NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 135 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:08
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 136 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:08
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 137 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:13
|
|
ระหว่างท่านนวรัตนยังไม่เข้ามา ดิฉันเล่าปูพื้นไปเรื่อยๆก่อน
การเคลื่อนไหวของทางอเมริกาก็ไม่น้อยหน้า วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๔ คือ ๔ วันหลังญี่ปุ่นบุก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเปิดแถลงข่าวต่อสื่ออย่างองอาจผิดวิสัยข้าราชการไทย(โดยมาก)ในสมัยนั้น ว่าสถานเอกอัครราชทูตไทยในวอชิงตันไม่รับรู้ความร่วมมือของไทยกับญี่ปุ่น สถานทูตจะทำตามคำสั่งรัฐบาล เฉพาะเรื่องที่เห็นว่าไม่ใช่คำสั่งของญี่ปุ่นกำกับมาอีกทีเท่านั้น นอกจากนั้น ท่านทูตเสนีย์ก็ฮึดสู้ต่อไปไม่ลดละ ประกาศทางวิทยุชักชวนคนไทยให้ร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น คำประกาศนี้ท่านนำไปให้นายคอเดล ฮัลล์ ร.ม.ว.ต่างประเทศของอเมริกา หรือ State Secretary รับทราบอย่างเป็นทางการ ท่านรัฐมนตรีฮัลล์ก็ไม่รอช้า ส่งลูกมาก็ชู้ทต่อทันควัน ให้อ่านออกวิทยุกระจายเสียงแห่งอเมริกา Voice of America ทันที เสียงของสถานทูตไทยก็กระจายไปทั่วโลก เพราะในยุคนั้นการสื่อสารระหว่างประเทศที่รวดเร็วที่สุดก็คือวิทยุเท่านั้น โทรทัศน์ยังไม่มี วิทยุคลื่นสั้นส่งข้ามทวีปได้ พอเสียงมาถึงไทย ผลคือจอมพลป. ห้ามคนไทยรับฟัง Voice of America ทันที
ท่านเอกอัครราชทูตเสนีย์เมื่อเดินหน้า ท่านดับเครื่องชนลูกเดียว ประกาศสงครามที่ไทยทำกับอังกฤษและอเมริกา(ฉบับที่นายปรีดีไม่ลงนามในวันประกาศนั่นแหละค่ะ) เมื่อส่งถึงมือท่าน ท่านก็ออกแถลงกับสื่อว่าประกาศนี้มาถึงท่านก็จริง แต่ท่านเก็บไว้ในกระเป๋าเสื้อ ขณะเข้าพบรมว.ฮัลล์ เพราะท่านบอกชัดเจนว่าท่านเชื่อว่าประกาศนี้ไม่ได้มาจากเจตนารมณ์ของประชาชนไทยทั้งชาติ จากนั้นรัฐบาลสั่งให้ข้าราชการไทยและนักเรียนไทยในสหรัฐเดินทางกลับประเทศ ปรากฏว่ามีผู้ปฏิบัติตาม ๑๘ คน ข้าราชการ นักเรียนไทยในอเมริกาและแคนาดาอีก ๘๒ คนที่เหลือ ปักหลักสู้คำสั่งรัฐบาลและสู้ญี่ปุ่นอยู่ไม่ยอมถอย แม้ว่าจะถูกรัฐบาลขู่ว่าถอนสัญชาติไทยก็ตาม
ไม่อยากคิดว่าถ้าเอกอัครราชทูตไทยไม่ใช่ม.ร.ว.เสนีย์ แต่เป็นใครสักคนที่พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวเองเป็นข้าราชการที่ดี นายสั่งมายังไงก็ทำตามนั้น คือประกาศสงครามกับอเมริกา และยกขบวนพาข้าราชการไทยและนักเรียนไทยกลับบ้านกันหมด ขบวนการเสรีไทยจะยากลำบากขึ้นอีกแค่ไหน เคราะห์ดีที่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 138 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:21
|
|
คนไหนหนอ โกโบริ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 139 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:31
|
|
คนนู้นนคร้าบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 140 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:42
|
|
กระทู้ชนกันกลางอากาศอีกแล้ว
คนไทยในอเมริกา เริ่มต้นดำเนินงานกู้ชาติในชื่อ "คณะไทยอิสระ" แม้ว่ามีอุดมการณ์สอดคล้องร่วมกัน แต่งานในระยะต้นก็ไม่ยักประสานกันได้ดีอย่างที่ควร ปัญหาสำคัญคือความไม่ลงรอยกันระหว่างเอกอัครราชทูต ม.ร.ว.เสนีย์ กับทูตทหาร ม.ล.ขาบ กุญชร ส่วนนักเรียนไทยก็ไม่ยอมรับว่าอยู่ในอาณัติของสถานทูต จะมาสั่งอะไรแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ผลคืออึดอัดขลุกขลักกันอยู่พักใหญ่ กว่าจะหาทางออกกันได้สำเร็จ ก็ล่วงมาถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ จึงมีการตั้งคณะกรรมการที่เป็นผู้แทนของทั้งสถานทูตและนักเรียนไทยขึ้นมาทำงานร่วมกัน ชื่อว่า "เสรีไทย" หลังจากนั้นการดำเนินงานก็ค่อยเข้ารูปเข้ารอย เสรีไทยสายอเมริกา มีกระทรวงการต่างประเทศของอเมริกาหนุนหลังเต็มตัว ช่วยฝึกทหารให้หนุ่มสาวเสรีไทย โดย O.S.S หรือ The Office of Strategic Services และต่อมาคือ Detachments 404 ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ที่เมืองแคนดี เกาะลังกา งานเดินเป็น ๒ สายคือสถานทูตรับงานด้านการเมือง ออกอากาศ ส่งข่าวสาร ประสานงานกับอเมริกา ส่วนนักเรียนไทยฝึกปฏิบัติงานแบบสายลับ เข้ามาทำงานใต้ดินในเมืองไทย
ทีนี้ก็จะหันมามองเสรีไทยสายอังกฤษบ้างนะคะ ว่าเป็นยังไง ทางอังกฤษ ปฏิกิริยาตรงข้ามกับอเมริกา เพราะท่านเอกอัครราชทูตไทย พระมนูเวทวิมลนาท( เปี๋ยน สุมาวงศ์) มีนโยบายตรงกันข้ามกับม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ท่านถือว่าเป็นข้าราชการที่จะดี ย่อมต้องเคร่งครัดต่อนโยบายของรัฐบาล เมื่อรู้ข่าวไทยยอมให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศ ข่าวส่งจากรัฐบาลไทยมาถึงสถานทูตอังกฤษ ท่านทูตก็ประกาศให้นักเรียนไทยฟัง ด้วยการอ่านโทรเลขจากรัฐบาล ว่า
"รัฐบาลเปรียบเหมือนช้างเท้าหน้า พวกเราเป็นช้างเท้าหลัง ฉะนั้นขอวิงวอนให้คนไทยทุกคน ร่วมใจกันสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลทุกประการ"
จากนั้นท่านทูตก็เตือนนักเรียนไทยว่า "การที่จะต่อต้านญี่ปุ่น จะทำให้นักเรียนมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๑๐๔ ฐานกบฏนอกประเทศ มีความผิดร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต"
ถึงแม้นักเรียนไทยหลายคนไม่เห็นด้วย แต่เมื่อเจอคำปรามเข้าอย่างนี้ การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนจึงยังไม่สามารถเกิดได้ง่ายนัก กลายเป็นว่าต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำกันไป มากกว่า ในตอนเริ่มแรก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 141 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:46
|
|
คนนู้นนคร้าบ
^ ^ อ้าว มาหลบอยู่นอกกรอบรูปนี่เอง พ่อดอกมะลิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 142 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:54
|
|
เสรีไทยสายอเมริกา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 143 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:54
|
|
เสรีไทยสายอังกฤษ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 144 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:59
|
|
เพราะผู้ใหญ่ปราม เด็กก็ต้องเงียบ แต่ในความเงียบก็ไม่ได้แปลว่ายอมทำตาม ต่างคนต่างก็ดิ้นรนหาทางตามความถนัดของตัวเอง ทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง คนไทยคนหนึ่งในอังกฤษ มีชื่อในขบวนการเสรีไทยในภายหลังว่า " อรุณ" เขียนบันทึก เล่าไว้ว่า ท่านเขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีอังกฤษโดยตรง ขออาสาทำงานต่อต้านญี่ปุ่น เชอร์ชิลล์ตอบรับมา ขอให้ทำงานในกรมเสนาธิการข่าว ทำแผนที่ประเทศไทยและรวบรวมข่าวจากประเทศไทย แปลส่งให้อังกฤษ
ต่อมาพอรัฐบาลไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ ในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ สถานการณ์ของคนไทยในอังกฤษก็ทรุดฮวบแทบจะโคม่า เพราะกลายเป็นชนชาติปรปักษ์ของอังกฤษไปอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว คุณพระมนูเวทฯ ทำตามคำสั่งของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด คือสั่งให้นักเรียนไทยเดินทางกลับบ้าน ใครไม่กลับก็โดนถอนสัญชาติเดี๋ยวนั้นเลย ไม่รั้งรอ แต่ก็มีคนไทยจำนวนหนึ่งใจเด็ดพอ ถอนได้ถอนไป ไม่กลับซะอย่าง ปัญหาคือคนไทยเหล่านี้จะจัดตั้งขบวนการไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างอเมริกาก็ไม่ได้ อังกฤษไม่ยอม ถ้าจะไปรบกับญี่ปุ่นก็มีทางเดียวคือสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ มิฉะนั้นจะกลายเป็นฝ่ายพันธมิตรของศัตรู เรียกว่า Enemy aliens ต้องรายงานตัวทุก ๑๕ วัน
ในตอนนี้เอง หนุ่มนักเรียนอังกฤษบางคนก็ฮึดสู้ ออกโรงมาเป็นฝ่ายพันธมิตร คือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.จ. การวิก จักรพันธุ์ และบุุคคลสำคัญยิ่งอีกคนหนึ่ง คือท่านชิ้น ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงสนิท สวัสดิวัตน์ หรือผู้ใช้นามว่า "อรุณ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 145 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 14:19
|
|
ขอแนะนำเสรีไทยบางท่านให้คนรุ่นลูกหลานรู้จักความกล้าหาญและเสียสละของท่านไว้ ท่านแรกคือ ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท หรือ "ท่านชิ้น" ท่านชิ้น เป็นพระโอรสองค์ที่ 9 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับหม่อมราชวงศ์เสงี่ยม สวัสดิวัตน์ (สนิทวงศ์) กรมพระสวัสดิ์ฯ เป็นพระบิดาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ท่านชิ้นเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระนางรำไพฯ ท่านประสูติที่ประเทศอังกฤษ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีเสด็จมาประทับที่อังกฤษ ต่อมาสละราชสมบัติ ท่านชิ้นก็ทรงอยู่ที่อังกฤษ มิได้กลับสยาม
ท่านชิ้นเป็นผู้มีความสามารถ สามารถติดต่อกับระดับสูงของอังกฤษได้ แต่ความที่ท่านเป็น "เจ้า" และเป็นเจ้าที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ก็กลายเป็นอุปสรรคมิให้ท่านรับตำแหน่งหัวหน้าขบวนการกู้ชาติได้ในช่วงแรก เพราะคนไทยบางคนก็แคลงใจในสถานภาพ"เจ้า"ของท่าน แต่ต่อมา ดิฉันอ่านพบในหนังสือหลายเล่มว่า ท่านก็ได้เป็นหัวหน้าเสรีไทยในอังกฤษ แต่เป็นตอนไหนยังไง ยังหาไม่เจอ
คนต่อมาที่พวกเราคงเคยได้ยินชื่อ โดยเฉพาะผู้จบจากรั้วเหลืองแดงลูกแม่โดม คือดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดร.ป๋วยเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล เข้าเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลัง ที่ London School of Economics & Political Science ซึ่งเป็นคณะดังระเบิดทางเศรษฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยลอนดอน ดร.ป๋วยใช้เวลาสามปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นคนไทยคนเดียวที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกันในปี พ.ศ. 2485 ได้เกรดเอแปดวิชา และเกรดบีหนึ่งวิชา
รูปข้างล่างรูปแรกคือท่านชิ้น รูปที่สองคือ ดร.ป๋วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 146 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 14:32
|
|
รัฐบาลสั่งให้คนไทยกลับบ้านให้หมด ใครไม่กลับโดนถอนสัญชาติ นักเรียนไทยบางคนก็ใจเด็ดไม่ยอมกลับ ทั้งๆอยู่ในอังกฤษมีแต่อันตรายและลำบากลำบนทุกประการ นักเรียนใจเด็ดมีจำนวน ๕๔ คน แยกเป็นเจ้านาย ๗ พระองค์ คนไทย ๑ คน นักเรียนไทย ๓๙ คน ในจำนวนนี้เข้าเป็นทหาร ๓๕ คน ที่เหลือเป็นแนวหลัง ให้การสนับสนุนขบวนการเสรีไทย
จากนั้นก็อย่างที่รู้ๆกันคือเสรีไทยสายอังกฤษกับอเมริกาก็จับมือทำงานร่วมกัน ลักลอบเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย บางคนถูกจับได้ก็ตกไปอยู่ในอารักขาของอธิบดีตำรวจ หนึ่งในนั้นคือดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ท่านตรวจสอบเอาขึ้นชั่ง ตวง วัดอยู่หลายเดือนจนตัดสินใจได้ว่าพวกนี้ทำเพื่อชาติ ท่านก็เลยเข้าร่วมเป็นหัวหน้าเสรีไทยสายตำรวจในประเทศด้วย จนไทยพ้นจากฐานะผู้แพ้สงครามมาได้
ปูพื้นมาพอสมควรแก่เวลาแล้ว ขอกลับเข้าเรื่องพลต.อ. อดุล คืนกระทู้ให้ท่านกูรูใหญ่กว่าตามเดิมละค่ะ ขอบคุณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 147 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 16:24
|
|
เรื่องของเสรีไทยนั้น พล.ต.อ.อดุลให้การว่าตอนจับเชลยอังกฤษและอเมริกันตอนประกาศสงครามกับเขาแล้วนั้น นายปรีดีคงได้ดูแลอย่างดีและถือโอกาสปรับความเข้าใจว่าเราคล้ายกับถูกญี่ปุ่นบังคับ จำใจต้องปฏิบัติต่อเขาเช่นนี้ หวังว่าเขาจะนำข้อมูลข่าวสารนี้ไปบอกรัฐบาลของเขาด้วย หลังจากนั้นจะติดต่อสื่อสารกันอย่างไรไม่ทราบ แต่นายปรีดีได้ส่งนายจำกัด พลางกูรเดินทางไปเมืองจีน แต่ท่านผู้นี้ไปถึงแก่กรรมเสีย ต่อมาในปี2486 จึงได้จัดส่งนายสงวน ตุลารักษ์ซึ่งไปกันทั้งครอบครัว นายแดง คุณะดิลก นายวิบูลวงศ์ วิมลประภา นายกระจ่าง ตุลารักษ์ไปเมืองจีนอีก นายสงวนได้ปรับความเข้าใจกับรัฐบาลจีนที่จุงกิงเรียบร้อยแล้ว ก็เดินทางร่วมกับนายแดงไปสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่อไป แล้วจึงย้อนกลับมาประจำอยู่ที่แคนดี เพื่อร่วมมือกับบรรดานักเรียนไทยที่กำลังฝึกวิทยายุทธอยู่ที่นั่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 148 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 16:27
|
|
ในปีนั้น อังกฤษส่งลูกจีนเกิดในเมืองไทย4คนโดดร่มมาลงที่นครชัยศรี ทั้งหมดถูกตำรวจยิงตายไป1 จับเป็นได้2 อีกคนหนึ่งหนีไปได้ ญี่ปุ่นรู้เข้าจะขอตัวไปสอบสวน ไทยไม่ยอมแต่จะมาร่วมสอบสวนด้วยก็เชิญ สุดท้ายญี่ปุ่นไม่ได้อะไร เสรีไทยสองคนนี้ตำรวจเอาไปเลี้ยงดูอย่างดี
ปลายปีนั้นอังกฤษส่งนักเรียนไทยมาโดดร่มลงอีก3คนในเขตอุทัยธานี-ชัยนาท ตำรวจจับได้หมดทั้งนายป๋วย อึ้งภากรณ์ นายประทาน เปรมกมล นายเปรม บุรี พร้อมอาวุธ และเอกสารโคตลับ วิทยุสื่อสาร และอาหาร
พอพล.ต.อ.อดุลได้รับรายงานก็สั่งให้ลูกน้องนำตัวมาที่ตนโดยตรง แต่ญี่ปุ่นรู้ก่อน จึงต้องเปลี่ยนเอาไปตั้งข้อหาที่สันติบาล ทำทีว่าจะสอบสวนดำเนินคดีไม่ให้ญี่ปุ่นระแวง ระหว่างนั้นนายปรง พหูชนม์ปลัดจังหวัดมาหาแจ้งว่ามีราชการลับมาก เมื่อให้พบแล้วปลัดปรงบอกว่าพลร่มฝากหนังสือลับของลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตแต้นส์ ผู้สำเร็จราชการของอังกฤษในอินเดียมาให้นายปรีดี พนมยงค์ พล.ต.อ.อดุลกลัวว่าต่อไปเรื่องจับพลร่มได้จะรู้ไปถึงจอมพล ป. จึงได้คัดเลือกเอกสารที่จับได้ เอาที่ไม่สำคัญไปรายงานให้จอมพล ป.ทราบ จอมพล ป.ดูๆแล้วก็ไม่ค่อยจะสนใจ บอกเพียงว่าคงเป็นแค่อุบายให้ญี่ปุ่นระแวงไทย หรืออาจจะเข้ามาทำร้ายบุคคลสำคัญ เพื่อให้ตายใจพล.ต.อ.อดุลจึงให้ตำรวจที่ดูแลไปบอกให้พวกที่ถูกจับมาเขียนจดหมายถึงจอมพล ป. ใช้สรรพนามให้ถูกต้องกับวัธนธัมว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร เรียนที่ไหน แล้วบอกว่ารัฐบาลอังกฤษให้ฉันหาทางมาติดต่อท่านผู้นำ จอมพล ป.อ่านแล้วก็ยิ้มออก หายระแวง
ผมขอเอาบางตอนจากคำไว้อาลัยที่ศาตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์เขียนถึงพล.ต.อ.อดุลในตอนนี้มาลงไว้จะดีกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 149 เมื่อ 18 ก.ค. 10, 16:28
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|