เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 138737 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 13 ก.ค. 10, 07:22

กระทู้พระยาทรงจบไปแล้ว แต่หลายเรื่องยังไม่จบ โดยเฉพาะเรื่องของนายพลตาดุ หลวงอดุลเดชจรัสหรือพล.ต.อ อดุล อดุลเดชจรัส เรื่องของหลวงอดุลและ/หรือพล.ต.อ อดุล ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และสารคดีอิงประวัติศาสตร์หลายเล่ม ทั้งในบทประกอบตัวร้ายดีเด่น และผู้ช่วยพระเอกดีเด่น ชีวิตท่านไม่เคยเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายเองเลย

ตกลงแล้ว ท่านเป็นคนอย่างไร

เรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ สรุปได้ว่า ท่านเป็นคนตรง ขนาดว่าเดินไป เห็นต้นตาลขวางอยู่ข้างหน้า ถ้าไม่เดินขึ้นต้นตาลไปเลยก็โค่นต้นตาลนั้นเสีย เพื่อจะรักษาแนวทางเดินของตนให้ตรงต่อไป

 
ผมจะค่อยๆว่าของผมไปเรื่อยๆ แบบอ่านไปเขียนไปนะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 07:27

ยกมาจากกระทู้โน้น ให้ท่านอาจารย์เทาชมพูช่วยเปิดฟลอร์ก่อน

เพิ่งรู้จากในเน็ตว่าท่านเป็นมุสลิม  และท่านเคยปกป้องพวกคาทอลิค ที่ถูกเบียดเบียนโดยทางราชการไทยในช่วง "รัฐนิยม"  แต่เจ้าของบทความไม่ได้ให้รายละเอียด  ว่าเบียดเบียนแบบไหนอย่างไร   แต่ยกย่องอธิบดีตำรวจที่ช่วยเหลือพวกคาทอลิคมิให้เดือดร้อน
                               
คำกล่าวของหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ

อธิบดีกรมตำรวจคัดค้านเรื่องเบียดเบียนอย่างตรงๆแต่ท่านปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงพิบูลสงคราม อย่างไรก็ตาม ท่านก็เป็นเพียงคนเดียวซึ่งนายกรัฐมนตรีเกรงใจ และเช่นเดียวกันคำสั่งเบียดเบียนเป็นคำสั่งลับ อธิบดีกรมตำรวจจึงกล้าผ่อนผันในหลายๆ เรื่อง  และช่วยเหลือพวกคริสตัง ผู้เขียนเอง (คุณพ่อลารเก) ก็เคยได้รับความช่วยเหลือจากท่านหลายครั้ง ท่านเป็นมุสลิม     คำพูดของหลวงพิบูลในเรื่องเอกภาพทางศาสนาเป็นการข่มขู่ไม่ใช่เฉพาะต่อศาสนาคริสต์เท่านั้น แต่เป็นการข่มขู่ศาสนาอิสลามด้วย

ก. คำกล่าวของหลวงอดุล เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941

 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ      หลวงอดุลสั่งให้ชาวฝรั่งเศสซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย เดินทางออกนอกประเทศทันทีทันใดภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940ส่วนคนอื่นให้เดิน ทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ภายในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 ภายในเวลา 72 ชั่วโมง สำหรับประเด็นนี้ไม่ขอ พูดถึง     มีรายงานว่าการเบียดเบียนศาสนาพวกคนไทยที่เป็นคาทอลิกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด, นายอำเภอ และสมาชิกคณะเลือดไทยของหลวงพิบูล ได้เริ่มขึ้นแล้ว 
นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เป็นต้นมา    มีประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ นี่คือที่มาของ   เอกสารหมายเลข 5/2   ซึ่งเนื้อหาโดยสรุปได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารคาทอลิก "สารสาสน์" ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 หน้า 106-107 เป็นเนื้อหาที่นำมาจากหนังสือพิมพ์ “นิกร” ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 หน้า 2 ดังมีใจความต่อไปนี้

 “ข้อสาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ระงับการเสียดสี ขู่เข็ญ หรือบังคับในเรื่องการถือศาสนา
 ทั้งนี้ ให้ตกเป็นหน้าที่ของตำรวจท้องที่ทั่วไป ที่จะต้องสอดส่องระมัดระวัง ..เพราะว่าในการสนับสนุน รัฐบาลในการปรับปรุงเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส....      บางหมู่คณะได้เป็นไปใน จำพวกรุนแรงเกินเลยขอบเขต และบ้างก็แตกความคิดเห็นเป็นหมู่เป็นคณะและเป็นบุคคล   มีการกระทบ กระทั่งเสียดสี ขู่เข็ญระหว่างกัน... บางกรณีก็มีการทุจริตเคลือบแฝงเจือปนเพื่อหาประโยชน์ส่วนตับางกรณี ก็มีการลอบทำร้ายกัน...อาจเป็นการกระทบกระเทือนแก่ชาวต่างประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย... ไม่ต้องด้วยนโยบายของรัฐบาล เป็นมูลเหตุแห่งการเริ่มต้นที่จะก่อความไม่สงบ  ผิดศีลธรรม ผิดมนุษยธรรม หรือผิดวิธีการที่อารยชนจะพึงปฏิบัติ”

ข. หลวงอดุล  ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า“ไทยเอกราช”ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ท่านได้เรียกร้องอิสรภาพทางศาสนาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 1 และมาตราที่ 13 ดังนี้

 เอกสารหมายเลข 1

 “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

 มาตราที่ 1 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือสาสนาใด   ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญ นี้เสมอ

 คำอธิบายของสำนักโฆษณาการ: ประชาชนไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือสาสนาใดๆย่อมอยู่ในความ คุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน คนไทยหรือชาวไทย อาจพูดภาษาผิดเพี้ยนกันไปได้  และนับถือสาสนา ต่างกันก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่เปนการทำให้พวกเราแตกแยกกันไป      หรือทำให้ฐานะของชาวไทยแตกต่างกันเลย รัฐธรรมนูญได้ให้ความคุ้มครองแก่ชนชาวไทยเหมือนกันหมด  ชาวไทยจึงอาจจะนับถือพระพุทธสาสนาก็ได้ สาสนาอิสลามก็ได้ หรือคริสตศาสนาก็ได้ ตามแต่ใจสมัคร

มาตรา 13 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใดๆ    และย่อมมีเสรีภาพในการ ปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เปนการปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เปนการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรื อศีลธรรมของประชาชน”

 คำอธิบายของสำนักโฆษณาการ: มาตรานี้แสดงว่า   บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการที่จะนับถือ ศาสนาใดๆ ทั้งนั้น รัฐธรรมนูญย่อมให้ความคุ้มครองประชาชนชาวไทยซึ่งถือสาสนาต่างๆ โดยเท่าเทียมกัน หมด อนึ่ง เมื่อผู้ใดนับถือศาสนาใดแล้ว ก็ย่อมมีเสรีภาพที่จะประกอบพิธีกรรมต่างๆ       ในศาสนานั้นตาม ความเชื่อถือของตนได้ เช่น กราบไหว้บูชาสิ่งที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น...

หลวงอดุลจะทำการเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ

ค. ในขณะที่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นไม่ได้พูดถึงการกระทำที่โหดร้ายทารุณ การเผาวัดหรือทำลายวัด การจับพวกคริสตังขังคุกหรือข่มขู่เพื่อให้ละทิ้งศาสนา    หลวงอดุลพูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนในหนังสือพิมพ์ไทยเอกราช และถ้าใครมีโอกาสเข้าไปที่หอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรี  เขาจะ สามารถใช้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ในการทำประวัติการเบียดเบียนศาสนาระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944 ได้ แต่เจ้าหน้าที่จะห้ามเข้าไปโดยบอกว่า “ไม่มีหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชที่นี่”  และประตูก็จะไม่เปิดอีกเลย หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นหาอ่านได้ง่ายกว่า แต่สำหรับคนที่สามารถเข้าไปที่นั่นได้ ก็จะอยู่ในสายตาของพวกเจ้าหน้าที่หอสมุดตลอดเวลา พวกคาทอลิกจึงไม่กล้าไปค้นหาหนังสือพิมพ์ร่วมสมัยในสถานที่ดังกล่าว

 อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าประสพความสำเร็จในการทำสำเนาเอกสาร 2     เรื่องจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษร่วมสมัยชื่อ“บางกอกไทม์ส”  เป็นเพราะหนังสือพิมพ์ดังกล่าวถูกตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จึงไม่ทำให้เจ้าหน้าที่ หอสมุดเกิดความระแวงสงสัย ความรักสัญชาติไทยอันบริสุทธิ์ของเขาไม่มีความบาดหมาง

ง. บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราช
  นี่คือบทความ 2 บทที่แปลจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชของหลวงอดุลแปลและตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกไทม์ส บทความแรกพบได้ที่นี่ นี่คือ  เอกสารหมายเลข 11   ที่เริ่มต้นพูดถึงเรื่องการเลือกที่รักมักที่ชังระหว่างพวกคริสตังและชาวมุสลิมพวกหนึ่ง และชาวพุทธ อีกพวกหนึ่ง ข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทยอีกประการหนึ่ง  ข้าพเจ้า คิดว่าท่านก็มีเอกสารฉบับนี้แล้ว ถึงแม้จะเป็นภาษาอังกฤษ

 บทความที่ 2 พูดเรื่องการเบียดเบียนอย่างตรงๆหลวงอดุลกล่าวตำหนิผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หนองแสง), พวกนายอำเภอ และคณะเลือดไทย อย่างตรงๆ    เสแสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่องคำสั่งของการเบียดเบียน เพราะว่าคำสั่งเหล่านั้นเป็นความลับ ข้อความนี้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษซึ่งข้าพเจ้ามิได้แปลเป็นภาษา ไทย นี่คือ  เอกสารหมายเลข 12

 ตามปกติจะต้องพูดถึงต่อไป  แต่ข้าพเจ้าแยกพูดเรื่องการเบียดเบียนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับเรื่องที่เกิดขึ้นในภาคอื่นของประเทศไทย ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะแทรกไว้ที่ตรงไหนดี ไม่ว่าจะลงไว้ที่ไหน ก็ยังถือเป็นเอกสารอยู่ดี

 เป็นที่น่าสังเกตว่า หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์สเขียนหลายครั้งว่า หนังสือพิมพ์ไทยเอกราชได้พูดถึง เรื่องการเบียดเบียนไว้หลายครั้ง เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ไม่มีใครคิดถึงเรื่องนี้ในเวลานั้น ไม่มีใครเก็บหนังสือ พิมพ์ไว้เป็นหลักฐาน.

ข้อสังเกต

ข้าพเจ้าไปที่หอสมุดแห่งชาติด้วยตนเองพร้อมเพื่อนอีกคนหนึ่งเพื่อหาหนังสือพิมพ์ต่างๆ และพบกับนางธารา กนกมณี เจ้าหน้าที่ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้(ไทยเอกราช)  ได้อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่อง รอย ไม่มีการเอ่ยถึงร่องรอยของการเบียดเบียนในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับต่างในสมัยนั้นเลย   พวกเขา  ได้ลืมนึกถึงหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษไป

************************

คุณนวรัตนได้พูดถึงรัฐนิยมกับทางใต้ ในค.ห.ก่อนนี้     ดิฉันก็เลยเดาว่าเป็นเพราะนโยบายชาตินิยมในประกาศรัฐนิยม ซึ่งรวมการถือว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาของคนไทย อาจทำให้คนไทยที่นับถือศาสนาอื่น เสียสิทธิ์บางอย่างไป   และอาจจะกระทบถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 07:29

จากคุณหมอCTV

ผมบังเอิญมีญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดกันท่านหนึ่ง เคยเป็นลูกเขยหลวงอดุลเดชจรัส แต่ภายหลังหย่าร้างกัน
อาผมเป็นพุทธ แต่แต่งงานกับบุตรสาวหลวงอดุลฯซึ่งเป็นมุสลิม

ผมเข้าใจว่าหลวงอดุลฯท่านคงจะเป็นมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดต่อเรื่องการนับถือศาสนาและจารีตประเพณี
เอาไว้จะถามพ่อถึงเรื่องนี้ให้ครับ

จะถามอาก็เกรงใจท่าน เพราะท่านเลิกรากันไปตั้งแต่ผมยังจำความไม่ได้
และอาผมก็มีภรรยาใหม่ครองคู่กันจนปัจจุบันฝ่ายชายได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายหญิงก็เป็นคุณหญิงไปแล้ว
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 07:31

มารายงานตัวแถวหน้าครับ แบบน้อยใจนิดๆที่คุณครูจำชื่อนักเรียนผิด  ฮิๆๆ ล้อเล่นนะครับ อย่าคิดมากครับคุณครู ยิ้มเท่ห์

CVT มาจาก cardiovascular thoracic เป็นคำเรียกพวกที่เรียนทางผ่าตัดทรวงอก ซึ่งไม่ใช่เต้านม แต่หมายถึงอวัยวะภายในเช่นหัวใจ ปอด หลอดเลือดใหญ่
คนชอบคิดว่าผมเป็นช่างเพราะ รถยนต์รุ่นใหม่ใช้ เกียร์ CVT  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 07:45

เป็นความรู้ใหม่ของผมที่ว่าพล.ต.อ.อดุลเป็นมุสลิมหรือเคยเป็นมุสลิม

ศพของท่าน ได้รับการประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิง ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่13เมษายน 2513
แต่ก็พอมีเค้า ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามได้เขียนคำไว้อาลัยในหนังสืออนุสรณ์ที่แจกเป็นที่ระลึกในงานดังกล่าว ตอนหนึ่งเล่าว่า ความสนิทสนมกับสามีท่านตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อย จะเรียกท่านจอมพล ว่าแปลก หรือไอ้แปลก ท่านจอมพลก็จะเรียกหลวงอดุลว่า บัตร หรือไอ้บัตร แต่พอยัวะๆกันขึ้นมาจะเรียก "ไอ้แขก" หลวงอดุลก็จะเรียกกลับว่า "ไอ้บ้า"

ทั้งไอ้แขกและไอ้บ้า คงมาจากฐานความเป็นจริงบางประการ มิใช่แค่หน้าเหมือน นานปีต่อมาพล.ต.อ.อดุล ไปให้การในศาลว่าจอมพล ป. เสียสติไปแล้วด้วยเหตุผลนานัปการ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 07:49

  

อ้างถึง
มารายงานตัวแถวหน้าครับ แบบน้อยใจนิดๆที่คุณครูจำชื่อนักเรียนผิด  ฮิๆๆ ล้อเล่นนะครับ อย่าคิดมากครับคุณครู

CVT มาจาก cardiovascular thoracic เป็นคำเรียกพวกที่เรียนทางผ่าตัดทรวงอก ซึ่งไม่ใช่เต้านม แต่หมายถึงอวัยวะภายในเช่นหัวใจ ปอด หลอดเลือดใหญ่
คนชอบคิดว่าผมเป็นช่างเพราะ รถยนต์รุ่นใหม่ใช้ เกียร์ CVT


อ้าว ขอประทานโทษครับ ผมยังนึกว่าคุณหมอไปเกี่ยวข้องอย่างไรกับสถานีเคเบิลทีวีชื่อCTVที่บ้านโป่งเขา
บันทึกการเข้า
dotdotdot
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 08:02

ย้ายตามมาจากห้อง "ก,ข,ค,ง" ครับ นั่งแถวหลังสุดครับ.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 08:34

^
ครับ ดีแล้วครับ เดี๋ยวจะถามคำถามยากๆก่อนเลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 08:39

อ้างถึง
เพิ่งรู้จากในเน็ตว่าท่านเป็นมุสลิม  และท่านเคยปกป้องพวกคาทอลิค ที่ถูกเบียดเบียนโดยทางราชการไทยในช่วง "รัฐนิยม"  แต่เจ้าของบทความไม่ได้ให้รายละเอียด  ว่าเบียดเบียนแบบไหนอย่างไร   แต่ยกย่องอธิบดีตำรวจที่ช่วยเหลือพวกคาทอลิคมิให้เดือดร้อน

ลองดูversionนี้บ้างครับ ผลพวงของวัธนธัมนำไทยไปสู่มหาอำนาจ


การเชื่อมโยงศาสนาพุทธ เข้ากับ "ความเป็นคนไทย" นี้ ไปไกลถึงขั้นที่ช่วงหนึ่งหลวงพิบูลฯสั่งให้กระทรวงทบวงกรมต่างๆ สำรวจว่ามีข้าราชการคนใดบ้างไม่นับถือศาสนาพุทธ และพยายามชักชวนคนเหล่านี้ "ให้มานับถือศาสนาพุทธเสียให้หมด หากผู้ใดไม่ยอมเปลี่ยนก็ให้ทางราชการตั้งข้อรังเกียจต่างๆ เช่น ไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนเป็นต้น" (คำพูดหลวงอดุลเดชจำรัส ในที่ประชุม ครม. 23 เมษายน 2484 ผมควรชี้ว่าหลวงอดุลฯ กำลังเน้นที่คนนับถือคริสต์ ไม่ใช่อิสลาม) และมีการออกระเบียบกรมตำรวจไม่รับคนที่ไม่นับถือพุทธเป็นตำรวจ(มีข้อยกเว้น"ไปพลางก่อน"ให้ 4 จังหวัดภาคใต้) หลวงพิบูลฯเองกล่าวสนับสนุนข้อบังคับนี้ว่า "เมืองไทยเป็นของไทยมิควรจะให้คนศาสนาอื่นอยู่!"

"ในแง่นโยบายปกครอง เราคงลำบากใจบางอย่าง คนในสยามมีหลายชาติ เวลานี้เขารักใคร่สยาม ถึงคราวเราพูดอะไรจะให้กินความส่วนรวมแล้ว ก็ใช้ว่า "สยาม" เขาอาจจะน้อยใจได้ ถ้าเราเลิกใช้ "สยาม" ใช้แต่ "ไทย" จะเกิดความรู้สึกว่า เอาพวกชาติอื่นออก เพราะไม่ใช่ไทย พวกปัตตานีก็ไม่ใช่ไทย ถ้าเราเรียกว่า "สยาม" ก็รวมพวกปัตตานีด้วยเขาก็พอใจ ถ้าเปลี่ยนไปอาจไม่ดูดพวกนี้มารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ได้"

คนมุสลิมทางใต้นั้น ไม่เข้านิยาม "ความเป็นไทย" ทั้งในแง่เชื้อชาติและศาสนา(ไม่เหมือนคนจีนที่อาจจะพอ "กล้อมแกล้ม" เป็น "ไทย" เรื่องศาสนาได้บ้าง) ดังที่หลวงพิบูลฯได้กล่าวเปรียบเทียบ เมื่อมีการอภิปรายในคณะรัฐมนตรีเรื่องท่าทีต่อ "เจ้านาย" ท้องถิ่นของภาคเหนือและใต้ว่า "ทางเหนือ ไม่สู้เป็นไร เพราะรู้สึกเป็นเชื้อชาติเดียวกัน แต่ส่วนทางใต้รู้สึกเป็นห่วงเพราะศาสนา ก็คนละศาสนา" ประชุม ครม. 4 สิงหาคม 2482)
                   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 09:28

ทิ้งงานประจำ   ตามมานั่งฟังแถวหน้า(อีกแล้ว)
เรื่องพลต.อ.อดุล หรือหลวงอดุลเดชจรัส เป็นเรื่องที่ดิฉันไม่มีหนังสืออยู่ในมือโดยตรง   ถ้าร่วมวงแจมก็คงแบบคั่นโปรแกรมหน้าม่านตามเดิม 
หาประวัติท่านมาแนะนำให้รู้จักไว้ก่อนว่าท่านเป็นใครมาจากไหน

พลต.อ.อดุล อดุลเดชจรัส หรือหลวงอดุลเดชจรัส(28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512)  มีนามเดิมว่า บัตร พึ่งพระคุณ เป็นบุตรหลวงบุรีรัฐพิจารณ์ และนางจันทร์ พึ่งพระคุณ เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 ที่บ้านพักถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพ
บิดานำตัวไปถวายงานเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ จึงพักอาศัยอยู่ในวังปารุสกวันตั้งแต่เด็ก
ท่านเข้ารับราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2459 โดยได้รับพระราชทานยศเป็น นายร้อยตรี สังกัดกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2475 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการทหาร ก่อนโอนมารับราชการในกรมตำรวจ
พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ ในขณะที่ พ.ต.อ.พระยาอนุสรณ์ธุรการ เป็นอธิบดี
พ.ศ. 2479 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ
พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก และพลตำรวจเอก ตั้งแต่ พ.ศ. 2486 ตำรงตำแหน่งคณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2493 รับตำแหน่งองคมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2492-2495 ทางราชการได้สร้างเรือนหลังเล็กในบริเวณวังปารุสกวันให้เป็นที่พัก จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 09:52

หลวงอดุลเดชจรัสหรือพล.ต.อ อดุล อดุลเดชจรัส เดิมชื่อ บัตร พึ่งพระคุณ บัตรนี้บางสมัยก็สะกดว่าบัตร์ตามรัฐนิยม แต่เป็นมหาดเล็กในวังปารุสกวันของทูลกระหม่อมจักรพงษ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ  สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้ทรงมีพระชายาเป็นคนต่างด้าว มีพระโอรสด้วยกันคือพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เสด็จตาของฮิวโก้ ตอนที่ทรงแอบมีเมียนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯพระราชบิดาทรงเคืองพระทัยมาก โปรดให้ตัดออกจากอันดับการสืบราชสันตติวงศ์ ในรัชกาลต่อมาพระองค์ท่านทรงทนแหม่มไม่ได้ หรือจะกลับกันก็สุดแล้วแต่ ในที่สุดก็หย่าขาดจากกัน และทรงอภิเษกใหม่กับหม่อมเจ้าหญิงวัยรุ่นเบิกบานแล้วจะไปฮันนีมูนกันที่สิงคโปร ก่อนเสด็จเพียงเล็กน้อย ทรงเป็นประธานในงานเลี้ยงของทหาร ระหว่างการเดินโต๊ะเสริพอาหารไฟฟ้าดับพรึ่บ กว่าไฟจะมาก็พักใหญ่ จึงเกิดเป็นประเด็น ในระหว่างจะขึ้นเรือโดยสารจะไปสิงคโปรนั้น ทรงเปียกฝนเล็กน้อย แต่พอเรือพ้นปากอ่าวไปแล้วทรงมีพระอาการหวัด แต่หนักขึ้นขนาดต้องหามลงจากเรือเมื่อถึงที่หมาย หมอที่ดีที่สุดถูกตามมารักษาพระองค์ท่านที่โฮเตล แต่ก็ทรงนอนเพ้ออยู่ไม่กี่วันก็สิ้นพระชนม์ ปรากฏว่านายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่คุณวีมีกล่าวถึง เป็นผู้ร่วมโต๊ะเสวยในคืนนั้นด้วยก็ถึงแก่กรรมด้วยอาการเดียวกันหลายคน ข่าวก็ลือไปทั่วเมืองว่ามีการวางยาพิษโดยฆาตกรอาศัยความมืดช่วงไฟฟ้าดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯทรงเห็นว่าจะไปกันใหญ่ก็โปรดเกล้าฯให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน ลงความเห็นว่าเป็นนิวมอเนีย แต่บางกระแสก็บอกว่าหลังตั้งคณะกรรมการขึ้นแล้วข่าวเงียบไปจนคนลืม อย่างไรก็ดี ใน“เกิดวังปารุสก์”ของพระองค์จุล ทรงเขียนเรื่องราวช่วงนี้หลายหน้ากระดาษ แต่มิได้เอ่ยถึงเรื่องยาพิษแม้น้อย คุณหมอCVTได้ท้าวความถึงข่าวลือนี้ในกระทู้โน้น ผมเลยมาต่อความในกระทู้นี้
 
เอ้า..คำถาม  คุณdotdotdot ฮิวโก้เป็นใครครับ
บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 09:52

มาเช็คชื่อเข้าห้องเรียน ก่อนจะขอลากิจซักระยะนะคะ เดี๋ยวอาจารย์จะว่านักเรียนหนีเรียน
บังเอิญ เจ้านายใจดี ให้ลากลับไปเยี่ยมบ้านได้ 1อาทิตย์ ก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะว่า
ที่บ้านต่างจังหวัด จะหาที่เล่นเน็ตได้หรือเปล่า ถ้าได้ จะเข้าห้องเรียนต่อแน่นอน ไม่พลาดค่ะ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 10:26

^
คุณPTBTหา aircard ไว้ใช้สักตัวสิครับ เล่นเน็ทได้ทุกที่เหมือนโทรศัพท์มือถือ จะได้ตาแฉะต่อเนื่องกันไป
บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 10:30

ขอบพระคุณค่ะสำหรับคำแนะนำ เสียแต่ว่าไม่ได้เอา Laptop กลับไปด้วยนี่สิคะ  ร้องไห้
แบกกระเป๋ากลับเมืองไทยใบโต กะจะไปแบกอาหารไทยกลับมาอีกด้วย เลยไม่อยากมีสัมภาระเพิ่มน่ะค่ะ

แต่สมัยนี้น่าจะมีอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ให้บริการทั่วๆไปมังคะ...หวังว่าอำเภอเล็กๆชายแดน คงไม่ตกเทรนด์  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 10:51

^
งั้นก็สบายครับ

พอถึงวันที่โรงเรียนปล่อยกลับบ้านนักเรียนนายร้อยบัตรมีหน้าที่ต้องกลับไปเป็นมหาดเล็ก(แปลว่า คนที่คอยรับสนองพระบัญชาสุดแต่พระองค์จะทรงใช้ สูงกว่าคนรับใช้แต่ไม่ใช่ทหารมหาดเล็กนะครับ คนละเรื่องกัน) แต่บางทีก็เบี้ยว ไปนอนบ้านเพื่อนที่ชื่อแปลก เป็นเรือนแพอยู่ปากคลองบางเขน บิดามารดาของเพื่อนก็เมตตาเอ็นดู เงินทองเพื่อนคู่นี้ใครมีก็แบ่งให้อีกคนหนึ่งใช้แบบเพื่อนซี้ทั่วๆไป พอเรียนจบก็ได้บรรจุเป็นนายทหารเหล่าปืนใหญ่เหมือนกันอีก แต่แยกกันคนอยู่คนละเมือง ตอนร้อยตรีแปลกแต่งงานกับเด็กอายุ14 ชื่อละเอียด(เป็นสมัยนี้ก็เฉียดคุก) ร้อยตรีบัตรก็วาดรูปฝีมือตนเองมอบให้เป็นของขวัญ สงสัยจะมือดีพอใช้ร้อยตรีแปลกจึงเอาไปติดในห้องหอของตน สาวเจ้าจึงจำได้

ทั้งสองมาอยู่ด้วยกันอีกตอนได้รับคำสั่งให้ย้ายมาเข้าโรงเรียนเหล่า โดยเช่าเรือนแถวใกล้ๆโรงเรียนอยู่ห้องติดกัน นายทหารอื่นๆที่อยู่ในเรือนแถวนั้นก็ต่างคนต่างทำกิน แต่ร้อยตรีบัตรยังเป็นโสด ร้อยตรีแปลกก็เรียกเพื่อนมากินข้าวใหม่ปลามันฝีมือทำกับข้าวของภรรยาทุกมื้อ ท่านผู้หญิงไม่เห็นเขียนว่าต้องทำอะไรเป็นพิเศษในฐานะที่ท่านเป็นมุสลิม

ท่านผู้หญิงละเอียดปิดท้ายเรื่องในวัยหนุ่มของทั้งสองตามสำนวนน้ำตาลหยดมดไชโยของท่านว่า

อนิจจา การเมืองเจ้าเอย  เจ้าหรือมิใช่ที่ทำให้มิตรร่วมชีวิตสองท่านนี้ ทั้งๆที่ไม่เคยเป็นศัตรูกัน และยังรักกันฝังอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ จำต้องแยกทางกันเดินในบั้นปลายของชีวิต
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง