เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 47348 ตราประจําราชสกุลและตราประจำตระกูลพร้อมความหมาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ก.ค. 10, 19:55

ตราสุริยมณฑลประจำตัวสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์(ดั่น บุนนาค) 
จากเว็บสกุลบุนนาค
ตราสุริยมณฑลและตราจันทรมณฑล ตราสุริยมณฑล เทพบุตรชักรถ เคยเป็นตราที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ให้เป็นตราประจำตัวของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ภายหลังพระราชทานให้เป็นตราประจำกระทรวง พระคลังมหาสมบัติ แล้วต่อมาเป็นตราประจำกระทรวงการคลัง ตราสุริยมณฑลจะเป็นพระราชลัญจกรอันได้เคยประทับหรือโปรดให้ทำขึ้นใหม่ พระราชทานแด่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์หรืออย่างไรไม่มีหลักฐานแจ้งชัด

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงจัดระเบียบการปกครองใหม่ ได้แยกหน้าที่ของการคลังและการต่างประเทศออกเป็นคนละส่วน โดย ตั้งเป็นกระทรวง กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศใช้ตราบัวแก้ว และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติใช้ตราสุริยมณฑล

ตราสุริยมณฑลนี้ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ใช้เป็นตราตำแหน่งเสนาบดีพระคลังมหาสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ต่อมากระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้แยกตั้งเป็น กระทรวงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ เป็นระยะเวลาห่างกันถึง ๑๗ ปี ในระหว่างนั้นจะใช้ตราอะไรประจำตำแหน่งยังไม่ได้ความชัด ตราสุริยมณฑลมี ๒ ขนาด ตราสุริยมณฑลน้อยจะมีลวดลายต่างกับตราสุริยมณฑลใหญ่ ซึ่งเป็นของเดิม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ก.ค. 10, 19:56

ตราจันทรมณฑล เทพบุตรชักรถ เคยเป็นตราที่สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ให้เป็นตราประจำตัวของสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ภายหลังพระราชทานเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม มีทั้งตราใหญ่และตราน้อย ตราใหญ่เดิมเป็นรูปรถบุษบกมีอุณาโลมอยู่กลาง และมีรูปกระต่ายอยู่ท้ายรถ บางทีจะเรียกเป็นตราบุษบกอุณาโลม ภายหลังโปรดฯ ให้ทำใหม่ เอาอุณาโลมในบุษบกออก ส่วนตราน้อยมีลายพระจันทร์ดั้นเมฆ ตราใหญ่และตราน้อยของเดิมอยู่ที่ในราชพิพิธภัณฑ์

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้เปลี่ยนตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นตราพระดุลยพาห ตราใหญ่เป็นลายรูปพระแสงขรรค์กับรูปดุลหรือตราชู ประดิษฐานอยู่เหนือพานสองชั้น ตราน้อยเป็นลายรูปพระแสงขรรค์กับรูปดุลไม่มีพาน

ตราประจำตัวประจำตำแหน่งแต่เดิม มีประเพณีพระราชทานพระราชลัญจกรไปเป็นเกียรติยศ พระราชลัญจกรที่พระราชทานไปนี้เคยเป็นตราที่ใช้ทรงประทับหรือโปรดให้ทำขึ้นใหม่ก็ได้ เมื่อพระราชทานไปแล้วก็ไม่เรียกว่าพระราชลัญจกร จะเรียกเฉพาะที่ใช้ทรงประทับเท่านั้น

ผู้ที่ได้รับตราพระราชทาน ถ้าเป็นตราประจำตัว เมื่อไม่มีชีวิตแล้วก็ส่งตราคืน ถ้าเป็นตราประจำตำแหน่ง เมื่อเลิกตำแหน่งแล้วก็ต้องส่งคืนเช่นเดียวกัน จะเอาไปใช้ต่อไม่ได้ ต่อมาภายหลังตราประจำตำแหน่งมักเป็นตราที่สร้างขึ้นเอง และขอพระบรมราชานุญาตใช้ หาใช่เป็นตราที่โปรดพระราชทานเหมือนแต่ก่อนไม่

จากเว็บสกุลบุนนาค


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 ก.ค. 10, 09:27

ตราประจำราชสกุลวุฒิชัย
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาทับทิม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2426



บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
pornvisid voravarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 03 ก.พ. 13, 20:16

ใครพอจะทราบเกี่ยวกับตราประจำราชสกุล วรวรรณ บ้าง ขอความกรุณาให้ความรู้หน่อยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 03 ก.พ. 13, 20:44

ไม่เคยเห็นตราราชสกุลวรวรรณค่ะ   ต้องรอคุณ V_Mee, คุณ siamese  และคุณเพ็ญชมพู    รายหลังนี้ถ้ามีตราราชสกุลวรวรรณอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในอินทรเนตร  จะหาเจอก่อนเพื่อน
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 07:24

ข้างล่างนี้คือ ตราราชสกุล วรวรรณ  แต่ไม่ทราบรายละเอียดและความหมาย  รอคุณเพ็ญมาขยายต่อไปครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 07:43

ตราแห่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ อันเป็นราชสกุลวรรรณ มีตราเห็นได้ที่เหรียญที่ระลึกครบ ๖๐ พรรษา

จะเห็นว่าตรานั้น ด้านบนเป็นมงกุฎ

เบื้องล่างพื้นหลังทำเป็น จักร - ตรี วางทับกับ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งราชวงศ์ และทับไขว้ด้วยพระแสงหัวนาค ซึ่งมีริบบิ้น เขียนอักษรห้อยอยู่

เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ ดังนั้นในอาร์มด้านขวา ผูกลายพระมหาพิชัยมงกุฎ มีเลข ๔ กำกับไว้

ส่วนด้านซ้ายเห็นไม่ชัด เป็นรูปช้าง เหมือนมีเทวดานั่ง (เปล่งรัศมี) คล้ายพระอินทร์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 08:40

คาถาบาลีที่เขียนไว้  อ่านว่าอะไรคะ คุณหนุ่มสยาม
บันทึกการเข้า
pornvisid voravarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 21:50

ขอบคุณผู้มีความรู้ทุกท่านมากเลยครับ..คงต้องรบกวนเรื่องความหมายของข้อความคล้ายเป็นบาลีที่เขียนไว้ด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.พ. 13, 07:42

คาถาบาลีที่เขียนไว้  อ่านว่าอะไรคะ คุณหนุ่มสยาม

ธาตุโย สุญฺญโต ปสฺส อปฺปมาทรโต สทา = ท่านจงเห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญเถิด ท่านจงเป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อเถิด
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ก.พ. 13, 14:24

พระแปลให้ฟังครับ  ยิงฟันยิ้ม

ธาตุโย สุญฺญโต ปสฺส - ท่านจงเห็นธาตุทั้งหลาย โดยความเป็นของสูญเถิด
อปฺปมาทรตา - จงยินดีในความไม่ประมาท
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ก.พ. 13, 14:58

ธาตุในทางพุทธศาสนา หมายถึงธาตุทั้ง๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวตนของมนุษย์ ซึ่งวันหนึ่งก็ต้องสูญ คืนกลับสู่โลกหมด ตัวตนนั้นไม่มี

กถานี้จึงเป็นการเตือนสติคนในตระกูล ไม่ให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความประมาท
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ก.พ. 13, 17:04

อฏฺฐารส ธาตุโย : ธาตุทั้งหลาย ๑๘

จกฺขุธาตุ จักษุธาตุ ๑ รูปธาตุ รูปธาตุ ๑ จกฺขุวิญฺญาณธาตุ จักษุวิญญาณธาตุ ๑

โสตธาตุ โสตธาตุ ๑ สทฺทธาตุ สัททธาตุ ๑ โสตวิญฺญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ๑

ฆานธาตุ ฆานธาตุ ๑ คนฺธธาตุ คันธธาตุ ๑ ฆานวิญฺญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ๑

ชิวฺหาธาตุ ชิวหาธาตุ ๑ รสธาตุ รสธาตุ ๑ ชิวฺหาวิญฺญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑

กายธาตุ กายธาตุ ๑ โผฏฺฐพฺพธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ๑ กายวิญฺญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ ๑
 
มโนธาตุ มโนธาตุ ๑ ธมฺมธาตุ ธรรมธาตุ ๑ มโนวิญฺญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ๑
 
การที่ท่านแสดงธาตุ ๑๘ ในที่นี้ เข้าใจว่าท่านจะขยายอายตนะ ๑๒ ให้กว้างออกไป สำหรับจะให้เข้าใจง่าย เพราะอายตนะ ๑๒ ประการนี้เองเป็นของสำคัญในทางวิปัสสนา คือเป็นศีลด้วย เป็นสมาธิด้วย เป็นปัญญาด้วย

คำที่ว่าธาตุนั้นเป็นแต่สัญญานามธรรมเท่านั้น จะได้มีเนื้อมีหนังหามิได้ เป็นแต่ชื่อเปล่า ๆ ว่าธาตุ เอาจักขุมาใส่เข้าก็เรียกตามของใส่เข้าว่าธาตุตา ธาตุรูป ธาตุวิญญาณตา ธาตุหู ธาตุเสียง ธาตุวิญญาณหู ธาตุจมูก ธาตุกลิ่น ธาตุวิญญาณจมูก ธาตุลิ้น ธาตุรส ธาตุวิญญาณลิ้น ธาตุกาย ธาตุเครื่องสัมผัสกาย ธาตุวิญญาณกาย ธาตุใจ ธาตุธรรมารมณ์ ธาตุวิญญาณใจ เรียกไปตามของใส่ของปรากฏ

เพราะเหตุนั้น คำว่าธาตุจึงไม่มีที่สิ้นสุด ดังที่เราเข้าใจกันว่าธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ ธาตุเงิน ธาตุทอง ธาตุเปรี้ยว ธาตุหวาน เป็นต้น ตั้ง ๘๔,๐๐๐ ธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงสมกับพุทธภาษิตข้อหนึ่งซึ่งมีความว่า “ธาตุโย สุญฺญโต ปสฺส” ท่านจงเห็นธาตุทั้งหลาย โดยความเป็นของสูญเถิด ดังนี้ ถ้าหมายความตามพุทธภาษิตนี้ ต้องว่าตัวธาตุไม่มี มีอยู่แต่ชื่อเท่านั้น

การแสดงอายตนะ กล่าวแต่ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับเครื่องสัมผัส ใจกับธรรมารมณ์ ครั้นมาถึงวาระแห่งธาตุจึงเพิ่มวิญญาณขึ้นอีกให้เป็น ๓ พึงเห็นความในคำที่ว่า บ่อเกิดคือเกิดวิญญาณขึ้น อาศัยวิญญาณกับสัมผัสผสมกันเข้าก็เกิดเวทนา ตัณหา อุปาทาน ต่อ ๆ ไป

การที่ให้พิจารณาโดยฐานะเป็นธาตุนั้น ก็มีความประสงค์จะให้ค้นหาเหตุหาผล ตามหลักที่ว่า “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา” ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด คือ เกิดแต่เหตุ ถ้าจะให้ผลดับ ต้องให้รู้เหตุ ให้ดับที่เหตุ อายตนะ ๑๒ ก็เป็นตัวเหตุ ธาตุ ๑๘ ก็เป็นตัวเหตุ ส่วนเวทนา ตัณหา อุปาทาน ตัวผล ถ้าจะให้ดับต้องไปดับที่เหตุ แสดงธาตุ ๑๘ พอได้ใจความไว้เพียงเท่านี้.

จาก  หนังสือวิปัสสนาภูมิ ของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) เรียบเรียงเมื่อเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๘

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ก.พ. 13, 17:40

ไม่ว่าจะจำแนกออกไปสักกี่ธาตุ ก็แยกออกไปจากธาตุ๔ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้ารู้ในธรรมของธาตุทั้ง๔แล้ว ก็จบพรหมจรรย์เป็นอรหันต์ขีณาสพ

“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้ธาตุดิน ย่อมรู้ธาตุน้ำ ย่อมรู้ธาตุไฟ ย่อมรู้ธาตุลม โดยความเป็นธาตุลม ครั้นรู้ธาตุลมโดย ความเป็นธาตุลม แล้วย่อมสำคัญหมายธาตุลม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุลม ย่อมสำคัญหมายธาตุลมว่าเป็นของเรา ย่อมยินดีธาตุลมข้อนั้นเพราะอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ภิกษุใดเป็นอรหันต์ขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำ ย่อมรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟ ย่อมรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลม ครั้นรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลมแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุลม ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุลม ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุลมว่าเป็นของเรา ย่อมไม่ยินดีในธาตุลม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอกำหนดรู้แล้วฯ”

มูลปริยายสูตร มู. ม. (๒)
บันทึกการเข้า
pornvisid voravarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 19:09

ขอบพระคุณทุกท่านที่อธิบายความหมายของข้อความบาลี พอทราบแล้วรู้สึกจับใจกับความหมายมากเลยครับ มีใครพอจะทราบมั้ยครับว่ามีที่มาอย่างไร กรมพระนราธิปฯท่านนำมาประกอบในตราเอง หรือใครเป็นคนให้ครับ..?  และมีข้อสงสัยเกี่ยวกับตราอยู่ประการหนึ่งครับ คือ ในความเห็นที่ ๒๑ คุณ siamese บอกว่าพระมหาพิชัยมงกุฎมีเลข ๔ กำกับอยู่..แต่พยายามมองหาเท่าไรก็มองไม่เห็น ไม่ทราบอยู่ตรงตำแหน่งไหนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.134 วินาที กับ 20 คำสั่ง