เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29
  พิมพ์  
อ่าน: 138866 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 05 ส.ค. 10, 14:49

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 06 ส.ค. 10, 08:20

ไม่เห็นมีใคร"พาดพิง"ถึง รัฐนิยม มั่งเลย ของท่านดีออก ท่องทุกเย็น(แต่ลืมหมดแล้ว) อ้อ เพลง"ท่านผู้นำไปทางไหน ฉันจะตามไปด้วย " ก็น่าสน นะครับผม
มานิต

คุณมานิตเคยได้ยินเรื่อง "วีระธัมของชาติไทย" ไหม

ประกาศสำนักนายกรัถมนตรี
เรื่อง วีระธัมของชาติไทย

.........ด้วยคนะรัถมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ในสมัยที่พี่น้องสกุลไทยกำลังขะมักขะเม้นส้างชาติกันหยู่นี้ เปนการสมควรที่จะรวบรวมและปรับปรุงระเบียบนิสัย อันเปนคุนประโยชน์ในการส้างชาติขึ้นไว้ให้เปนระเบียบเรียบร้อยในที่เดียวกัน สำหรับยึดถือเปนแนวปลูกฝังและฝึกอบรมให้เกิดเปนนิสัยประจำตัวพี่น้องสกุลไทยทั่วกันทุกคน เพื่อส่งเสิมให้การส้างชาติไทยของเราดำเนินไปเปนแนวเดียวกันด้วยความเปนระเบียบเรียบร้อยดี สมเปนชาติที่มีวัธนธัมสูง อันจะเปนทางนำความจเรินก้าวหน้าและวัธนาถาวรมาสู่ชาติไทยยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยเร็วด้วย จึงได้ลงมติให้กำหนดนิสัยประจำชาติไทย ๑๔ ข้อ เรียกว่า "วีระธัมของชาติไทย" ขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

ไทยรักชาติยิ่งชีวิต
ไทยเปนนักรบชั้นเยี่ยม
ไทยเปนชาติดีต่อมิตร และร้ายที่สุดต่อสัตรู
ไทยเปนชาติบูชาพุทธสาสนายิ่งชีวิต
ไทยเปนชาติปากกับใจตรงกัน
ไทยเปนชาติรักสงบ
ไทยเปนชาติซื่อสัจ และกตัญญู
ไทยเปนชาติขยัน
ไทยเปนชาติเพาะปลูกอาหารไว้กินเอง
ไทยเปนชาติสะสมมรดกไว้ให้แก่ลูกหลาน
ไทยเปนชาติชอบหยู่ดีกินดี
ไทยเปนชาติชอบแต่งตัวดี
ไทยเปนชาติยกย่อง เด็ก หยิง และผู้ชรา
ไทยเปนชาติว่าตามกันและตามผู้นำ

ประกาส นะ วันที่ ๑๒ พรึสภาคม พุทธสักราช ๒๔๘๗
พล.ต.อ. อดุลเดชจรัส
รองนายกรัถนมนตรี

http://www.taharn.net/war/47c1.html
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 06 ส.ค. 10, 10:57

เอ ผมจำผิดหรือเปล่า จำได้ว่าตอนเด็กๆก่อนโรงเรียนเลิกจะต้องท่องสูตรคูณ ท่องอาขยาน(แสนเสียดายนันทาที่น่ารัก ชะล่าหนักวิ่งออก  นอกถนน..... และท่อง"รัฐนิยมฉบับที่ 1...." หรือจะเป็นดังที่ท่านเพ็ญชมพูว่า จะถามใครได้ล่ะนี่ เพื่อนรุ่นดียวกันก็หายากลงไปทุกที เฮ้อ
มานิต
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 06 ส.ค. 10, 11:31

มาดูกันว่า รัฐนิยม ๑๒ ฉบับ กำหนดอะไรบ้าง เพื่อนำประเทศไปสู่อารยะ และปลุกใจให้รักชาติ

รัฐนิยม ฉบับที่ 1 
เรื่องการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 ให้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามที่เรียกขานประชาชนว่าคนไทย ชื่อประเทศก็ควรเรียกว่าประเทศไทย
รัฐนิยม ฉบับที่ 2 ประกาศไม่ให้คนไทยประพฤติตนเป็นตัวแทนของต่างชาติ และไม่ให้ขายที่ดินให้ต่างชาติ
รัฐนิยม ฉบับที่ 3 
เรื่องการเรียกคนในประเทศว่า “คนไทย” แม้มีเชื้อสายอื่นก็ให้ถือว่ามีสัญชาติไทย มิให้แบ่งแยก เป็นความต่อเนื่องจากรัฐนิยมแบบแรก นั่นคือการเรียกชื่อว่า “ไทยเหนือ ไทยอีสาน ไทยใต้ ไทยอิสลาม” ให้เรียกว่า “ไทย” โดยรวมเพื่อขจัดความแตกต่าง ซึ่งกำหนดให้เลิกเรียกชื่อชาวไทยโดยใช้ชื่อไม่ต้องตามเชื้อชาติ และนิยมของผู้เรียก แต่ให้ใช้คำว่า “ไทย” แก่ชาวไทยทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก ทั้งนี้รัฐบาลมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นดินมั่นคงของประเทศและความกลมเกลียวสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติไทยทั่วทุกภาคของประเทศ
กล่าวได้นับว่านับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า “ชาวไทยมุสลิม” เป็นคนไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไปชนผืนแผ่นดินไทย มีข้อความว่าด้วยรัฐบาลเห็นว่า “การเรียกว่าไทย” บางส่วนไม่ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของผู้ถูกเรียกก็ได้ การเรียกชื่อแบ่งแยกคนไทยออกเป็นหลายพวก หลายเหล่า เช่น ไทยเหนือ ไทยอีสาน ไทยใต้ และไทยอิสลาม ก็ดีไม่สมควรแก่สถานของประทศไทย ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้จึงประกาศไว้ในรัฐนิยมไว้ ดังนี้
      1 ให้เลิกการเรียกชาวไทยโดยใช้ชื่อที่ไม่ต้องตามเชื้อชาติและความนิยมของผู้เรียก 2 ให้ใช้คำว่า ไทย แก่ชาวไทยทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยกรัฐนิยมฉบับนี้ ซึ่งกำหนดให้เลิกการเรียกชาวไทยโดยใช้ ชื่อที่ไม่ต้องตามเชื้อชาติและความนิยมของผู้ถูกเรียก แต่ให้ใช้คำว่า “ไทย” แก่ชาวไทยทั้งมวล โดยไม่แบ่งแยก ทั้งนี้โดยรัฐบาลมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของประเทศและ ความกลมเกลียวสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนชาติไทยทั่วทุกภาคของประเทศ24 กล่าว ได้ว่านับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าชาวไทยมุสลิมเป็นคนไทยเช่นเดียวกับ คนไทยทั่วไปชนผืนแผ่นดินไทย
รัฐนิยม ฉบับที่ 4 
เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี
รัฐนิยม ฉบับที่ 5 
เรื่องให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย
รัฐนิยม ฉบับที่ 6 
เรื่องทำนอง และเนื้อร้องเพลงชาติ
รัฐนิยม ฉบับที่ 7 
เรื่องชักชวนให้ชาวไทยร่วมกันสร้างชาติ
รัฐนิยม ฉบับที่ 8 
เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี
รัฐนิยม ฉบับที่ 9 
เรื่องภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี ซึ่งกำหนดให้ชนชาติไทย ถือเป็นพลเมืองดีที่จะต้องศึกษาให้รู้หนังสือไทยอันเป็นภาษาของชาติอย่างน้อยต้องให้อ่านออก เขียนได้ และถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนแนะนำชักจูงให้พลเมืองที่ยังไม่รู้ ภาษาไทยหรือยังไม่รู้หนังสือไทยให้รู้ภาษาไทยหรือหนังสือไทยจนอ่านออกเขียนได้ ทั้งนี้เพื่อ ไม่ให้เกิดความแตกแยกและความแตกต่างของท้องที่ถิ่นกำเนิด
รัฐนิยม ฉบับที่10 
เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย : กำหนดให้คนไทยต้องแต่งกายตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ว่าเป็นสุภาพชน เช่น ผู้ชายสวมหมวกใส่เสื้อชั้นนอกคอเปิดหรือปิด สวมกางเกงขายาวแบบสากล สวมรองเท้าหุ้มส้นและหรือหุ้มข้อ และถุงเท้า ส่วนผู้หญิงก็ต้อง สวมหมวก ใส่เสื้อนอกคลุมไหล่ สวมผ้าถุง ใส่รองเท้าหรือหุ้มส้นและถุงเท้า เป็นต้น
รัฐนิยม ฉบับที่ 11 
เรื่องกิจประจำวันของคนไทย ( ประกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2484 ) โดยชนชาติไทยพึงบริโภคอาหารให้ตรงเวลา ไม่เกินวันละ 4 มื้อ และนอนประมาณ 6-8 ชั่วโมงต้องมุ่งมั่นทำงาน พักกลางวันไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีเวลาทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ทั้งชำระร่างกายแล้วจึงรับประทานอาหารว่าง ในเวลากลางคืนก็ควรใช้ในการพบปะสนทนาในครอบครัว มิตรสหาย ทั้งใช้ศึกษาหาความรู้ หรือในการมหรสพ ส่วนวันหยุดก็ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายและจิตใจ เล่นกีฬา พักผ่อน ทำบุญ ฟังเทศน์ เป็นต้น
รัฐนิยม ฉบับที่ 12 
เรื่องการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก คนชรา หรือคนทุพพลภาพ ประกาศเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2485


ท่านมานิตท่องรัฐนิยมอย่างที่คุณเทาชมพูยกมาหรือเปล่า

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 06 ส.ค. 10, 11:41

สามเกลอ ตอน รัฐนิยม

 

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 06 ส.ค. 10, 14:21

รัฐนิยม ฉบับที่ ๖ เรื่องทำนองและเนื้อร้องเพลงชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

ภาพเสนอโดยคุณย่านาง

สมบัติในหนังสือโบราณ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8136002/K8136002.html#11


บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 07 ส.ค. 10, 07:57

แว็บเข้ามานิดหนึ่งก่อนจะไปทำงานเส้นข้าง(sideline)เรื่อง วีระทัม นี่ผมไม่เคยทราบมาก่อนครับ แต่รัฐนิยมน่ะท่องทุกเย็นครับ วันละข้อครับผม ช่วงนี้ใก้ลเกษียณ งานเส้นข้าง(ของ)ผม ขายดีครับ วันก่อนนี้แขกท่านให้ทิปภรรยาผมกับผมมาตั้ง 600 เขาบอกว่า เอาไปแบ่งกัน ฮิ ฮิ สนุกจังเลยครับ
มานิต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 07 ส.ค. 10, 19:53

เอ ผมจำผิดหรือเปล่า จำได้ว่าตอนเด็กๆก่อนโรงเรียนเลิกจะต้องท่องสูตรคูณ ท่องอาขยาน(แสนเสียดายนันทาที่น่ารัก ชะล่าหนักวิ่งออก  นอกถนน..... และท่อง"รัฐนิยมฉบับที่ 1...." หรือจะเป็นดังที่ท่านเพ็ญชมพูว่า จะถามใครได้ล่ะนี่ เพื่อนรุ่นดียวกันก็หายากลงไปทุกที เฮ้อ
มานิต
แสนเสียดายนันทาที่น่ารัก            ชะล่านักเลี่ยงออกนอกถนน
มัวแต่หลงปลาบปลื้มจนลืมตน          ถูกรถยนต์แล่นทับดับชีวา
นิจจาเอ๋ยเคยเห็นทุกเย็นเช้า           กลับเหลือแต่กรงเปล่าไม่เห็นหน้า
เคยวิ่งเล่นด้วยกันทุกวันมา            ช่างทิ้งข้าเปลี่ยวเปล่าเศร้าใจเอย

ตอนเล็กๆ วาดภาพนันทาเป็นแม่ไก่ฝรั่ง  สีขาวขนหนา ตัวป้อมๆ   ไม่ใช่ไก่บ้านสีดำรูปร่างผอมเปรียว  มันถึงดูน่ารัก และเงอะงะไม่คล่องตัว  ไปปลาบปลื้มกับอะไรก็ไม่รู้กลางถนน   เลยถูกรถทับตาย
ดิฉันไม่เคยวิ่งเล่นกับไก่  เลยแต่วิ่งเล่นกับหมา     เลยไม่รู้ว่าเด็กเขาวิ่งเล่นกับไก่แบบไหน   วิ่งแข่งหรือวิ่งอ้อมเป็นวงกลม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 07 ส.ค. 10, 22:48

ท่านกูรูใหญ่กว่าเริ่มกระทู้ด้วยจอมพลและพล.ต.อ.  ดิฉันพามาจบที่แม่ไก่นันทาเสียแล้ว     เดี๋ยว...ต้องหมุนพวงมาลัยกลับไปเฉียดๆทางเดิมก่อน
นี่คือรูปเสรีไทยชายหญิง   ใครเป็นใครยังจนปัญญาจะตรวจสอบ   รู้จักเสรีไทยอยู่คนเดียวคือศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร
สมัยดิฉันเป็นนิสิต ได้เรียนกับท่านที่คณะ   แต่ในรูปนี้ไม่มีท่าน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 07 ส.ค. 10, 23:20

ขอwelcome backด้วยภาพศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร เสรีไทยสายอเมริกาครับ
แม้จะไม่ใช่ศิษย์โดยตรง แต่ก็คุ้นกับท่านมาก ลูกชายท่านเรียนสถาปัตย์รุ่นติดกับผม จบแล้วไปเป็นนักบินการบินไทยสบายบรื๋อ



บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 07 ส.ค. 10, 23:42

จากภาพในกระทู้ที่398 ท่านที่นั่งติดกับสุภาพสตรี ที่ไส่ชุดสีเข้มกว่าท่านอื่น ท่านคือ ม.จ.ภีศเดช รัชนี ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 08 ส.ค. 10, 08:32

ขอเวลานอก ฟื้นความหลังกับคุณนวรัตน   ท่านอื่นเชิญรอ ค.ห.หน้านะคะ ข้ามค.ห.นี้ไปเสีย

จำลูกชายอาจารย์คุณหญิงจินตนาได้ค่ะ   เขาเป็นหนุ่มถาปัด   อาจารย์มีเวลาว่างก็เล่าถึงลูกชายด้วยความภูมิใจและเอ็นดู   ท่านเรียกลูกชายว่า "อ้ายจู"    พวกเราฟังก็ขำกันกลิ้ง ว่าทำไมถึงชื่อยังงั้นได้ลงคอ   เพราะสมัยนั้นรู้จักกันแต่หมาจู

มารู้ทีหลังว่าพี่จูแกมีชื่อโก้มาก ว่า "จูเนียร์"   เป็นยุคที่เด็กไทยยังมีชื่อเล่นว่า ต๋อย ติ๋ม  แดง น้อย ฯลฯ    ชื่อน้องโอ๊ค น้องกอล์ฟ น้องแอน  ยังไม่มีพ่อแม่คนไหนคาดฝันว่าจะตั้งให้ลูก   เพราะงั้นจูเนียร์ก็ถือว่าเท่สุดๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 08 ส.ค. 10, 09:28

กลับมาเล่าเรื่องอักขระภาษาไทย สมัยวัธนธัม   คนรุ่นหลังอาจประหลาดใจ ว่าทำไมต้องเปลี่ยนกันให้โกลาหลอย่างนั้น

เท่าที่คนไทยสมัยนั้นรู้คือ รัฐบาลจอมพลป. เห็นว่าตัวอักษรไทยมีมากมายเกินไป  ทั้งที่เสียงเดียวกัน    ท ก็ปาเข้าไป 3  คือ ท ธ ฒ  ทั้งๆก็อ่านออกเสียงว่า ท    เหมือนกัน   อย่ากระนั้นเลย ตัดเหลือ ท เดียวพอ     
ช กับ ฌ  ก็เหลือ ช  เดียว   คำว่า ทราบ  อ่านออกเสียงว่า ซาบ  ก็ควรเขียนว่า ซาบ  ให้ตรงตัว  ใ  ไ  ออกเสียงเหมือนกัน  ใช้  ไ  ตัวเดียวพอแล้ว
ในเมื่อกำหนดตามเกณฑ์นี้    ก็เลยต้องปฏิวัติแบบเรียนภาษาไทยกันใหม่หมด   

ดังนั้นการสะกดตัวแบบใหม่  ก็คล้ายๆกับสะกดตามที่หูได้ยินเสียง     เหมือนภาษาวัยรุ่นในคอมพ์คือได้ยินอย่างไรก็เขียนลงไปอย่างนั้น  ไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีหลักเกณฑ์ทางภาษาอย่างไร

เหตุผลของรัฐบาล ตามที่ อ. พิบูลสงคราม เขียนไว้ในหนังสือจอมพลป. พิบูลสงคราม คือ
ภาษาไทยเรานั้นบางทีก็มีลักษณะฟุ่มเฟือย    กล่าวคือมีศัพท์แสงหลายถ้อยคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน    แสดงให้เห็นถึงการแบ่งชั้นวรรณะของบุคคลในชาติเดียวกัน ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

ส่วนเหตุผลอื่นๆ  คุณจีรวัสส์ พิบูลสงคราม เล่าไว้ในต่วย'ตูนว่า จากคำอธิบายของจอมพล ป. ที่ได้ฟังมาโดยตรงนั้น

"...แรกที่สุดนั้นพ่อได้รับรายงานจากทางกระทรวงศึกษาธิการ ว่าญี่ปุ่นได้มายื่นข้อเสนอจะให้เด็กนักเรียนไทยเรียนภาษาญี่ปุ่น โดยอ้างว่าที่มะลายูได้มีการสอนจนคนมะลายูรู้ภาษาญี่ปุ่นกันเป็นส่วนมากแล้ว และคนไทยเรายังน้อยหน้าคนมะลายูในเรื่องนี้อยู่มาก ฉะนั้น จึงขอให้กระทรวงศึกษา ฯ เร่งจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเด็กไทยในโรงเรียนทุกระดับโดยพลัน...
เมื่อพ่อได้ทราบดังนี้ ก็จึงหาอุบายเพื่อจะไม่ให้คนไทยต้องเรียนภาษาญี่ปุ่น พ่อได้เชิญนักปราชญ์ราชบัญฑิตหลายท่านมาปรึกษาหารือ ท่านเหล่านี้ก็มี เสด็จในกรมนราธิป ฯ ท่านเจ้าคุณอนุมานราชธน คุณพระสารประเสริฐ คุณพระราชธรรมนิเทศ คุณกี อยู่โพธิ์ คุณสง่า กาญจนนาคพันธิ์ คุณเปลื้อง ณ นคร ฯลฯ ผลของการปรึกษาสรุปได้ว่า เราจำเป็นต้องเร่งพิจารณาเปลี่ยนการเขียนหนังสือไทยเสียใหม่ โดยใช้ภาษามคธเป็นแม่ภาษา โดยอ้างว่าเมื่อเราได้รับสหรัฐไทยเดิมกลับคืนมาแล้ว เราก็จำเป็นต้องปรับปรุงการอ่านและการเขียนให้เป็นแนวที่เรียบง่าย ๆ เช่นเดียวกัน และการที่เด็กไทยเราต้องเรียนการเขียนหนังสือโดยวิธีใหม่นี้ ก็สามารถใช้เป็นสาเหตุที่กระทรวงศึกษาธิการจะยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างกับญี่ปุ่นได้ว่า จะขอเวลาให้เด็กไทยเรียนรู้หนังสือไทยอย่างใหม่เสียก่อน จึงจะให้เด็กไทยเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น ในที่สุดเด็กไทยเราก็รอดตัวไปไม่ต้องถูกบังคับให้เรียนภาษาญี่ปุ่น...


อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ อดีตนายกราชบัญฑิตยสถาน ก็ได้เขียนเล่าเกี่ยวกับเรื่องรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกกฏบังคับให้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงระบบการอ่านและการเขียนไปอีกทางหนึ่ง คือเขียนไว้ว่า

กรรมการท่านหนึ่ง คืออาจารย์วงศ์ เชาวนะกวี ในคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย เป็นคนแรกที่ได้เล่าถึงสาเหตุที่รัฐบาลของ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องปรับปรุงแก้ไขอักษรไทยใหม่อย่างกระทันหันในครั้งนั้น ว่าเป็นเพราะญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศไทย เพื่อทำสงครามมหาเอเชียบูรพานั้น ได้มาแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบว่า ภาษาไทยเรียนยาก เพราะมีพยัญชนะและสระมากมายเหลือเกิน จึงสมควรใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการแทน
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ฟังเรื่องที่ไม่ชอบมาพากลเช่นนี้ ก็ได้ตัดสินใจตอบญี่ปุ่นไปว่า ความจริงนั้นไทยเรามีตัวหนังสือใช้เป็นสองชุด ชุดหนึ่งใช้ในราชการ ซึ่งเรียนยากหน่อย ส่วนชุดที่เรียนง่ายมีอีกชุดหนึ่งสำหรับสามัญชนทั่ว ๆ ไป แต่ความจริงนั้นเรามีอยู่เพียงชุดเดียว ครั้น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีตอบญี่ปุ่นไปเช่นนี้แล้ว ก็รีบเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องนี้ มิฉะนั้น เราก็จะต้องกลายเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย ในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยดังกล่าวขึ้น และได้จัดให้มีการประชุมพิจารณาเรื่องนี้เป็นการด่วน เสร็จแล้วก็มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องการปรับปรุงตัวอักษรไทยออกมา นับว่าเป็นการทำงานแข่งกับเวลา และแข่งกับความอยู่ รอดของเมืองไทยและวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างยิ่ง"
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 10 ส.ค. 10, 14:59

เรียนคุณ natadol ขอแย้งด้วยความเคารพค่ะ ในความเห็น 398 ท่านที่สวมชุดสีเข้มนั่งติดกับสุภาพสตรีน่าจะเป็นหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์หรือเปล่าคะ

ผิดถูกอย่างไรรบกวนท่านผู้รู้ยืนยันอีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 10 ส.ค. 10, 15:10

ตามอ่านมานานด้วยความสนุกและขอบคุณ...ทุกๆท่าน...


หนังยาวววววววววว......เหมือนหนังเรื่อง WAR AND PEACE ฉบับรัสเซียสร้าง..ยังไงยังงั้น






เรื่องวิบัติภาษาไทย....ต้องกราบขอขมาท่านจอมพล ป.ที่หลงเข้าใจผิดและด่าท่านมานาน...
ขอบพระคุณอีกครั้งครับ เจ๋ง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง