เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 6997 รายงานการรับรองเซอร์ยอนโปวะริงราชทูตอังกฤษ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 14:10

       แล้วแลขึ้นไปเห็นโรงเรือพระที่นั่งยาวเส้นเศษ     จึ่งบอกล่ามว่า   ขอให้แวะเรือเข้าที่หน้าโรงเรือ   จะขอขึ้นไปดูเรือพระที่นั่งในโรงด้วย

ขุนพิพิธสมบัติห้ามไว้ไม่ให้ขึ้นไป   เพราะยังไม่ได้รับบัญชาอนุญาตมาจากท่านเสนาบดี


       เรือแขกเมืองพายขึ้นไปถึงท่าช้าง          จึ่งได้เห็นช้างมาลงน้ำที่ท่านั้นหลายเชือก

ฮะริปักถามว่า  ช้างนี้  จับมาทำกันอย่างไร

ขุนพิพิธสมบัติตอบว่า   มีหมอช้างบังเกิดมาในตระกูลพระพิคฆะเนศวร   มาจับช้างในป่าด้วยเวทมนต์  จึ่งจับได้   ถ้าไม่มีคาถาแล้วจับไม่ได้

ฮะริปักตอบว่า  เคยเห็นคล้องช้างที่เมืองพม่าแล้ว   ไม่ต้องมีคาถาอะไรพม่าก็จับได้เหมือนกัน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 14:28


       พระยามนตรีสุริยวงศ์ไปพบฮะริปัดตอนกลางวัน

ฮะริปักถามว่า   เรือที่สำหรับจะลงไปรับเซอร์ยอนโปวริงเอกอรรคราชทูตอังกฤษนั้น   จัดตกแต่งไว้เท่านั้นหรือ

พระยามาตรีสุริยวงศ์ตอบว่า   จัดไว้เท่านั้นพอดีแล้ว

ฮะริปักตอบว่า   เมื่อครั้งบ้านเมืองดี  ในกรุงศรีอยุธยาโบราณนั้น  เมื่อมองซิเออลารุแบร์ราชทูตฝรั่งเศสเข้ามากรุงเก่า

กรุงเก่าได้จัดเรือแพนาวารับรองมากกว่าครั้งนี้       โดยเราได้เห็นมีรูปเรือไทยที่พวกฝรั่งเศสตีพิมพ์ไว้ในสมุดหนังสือพิมพ์หลายเล่ม

เห็นมีเรือกระบวนแห่งามมากกว่าครั้งนี้หลายเท่า


พระยามนตรีสุริยวงศ์ตอบว่า   ครั้งบ้านเมืองดีมีเรืองาม ๆ มาก     ด้วยจัดการแห่พระราชสาส์นของเจ้าเมืองฝรั่งเศสด้วย      จึ่งมีกระบวนแห่มากกว่า

ครั้งนี้          ครั้งนี้ไม่มีพระราชสาส์น   มีแต่การรับรองราชทูตอังกฤษเท่านั้นจึ่งมีเรือกระบวนน้อยไป   ไม่เหมือนครั้งบ้านเมืองดี

ฮะริปักตอบว่า  เดี๋ยวนี้มีอย่างธรรมเนียมที่เมืองวิลาดทุกประเทศ  ไม่ใช้พระราชสาส์นเป็นใหญ่กว่าคนแล้ว        ใช้ตัวคนเป็นราชทูตแทน

เจ้าวิลาศทีเดียว

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 15:07


       ฮะริปัก Harry Smith Parks (1828 - 1885) เริ่มทำงานให้ Karl Gutzlaff  สามีของญาติ  ตอนที่ หมอกิสลับ เป็น civil magristrate   ที่  Chusan

เมื่ออังกฤษยึดเกาะไว้        ฮะริปักอายุได้ ๑๔ ปีกว่า  มีตำแหน่งเป็นเสมียน       น่าจะได้แรงบันดาลใจจากหมอกิสลับซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาจีน   จึงตั้งในเรียนภาษา

ประกอบกับอายุน้อย    อยู่ในฐานะต้องดิ้นรนต่อสู้สร้างฐานะ

     เรียนภาษาจีนอยู่ไม่ถึงสองปี  ก็สอบ งานกงศุลในภาษาจีนได้ที่ฮ่องกง   ได้เป็นล่ามที่ Foochow     ท่าเรือยังไม่ได้เปิด  จึงไปทำงานตามเมืองต่างๆ  เพิ่มความสำคัญในหน้าที่รับผิดชอบขึ้นเรื่อย ๆ

ทำงานให้เซอร์ยอนโปวริงอยู่ประมาณสองสามปีจึงมีโอกาสตามมาเมืองไทย

       ผลงานในเมืองไทยทำให้เขาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย

       ภรรยาคือ  Fanny Plummer   หลานปู่ของ  Vice Chancelor Sir Thomas Plummer      มีลูกด้วยกัน ๖ คน



ประวัติของฮะริปักมีเอกสารที่เกี่ยวกับเมืองจีนและญี่ปุ่นมากมาย เพราะเป็นทูตอยู่ในญี่ปุ่นเกือบยี่สิบปี        เขาสนับสนุนเจ้าหน้าที่สถานทูตให้ทำงานค้นคว้าในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

เขาเก็บงานเรื่องกระดาษญี่ปุ่นและ การผลิตกระดาษญี่ปุ่นจากภูมิภาคต่างๆ    งานชิ้นนี้เป็นที่ยกย่องทั่วโลกเพราะเก็บรายละเอียดเรื่องแหล่งผลิต  ราคา  กรรมวิธีผลิต  และวิธีใช้

       เก็บความมาโดยย่อ   โปรดหาอ่านได้ในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง


       
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 15:42


       ธรรมดาอ่านหนังสือด้วยความสุข   พอจำเรื่องได้  อย่างหันแตร เป็นต้น    เรือนไทยทำให้ต้องสนใจรายละเอียดเช่นเรื่อง ทรัพย์ และ บุตร

ซึ่งเล่ากันต่อ ๆ มา    ขยายความ    ข้อมูลสับสน ไม่มีอ้างอิง หรือ ค้นคว้าใหม่เลย

จำฮาริปักได้เพราะว่าช่างซักเหลือทน        ไม่คิดเลยว่าจะเป็นเด็กหนุ่ม  และต่อมามีประวัติอันลือชื่อในประเทศจีน



       จำหมอกิสลับได้เพราะครูสมิทเล่าไว้บ่อย           สยามประเภทนั้นถ้าอ่านโดยความระมัดระวัง  ตรวจสอบกับเอกสารรุ่นเดียวกัน  ก็น่าอ่านมาก

ในที่นี้ใช้สยามประเภทไปสองฉบับ คือ ฉบับที่ ๑๕(เอ่ยไปแล้ว)   กับ ๑๘ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๙

ข้อมูลใหม่ แม้ว่าจะเล็กน้อย เรื่อง ทรัพย์ มาทำกับข้าวให้เซอร์ยอนโปวริง   ขอมอบให้กับคุณหลวงเล็ก แห่ง เรือนไทย  ผู้มีสมบัติหนังสือมหาศาล ในฐานะผู้ร่วมสนทนาที่ช่างซักถาม

อีกบางเรื่องที่ตอบไม่ได้  ก็ขอเลื่อนไปอีกเจ็ดวันเทอญ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 ก.ค. 10, 19:58

ตามมาอ่านอีกคนค่ะ
มีรูปคุณฮะริปักมาประกอบด้วย
ถ้าหาหนังสือเรื่องเซอร์จอห์นเบาริงเจอ   จะมาร่วมแจมด้วย


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 08:16

   

     ขณะนั้นพระยาสมุทบุรารักษ์กรมการเมืองสมุทรปราการ  ได้จัดของไปทักถามราชทูต

มะพร้าวอ่อน    ๒๐ ทลาย
กล้วยหอม      ๓๖ โต๊ะ
อ้อย            ๑๕๕ ลำ
ส้มเปลือกบาง   ๓๐ โต้ะ
มะม่วงดิบ        ๕  โต๊ะ
ข้าวสาร        ๑๐   ถัง
ข้าวเปลือก      ๕   สัด
สุกรเป็น         ๕   สุกร
เป็ดเป็น        ๕๐   เป็ด
ไก่เป็น        ๑๐๐   ไก่
ฟืน         ๑๐๐๐๐   ดุ้น  


       ของหลวงพระราชทาน

มะปราง           ๒  โต้ะ
ลิ้นจี่               ๔    "
มะซาง            ๒    "
มะม่วง            ๒    "
ผลหนอยแหน่    ๑    "
ทับทิม            ๑    "
ส้มเขียวหวาน    ๒   "
ฝอยทอง          ๑   "
ทองหยิบ          ๑   "


     กัปตันที่นำเรือมาชื่อ กัปตัน เกริบ

คำว่า  ทัก  ไม่ได้หมายความว่า  กล่าวทักทาย  แต่หมายถึง  ต้อนรับ  เป็นคำเก่า  เดี๋ยวนี้ไม่ได้ใช้กันแล้ว    ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 08:24


มะซางคืออะไร

น้อยเหน่    คือ น้อยหน่าลูกเล็กหรือคะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 08:41

มะซาง (Ma-saang) 
   
   
ชื่อวิทยาศาสตร์ Madhuca pierrei H.J. Lam Syn. Bassia pierrei F.N Will.
วงศ์ SAPOTACEAEAE
ชื่ออื่น : ซาง หนามซาง
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ ลำต้น เปลา ตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านอวบ มีขนสีเทานุ่ม เปลือกสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ดสีเหลี่ยม มียางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับถี่ ๆ อยู่เป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ ขนาดกว้าง 7-10 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบป้าน เนื้อใบหนาหลังใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง แต่ท้องใบมีขนสีเทาปกคลุม ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกเดี่ยว แต่ออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่งเหนือกลุ่มใบ ขนาด 2.5-3 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 2.5 เซนติเมตร ก้านดอก และกลีบเลี้ยงมีขนนุ่ม กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น หุ้มดอกมิดชิดเมื่อดอกตูม กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ขาวแกมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปถ้วย เกสรตัวผู้ 12 อัน รังไข่ 6 ช่อง ออกดอกเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ผล รูปร่างกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ปลายผลมีส่วนของหลอดเกสรตัวเมียติดอยู่ยาว 4-5 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงหุ้มส่วนขั้วผล ภายในผลมี 1 เมล็ด การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด
นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย : เป็นพรรณพืชสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในยุคหินกลาง พบน้อยมาก
ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน กระดาน พื้น ฝา ด้ามเครื่องมือ แจว พาย ผลสุกมีรสหวานรับประทานได้และใช้เป็นน้ำปานะสมัยพุทธกาล เมล็ด ให้น้ำมันใช้ปรุงอาหาร 
 

ดูภาพด้านล่างประกอบ
 


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 08:52

ผลมะซางเมื่อสุกมีรสหวานสามารถคั้นทำเป็นน้ำผลไม้ได้ เป็น ๑ ใน ๘ ของน้ำอัฐบาน -นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือนํ้าหว้า นํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 09:37





     ลิ้นจี่ของเราในสมัยโน้น  น่าจะฝาดอยู่บ้างกระมัง

บันทึกการเข้า
ธีร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 54



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 14:25

 ลิ้นจี่ที่มีรสฝาดนั้นในเมืองไทยมีปลูกอยู่แหล่งเดียวครับ คือที่ อัมพาวา ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีรสชาดหวานแต่ว่าจะติดฝาดที่ปลายลิ้น

 แต่ว่าเวลาแกะกินแล้วจะแห้งไม่มีน้ำมาก

 ส่วนถ้าเป็นลิ้นจี่จากทางเหนือ ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ ลินจง ฮงฮวย หรือพี่ใหญ่บิ๊กอย่าง จักรพรรดิ(ลูกใหญ่เม็ดก็ใหญ่แต่บางต้นมี

 เป็นกะเทยคือเม็ดลีบ มีเคล็ดในการสังเกตุอยู่เหมือนกันครับ) หรือ กะจิดริดอย่าง กิมเจง(เม็ด ลีบเนื้อเยอะแต่ลูกเล็ก) ก็จะ

 ออกรสหวานอมเปรี้ยวแถมมีน้ำเยอะ

 ลิ้นจี่ผลไม้ล้มราชบัลลัง  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 17:09


ข้อมูลต่อไปนี้    อ่านมาจาก หนังสือชาวต่างชาติในประวัติศาสตร์ไทย  ของคุณสมบัติ  พลายน้อย
ฉบับรวมสาส์น พิมพ์ครั้งที่ สี่ พ.ศ. ๒๕๓๘


หน้า ๑๑๙

เซอร์ยอนเบาริงเข้ามาเมืองไทยครั้งนั้น  คิดไว้ว่าทางไทยจะต้องต้อนรับให้เหนือกว่าครั้งหมอครอเฟิต หรือ เฮนรี เบอร์นี

เพราะตนเองได้รับแต่งตั้งมาจากราชสำนัก   

แฮรี่ปาร์กพกตำราสมเด็จพระนารายณ์รับทูตมาด้วย


       การทำหนังสือสัญญาในครั้งนั้นไม่ยุ่งยากเหมือนการทำสัญญาครั้งก่อนๆ เพราะทูตก็ไม่เอาแต่ใจตัว

เมื่อเซอร์ยอนเบาริงจะออกเดินทางจากกรุงเทพ  ได้โปรดเกณฑ์เรือแห่พระราชสาส์นไปส่งที่เมืองสมุทรปราการ


เซอร์ยอนเบาริงเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๓๕

ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕




ในโอกาสต่อไป จะขอนำเรื่องราวของแฮรี่ ปาร์ก  จากเอกสารต้นฉบับประมาณสามเล่ม มาเล่า  เพราะเป็นบุคคลสำคัญในวงการทูต

และเราไม่มีประวัติและผลงานของเขาอ่านมากนัก       ชีวิตการต่อสู้สร้างตัวของเด็กกำพร้าในโลกใหม่เป็นเรื่องราวที่น่านับถืออย่างยิ่ง


ขออนุญาตจบเรื่องราวการต้อนรับรองเซอร์ยอนโปวริงไว้เพียงนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.115 วินาที กับ 19 คำสั่ง