกลาโหม พล.ร.อ. สินธุ์ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม"

ถามว่า  "จอมพล ป. พิบูลสงครามให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่และสม่ำเสมอกับฝ่ายญี่ปุ่นหรือไม่"

ตอบว่า  "ประเทศญี่ปุ่นและไทยเป็นสัมพันธมิตรกัน จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นนักการเมืองที่น่านับถือยกย่อง ท่านได้ให้ความร่วมมือตามการเรียกร้องของทหารญี่ปุ่น ภายใต้ขอบเขตที่จำเป็นตามหลักของสัมพันธมิตร ท่านได้แสดงให้เห็นอย่างองอาจว่าจะไม่ปฏิบัติเรื่องใด ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อเอกราชและศักดิ์ศรีของประเทศไทย"

ถามว่า  "ถ้าเช่นนั้น มีอะไรเป็นตัวอย่างบ้าง"

ตอบว่า "เรื่องเอกอัครราชทูตทสุโบกามิ ขอร้องให้เขาไปเข้าร่วมประชุมวงศ์ไพบูลย์มหาเอเซียบูรพาถึง ๓ - ๔ ครั้ง ข้าพเจ้าไปพร้อมกับเอกอัครราชทูตด้วยอีก ๒ ครั้ง แต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ตอบปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง"

ถามว่า "มีตัวอย่างอื่น ๆ อีกหรือไม่"

ตอบว่า  "จอมพล ป.พบูลสงคราม ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เพชรบูรณ์ เมื่อพิจารณาสถานการณ์ทั่วไปของสงครามมหาเอเซียบูรพาแล้วการเริ่มสร้างเมืองหลวงใหม่เป็นการขัดกับข้อเรียกร้องของฝ่ายญี่ปุ่น ในขณะนั้น ซึ่งต้องการวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก เพื่อไปสร้างและซ่อมถนน ท่านไม่ได้ให้ความร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นอย่างแข็งขันเลย คือ ไม่ได้ยุติการก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ข้าพเจ้าสามารถบอกเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน และมีความเชื่อมันในข้อเท็จจริงที่ว่า

ข้อที่หนึ่ง  การที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้าร่วมเป็นสัมพันธมิตรกับญี่ปุ่นเพราะว่าท่านรักเมืองไทย ท่านพยายามรักษาเอกราชของเมืองไทยและท่านไม่มีเจตนาที่จะสู้รบกับฝ่ายสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ

ข้อที่สอง  จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกองทัพญี่ปุ่นนั้น เฉพาะภายในขอบเขตหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติในฐานะเป็นกองทัพสัมพันธมิตร และเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารญี่ปุ่นปฏิบัติแบบที่อยู่ในประเทศอินโดจีน - ฝรั่งเศส ข้อนี้ขึ้นกับความสามารถของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นสำคัญ นี่คือการตัดสินใจอย่างแน่วแน่และเป็นการปฏิบัติของผู้ที่รักชาติ ท่านเป็นบุคคลที่คนไทยน่าจะรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ สรุปแล้ว จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้รักชาติอันดับหนึ่งของเมืองไทย และต้องมารับเคราะห์กรรมถูกนินทาว่าร้ายจากฝ่ายสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยลำพังเพียงคนเดียว ท่านไม่สู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นเพื่อช่วยรักษาสภาพประเทศไทยไม่ให้ถูกเผาทำลาย สามารถรักษาเอกราชของไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ ท่านเป็นปูชนียบุคคลและเป็นผู้ที่สามารถรู้แนวโน้มของสถานการณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรักษาเอกราชของไทย"

การให้ปากคำของข้าพเจ้ามีเพียงเท่านี้ ข้าพเจ้าจับมือกับพระมนูภาณฯ อย่างหนักแน่น และท่านได้ลากลับไป หลังจากนั้นอีกไม่นาน ศาลฎีกาได้มีคำตัดสินว่าการพิจารณาคดีอาชญากรสงครามนั้นขัดกับกฏหมายรัฐธรรมนูญของไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม และคณะทุกคนได้รับการปลดปล่อย และพวกข้าพเจ้าได้ฉลองและดื่มสุราแสดงความยินดีกับพวกเขาในครั้งนั้นด้วย

ท่านจอมพลได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับครอบครัวชั่วระยะหนึ่ง โชคชะตาก็ได้นำให้ท่านกลับเข้ามาทำงานให้แก่ชาติบ้านเมืองอีกครั้งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๐

จากหนังสือ ความนึกในทรงจำของคุณสังข์ พัธโนทัย ตอนหนึ่งเขียนว่า

"วันหนึ่ง ๆ ตำรวจจะเปิดประตูกรงให้นาน ๆ ก็เฉพาะเวลารับประทานอาหาร ท่านผู้หญิงอุตส่าห์มาส่งข้าวถึงวันละ ๓ เวลา ท่านจอมพลขอร้องให้ลดลงเหลือวันละ ๒ เวลา ก็ไม่ยอม ทางตำรวจกรุณาอนุญาตให้ท่านผู้หญิงขึ้นมาพบท่านจอมพลได้ห่างๆ แต่คุยอะไรกันไม่ได้ นอกจากจะพูดกับตำรวจที่ควบคุมอยู่นั้น กิจวัตรของท่านผู้หญิงที่ตรึงใจฉันมากคือ เมื่อมาถึง หรือขากลับ ท่านผู้หญิงจะขออนุญาตตำรวจเข้าไปกราบเท้าสามีทุกครั้ง ไม่ว่าเช้า กลางวัน หรือเย็น ท่านผู้หญิงเคยพูดกับฉันมานานแล้วครั้งหนึ่งว่าท่านถือว่าการเคารพบูชาสามีเป็นมงคลของหญิง เมื่อได้มาเห็นการปฏิบัติของท่านเช่นนี้ ก็นึกนิยมยินดีอยู่เป็นอันมาก"


  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 10:23

อ้างถึง
การให้ปากคำของข้าพเจ้ามีเพียงเท่านี้ ข้าพเจ้าจับมือกับพระมนูภาณฯ อย่างหนักแน่น และท่านได้ลากลับไป หลังจากนั้นอีกไม่นาน ศาลฎีกาได้มีคำตัดสินว่าการพิจารณาคดีอาชญากรสงครามนั้นขัดกับกฏหมายรัฐธรรมนูญของไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม และคณะทุกคนได้รับการปลดปล่อย และพวกข้าพเจ้าได้ฉลองและดื่มสุราแสดงความยินดีกับพวกเขาในครั้งนั้นด้วย

ไหนๆก็ไหนๆ เอาตอนจบมาฉายเป็นหนังตัวอย่างเรียกน้ำย่อยบ้างก็จะเป็นอะไรมี

การที่จอมพล ป.ต้องขึ้นศาลเป็นอาชญากรสงครามก็เพราะเป็นความต้องการของฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งรัฐบาลก็จำเป็นต้องว่าไปตามบท แต่การที่ในที่สุดแล้วจอมพล ป.ได้หลุดคดีง่ายๆ ก็เพราะการวางแผนที่ลึกล้ำของนายปรีดีนักกฏหมายชั้นศาสตราจารย์ ที่ดึงเกมให้ล่าช้า โดยอ้างว่า ไทยไม่มีกฏหมายนี้ จำเป็นต้องร่างและประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาก่อน กว่าจะร่างเสร็จ กว่าจะผ่านสภา กว่าจะเบิกพยานมาให้การแต่ละปาก เวลาล่วงเลยไปหลายปีจนอุณหภูมิสงครามเย็นลง และไทยจ่ายเบี้ยปรับไปจนอังกฤษไม่ติดใจแล้ว จึงให้มีการตีความกันว่า กฏหมายอาชญากรสงครามเป็นกฏหมายที่เพิ่งจะประกาศใช้ จะบังคับต่อผู้กระทำความผิดย้อนหลังได้หรือไม่ แน่นอน100%อยู่แล้วที่ศาลฎีกาจะตัดสินว่าไม่ จอมพล ป.ก็ได้ออกจากคุก

ถ้าเขาจะเอาให้ตาย ตอนนั้นเขาใช้ศาลทหาร หรือศาลพิเศษที่จอมพล ป.ชอบใช้ไม่ดีกว่าหรือ นั่นน่ะได้เห็นศพแน่
แต่จอมพล ป.ก็ออกมาล้างบางคู่แข่ง กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีอีกเป็นสมัยที่2
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 10:48

นายพล อาเคโตะ นากามูระ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นหน่วยยิง ประจำประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านเขียนบทความในหนังสือชื่อ " ผู้บัญขาการชาวพุทธ  บันทึกผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ " แปลโดย เออิจิ มูราชิมา และ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

หนังสือเล่มชื่อว่า "ผู้บัญชาการชาวพุทธ ความทรงจำของนายพลนากามูระเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา"

http://www.taharn.net/warmachine/48j26a.html

มีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับจอมพล ป. รวมทั้งพล.ต.อ. อดุล นายควง และนายปรีดี

พันเอก ธงชัย รอดย้อย สรุปตอนนี้ไว้ว่า


บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 11:36

หนังสือเล่มชื่อว่า "ผู้บัญชาการชาวพุทธ ความทรงจำของนายพลนากามูระเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา"

มาสารภาพอีกแล้วว่า มีหนังสือเล่มนี้และอ่าน ๒ รอบ แต่จำอะไรไม่ได้เลย
ตอนนี้ไม่รู้ซุกอยู่ในลังไหนแล้วด้วยครับ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 11:49

ขอความกรุณาขอข้อมูลเกี่ยวกับท่านผู้หญิงนิดนึง ครับ คือท่านผู้หญิงฯท่านแต่งเนื้อเพลงไว้หลายเพลง แต่งกลอนก็มี ท่านทินกร น้องท่าน ก็เก่งทางด้านนี้ สกุลของท่านถ้าผมจำไม่ผิดคือ "พันธ์กวี" สกุลนี้มีความสัมพันธ์ กับกวีท่านใดหรือไม่ครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 13:31

งานเข้า ๒ งานพร้อมกัน
งานเข้าอย่างแรกคืองานเข้าจริงๆค่ะ  มีงานด่วนนอกเรือนไทยเข้ามา ในสัปดาห์นี้   
งานเข้าอย่างที่สอง คือท่านกูรูใหญ่กว่า เปิดห้องรับนักเรียนเข้ามานั่งเต็มชั้นแล้ว  แล้วประกาศอินเทอมิชชั่น  เล่าตอนจบเอาดื้อๆ
นักเรียนก็ละล้าละลัง   จะขอค่าลงทะเบียนคืนกันอลหม่าน

จึงขอเข้ามาเล่าเรื่องย้อนไปตอนต้นละกัน     คอร์สนี้ครีเอทอยู่แล้ว  เล่าตอนจบก่อนแล้วค่อยปูพื้นกลับไปตอนต้นก็ได้

ดูจากชื่อกระทู้   ก็ใคร่ขอเชิญให้วาดภาพคุณธรรมน้ำมิตรระหว่างลูกผู้ชายที่ยาวนานมาตั้งแต่ยังเยาว์   ไปมาหาสู่เหมือนญาติ    มีเงินก็แบ่งกันกินแบ่งกันใช้   ตามประสาหนุ่มวัยรุ่นเมื่อค่อนศตวรรษก่อน
เมื่อคุณหลวงพิบูลยังเป็นทหารหนุ่ม  เงินเดือนน้อย   เริ่มต้นชีวิตครอบครัวอย่างทหารชั้นไม่ใหญ่โตอะไรนัก     บ้านของท่าน เพื่อนชื่อหลวงอดุลก็ไปพักอาศัยอยู่    นอนอยู่ชั้นบน   คุณนายสาวของหลวงพิบูลไกวเปลกล่อมลูกอยู่ชั้นล่าง  ทำกับข้าวให้กินพร้อมสามีทุกมื้อ
ก็อยู่กันมาได้ราบรื่น   ถูกอัธยาศัยกันดี

หลวงพิบูลกับหลวงอดุลเป็นเพื่อนรักกันมากไหม   บอกได้ว่า ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน น่าจะมากกว่าเพื่อนคนไหนทั้งหมดในวัยหนุ่มของท่านทั้งสอง     เมื่อคุณหลวงพิบูลได้ดิบได้ดีเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง   คุณหลวงอดุลก็อยู่เคียงข้าง
หลวงพิบูลปูทางอนาคตเพื่อนจากทหาร โอนไปเป็นตำรวจเพื่อจะได้เป็นเพื่อนคู่ใจของท่าน  เราก็พอมองเห็น    เพราะผู้นำที่ต้องการรักษาอำนาจไว้ให้ได้ ท่ามกลางการเมืองที่พลิกผัน    จะขาดมือขวาสีกากีเสียมิได้
ตำรวจสำคัญอย่างไร  เดี๋ยวจะเข้ามาอธิบายค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 13:42

ตอบคุณมานิตครับ

พันธุ์กระวี ครับ บรรพบุรุษของท่านคงจะเป็นกวีจริงๆนั่นแหละ ท่านจึงชอบแต่งร้อยแก้วร้อยกรองอะไรๆอยู่ แต่หนังสือเล่มใหญ่ที่คุณอำนวยเขียนถึงพ่อ ไม่มีเรื่องประวัติของแม่เลย มีแต่กวีนิพนธ์ที่ท่านประพันธ์เป็นโคลงสี่สุภาพหลายสิบบท พรรณาถึงช่วงที่จอมพล ป.กำลังจากโลกไปในตอนท้ายเรื่อง ผมเอาบทสุดท้ายที่คิดว่ากินใจที่สุดมาให้อ่านก็แล้วกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 13:48

อ้างถึง
ท่านกูรูใหญ่กว่า เปิดห้องรับนักเรียนเข้ามานั่งเต็มชั้นแล้ว  แล้วประกาศอินเทอมิชชั่น  เล่าตอนจบเอาดื้อๆ
นักเรียนก็ละล้าละลัง   จะขอค่าลงทะเบียนคืนกันอลหม่าน

บ๊ะแห็ลว....ผมเผลอไปเอาตอนจบว่าพระเอกตายมาเผยอีกแล้ว
เดี๋ยวโรงเรียนของครูใหญ่เจ้งไป เพราะพวกพวกท่านรู้ไต๋แล้วแห่ไปขอค่าลงทะเบียนคืน ผมต้องแย่แน่ๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง