เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 139248 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 10:29

อย่าเพิ่งเริ่มเรื่องจอมพลสฤษดิ์นะครับ ขอร้องงง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 12:09

ผมสงสัยว่า ชายชราที่รอแดดร่มลมตก แล้วเดินออกมาจากที่พักในวังปารุสก์ยังลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อหยุดมองโดมพระที่นั่งอนันตสมาคมอยู่เสมอ เป็นอิริยาบทที่ผู้เห็นเหตุการณ์เขียนว่า สุภาพบุรุษชราท่านนั้นได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ไม่ต้องการสังคม ไม่ต้องการพวกสอพลอปอปั้น

กายนั้นอาจดูสงบ แต่ใจของท่าน สงบด้วยหรือ

สถานการณ์ในช่วงท้ายของการมีอำนาจ ท่านพลาดจนถูกจับได้ว่า ท่านไม่มีอุดมการณ์อะไรเลย ท่านยังคงเล่นไพ่สองหน้าเหมือนอย่างที่ท่านทำครั้งจะสนับสนุน หรือไม่สนับสนุนเสรีไทย ครั้งสุดท้ายนี้ท่านถือไพ่หน้านายปรีดีอยู่ ยังแอบไปเก็บไพ่หน้าป๋าผินมาถือไว้ ตอนที่ประชุมแกนนำรัฐบาล3คนในทำเนียบท่าช้าง ท่านไปต่อรองอะไรกับเขา จะเอาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแลกกับการที่ทหารจะไม่ปฏิวัติหรือเปล่า ผมยังสงสัยเพราะท่านกูรูใหญ่ที่สุดบอกว่าท่านไปหักหลังนายปรีดี อ้าว..ก็หักหลังน่ะซีครับ ผู้บัญชาการทหารบก คนจริง คนตรง คนเด็ดขาดอย่างท่าน มีทหารใต้บังคับบัญชาตั้งประจันอยู่ ไปรับข้อเสนอเขาง่ายๆที่หลังสพานเกษะโกมลได้อย่างไร ทำไม ประกาศของฝ่ายปฏิวัติว่าท่านเลิกล้มการต่อต้านแล้วฉบับนั้นจึงลงนามโดยจอมพลป. พิบูลสงคราม มิใช่พลโทผิน หัวหน้าคณะปฏิวัติรัฐประหาร

ท่านให้การต่อศาลนอกห้องบัลลังก์เรื่องร้ายๆของจอมพลป.ที่บันทึกไว้หลายหน้ากระดาษ เท็จจริงอย่างไรผมไม่รู้ละ แต่ท่านทราบว่าโทษสูงสุดที่จำเลยได้จะรับ คือการประหารชีวิต คดีกบฎ2482ที่ท่านและตำรวจของท่านทำสำนวนหลวมกว่านี้เยอะ ศาลพิเศษยังตัดสินประหารถึง21คน ดีว่าเพื่อนซี้ของท่านสั่งให้ศาลลดโทษได้ จึงรอดไป3คน ท่านคงต้องการให้ความตายโดยชอบด้วยกฏหมายมาล้างคนที่ท่านคิดว่าจะเป็นภัยต่อท่านในอนาคตเช่นเคยใช่ไหม  คราวนี้ท่านอาจจะผิดหวัง และสำนึกถึงความผิดพลาดที่ได้กระทำลงไป เมื่อศาลฎีกาทำให้คดีฉกรรจ์นี้เป็นโมฆะ
 
ตรงนี้หรือเปล่าที่ทำให้ท่านยอมต่อข้อเสนอของจอมพลป.โดยง่ายในเช้าวันนั้น หรือท่านอาจจะแอบไปกราบขอโทษเพื่อนท่านแล้วตั้งแต่ได้กลิ่นว่าคดีนี้จะไปไม่รอด ท่านจึงมีพฤติกรรมชอบกลในวันที่ต้องขึ้นให้การหน้าบัลลังก์ต่อศาล และต่อหน้าจำเลยที่เป็นเพื่อนผู้มีอุปการะคุณ และเคยเป็นนายของท่าน ทำไมลูกชายจอมพลป.เขาเขียนหนังสือเล่มหนาว่ากล่าวบรรดาผู้ที่อยู่ตรงข้ามกับบิดาไว้แยะ แต่ไม่ยังกะมีตรงไหนที่บริภาษท่านเลย

ท่านคงพอใจมากกับตำแหน่งองคมนตรีอันทรงเกียรติ มีบ้านหลวง มีเงินเดือนตลอดชีพ แลกกับการอยู่เฉยๆ ดูเพื่อนร่วมรุ่นของท่านเสวยอำนาจ เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สองเสียอีกเกือบสิบปีก่อนที่จะต้องกงกรรม โดนหอกข้างแคร่ไปตายเมืองนอก  ท่านยังดีกว่าที่เป็นฝ่ายแพ้แล้ว ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น ไม่ต้องติดคุก หรือถูกเนรเทศ ท่านสามารถอยู่รักษาภาพพจน์ของความเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกงกอบโกย แต่ท่านอาจจะสงสัยตัวท่านเองว่า ท่านจะสามารถผ่านมาตรฐานของการเป็น “คนดี” หรือเปล่า



ผมไม่บังอาจจะเป็นคนตัดสินท่านตรงนี้ได้ แต่ท่านผู้อ่านที่อดทนอ่านเรื่องที่ผมเขียนตั้งแต่ต้นจนจบ คงได้คำตอบของตนเองอยู่ในใจ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 16:19

อ่านกระทู้ไป ก็คิดตามไปด้วย พยายามวาดภาพพลต.อ.อดุล  ออกมาว่าท่านเป็นคนอย่างไรกันแน่   ถ้าพอมองเห็นว่าท่านเป็นคนอย่างไร ก็พอจะมองออกว่าการกระทำของท่าน มีที่มาที่ไปอย่างไร
อย่างแรก ขอมองย้อนตั้งแต่จบไปหาต้น    เพราะยังข้องใจอยู่ว่าตอนจบระหว่างท่านกับจอมพล ป. เป็นแบบไหน    กลับมาคืนดีกันอย่างเงียบๆ  อโหสิกรรมกันไป   หรือว่าตัดบัวไม่เหลือใย   ชาตินี้ไม่ต้องมาเหยียบเงากันอีก
คำตอบ อาจจะมองเห็นได้จากคำไว้อาลัยที่ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เขียนถึงพลต.อ.อดุล  ในหนังสืออนุสรณ์งานศพของท่านเมื่อพ.ศ. 2512


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 16:37

สรุปจากคำไว้อาลัยของท่านผู้หญิงละเอียดว่า บั้นปลายชีวิต จอมพลกับพลต.อ. ก็แยกกันไป  ต่างคนต่างอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกันอีก
แต่ก็คงมีอะไรสักอย่างที่ทำให้จอมพล ป. เชื่อว่าพลต.อ.อดุล ไม่เป็นศัตรูทางการเมืองของท่าน   ทั้งๆก็มีเหตุการณ์ให้เห็นว่าพลต.อ.อดุล "ไม่เอาแล้ว" กับจอมพลป.   ท่านจึงไม่ได้แตะต้องหรือทำชีวิตพลต.อ.อดุลให้ผันผวนไป   เมื่อพ้นการเมืองแล้วก็ยังมีเกียรติขององคมนตรีค้ำจุนอยู่

จึงขอสันนิษฐานว่า คู่นี้น่าจะมีการประนีประนอมกันก่อนจะแยกกันไป    ถ้ามองอย่างอุดมคติเหมือนอ่านรพินทร์ ไพรวัลย์กับแงซายในตอนจบ    ก็คือรักกันแทบจะตายแทนกันได้  แต่อยู่ร่วมกันไม่ได้ ต้องมีวิถีชีวิตของใครของมัน    ทั้งสองฝ่ายต่างก็เลยจับมือกันครั้งสุดท้าย แล้วก็แยกทางกันไป ไม่เกี่ยวข้องกันอีก
แต่ถ้ามองอย่างไม่อุดมคติ   ก็ขอมองคล้ายๆคุณนวรัตนมอง   คือฝ่ายหนึ่งยอมแพ้วาสนาบารมีของอีกฝ่ายโดยสิ้นเชิง  แล้วไปอย่างผู้แพ้   ผู้ชนะเฝ้าติดตามอยู่พักใหญ่เห็นว่ารักษาคำพูด หรือไม่ก็ไม่มีโอกาสกลับมาแน่ๆ  เลยไม่ทำอะไรมากกว่านั้น   อย่างน้อยก็เคยช่วยเหลือกันมา ยังมีหนี้บุญคุณกันอยู่

ดิฉันยังติดใจคำให้การชั้นสอบสวนของพลต.อ.อดุล    เพราะดูๆแล้ว เป็นการระบายโทสะที่คับแค้นใจ จากเพื่อนที่น้อยใจเพื่อน   มากกว่าจะเป็นการกระหน่ำเอาให้จมดิน   เพราะไม่มีตอนไหนเลยที่คำให้การพูดถึงบทบาทของจอมพล ป.ว่าทรยศต่อชาติ   ถ้าหากว่าพลต.อ.อดุลเน้นตรงนี้   กฎหมายจะย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง  จอมพลป.คงเอาตัวรอดจากสังคมยากเหมือนกัน
คำพูดของพลต.อ.อดุลอาจไม่เป็นที่แค้นเคืองอะไรมากนักสำหรับจอมพลป.   คุณอ. ลูกชายท่านก็คงรู้ข้อนี้   ว่าพ่อไม่โกรธเพื่อน    หนังสือของคุณอ. จึงไม่กระหน่ำเพื่อนพ่อ   
คำว่า "ส่วนลึกของหัวใจยังรักกันอยู่" ที่ท่านผู้หญิงละเอียดบรรยายไว้หยดย้อยราวกับนักประพันธ์   สะท้อนความรู้สึกของท่านสามี ที่มีต่อเพื่อนคนนี้  มากกว่าสะท้อนความรู้สึกของทั้งสองคน   เพราะท่านจะไปรู้ใจพลต.อ.อดุลได้ยังไงถึงส่วนลึกขนาดนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 16:56

ส่วนพลต.อ.อดุลเป็นคนอย่างไร   ดิฉันเชื่อว่าด้วยความเป็นมนุษย์ปุถุชน ท่านก็ย่อมมีทั้งส่วนดีส่วนเสีย เหมือนมนุษย์ทั่วไป    ท่านมีอุดมการณ์ด้วยไม่ใช่ไม่มี
อุดมการณ์ของพลต.อ.อดุลน่าจะเป็นอุดมการณ์เดียวกับจอมพลป.   คือเชื่อว่าไทยในยุคที่พ้นจากระบอบราชาธิปไตย น่าจะไปได้ดีด้วยมือของผู้นำที่เก่งสักคน (คนเดียวพอแล้วไม่ต้องหลายคน)      ดังนั้นใครทำตัวเป็นปรปักษ์  คนนั้นไม่ใช่แค่ศัตรูส่วนตัวของจอมพลป. แต่เป็นศัตรูของชาติ เพราะจะถ่วงความเจริญมิให้ชาติก้าวหน้าได้    หนักๆเข้าเลยกลายเป็นว่าเป็นศัตรูนายกฯคือศัตรูของชาติ
เมื่อเป็นศัตรูของชาติ ก็ต้องกวาดล้างมิให้เป็นภัยต่อชาติ  พลต.อ.อดุลก็มีหน้าที่ถากถางบ้านเมืองให้สะอาดเรียบร้อยไร้ขวากหนามและวัชพืช  ดังนั้นกรณี ๑๘ นักโทษประหารและจำคุกนักโทษการเมืองอีกจำนวนมากจึงเกิดขึ้น    รวมทั้งคดีอื่นๆด้วย

ส่วนเรื่องใครบีบบังคับใครให้ทำ  ย้อนกลับไปอ่านคำไว้อาลัยของท่านผู้หญิงละเอียดจะเห็นว่า ท่านสรรเสริญสามีและเพื่อนรักของสามีว่าเป็นคนแข็งแกร่งเด็ดเดี่ยวทั้งคู่    ถ้าจะมีการบีบบังคับกันจริงๆ  ต่างคนต่างบีบบังคับเท่าๆกัน...มั้ง

แต่ต่อมาในสมัยสงครามโลก พลต.อ.อดุลผู้ออกหน้าในรายงานการประชุุมรัฐมนตรีในวันที่ ๗-๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ว่าเราไม่มีกำลังพอจะสู้ญี่ปุ่นได้แน่ๆ   เริ่มเห็นว่านโยบายของเพื่อนรักอาจผิดพลาด  แต่ท่านก็ลังเลอยู่หลายเดือนกว่าจะเข้าร่วมเสรีไทย   
ตรงนี้ดิฉันไม่เห็นว่าท่านเหยียบเรือสองแคม  แต่การตัดสินใจเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่  ทำลงไปก็เหมือนหักหลังเพื่อน   ถ้าจะทำก็ต้องมีเหตุผลยิ่งใหญ่กว่ารองรับ   คือรู้แน่ว่าเสรีไทยและพันธมิตรไปรอด   ชาติไทยก็จะไปรอด  ท่านถึงยอมเป็นเสรีไทย
ก็ขอให้เห็นใจท่านหน่อยว่า ถ้าเสรีไทยเกิดหน่อมแน้มขึ้นมา   ท่านจะเหลือซากละหรือ  เพราะญี่ปุ่นก็ยังไม่หน่อมแน้มเลยสักนิด    จนลางแพ้ญี่ปุ่นเริ่มฉายนั่นแหละท่านถึงเชื่อว่าเสรีไทยไปรอดแน่  อย่างน้อยแบ๊คด้านพันธมิตนก็แข็งแกร่งกว่าแบ๊คด้านญี่ปุ่นของท่านจอมพล

มาถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่าทำไมท่านไม่กระซิบบอกท่านจอมพลให้กลับลำ   มาเข้ากับเสรีไทยสะดวกกว่าเปลืองเงินและชีวิตคนสร้างเมืองหลวงเพชรบูรณ์เป็นไหนๆ    คำตอบคือจอมพลป. มีกุนซือและบริวารหลายคนที่พลต.อ.อดุลฝ่าเข้าไม่ถึง    คนพวกนี้คงไม่ยอมให้จอมพลป.เชื่อฟังท่านง่ายๆ  ท่านก็เสร็จ และพาเสรีไทยเสร็จไปด้วย
ความระคายใจของพลต.อ.อดุลน่าจะเริ่มมาตั้งแต่จอมพลป.มีคนอื่นล้อมหน้าล้อมหลัง   ไม่ได้มีกันแค่ ๒ คนว่าไงว่าตามกันเหมือนเมื่อก่อน
ก็น่าเห็นใจกับคนที่ต้องเล่นกับไพ่ในมืออย่างระมัดระวัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 18:36




ปัญหาก็คือคนดีอย่างนี้ บริหารประเทศจนพินาศย่อยยับกันอย่างที่เห็น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือ? มีตัวอย่างของคนดีจำนวนมากในประวัติศาสตร์โลกที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ตายไปโดยไม่เหลือทรัพย์สมบัติอะไรเลย แต่นโยบายและวิธีการที่ต้องการให้ประเทศเป็นรัฐในอุดมคติ กลับสร้างความพินาศต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างย่อยยับ


คำถามนี้โดนใจมาก   เคยถามตัวเองว่า ระหว่างเกิดมาเป็นคนดีที่ต้องรับผิดชอบเรื่องใหญ่  ที่มีสิทธิ์ทั้งสำเร็จจนได้ประโยชน์ยิ่งใหญ่  กับถ้าพลาดก็ย่อยยับต่อสังคมที่เขาอยู่     กับเป็นคนที่เกิดมาไม่เคยทำอะไรให้ใครเลย  ไม่ว่าบวกหรือลบ  (เช่นเกิดมาในหมู่บ้านชายป่า พอโตก็ทำไร่ไถนาอยู่ชายป่า จนตายไปเองตามอายุขัย  ไม่เกี่ยวกับโลกภายนอก)  คนสองคนนี้ใครมีสิทธิ์ไปสู่สุคติมากกว่ากัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 22:41


คนดีที่ต้องรับผิดชอบเรื่องใหญ่  ทำสำเร็จจนได้ประโยชน์ยิ่งใหญ่ ดี ได้รับการสรรเสริญ

คนดีที่ต้องรับผิดชอบเรื่องใหญ่  ทำพลาดก็ย่อยยับต่อสังคมที่เขาอยู่ ไม่ดี ถูกสาปแช่ง

คนที่เกิดมาไม่เคยทำอะไรให้ใครเลย  ไม่ว่าบวกหรือลบ  ก็เฉยๆ ไม่ได้รับทั้งการสรรเสริญหรือถูกสาปแช่ง

ส่วนการไปสู่สุคติเป็นวิถีทางพุทธศาสนา เกี่ยวเนื่องจากการบริหารจิตของตน มากกว่าจากผลของการทำงานทางโลก บุคคลทั้งสามประเภทข้างต้นเมื่อใจถูกกระทบด้วยโลกธรรมรุนแรง ชอบหรือไม่ชอบ ถ้าสามารถตั้งจิตให้เป็นกลางได้ไม่หวั่นไหว เมื่อแตกดับย่อมไปสู่สุคติ

ตรงข้าม หากหวั่นไหวเร่าร้อน อยากหรือไม่อยาก จิตดิ้นรนกระสับกระส่ายยามแตกดับ ก็ย่อมไปสู่อบายภูมิ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 24 ก.ค. 10, 23:04

สัจธรรม
คนดีที่ต้องรับผิดชอบเรื่องใหญ่  ทำสำเร็จจนได้ประโยชน์ยิ่งใหญ่  ดี ได้รับการสรรเสริญ
คนดีที่ต้องรับผิดชอบเรื่องใหญ่  ทำพลาดก็ย่อยยับต่อสังคมที่เขาอยู่ ไม่ดี ถูกสาปแช่ง


เมื่อรู้เช่นนี้ คนดีก็ต้องฉลาดที่จะระมัดระวังตนเองมิให้ไปสุ่มเสี่ยงในเรื่องที่พลาดแล้วจะเป็นความเสียหายร้ายแรง
จริงอยู่ บางครั้งสถานการณ์บังคับให้ต้องเลือกตัดสินใจทางใดทางหนึ่ง แต่หากมั่นใจว่าทางที่ตนเลือกนั้น เป็นการเลือกตามเนื้อผ้า กลั่นกรองและทบทวนแล้ว มิได้กระทำเพื่อตนเองหรือพวกพ้อง ก็ต้องทำใจ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด จะถูกด่าก็ต้องยอม

ดังนั้น งานบริหารประเทศชาติ เราจึงต้องการคนดีที่เก่งด้วยจึงจะพาชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง เพราะคนดีที่เก่งจะมีโอกาสที่จะตัดสินใจถูกมากกว่าผิด คนฉลาดแต่ไม่เก่ง คนดีแต่อ่อนแอ คนตรงแต่บ้า คนซื่อแต่บื้อ เหล่านี้ล้วนทำให้ชาติถอยหลังมาแล้วทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 07:46

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 08:03

^
ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 08:05

ผมต้องขออภัยท่านผู้อ่าน ที่อยู่ๆผู้แสดงนำในเรื่องของผมก็หักมุมลงไปโดนตั้งคำถามเช่นนั้น มันก็คงสร้างความค้างคาใจให้ถกกันต่อไปได้มาก ซึ่งผมยินดีรับฟังความเห็นต่าง ดังบางประเด็นของท่านอาจารย์เทาชมพู ผมคงไม่กล้ายืนยันหัวชนฝาว่าผมถูก มันเป็นเรื่องปัจเจกที่ต่างคนต่างมีสิทธิ์คิด อย่างไรก็ตามอะไรที่ผมเห็นว่าควรจะเสริมข้อมูลให้ ผมก็จะกระทำ ดังเช่นตัวกฏหมายอาชญากรสงคราม ซึ่งมีเพียงไม่กี่มาตรา และมาตราที่สำคัญที่สุดมีเพียง2มาตรา คือมาตรา3 และมาตรา9 ดังนี้



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 08:06

บุคคลสำคัญอย่างจอมพล ป. และพลต.อ.อดุล เป็นคนที่น่าสนใจศึกษาการทำงานของท่าน    เพราะงานที่ทำมีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์
เมื่อพิจารณาเส้นทางการเมืองของจอมพล ป.  ดิฉันมองอย่างหนึ่งว่าท่านคงเป็นที่เชื่อถือและยำเกรงของเพื่อนพ้องทหารจำนวนมาก   เมื่อมีการรัฐประหารหรือปรามปรามทีไร   จอมพลป.ถึงไม่เคยพลาด   แสดงว่าท่านหาคนเป็นมือเป็นแขนให้ท่านได้เยอะ  ไม่เฉพาะแต่มือขวาอย่างหลวงอดุลเท่านั้น
ดูแต่รัฐประหารที่จอมพลผินทำ เป็นตัวอย่าง   อ่านคำชี้แจงของจอมพลผินก็เห็น ท่านยอมรับว่าบารมีท่านไม่เทียบเท่าจอมพลป.  ความเคารพยำเกรง มีเหนือกว่าความต้องการเป็นใหญ่

หลวงอดุลเองเมื่อสังเกตถึงผลงาน  ก็ทำให้จอมพลป.อย่างมอบกายถวายชีวิต     จะว่าเป็นเพราะหวังเงินทองผลประโยชน์ก็ไม่ใช่   เพราะท่านไม่คอรัปชั่น  บ้านช่องทางการก็ต้องสร้างให้อยู่   และไม่ปรากฏว่าลูกหลานท่านติดอันดับมหาเศรษฐีในภายหลัง
ถ้าจะว่าท่านหวังตำแหน่ง    ตำแหน่งที่มาแบบไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง มันก็คือความรับผิดชอบและงานหนักเท่านั้นเอง  ทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกปองร้ายด้วย   เพราะเป็นตำแหน่งที่ให้โทษคนอยู่มาก
แต่ท่านก็ทำให้จอมพลป. ทุกอย่าง   จนกระทั่งมาแตกกันในบั้นปลาย

เคยรู้จากผู้ใหญ่ว่า จอมพลป.ตอนหนุ่มๆ(ถึงตอนแก่ก็เถอะ) เป็นคนรูปงาม  กิริยามารยาทดีหาที่ติมิได้  พูดจาไพเราะ   ใครรู้จักท่านเป็นส่วนตัวมักจะปลื้ม เพราะท่านเป็นคนมีเสน่ห์  
นอกจากมีเสน่ห์   อาจมีอำนาจด้วยในตัว   ท่านถึงผูกใจนายทหารชั้นผู้ใหญ่ไว้ได้มาก    จะยกเว้นก็แต่คลื่นลูกหลังอย่างจอมพลสฤษดิ์  ซึ่งมีคุณสมบัติบางอย่างเหมือนท่าน

อย่าเพิ่งเริ่มเรื่องจอมพลสฤษดิ์นะครับ ขอร้องงง

ไม่เริ่มค่ะ   รอคุณนวรัตนเริ่มเองนะคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 08:23

^
คร้าบ

2เกลอต่อ จะเห็นว่า ผู้ที่เข้าข่ายเป็นอาชญากรสงคราม ไม่มีตรงไหนระบุว่าต้องเป็นผู้ทรยศต่อชาติ ผู้ที่สัมพันธมิตรเอาตัวไปประหารทั้งเยอรมันและญี่ปุ่นล้วนเป็นผู้ที่รักชาติของตนอย่างเข้มข้นทั้งนั้น ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา(ซึ่งพล.อ.อดุลให้การว่าตนไม่ได้รับรู้อะไรตอนนั้น และพาดพิงนายวณิชและหลวงวิจิตรว่าน่าจะเกิดจากการยุยง(จอมพลป.)ของบุคคลทั้งสอง) จอมพลป.คงจะดิ้นหลุดข้อ1ของมาตรา3 ยาก

มาดูมาตรา9


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 08:26

หากศาลเห็นว่าจำเลยมีความผิดจริงตามมาตรา3ดังกล่าว จอมพลป.ก็ต้องได้รับโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง แค่จำคุก20ปีก็หมดสภาพแล้ว


อ้างถึง
ดิฉันยังติดใจคำให้การชั้นสอบสวนของพลต.อ.อดุล    เพราะดูๆแล้ว เป็นการระบายโทสะที่คับแค้นใจ จากเพื่อนที่น้อยใจเพื่อน   มากกว่าจะเป็นการกระหน่ำเอาให้จมดิน   เพราะไม่มีตอนไหนเลยที่คำให้การพูดถึงบทบาทของจอมพล ป.ว่าทรยศต่อชาติ   ถ้าหากว่าพลต.อ.อดุลเน้นตรงนี้   กฎหมายจะย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง  จอมพลป.คงเอาตัวรอดจากสังคมยากเหมือนกัน

คำให้การนั้น ถ้าพล.อ.อดุลจะจบเพียงว่า ค.ร.ม.แค่ยอมให้กองทัพญีปุ่นผ่าน แต่การร่วมรบโดยประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา จอมพลป. และจำเลยคนอื่นๆ ร่วมกันกระทำการโดยลำพัง ก็ย่อมจะมีความผิดตามมาตรา3  เท่านี้ก็ถือว่าจอมพลป.จมดินไปแล้ว แต่พล.อ.อดุลกลับเลือกใช้ประโยชน์จากศาล ที่คุ้มครองพยานต่อคำให้การเข้าข่ายหมิ่นประมาท มาระบายโทษะที่คับแค้นใจ กระหน่ำเพื่อนต่อเสียเละเทะ ที่ผมคัดมาลงไว้ข้างล่างเป็นเพียงบทนำ รายละเอียดต่อจากนั้นหลายสิบหน้ากระดาษ ผมสแกนไม่ไหว

ส่วนว่าสังคมอ่านแล้วจะคิดอย่างไร ก็คงจะแบ่งเป็น3พวก เหมือนเรื่องในปัจจุบันนี้แหละ คือ 1เชื่อ 2ไม่เชื่อ 3เฉยๆ  แต่คำให้การของพล.อ.อดุลก็เปิดเผยสิ่งที่สังคมไม่เคยได้รับทราบเยอะแยะเกี่ยวกับจอมพลป. ทุกวันนี้บันทึกเรื่องราวในประวัติศาสตร์จึงให้ภาพจอมพลป. ไม่ใช่พระเอกของคนไทยแน่นอน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 08:35

อ้างถึง
แต่ต่อมาในสมัยสงครามโลก พลต.อ.อดุลผู้ออกหน้าในรายงานการประชุุมรัฐมนตรีในวันที่ ๗-๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ว่าเราไม่มีกำลังพอจะสู้ญี่ปุ่นได้แน่ๆ   เริ่มเห็นว่านโยบายของเพื่อนรักอาจผิดพลาด  แต่ท่านก็ลังเลอยู่หลายเดือนกว่าจะเข้าร่วมเสรีไทย   
ตรงนี้ดิฉันไม่เห็นว่าท่านเหยียบเรือสองแคม  แต่การตัดสินใจเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่  ทำลงไปก็เหมือนหักหลังเพื่อน   ถ้าจะทำก็ต้องมีเหตุผลยิ่งใหญ่กว่ารองรับ   คือรู้แน่ว่าเสรีไทยและพันธมิตรไปรอด   ชาติไทยก็จะไปรอด  ท่านถึงยอมเป็นเสรีไทย
ก็ขอให้เห็นใจท่านหน่อยว่า ถ้าเสรีไทยเกิดหน่อมแน้มขึ้นมา   ท่านจะเหลือซากละหรือ  เพราะญี่ปุ่นก็ยังไม่หน่อมแน้มเลยสักนิด    จนลางแพ้ญี่ปุ่นเริ่มฉายนั่นแหละท่านถึงเชื่อว่าเสรีไทยไปรอดแน่  อย่างน้อยแบ๊คด้านพันธมิตนก็แข็งแกร่งกว่าแบ๊คด้านญี่ปุ่นของท่านจอมพล


ผมเพิ่งจะบรรลุจากการอ่านหนังสือหลายเล่มที่ต่างคนต่างเขียน บางทีก็ไม่ทราบว่าใครทำอะไรในตอนนั้น เมื่อเอามาประกอบกันในคราวนี้ จึงปรากฏวีรบุรุษตัวจริงของชาติในเรื่องเสรีไทย ก็คือร.ต.อ. โพยม จันทร์คะ ที่ยอมเสี่ยงทรยศต่อคำสั่งพล.ต.อ.อดุลผู้เป็นนาย แอบพานายป๋วยไปพบนายปรีดี และพาไปลักลอบส่งวิทยุ ทำให้อังกฤษรู้ว่าปฏิบัติการขั้นที่1 สำเร็จแล้ว เริ่มปฏิบัติการขั้นที่2.. 3.. 4..ได้ตามลำดับ

หากไม่มีคนอย่างร.ต.อ. โพยม จันทร์คะ ป่านนี้พล.ต.อ.อดุลก็คงยังเห็นเสรีไทยหน่อมแน้มอยู่นั้นเอง ประวัติศาสตร์ของชาติก็อาจจะหักเหไปอีกมุมหนึ่ง เพราะอังกฤษและอเมริกาคงไม่ยอมทุ่มกำลังพลพรรคเสรีไทยเข้ามามากมาย และจนถึงกับอเมริกันส่งคนมาบอกให้พล.ต.อ.อดุลกับนายปรีดีจับมือกันทำงานเสียที

ชาติจึงได้ไปรอดได้อย่างเฉียดฉิว เพราะเสรีไทยมีผลงานก่อนยุติสงครามเพียงนิดเดียวเท่านั้น


ร.ต.อ. โพยม จันทร์คะเดินออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์เหมือนทหารนิรนาม ท่านดีกว่าพวกนั้นหน่อยที่ท่านรอดชีวิตจากสงคราม แต่ทหารนิรนามก็ดีกว่าท่าน ตรงที่มีผู้สร้างอนุสาวรีย์ให้ มีคนไปวางพวงมาลาทุกปีๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง