เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 138869 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 07:14

เหตุการณ์ในช่วงนี้ผมขอใช้เครื่องทุ่นแรงหน่อย

หนังสือตำนานเสรีไทยได้ย่อสรุปความเป็นมาที่เกิดขึ้นดีแล้ว ขอเอามาให้ท่านผู้อ่านที่อยากทราบไว้เป็นข้อมูล



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 07:16

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 07:18

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 07:25

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 07:30

การทิ้งระเบิดถล่มจุดยุทธศาสตร์ต่างๆของเมืองไทยโดยฝ่ายสัมพันธมิตร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 07:33

ใบปลิวที่ถูกทิ้งมาจากอากาศให้คนไทย

ใบแรก ของณี่ปุ่นตอนบุกเมืองไทย
ใบหลัง ของสัมพันธมิตร



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 07:45

ลอร์ดหลุยส์ผู้พยายามจะส่งสาส์นมาให้นายปรีดีเพื่อเชื่อมโยงปฏิบัติการเสรีไทยนอกประเทศกับในประเทศ แต่สาส์นเหล่านั้นถูกพล.ต.อ.อดุลเก็บไว้หมด

ต่อมานายปรีดีก็ได้รับสาส์นนั้นจนได้จาก "คนขายชาติ" 2ท่าน

เป็นใคร เดี๋ยวค่ำๆกลับมาแล้วยังไหว ผมจะเขียนเล่าให้อ่านกันต่อครับ



บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 09:07

มาครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 09:17

วันนี้ท่านเจ้าของกระทู้ลากิจ     ระหว่างนักเรียนนั่งรอกันเต็มชั้น     ก็ขอคั่นโปรแกรมไปพลางๆ  (ตามเคย) ด้วยภาพเก่าเล่าเรื่อง
เตรียมรอรับความระทึกใจที่ท่านจะมาเฉลยตอนจบให้ฟัง  ไม่คืนนี้ก็พรุ่งนี้

ภาพแรก คือภาพไทยร่วมลงนามอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น   คงจะจำได้ว่าหลังยอมให้ญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศอย่างสันติในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔  จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทย ก็ไปลงนามอนุสัญญาร่วมมือกับญี่ปุ่น  กระทำกันต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือพระแก้วมรกต ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  คู่สัญญาคือนายทสุโย กามิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ว่าไทยจะร่วมมือกับญี่ปุ่นทั้งการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ 


 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 09:22

ภาพที่ 2  เมื่อรัฐบาลเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่น  เอกอัครราชทูตไทยในอเมริกาประท้วงผ่านวิทยุคลื่นสั้น ส่งมาถึงไทย  หนังสือพิมพ์ไทยที่ต้องรับนโยบายรัฐบาลมาปฏิบัติ ก็ลงข่าวตามท่านผู้นำให้ลง
กรุณามองข่าวเล็กๆตรงกลางหน้า  "ห้ามฟังข่าววิทยุต่างประเทศ"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 09:26

ภาพนี้บางท่านอาจเคยเห็นแล้ว   น้ำท่วมใหญ่ปี 2485   เป็นปีที่ไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤติทั้งการเมืองและภัยธรรมชาติ   
กรุงเทพน้ำท่วมหนักขนาดใช้เรือสัญจร  พายผ่านพระบรมรูปทรงม้ากัน เพราะลุยน้ำไม่ไหว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 09:29

หลักฐานความย่อยยับของเมืองหลวง ในสงครามมหาเอเชียบูรพา   สะพานพระราม ๖  ถูกทิ้งระเบิด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 09:30

หน้าตาลูกระเบิด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 09:34

เรื่องราวของสงครามมหาเอเชียบูรพา หาอ่านได้จากลิ้งค์นี้
http://iseehistory.socita.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711080&Ntype=1

มีประกาศสันติภาพด้วยค่ะ

**************************
ประกาศสันติภาพ

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗)

ปรีดี  พนมยงค์

 


                 โดยที่ประเทศไทยได้เคยถือนโยบายอันแน่วแน่ที่จะรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด และจะต่อสู้การรุกรานของต่างประเทศทุกวิถีทาง ดังปรากฏเห็นได้ชัดจากการที่ได้มีกฎหมายกำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๔ อยู่แล้วนั้น ความจำนงอันแน่วแน่ดังกล่าวนี้ได้แสดงให้เห็นประจักษ์แล้วในเมื่อญี่ปุ่นได้ยาตราทัพเข้าในดินแดนประเทศไทยในวันที่   ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ โดยได้มีการต่อสู้การรุกรานทุกแห่ง และทหาร ตำรวจ ประชาชน พลเมืองได้เสียชีวิตไปในการนี้เป็นอันมาก

                 เหตุการณ์อันปรากฏเป็นสักขีพยานนี้ ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าการประกาศสงครามเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ ต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา ตลอดทั้งการกระทำทั้งหลายซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้น เป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชาวไทยและฝ่าฝืนขืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประชาชนชายไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือสนับสนุนสหประชาชาติ ผู้รักที่จะให้มีสันติภาพในโลกนี้ ได้กระทำการทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือสหประชาชาติดังที่สหประชาชาติส่วนมากย่อมทราบอยู่แล้ว ทั้งนี้เป็นการแสดงเจตจำนงของประชาชนชาวไทยอีกครั้งหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยต่อการประกาศสงครามและการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสหประชาชาติดังกล่าวมาแล้ว

                  บัดนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ยอมปฏิบัติตามคำประกาศของสหรัฐอเมริกา บริเตนใหญ่  จีน  และสหภาพโซเวียต ซึ่งได้กระทำ ณ นครปอตสดัมแล้ว สันติภาพจึงกลับคืนมาสู่ประเทศไทย อันเป็นความประสงค์ของประชาชนชาวไทย

            ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงขอประกาศโดยเปิดเผยแทนประชาชนชาวไทยว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เป็นโมฆะ ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ตัดสินที่จะให้กลับคืนมาซึ่งสัมพันธไมตรีอันดีอันเคยมีมากับสหประชาชาติ    เมื่อก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ และพร้อมที่จะร่วมมือเต็มที่ทุกทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้

            บรรดาดินแดงซึ่งญี่ปุ่นได้มอบให้ไทยครอบครอง คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะริด เชียงตุง และเมืองพานนั้น ประเทศไทยไม่มีความปรารถนาที่จะได้ดินแดนเหล่านี้และพร้อมที่จะจัดการเพื่อส่งมอบในเมื่อบริเตนใหญ่พร้อมที่จะรับมอบไป

            ส่วนบรรดาบทกฎหมายอื่นๆ ใดอันมีผลเป็นปริปักษ์ต่อสหรัฐอเมริกา บริเตนใหญ่และเครือจักรวรรดิก็จะได้พิจารณายกเลิกไปในภายหน้า บรรดาความเสียหายอย่างใดๆ จากกฎหมายเหล่านั้นก็จะได้รับชดใช้โดยชอบธรรม

            ในที่สุดนี้ ขอให้ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ตลอดจนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทย จงตั้งอยู่ในความสงบ และไม่ว่ากระทำการใดๆ อันจะเป็นการก่อกวนความสงบเรียบร้อย พึงยึดมั่นในอุดมคติซึ่งได้วางไว้ในข้อตกลงของสหประชาชาติ ณ นครซานฟรานซิสโก

            ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 ทวี   บุณยเกตุ

 นายกรัฐมนตรี

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 19 ก.ค. 10, 09:51

คราวนี้มาว่าถึงข้อสังเกตของผม
เวลาอ่านเรื่องราวของเสรีไทย จะพบว่ามีแต่ทางภาคอีสาน และภาคเหนือบางจังหวัด
แต่ทำไมไม่ปรากฏร่องรอยของเสรีไทยในภาคใต้บ้างเลย
คุณปู่ผมเป็นผู้นำชาวบ้านย่านหัวตลาดปัตตานีต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น แต่ผมก็ไม่เคยได้ยินหรือได้อ่านเรื่องราวของเสรีไทยจากปู่เลย

ในส่วนของภาคใต้จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น เป็นสายงานของชาญ บุนนาค อีกท่านหนึ่งที่อาวุโสมากคือหลวงนฤเบศร์มานิต มีการรับอาวุูธจากเครื่องบินคาตาลีน่า ในการไปรับอาวุูธนั้นเป็นงานของหลวงบรรณกรโกวิทอธิบดีกรมศุลกากร  ซึ่งอยู่บ้านสีลมในวันที่ ๘ ธันวาคม ได้ใช้เรือของกรมศุลกากร มีนายท้ายชื่อสวัสดิ์ อุทัยศรี เป็นผู้ขับเรือศุลกากรไปรับอาวุูธ และัรับส่งเสรีไทยที่เดินทางไปฝึกยังต่างประเทศ

ใต้ลงไปอีกในส่วนของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ งานในส่วนนี้อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของแช่ม พรหมยงค์ ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นจุฬาราชมนตรี คนที่ ๘ ของไทย  

ข้อมูลจากคำบรรยายของคุณศุขปรีดา พนมยงค์ ที่พิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่ ธันวาคม ๒๕๕๒


คุณปู่ของคุณหมอซึวีที อาจจะรู้จักท่านที่เอ่ยนามท่านสุดท้ายนี้

เรื่องของคุณแช่ม คุณวิกกี้ได้เล่าไว้ดังนี้
http://th.wikipedia.org/wiki/แช่ม_พรหมยงค์

นายแช่ม พรหมยงค์ มีชื่อและนามสกุลเดิมว่า ซำซุดดิน มุสตาฟา เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ที่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บิดาชื่อ นายจำปา หรือ มุสตาฟา เป็นโต๊ะอิหม่าม แห่งมัสยิดพระประแดงและเป็นอาจารย์สอนศาสนาอิสลาม นายแช่มเองนั้นจบการศึกษาด้านศาสนาอิสลามจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮาร์ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์

ในทางการเมือง นายบรรจง ศรีจรูญ เพื่อนสนิทซึ่งศึกษาอยู่ในเวลาเดียวกันได้ชักชวน นายแช่ม ให้เข้าเป็นสมาชิกคณะราษฎรในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายแช่มและนายบรรจง ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ให้เข้าประทับในพระที่นั่งอนันตสมาคม และทำหน้าที่แจกใบปลิวเพื่อทำความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยแก่ราษฎร นายแช่ม พรหมยงค์ มีความสนิทสนมและนับถือ นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายมันสมองเป็นอย่างมาก ถึงกับเปลี่ยนนามสกุลเป็น พรหมยงค์ เพื่อให้คล้ายคลึงกับ พนมยงค์ นามสกุลของนายปรีดี อีกด้วย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เข้าเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย

เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และมีดำริที่จะฟื้นฟูตำแหน่งจุฬาราชมนตรีขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ชะงักไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายแช่มซึ่งเป็นข้าราชการกรมโฆษณาการและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ในขณะนั้น จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ ถือเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของไทยที่นับถือนิกายสุหนี่

หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ นายแช่ม ต้องลี้ภัยการเมืองไปพร้อมกับ นายปรีดี พนมยงค์ ยังสิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา และท้ายสุดไปอยู่ที่รัฐกลันตันมาเลเซียซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษและซาอุดิอาระเบียตามลำดับ จนกระทั่งเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย เมื่อทางรัฐบาลขณะนั้นอภัยโทษให้ และมาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ด้วยวัย ๘๘ ปี


นายแช่ม พรหมยงค์ ขณะนำเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ชมมัสยิดต้นสน พ.ศ. ๒๔๘๙



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง