เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 138895 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
prickly heat
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 19:29

เข้ามาเช็คชื่อด้วยค้าบ คุณครู......... ยิงฟันยิ้ม

ยังคาใจเรื่องกบฏแมนฮัตตันอยู่ครับ.....เห็นว่าตำรวจกับทหารเค้ารวมตัวกันบอมบ์เรือทิ้งโดยไม่ห่วงท่านผู้นำเลยหรืออย่างไรคับ.....ต้องว่ายน้ำปะล่อกปะแล่กขึ้นฝั่งเอง....

ท่านผู้นำท่านรอดมาไม่เฉ่งปี๋กับลูกน้องท่านเลยหรือครับ....

เอ...แล้วเจ้าทรากเรือนี่ยังนอนอยู่ก้นแม่น้ำหรือใครย้ายไปไหนแล้วครับเนี่ย.....

หากเนื้อหาไม่เกี่ยวกับกระทู้ก็ขออภัยด้วยครับ.....แต่นักเรียนเห็นว่า พล.ต.อ.อดุล กับจอมพล ป.ท่านก็แทบจะเป็นสองคนในร่างเดียวกันอยู่แล้ว....เข้ามาในกระทู้แล้วก็เลยอยากทราบให้ครบถ้วนน่ะครับ.....แหะ แหะ....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 19:57

ขอคั่นโปรแกรมด้วยเรื่องเล่าสั้นๆเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการต่อต้านญี่ปุ่่นในไทย ยุคก่อนเสรีไทย

ญี่ปุ่นเพิ่งจะยกพลเข้าไทยในพ.ศ. 2484  เป็นช่วงปลายๆของแสนยานุภาพญี่ปุ่น   แต่ทว่าก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นบุกจีนตั้งแต่ปี 2480 มาแล้ว เป็นสงครามใหญ่ที่ทำเอาจีนระส่ำระสายไปทั่วประเทศ  
สิ่งที่ญี่ปุ่นทำกับจีนนับว่าหนักหนาสาหัส ใครยังไม่ได้อ่าน The Rape of Nanking  ขอให้ไปหาอ่าน หรือไปค้นในกูเกิ้ลดูก็ได้ค่ะ  จะเข้าใจทำไมคนจีนทั้งในและนอกประเทศทนไม่ไหว
คนจีนในสยามแอนตี้ญี่ปุ่นกันอย่างเอาจริงเอาจัง    จนกระทั่งรวบรวมกำลังกันได้ ก่อตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อกู้ชาติจีน
ขบวนการผู้รักชาติจีนโดยลูกจีนในสยาม ทำกันเข้มแข็งมาก จนกลายเป็นองค์กรใหญ่ของงานกู้ชาติของชาวจีนโพ้นทะเล    ทำงานประสานกับรัฐบาลจีน  ขยายเครือข่ายสาขาออกไปอย่างกว้างขวางเป็นร้อยๆสาขา  ภารกิจอย่างหนึ่งในหลายอย่างคือรวบรวมเงินส่งไปช่วยรัฐบาลจีนฟื้นฟูประเทศ
   หนึ่งในผู้ที่สนับสนุนขบวนการกู้ชาติ  คือเหียกวงเอี่ยม ประธานหอการค้าจีนในสยาม    เขาทำงานประสานกับนายเซียวฮุดเส็ง  พ่อตาของนายวิลาศ โอสถานนท์   สร้างสายสัมพันธ์ทางการค้า กับสมาคมพ่อค้าข้าว สมาคมโรงสี วงการค้าผ้า วงการค้าทองรูปพรรณเพชรนิลจินดา วงการค้ายาเส้น อย่างหนึ่งที่ทำกันคือรวมหัวกันแอนตี้ไม่ค้าขายข้าวกับญี่ปุ่น
     ขบวนการนี้ตั้งกลุ่มย่อยขึ้นมาเพื่อกำจัดลูกพรรคที่ทรยศไปเข้าข้างญี่ปุ่น  ตลอดจนสืบหาสายลับญี่ปุ่นโดยเฉพาะ   การทำงานของขบวนการก็รั่วไหลไปถึงทางการของไทย  ทำให้ทางตำรวจเริ่มมองเขม็งมาทางนี้    พวกเราที่อ่านกระทู้มาคงจำได้ว่ารัฐบาลไทยติดต่อมีสัมพันธ์ทางการค้ากับญี่ปุ่นด้วยดีมาตั้งแต่ก่อนสงคราม    
      นอกจากทางการไทยเล็งขบวนการอยู่  ทางญี่ปุ่นในไทยก็มองเห็นภัยของขบวนการกู้ชาติอยู่เช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีความแตกแยกในกลุ่มพ่อค้าจีนระหว่างพ่อค้าในขบวนการกับพ่อค้านอกขบวนการ    ผลก็คือมีการลอบสังหารเหียกวงเอี่ยม เมื่อพ.ศ. 2482  อย่างอุกอาจหน้าโรงงิ้วฮั่นจิวที่เยาวราช     ว่ากันว่าเป็นการสะกัดการเติบโตขององค์กร
     ความตายของเหียกวงเอี่ยมก็ยังเป็นเรื่องลึกลับมาจนบัดนี้  ว่าฝ่ายไหนกันแน่ที่ลงมือ   มีทั้งข่าวว่าญี่ปุ่นส่งคนมากำจัด  ทั้งข่าวว่าเป็นคนจีนด้วยกันเองว่าจ้างมา  และข่าวว่าคนยิงคือสิบตำรวจเอกคนหนึ่ง     คำตอบยังไม่ชัดเจนอยู่จนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 20:00

ขณะออกนอกเรื่องพลต.อ.อดุล  กำลังเพลินๆ   ก็ชนกันกลางอากาศกับคุณ PH 

ขอบายเรื่องกบฏแมนฮัตตัน   ส่งต่อให้ท่านกูรูใหญ่กว่าเพียงผู้เดียว 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 20:35

ผมกำลังติดงานอยู่ต่างจังหวัดครับ

ขอเข้ามาอ่านอย่างเดียวก่อน
อีก2-3กลับกรุงเทพแล้วจึงจะทำการบ้านครับ

บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 21:28

มารายงานตัวว่ายังติดตามอยู่นะคะท่านอาจารย์  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 06:39

ความรู้ใหม่เรื่องญี่ปุ่นบุกเมืองไทย  เพิ่งอ่านพบในพระราชหัตถเลขาที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานไปยังพระสหายชาวอังกฤษว่า  ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ทรงคาดการว่า ญี่ปุ่นมีแผนจะบุกสิงคโปร์เพื่อตัดขาดเส้นทางคมนาคมสู่เอเชีย  และเป็นฐานในการบุกออสเตรเลีย  มาตั้งแค่รัชสมัยรัชกาลที่ ๖ แล้วครับ  แต่เวลานั้นญี่ปุนมัวติดพันกับสงครามในเมืองจีนจึงต้องรอมาอีกเกือบ ๒๐ ปี เมื่อยึดเมืองจีนได้แล้วจึงหันมาเปิดสงครามมหาเอเชียบูรพา 
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 13:50

สำหรับผม ก.ท.นี้"มัน" จริงๆ คนอายุขนาดผมจะได้รำลึกถึงความหลัง คนรุ่นหลังๆก็ได้ความรู้ ใบปลิวอะไรต่างๆนั้นก็เคยได้เห็นมากับตา เคยฟังเสียงเครื่องบิน จนชำนาญว่าเสียงไหนเสียงเครื่องบินญี่ปุ่น เสียงไหนเสียงเครื่องบินฝรั่ง มีครั้งหนึ่งนอนฟังเสียงเครื่องบินกันอยู่ที่ บางละมาด คุณพ่อบอกว่า อ๋อเสียงเครื่องบินญี่ปุ่นน่ะ คงจะไปทิ้งระเบิดที่พม่ามา ผมเรียนท่านว่า ผมว่ามีเสียงเครื่องบินฝรั่งปนอยู่ด้วยนะครับ อีกไม่นานเสียงระเบิดดังตูมตาม เครื่องบินฝรั่งบินตามมาครับ บางครั้งเดือนหงายๆเวลาเครื่องบิน บี 29 บินมาตัดกับภาพพระจันทร์นี่ "โดนใจ" หรือตอนที่ไฟฉายตู่อสู้อากาศยานจับเครื่องบินได้มีการยิงปตอ.ขึ้นไปทางเครื่องบินก็ยิงลงมา มันมากครับ แสงไฟฉายของทหารญี่ปุ่นคนละสี คนละความเข้มกับแสงไฟฉายของทหารเรือไทยครับผม ตอนแมนฮัตตันผมน่าจะอยู่สามย่านแล่วนะครับ เรือ"ศรีอยุธยา" เป็นเรือที่ผมได้ขึ้นไปชมบ่อยมากตอนเข้าอู่ที่ "บางกอก ดอค" ตอนนี้ยังอยู่ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาตรงวัดอรุณครับ ทางการพยายามจะกู้ก็ไม่สำเร็จ ครับผม เสียดายจังงงงง
มานิต
บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 14:18

จะรบกวนเกินไปไหมคะ ถ้าอยากทราบเรื่องราว ในสมัยสงคราม ประมาณเรื่องเล่าจากผู้อยู่ในเหตุการณ์จริงๆน่ะค่ะ
สมัยก่อนชอบไปขอให้พ่อกับแม่เล่าให้ฟัง ก็เลยพอมองภาพสงครามโลกที่ทางใต้ได้บ้าง อยากทราบที่อื่นๆบ้างน่ะค่ะ
แหะๆ คั่นรายการ ด้วยเรื่องเล่าจากวันวาร ไปพลางๆได้ไหมคะ...
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 14:38

จะรบกวนเกินไปไหมคะ ถ้าอยากทราบเรื่องราว ในสมัยสงคราม ประมาณเรื่องเล่าจากผู้อยู่ในเหตุการณ์จริงๆน่ะค่ะ
สมัยก่อนชอบไปขอให้พ่อกับแม่เล่าให้ฟัง ก็เลยพอมองภาพสงครามโลกที่ทางใต้ได้บ้าง อยากทราบที่อื่นๆบ้างน่ะค่ะ
แหะๆ คั่นรายการ ด้วยเรื่องเล่าจากวันวาร ไปพลางๆได้ไหมคะ...


อ่านเล่นไปก่อนครับ

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panthep&date=08-12-2009&group=2&gblog=38

หรืออีกแห่งไปโหลดมาอ่านจากที่นี่ครับ

http://www.4shared.com/document/eqlBoOwa/_online.html
บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 28 ก.ค. 10, 14:41

ขอบพระคุณค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 29 ก.ค. 10, 10:28

มีให้อ่านเล่นอีกเรื่องหนึ่ง

เมื่อญี่ปุ่นบุกสงขลา โดย ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก ศิลปกรรมพิเศษ)

หน้าแรก



หน้าต่อไปอ่านได้ที่

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K9521148/K9521148.html

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 29 ก.ค. 10, 10:40

ผม scan เป็น pdf file ไว้นานแล้ว ไปโหลดได้ที่นี่ครับ

http://www.4shared.com/document/-UCCM8wg/_online.html
บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 29 ก.ค. 10, 10:41

 ยิ้มกว้างๆ ทั้งอาจารย์ทั้งสมาชิกเรือนไทย ใจดีทุกท่านเลย ขอบพระคุณมากเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 29 ก.ค. 10, 20:17

      มาคั่นโปรแกรมอีกครั้ง

     ในสายตาพลต.อ.อดุล   ท่านเน้นหลายครั้งในคำให้การว่าจอมพลป.เป็นโรคประสาท อิจฉาริษยา หวาดระแวงผู้อื่น  รวมทั้งตัวท่านอธิบดีตำรวจเองด้วย  คือจะเป็นจริงหรือแค่คำเปรียบเปรยก็ไม่แน่  ทีนี้เราลองมามองอีกด้านจากบันทึกของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามดูบ้าง           ในเรื่องเดียวกันคือเรื่องตกเป็นผู้ต้องหาคดีอาชญากรสงคราม 
   จะเห็นว่าจอมพลป. ในบันทึกของท่านผู้หญิง เป็นผู้ใหญ่ที่สุขุมเยือกเย็น  กล้าหาญ  พูดน้อย  เก็บอารมณ์ได้ราบเรียบ   ไม่มีตรงไหนเหมือนจอมพลป.ของพลต.อ.อดุล เลยก็ว่าได้  ราวกับคนละคนแต่ชื่อซ้ำกันเท่านั้น

    ดิฉันยังจำเหตุการณ์ตอนที่ท่านจอมพลถูกรัฐบาลในขณะนั้นตั้งข้อหาว่าเป็นอาชญากรสงครามหมายเลขหนึ่ง นับว่าเป็นโทษขั้นหนักที่สุดสำหรับประเทศ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับได้ลงข่าวกันอย่างครึกโครม
  ความรู้สึกของท่านจอมพลในขณะนั้น ดิฉันรู้สึกว่าท่านชินชามาก ทั้งนี้ เพราะทราบล่วงหน้าอยู่แล้วว่าจะต้องประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้ และก่อนหน้านั้นก็มีพรรคพวกมาเตือนมาบอกให้รู้ตัวอยู่เสมอๆ แต่ท่านก็มิได้พูดว่ากระไร รู้สึกว่าท่านรู้ชะตากรรมของท่านดี
   วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันที่เจ้าหน้าที่มาเชิญตัวท่านไปควบคุมในฐานะเป็นผู้ต้องหานั้น    พวกเราทุกคนทราบล่วงหน้ากันหมดแล้ว เวลานั้นครอบครัวของเราพักอยู่ที่บ้านหลักสี่ ประมาณตีสี่   วันที่ท่านจะถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหาฉกรรจ์ มีนายทหารบกประมาณ ๔ - ๕ คนมาที่บ้าน ร้อยเอกอนันต์ พิบูลสงคราม ลูกชาย เป็นคนเปิดประตูรับนายทหารให้เข้ามาในบ้าน แล้วบอกว่า
         " ขอเวลาหน่อยนะ คุณพ่อยังไม่ตื่น รอให้ท่านตื่นก่อนเถอะ แล้วค่อยเอาตัวไป"
           ซึ่งนายทหารนั้นก็ยินยอมเป็นอย่างดี เมื่อจอมพลตื่นขึ้นมาทราบเข้า ท่านก็ถามว่า
           " อ้อ...เขามากันแล้วหรือ พ่อก็พร้อมแล้วเหมือนกัน "

          นายทหารบกคนที่มาเชิญตัวท่านนั้นชื่อ พ.ท. จำรัส รุ่งแสง ได้คุกเข่ากราบท่านและกล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอว่า
        " ผมทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาเท่านั้น "
         ซึ่งท่านก็เข้าใจและไม่ได้กล่าวอะไรอีกจนคำเดียว ก่อนฟ้าสางในตอนเช้าวันนั้นเอง ท่านก็ออกจากบ้าน จากลูกจากเมียไป โดยมีประสงค์ พิบูลสงคราม  ลูกชายคนที่สองขับรถให้คุณพ่อด้วย

   ระหว่างนั้นได้มีผู้มาแสดงความเสียใจกับดิฉันเป็นจำนวนมาก มีทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ ดิฉันรู้สึกในขณะนั้นว่า ชาวต่างประเทศบางคนเสียอีกที่เข้าใจอะไรๆ ในบ้านเมืองเราดีเสียกว่าคนในประเทศไทย
     นับเป็นภาวะที่ครอบครัวของเราลำบากมากทีเดียว ระหว่างที่ท่านจอมพลอยู่ในที่คุมขังในฐานะอาชญากรสงคราม ดิฉันถึงต้องขายของเก่ากิน มีอะไรก็ขายไป พอเช้าขึ้นเจ๊กก็มาถามว่ามีอะไรจะขายให้บ้าง    ดิฉันก็จัดการขายไปเรื่อยๆ คิดเสียว่าสมบัตินอกกายไม่ตายหาใหม่ได้ ก็เก็บขายเรื่อยไป นอกจากเครื่องเพชรมีค่าชิ้นหนึ่งที่ไม่ได้ขาย แต่เอาไปไว้กับธนาคาร และได้บอกให้เช่าบ้านที่หลักสี่แก่บริษัทการบิน  klm ในราคา ๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน นับว่าเป็นราคาสูงทีเดียวสำหรับสมัยนั้น       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 29 ก.ค. 10, 20:28

            ในตอนนี้เองที่ดิฉันได้ตระหนักดีถึงชีวิตของเมียนักการเมืองว่า บางครั้งก็ต้องลำบากระเหเร่ร่อนไปเมื่อสามีเกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นมา ชีวิตต้องขึ้นๆลงๆไม่ราบรื่นเช่นคนอื่น อย่างไรก็ดี ท่านจอมพลมักจะสอนลูกหลานไว้เสมอว่า ท่านเป็นนักการเมืองที่บริสุทธิ์ทำทุกอย่างเพื่อประเทศชาติเพื่อบ้านเมือง แม้จะต้องมีอันเป็นไปอย่างไรก็ตาม ลูกหลานของท่านทุกคนจะสามารถเดินเหินอยู่บนถนนเมืองไทยได้อย่างมีเกียรติมีหน้าตามีตา และท่านเชื่อเสมอว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นหรือที่ทำไปนั้นด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเพื่อประเทศชาติเป็นที่ตั้ง

    ในการที่ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้พ้นจากโทษอาชญากรสงครามนั้น ดิฉันมีความรู้สึกว่าได้รับความกรุณาช่วยเหลือจากมิตรสหาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทั้งที่ให้การเป็นประโยชน์ในศาลและช่วยเหลือทั้งทางตรงและทางอ้อม นอจากนั้นก็ได้ท่านผู้มีชื่อ คือ พระมนูภาณวิมลศาสตร์ ได้กรุณารับเป็นทนายความให้ ดิฉันขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย และอีกผู้หนึ่งที่ให้การเป็นประโยชน์แก่ท่านจอมพล คิดดูให้ซึ้งจะแปลกหรือเปล่า  ว่าท่านผู้นั้นคือ นายพล อาเคโตะ นากามูระ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นหน่วยงิ ประจำประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
       
         
        นายพลญี่ปุ่น เดินทางมาเป็นพยานให้การทางฝ่ายจอมพลป.  ต่อไปนี้คือคำให้การ(บางส่วน)

   เขาถามว่า  " จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เข้าร่วมกับญี่ปุ่นบุกเข้าไปในพม่าผ่านรัฐฉาน ข้อนี้มีสถานการณ์ความเป็นจริงในขณะนั้นอย่างไร "
    (นายพลนากามูระ)     ตอบว่า  " เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง กองทหารไทยเข้าไปรักษาภาคเหนือของรัฐฉานด้วยกำลังเพียงเล็กน้อย  เป็นการเรียกร้องของกองทัพญี่ปุ่น กองทหารไทยไม่เคยบุกเข้าไปในประเทศจีนและประเทศพม่าด้วยตนเอง   ความต้องการของกองทัพญี่ปุ่นในขณะนั้น คือต้องการให้กองทัพไทยปฏิบัติอย่างแข็งขันต่อรัฐบาลจุงกิง   ข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดา แต่กองทัพไทยไม่เคยข้ามชายแดนไปเลย "
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง