เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 138744 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 10:58

เอารูปศาลหลักเมืองหลวง ของเพชรบูรณ์มาให้ดูไปพลางๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 11:00

อ้างถึง
เดี๋ยวจะขอคั่นโปรแกรมด้วยเรื่องเสรีไทยอีกหน่อย   ไปอ่านหนังสือมาแล้ว  จะไม่ย่อยให้ฟังก็เสียดาย   ถ้าไม่อยากรู้เพราะไม่เกี่ยวกับท่านพลต.อ. เท่าไร ก็ข้ามไปได้เลยค่ะ

เชิญตรงนี้เลยครับ ผมจะได้ต่อเรื่องของเสรีไทยยุคที่ก่อนจอมพล ป.จะพ้นจากตำแหน่งด้วยเรื่องเพชรบูรณ์ ตามคำให้การของพล.ต.อ.อดุล



วันนี้ผมไม่พัก แต่จะลางานพรุ่งนี้1วัน ไปงานบวชลูกชาย
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 11:13

ว่าไงว่าตามกันค่ะ    ขอเชิญคุณนวรัตนแจมเรื่องเสรีไทยได้ทุกระยะ

เสรีไทย เป็นเรื่องของขบวนการกู้ชาติ ในปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒     มีจุดเริ่มสำคัญอยู่ที่ ๒ เหตุการณ์ใหญ่ 
เหตุการณ์แรก คือรัฐบาลไทยยอมแพ้ญี่ปุ่นอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบุกไทยแบบสายฟ้าแลบ ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ เสียงส่วนใหญ่ในรัฐบาลยอมรับว่า กำลังของไทยสู้ไม่ได้   
เหตุการณ์ที่สอง คือประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา  ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕  
เป็นประกาศในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ลงนามโดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ๓ ท่านคือ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินและนายปรีดี พนมยงค์

ประกาศนี้เป็นการแสดงอย่างเปิดเผยว่า ไทยตัดสินใจเป็นปรปักษ์กับฝ่ายพันธมิตร   แต่ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นที่ถือข้างไทยอยู่แพ้สงคราม    ไทยก็อ้างว่าประกาศนี้เป็นโมฆะ เพราะจริงๆแล้ว ทั้ง ๓ ท่านลงนามไม่ครบ ๓ ท่าน นายปรีดีไปต่างจังหวัดเลยไม่ได้ลง
เรื่องนี้ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์เล่าไว้ว่านายปรีดีกลับไปเยี่ยมครอบครัวที่อพยพไปอยู่อยุธยา ก็เลยไม่ได้ลงนาม     แต่ในหนังสือชีวิตและผลงานของพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ที่พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน  ระบุว่า ไม่ได้ลงนามในวันที่ประกาศ  แต่กลับมาลงนามในภายหลังเมื่อประกาศไปแล้ว
แต่จะเป็นแบบไหนก็ตาม   หลังสงครามแล้ว ประกาศนี้ถูกตัดสินว่าเป็นโมฆะโดยพี่เบิ้มฝ่ายพันธมิตร คือสหรัฐอเมริกา
 
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 11:22

กลับมาที่คำให้การของท่านนายพลตาดุของเราดีกว่า    คุณหมอ CVT ขยับมีดผ่าตัดมาหลายหนแล้ว

อาจารย์ครับ ผมเรียนด้านผ่าตัด
แต่การบ้านของอาจารย์มันต้องอาศัยจิตแพทย์ครับ

อาศัยความรู้วิชาจิตเวชที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดทั้งๆที่เมื่อประมาณ ๒๕ ปีที่แล้ว ทรานสคริปต์ผมมี A เพียงวิชาเดียวคือ จิตเวช  ยิงฟันยิ้ม

บุคลิกภาพของท่านผู้นำในยุคนั้น เป็นไปตามธรรมชาติของผู้ที่มีอำนาจ เมื่อเสวยอำนาจนานเข้าจะเกิด ๒ สิ่งตามมาคือ

๑. Grandeur หรือ Grandiose Delusion คือการหลงผิดคิดว่าตนเองคือผู้ยิ่งใหญ่ เหนือกว่าคนทั้งปวง หรือบางคนถึงขั้นคิดว่าตนเองเป็นใครในอดีตกลับชาติมาเกิด กรณีท่านผู้นำนี้หลายท่านคงจะจำเหตุการณ์ที่ท่านยืนหันหลังให้หน้าต่างแล้วคุณหลวงท่านหนึ่ง(ที่ชอบแต่งประวัติศาสตร์และเพลงปลุกใจ) ก้้มลงกราบ แล้วบอกว่าเห็นแสงเฮ้ากวงออกมาจากตัวท่านผู้นำ เป็นที่ถูกอกถูกใจท่านผู้นำเป็นยิ่งนัก

๒. Paranoia หรือ Paranoid Thinking คือความหวาดระแวง หวาดกลัวในสิ่งที่ตนมีความกังวลใจ กรณีของท่านผู้นำก็มาจากการที่ท่านมี Grandeur Delusion นำไปสู่ความวิตกกังวลว่าจะมีคนมาโค่นอำนาจท่าน จนกลายเป็นความหวาดระแวงหวาดกลัวไปหมด ใครที่คิดต่างจากท่านก็จะกลายเป็นศัตรูที่คอยจ้องโค่นอำนาจท่านทันที ต้องกำจัดให้พ้นวิถีทาง

ผมก็วิเคราะห์ได้แค่นีครับ


ส่วนของนายพลตาดุ หรือท่านอื่นๆ ผมเข้าใจว่าเป็นธรรมดาของคนเราที่รักมากย่อมผิดหวังมาก
เมื่อเพื่อนที่เคยรักกันมากเดินทางผิด และไม่ฟังคำตักเตือนของเพื่อน มิหนำซ้ำกล่าวหาว่าเพื่อนคิดร้าย
ย่อมสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้หลวงอดุลเดชจรัสมาก จึงระบายออกมาด้วยคำให้การต่อศาล

ผมไปเจอเรื่องของนายวนิช ปานะนนท์ ที่ทำให้เกิดข้อสงสัย เดี๋ยวจะนำมาถามหาความรู้ต่อครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 11:28

^
เยื่ยม ขอบพระคุณครับ

แต่.เอ๊ะ..คุณหมอจะไม่ลองเอาท่านไปผ่าตัดดูสักหน่อยหรือครับ
เห็นบอกว่าเป็นหมอผ่าตัดหัวใจ

อย่างน้อยเราจะได้ทราบว่าหัวใจท่านสีอะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 11:47

ขอบคุณค่ะคุณหมอ CVT  ผู้มีอำนาจน่าจะเกิดอาการนี้กันได้ทั่วโลก และทุกยุคทุกสมัย   โดยเฉพาะเมื่ออำนาจในการตัดสินใจอยู่ที่ตัวเองเพียงผู้เดียว

กลับมาที่เสรีไทย

หลังเหตุการณ์แรก  ก็เกิดกลุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วยที่ไทยยอมแพ้ญี่ปุ่นอย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔    แบ่งเป็น ๒ สายด้วยกัน ต่างคนต่างคิด  มิได้นัดแนะกันเลย
สายแรกคือ บรรดาคนไทย นักเรียนไทย ข้าราชการไทย ที่อยู่ในอังกฤษและอเมริกา
สายที่สองคือ นักการเมืองไทยที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล จอมพล ป.

สายแรก มีผู้นำคือม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช  เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ซึ่งใจเด็ดพอจะประกาศโผงออกมาเลยว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล
ประเทศไทยและคนไทยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร   จะขอต่อต้านญี่ปุ่น    แล้วท่านก็ยืนยันด้วยการออกวิทยุกระจายเสียงจากซานฟรานซิสโก วันที่ ๑๐ ธันวาคม  ไม่ยอมรับการตัดสินใจของรัฐบาล

สายที่สอง คือนายปรีดี พนมยงค์ร่วมกับหลวงบรรณกรรมโกวิท( เปา จักกะพาก)  นายสงวน ตุลารักษ์   นายจำกัด พลางกูร  นายวิจิตร ลุลิตานนท์  นายเตียง ศิริขันธ์   นายถวิล อุดล   ม.ล.กรี เดชาติวงศ์(หลวงเดชาติวงศ์วราวัตน์)
ทุกคนรับรู้เรื่องการตัดสินใจของจอมพล ป. แล้วเห็นว่าไม่ได้การแน่    เพราะทำแบบนี้ญี่ปุ่นคงไม่หยุดแค่เดินผ่านประเทศไทยเฉยๆ  แบบผ่านมาแล้วผ่านไป  แต่จะต้องดึงไทยเป็นฝ่ายญี่ปุ่นเต็มตัว    
กลุ่มนี้ก็เลยตกลงใจตั้ง "องค์การต่อต้านญี่ปุ่น" ขึ้นมา  โดยยกให้นายปรีดีเป็นหัวหน้า   นอกจากต่อต้านญี่ปุ่นแล้วก็ยังประสานสัมพันธ์กับฝ่ายพันธมิตร  เพื่อให้เห็นว่าคนไทยไม่ได้เป็นศัตรูกับพันธมิตร

คนที่คิดเรื่ององค์การต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นเป็นคนแรก คือนายจำกัด พลางกูร   แต่เห็นว่าตัวเองกับเพื่อนๆไม่มีกำลังพอจะปฏิบัติการได้เอง จึงขอให้นายปรีดีเป็นหัวหน้า

เรื่องใครเป็นหัวหน้า   ใครตกลงใจยังไง  บันทึกของนายปรีดี พนมยงค์กับนายจำกัด พลางกูร คลาดเคลื่อนวันที่กันเล็กน้อย
คือนายปรีดีบันทึกว่า เมื่อกลับบ้านจากประชุมค.ร.ม.ในเย็นวันที่ ๘ ธันวาคม  ก็มาเจอพรรคพวกตามรายชื่อข้างบนนี้ฟังข่าวอยู่  ก็ตกลงจัดตั้งองค์การต่อต้านญี่ปุ่นกัน  โดยท่านได้รับคำเชิญเป็นหัวหน้า
ส่วนบันทึกของนายจำกัด พลางกูรบอกว่าเกิดขึ้นหลังจากวันที่ ๙ ธันวาคม    คือหลังจากปรึกษากับนายเตียง ว่าจะเล็ดรอดไปพม่าทางกาญจนบรี แต่สองวันต่อมาพบว่าญี่ปุ่นอยู่กันเต็มเส้นทาง หนีไม่ได้ จึงต้องยุติแผนนี้แล้วกลับมาคิดตั้งขบวนการกู้ชาติ   ในที่สุดก็ตกลงกันว่าตัวเองกับเพื่อนๆไม่มีกำลังพอ  จึงขอมอบคณะกู้ชาติให้อยู่ในบังคับบัญชาของนายปรีดี   ท่านเป็นผู้มีสิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกำหนดแผนงานและออกคำสั่ง

ถ้าถือบันทึกนายจำกัดเป็นหลัก  ก็แปลว่าผู้ก่อตั้งขบวนการกู้ชาติในไทยคือนายจำกัด พลางกูร  แต่หัวหน้าคือนายปรีดี พนมยงค์
บันทึกการเข้า
yanang
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 12:17

เข้ามารายงานตัวว่ายังติดตามอยู่อย่างเหนียวแน่นค่ะอาจารย์

ไม่เคยศึกษาเรื่องเสรีไทยอย่างจริงจังมาก่อน พอได้ฟังอาจารย์เทาชมพูเกริ่น
แบบนี้แล้ว  ชักเริ่มขยับขยันขึ้นมากเลยค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์นวรัตน ที่ขยายความให้ฟังเป็นช่วง ๆ ด้วยรู้ว่า
นักเรียนคนนี้พื้นไม่ค่อยแน่น แต่รับรองว่าเลคเชอร์ไม่ตกหล่นแน่นอนค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 12:20

เอารูปประกอบมาเสริมไปพลางๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 12:22

เสรีไทยในอเมริกาตั้งต้นที่นี่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 12:32

ไม่ใช่แต่ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมชและนายปรีดี พนมยงค์ ที่ต่อต้านญี่ปุ่น   ในประเทศไทยก็มีกลุ่มที่ชื่อ "กองอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่น" ออกโรงขึ้นมาด้วย
๑๕ ธันวาคม  หนึ่งสัปดาห์หลังรัฐบาลไทยประนีประนอมยอมรับญี่ปุ่นเข้าประเทศ    ใบปลิวของ " คณะไทยอิสสระ"ก็สะพัดว่อนไปตามหนังสือพิมพ์ต่างๆทั้งไทยและจีน  เรียกร้องให้ต่อต้านญี่ปุ่น   พร้อมกันนั้นก็โจมตีรัฐบาลจอมพลป. และกินแถวไปถึงสองโฆษกประจำกรมโฆษณาการ  ซึ่งมีชื่อแฝงว่า นายมั่น ชูชาติ  และนายคง รักไทย
นายมั่นและนายคงเป็นใคร    ชื่อจริงของนายมั่นคือสังข์ พัทธโนทัย   และนายคง คือคงศักดิ์  ขำศิริ  
นายมั่นกับนายคงมีหน้าที่อ่านรายการวิทยุ  ปลุกใจให้รักชาติ ในยุครัฐนิยมของจอมพล ป.  เป็นรายการแพร่หลายเป็นที่นิยมของประชาชนมาก  แต่เมื่อนโยบายรัฐบาลพลิกกลับตาลปัตร หลังจากปลุกใจให้สู้จนตัวตายเพื่อชาติ จนสุดชีวิต แม้แต่หมามุ่ยของคุณนวรัตนก็ยังกลายเป็นอาวุธใกล้ตัวให้หยิบฉวยได้(อย่างระวัง)    เอาเข้าจริงรัฐบาลทำตรงข้าม   นายมั่นกับนายคงก็เลยกลายเป็นวัวที่ถูกใบปลิวตีให้กระทบคราด คือจอมพล ป.
จอมพล ป.โกรธใบปลิวของคณะไทยอิสสระมาก   การกวาดล้างจับกุมนักหนังสือพิมพ์ระลอกใหญ่ก็เกิดขึ้น     คนที่โดนรางวัลใหญ่เข้าอย่างจังคือ ศรีบูรพา หรือกุหลาบ สายประดิษฐ์   อารีย์ ลีวีระ  สุรีย์ ทองวานิช     เพราะเจอเข้ากับข้อหากบฏภายในพระราชอาณาจักรเลยทีเดียว

พิมพ์มาถึงตรงนี้  คิดถึงสุภาพบุรุษนักคิดที่ชื่อรุ้ง จิตเกษมขึ้นมาจริงๆ

"รัฐบาลนี้อ้างว่าได้จัดตั้งขึ้นโดยราษฎรและเพื่อราษฎร ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เราก็ต้องมีอำนาจที่จะบังคับรัฐบาลให้บริหารในทางที่เป็นประโยชน์แก่เราทั้งหลายร่วมกัน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของรัฐมนตรีและเพื่อนพ้องของรัฐมนตรีเท่านั้น มิฉนั้นเราก็ต้องเปลี่ยนรัฐบาลใหม่…..”

"กบฏในพระราชอาณาจักร" ชุดที่โดนเข้าเต็มเปา ชุดนี้   คงให้คำตอบได้ว่าความฝันของรุ้ง จิตเกษม นอกจากยังไม่มีโอกาสเป็นจริง  ยังห่างไกลความจริงในพ.ศ. ๒๔๘๔ อีกมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 12:36

เรียนท่านประธานที่เคารพ
กระทู้นี้ชักจะกลายเป็นกระทู้เสรีไทย   ผู้เสนอชักร้อนตัวว่าเป็นการขโมยซีนท่านเจ้าของกระทู้ โดยไม่มีเจตนาใดๆ   เพราะงั้นขอแปรญัตติ  ให้ท่านเจ้าของกระทู้ช่วยเล่าต่อได้ไหม
เชื่อว่าท่านมีข้อมูลอยู่เยอะค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:02

ช่วยไม่ได้ครับ มันเป็นทางผ่าน ถ้าหลวงอดุลกับจอมพลป.ไม่ยอมร่วมมือกับเรา เราก็ยึดกระทู้เป็นเมืองขึ้นเสียเลย

ว่าไปเรื่อยๆครับท่านอาจารย์ ปูพื้นให้ท่านผู้อ่านสมัยนี้ให้รู้เรื่องของบรรพบุรุษไว้บ้าง
เดี๋ยวผมจะหารูปมาแจมไปเรื่อยๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:04

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:06

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 18 ก.ค. 10, 13:07

จบชุดวันญี่ปุ่นบุกแล้วครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง