เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 21975 การยกเลิกบรรดาศักดิ์
sally chu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


 เมื่อ 10 ก.ค. 10, 07:56

ขอทราบว่า ได้มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์สำหรับบุรุษ (คุณหลวง  คุณพระ  พระยา  เจ้าพระยา) ตั้งแต่สมัยใด และ เพราะเหตุใดค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 08:19

ลองค้นทางกูเกิ้ล  พิมพ์คำว่า ยกเลิกบรรดาศักดิ์  จะมีคำตอบขึ้นมามากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 08:29

เอ...แล้วมีข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์คนใดบ้าง  ที่กราบบังคมทูลลาออกจากบรรดาศักดิ์ในครั้งนั้น ลังเล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 08:47

นายปรีดี พนมยงค์ <---> หลวงประดิษฐ์มนูธรรม 
หรือเปล่า
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 11:20

ถูกยกเลิกตามประกาศพระบรมราชโองการ ซึ่งออกโดยคณะผู้สำเร็จราชการฯ ในปี 2485
โดยเริ่มเมื่อ  วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ จอมพลพิบูลฯ ได้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้บัญญัติกฎหมายยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทยเดิม โดยสถาปนา "ฐานันดรศักดิ์" (Lordshin) ตามแบบฝรั่งขึ้นใหม่ คือ ดยุค. มาควิส, เคานท์, ไวสเคานท์, บารอน ฯลฯ โดยตั้งศัพท์ใหม่ขึ้นเพื่อใช้สำหรับฐานันดรศักดิ์เจ้าศักดินาใหม่ คือ สมเด็จเจ้าพญา, ท่านเจ้าพญา, เจ้าพญา, ท่านพญา ฯลฯ ส่วนภรรยาของฐานันดรศักดินาใหญ่นั้นให้เติมคำว่า "หญิง" ไว้ข้างท้าย เช่น "สมเด็จเจ้าพญาหญิง" หลวงวิจิตรวาทการเสนอให้เรียกว่า "สมเด็จ หญิง" และฐานันดรศักดินาให้มีคำว่า "แห่ง" (of) ต่อท้ายด้วยชื่อแคว้นหรือบริเวณท้องที่ เช่น สมเด็จเจ้าพญาแห่งแคว้น..., พญาแห่งเมือง... ฯลฯ ทำนองฐานันดรเจ้าศักดินายุโรป เช่น ดยุค ออฟ เบดฟอร์ด ฯลฯ ฐานันดรเจ้าศักดินาใหม่นี้ให้แก่รัฐมนตรี และข้าราชการไทย ตามลำดับตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สายสะพาย เช่น จอมพลพิบูลฯ ได้รับพระราชทางสายสะพายนพรัตน์ ก็จะได้ดำรงฐานันดรเจ้าศักดินาเป็น "สมเด็จ เจ้าพญาแห่ง..."  ฐานันดรเจ้าศักดินาใหม่นั้น ทายาทสืบสันตติวงศ์ ได้เหมือนในยุโรปและญี่ปุ่น อันเป็นวิธีการซึ่งนักเรียนที่ศึกษาประวัติ นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ด ทราบกันอยู่ว่า ท่านนายพลผู้นั้นได้ขยับขึ้นทีละก้าวทีละก้าว จากเป็นผู้บัญชาการกองทัพ แล้วเป็นกงสุลคนหนึ่งในคณะกงสุล ๓ คน ที่มีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองประเทศฝรั่งเศส ครั้นแล้วนายพล นโปเลียน โบนาปาร์ด ก็เป็นกงสุลผู้เดียวตลอดกาล ซึ่งมีสิทธิ์ตั้งทายาทสืบตำแหน่ง รัฐมนตรี ที่เป็นผู้ก่อการฯ จำนวนหนึ่งรวมทั้งนายปรีดีด้วยนั้น โต้คัดค้านจอมพลพิบูลฯ ว่าขัดต่ออุดมคติของคณะราษฎร อันเป็นเหตุให้จอมพลพิบูลฯ ไม่พอใจ ท่านจึงเสนอให้ที่ประชุมเลือกเอาสองทาง คือทางหนึ่งตกลงตาม แผนสถาปนาฐานันดรนครเจ้าศักดินาอย่างใหม่ ทางที่สองเวรคืนบรรดาศักดิ์เดิมทุกคน  ฐมนตรีส่วนข้างมาก จึงลงมติในทางเวรคืนบรรดาศักดิ์เดิม เมื่อจอมพลพิบูลฯ แพ้เสียงข้างมาก ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงเสนอว่า เมื่อเวรคืนบรรดาศักดิ์เก่าแล้ว ผู้ใดจะใช้ชื่อและนามสกุลเดิม หรือเปลี่ยนนามสกุลตามชื่อบรรดาศักดิ์เดิมก็ได้
นายปรีดีฯ กับรัฐมนตรีส่วนหนึ่งกลับใช้ชื่อและนามสกุลเดิม แต่จอมพลพิบูลฯ เปลี่ยนนามสกุลเดิมของตนมาใช้ตามราชทินนามว่า "พิบูลสงคราม" และรัฐมนตรีบางคนก็ใช้ชื่อเดิม โดยเอาสกุลเดิมเป็นชื่อรอง และใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งชื่อและนามสกุลยาว ๆ แพร่หลายจนทุกวันนี้"

บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ก.ค. 10, 16:10

การหยุดบรรดาศักดิ์ คือไม่มีเพิ่มใหม่ ไม่เลื่อนจากบรรดาศักดิ์เดิมเป็นใหญ่ขึ้น   มีตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แล้วครับ
ข้าราชการจำนวนมากที่เป็นคุณพระ รอจะเลื่อนเป็นพระยา   จบกันแค่นั้น   แต่ยังใช้บรรดาศักดิ์และราชทินนามได้อยู่
หนึ่งในนั้นคือคุณพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ผู้ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันมากับพระยาอนุมานราชธน เสบียรโกเศศ     มีข่าวว่าท่านจะได้เลื่อนเป็นพระยาศรีสุนทรโวหารคนใหม่   เปลี่ยนการปกครองโครมเดียว  ความหวังนี้ก็หมดไป
คณะราษฎร์ตั้งใจจะยกเลิกศักดินาแบบเก่า  เพื่อความเสมอภาคกับประชาชน  แต่ดึงกันไปมา  ยืดเยื้อกันมาสิบกว่าปี  ถึงเลิกกันได้จริงๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 15:28

ก่อนหน้าที่จะมีพระบรมราชโองการประกาศเรื่องการยกเลิกบรรดาศักดิ์  เมื่อ 15 พ.ค. 2485 
ได้มีข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์บางส่วนได้กราบบังคมทูลคืนบรรดาศักดิ์มาบ้างแล้ว (เอาฌแพะรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา) ดังนี้

๑.หมื่นสิทธิ์สารธน  (จัน  ชะบาคง) กรมการพิเศษจังหวัดตาก คืนเมื่อ ๑๑  พ.ค.  ๒๔๗๒

๒.รองเสวกเอก  หลวงสุนทรอัศวราช  (จำรัส  สรวิสูตร)  ข้าราชการนอกประจำการ  สังกัดศาลาว่าการพระราชวัง คืนเมื่อ ๓๐  ก.ย.  ๒๔๗๖

๓.รองเสวกตรี  หมื่นพลรามกาจ  (ชื่น  ไชยทัพ)  ข้าราชการนอกประจำการ  สังกัดกระทรวงวัง คืนเมื่อ ๒๑  ธ.ค.  ๒๔๗๖

๔.เจ้าราชสัมพันธวงศ์  (เทพธำรง  ณ ลำปาง) ข้าราชการนอกราชการ  สังกัดกระทรวงมหาดไทย คืนเมื่อ ๑๘  ต.ค.  ๒๔๗๗

๕.ขุนวิศาลธุระกิจ  (จวน  ศรีวิภาต)  ข้าราชการประทวน  ปลัดจังหวัด  ผู้ช่วยจังหวัดแพร่ คืนเมื่อ ๒  ก.ย.  ๒๔๗๗

๖.นายตำรวจตรี  จ่าชำนิทั่วด้าว  (ประยงค์  มนสิการ) ข้าราชการนอกตำแหน่งประจำการ  สังกัดสำนักพระราชวัง คืนเมื่อ ๑๘  พ.ย.  ๒๔๗๘

๗.เจ้าอุตตรการโกศล (คำหมื่น  ณ ลำปาง)  ข้าราชการนอกราชการ  สังกัดกระทรวงมหาดไทย คืนเมื่อ ๒๓  พ.ค.  ๒๔๘๑

๘.ขุนคลองเตยบริบาล (เสริม  เข็มขจร)  กำนันตำบลคลองเตย (นอกตำแหน่ง)  คืนเมื่อ ๑๘  ก.ค.  ๒๔๘๔
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 15:50

ครั้นเมื่อมีการประกาศการยกเลิกบรรดาศักดิ์  ปี 2485

มีเนื้อความโดยสรุปว่า

"...ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในขณะนั้น) ได้บัญญัติในมาตรา ๑๒ ว่า  
ฐานันดรศักดิ์ ไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใด  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย   และได้มีการแก้ไขดัดแปลงยศและตำแหน่งให้เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญแล้วนั้น  แต่บรรดาศักดิ์ยังไม่ได้แก้ไข   ได้เห็นว่าบรรดาศักดิ์ที่มีอยู่นั้น  ไม่ได้ทำให้บุคคล
ได้รับผลทางกฎหมายต่างกันแต่อย่างใด  จึงได้มีผู้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมาก
แต่ทั้งนี้  ยังมีข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ที่ยังไม่ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมากเช่นกัน
ดูลักลั่นไม่เป็นระเบียบ   ทั้งทำให้เข้าใจผิดว่า ผู้มีบรรดาศักดิ์มีสิทธิดีกว่าผู้อื่น  
จึงเห็นสมควรแก้ไขความเข้าใจผิดนั้น  ด้วยการยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานไปแล้วเสีย
เพื่อเป็นตามบทบัญญัติมาตรา ๑๒ แห่งรัฐธรรมนูญ

จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศว่า  ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่ได้พระราชทานแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
และผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่ในวันที่มีประกาศนี้ทุกคน

ถ้าผู้ใดที่ประสงค์จะคงบรรดาศักดิ์ของตนไว้ด้วยเหตุผลเฉพาะตน  ก็ให้มาชี้แจง
ขอรับพระมหากรุณา  เมื่อได้รับพิจารณาสมควรแล้ว  ก็สามารถอยู่ในบรรดาศักดิ์ได้ต่อไป

อนึ่งถ้าผู้ใดมีประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล  เพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีงาม
ในราชการของตนเองนั้น  และเพื่อสวัสดิมงคลของตนและครอบครัว  ก็ให้ใช้ราชทินนามนั้น
โดยมาติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ ..."

แต่การกราบบังคมทูลลาออกจากบรรดาศักดิ์นั้นมีมาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๘๔  จำนวน  ๒๑ คน   ดังนี้


๑.จอมพล  หลวงพิบูลสงคราม   จอมพล  แปลก  พิบูลสงคราม
๒.นายพลโท  หลวงพรหมโยธี   นายพลโท  มังกร  พรหมโยธี
๓.นายพลตรี  หลวงเสรีเริงฤทธิ์   นายพลตรี  จรูญ  รัตนกุล  เสรีเริงฤทธิ์
๔.หลวงประดิษฐมนูธรรม   นายปรีดี  พนมยงค์
๕.หลวงนฤเบศร์มานิต   นายสงวน  จูฑะเตมีย์
๖.หลวงวิจิตรวาทการ   นายวิจิตร  วิจิตรวาทการ
๗.นายพันเอก  พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ   นายพันเอก  เภา  เพียรเลิศ  บริภัณฑ์ยุทธศิลป์
๘.หลวงชำนาญนิติเกษตร์   นายอุทัย  แสงมณี
๙.นายพลอากาศตรี  พระเวชยันตรังสฤษฎ์   นายพลอากาศตรี  มุนี  มหาสันทนะ  เวชยันตรังสฤษฎ์
๑๐.หลวงเดชสหกรณ์   หม่อมหลวงเดช  สนิทวงศ์
๑๑.นายพันตรี  หลวงโกวิทอภัยวงศ์   นายพันตรี  ควง  อภัยวงศ์
๑๒.นายพันตรี  หลวงเชวงศักดิ์สงคราม   นายพันตรี  ช่วง  เชวงศักดิ์สงคราม
๑๓.นายพลตำรวจตรี  หลวงอดุลเดชจรัส   นายพลตำรวจตรี  อดุล  อดุลเดชจรัส
๑๔.ขุนสมาหารหิตะคดี   นายโป-ระ  สมาหาร
๑๕.นายนาวาเอก  หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์   นายนาวาเอก  ถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์
๑๖.นายพลเรือโท  หลวงสินธุสงครามชัย   นายพลเรือโท  สินธุ์  กมลนาวิน
๑๗.นายนาวาอากาศเอก  หลวงกาจสงคราม   นายนาวาอากาศเอก  เฑียร  เก่งระดมยิง
๑๘.นายพลตรี  หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต   นายพลตรี  พิชิต  เกรียงศักดิ์พิชิต
๑๙.นายพลเรือตรี  หลวงนาวาวิจิต   นายพลเรือตรี  ผัน  นาวาวิจิต
๒๐.นายพันเอก  หลวงสฤษฎ์ยุทธศิลป์   นายพันเอก  เพียร  สฤษฎ์ยุทธศิลป์  พิริยะโยธิน
๒๑.นายนาวาเอก  หลวงสังวรยุทธกิจ   นายนาวาเอก  สังวรณ์  สุวรรณชีพ



หมายเหตุ  ชื่อนามสกุลข้างท้ายนั้น เป็นชื่อที่ผู้มีบรรดาศักดิ์ได้ใช้เมื่อกราบบังคมทูลลาออกจากบรรดาศักดิ์แล้วซึ่ง เข้าใจว่าคงได้กราบบังคมทูลไปพร้อมกันเมื่อขอลาออกจากบรรดาศักดิ์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 15:59

จากนั้น   ก็มีผู้กราบบังคมทูลลาออกจากบรรดาศักดิ์ มาอีกหลายคราว  และเป็นจำนวนมาก   ดังนี้


พระยาทรงสุรรัชฎ์  (อ่อน  บุนนาค)
พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์  (หม่อมหลวงศิริ  อิศรเสนา)
พระยาสุนทรพิพิธ  (เชย  สุนทรพิพิธ)
พระยารามราชภักดี  (หม่อมหลวงสวาสดิ์  อิศรางกูร)
พระยาศรยุทธเสนี  (กระแส  ประวาหะนาวิน)
พระยาศรีเสนา  (ฮะ  สมบัติศิริ)
พระภูมิพิชัย  (หม่อมราชวงศ์บุง  ลดาวัลย์)
นายพันตำรวจเอก  พระกล้ากลางสมร  (มงคล  หงสไกร)
พระอนุมานสารกรรม  (โต่ง  สรัคคานนท์)
พระบริบูรณ์วุฒิราษฎร์  (ชุบ  ศรลัมพ์)


พระพินิจพจนาตถ์  (น่วม  ทองอิน)
นายพลตรี  พระสุริยสัตย์  (ลักต์  สุริยสัตย์)
นายพลตรี  พระวิชัยยุทธเดชาคนี  (กัง  บุณยคุปต์)
นายพันเอก  พระวิสดารดุลยะรัถกิจ  (เชย  พันธุ์เจริญ)
นายพันเอก  พระสราภัยสฤษฎิการ  (กระมล  โชติกเสถียร)
พระจันทราทิตย์  (ย้อย  สุคันธตุล)
พระเรี่ยมวิรัชชพากย์  (เรี่ยม  ทรรทรานนท์)
พระนรราชจำนง  (สิงห์  ไรวา)
พระช่วงเกษตรศิลปการ  (ช่วง  โลจายะ)
พระรุทธอักษร  (พงศ์  ศรีวรรธนะ)


พระสุธรรมกิตยารักษ์  (ชู  หังสสูต)
พระดุลยนาทนัยพิจิตร  (มังกร  เพชรชาติ)
พระดุลยรักษ์จรรยาวัตร  (สง่า  ประทุมรัตน์)
พระนาถปริญญา  (นิ่ม  กัลลประวิทธ์)
พระมนูนาทวิมลกฤตย์  (อุ่น  สีตะบุษป์)
พระยุติชาญดำรงเวทย์  (บุณย์มี  โกศิน)
พระอาคุปต์สรคม  (ชวน  ขันติสิทธิ์)
พระประชากรบริรักษ์  (แอร่ม  สุนทรศารทูล)
พระประพิณพนยุทธ์  (พิณ  พลชาติ)
พระสนิทวงศ์อนุวรรต  (หม่อมราชวงศ์พร้อมใจ  สนิทวงศ์)


นายร้อยเอก  พระพนมนครานุรักษ์  (พนม  พิศาลบุตร)
พระนิกรบดี  (จอน  สาริกานนท์)
พระอนุรักษ์ภูเบศ  (เต็ม  บุณยรัตน์พันธุ์)
นายพันตำรวจเอก  พระพินิจชนคดี  (พินิจ  อินทรทูต)
นายพลตรี  พระขจรเนติยุทธ  (เจียน  ขจรเนติยุทธ)
พระอรรถนิพนธ์ปรีชา  (ประเสริฐ  อรรถนิพนธ์ปรีชา)
พระวุฒิศาสตร์เนติญาณ  (ส่าน  โชติกเสถียร)
นายพลตรี  พระประจนปัจจนึก  (พุก  มหาดิลก)
พระพิสิฐโลหการ  (หนุน  วิมุกตะนันทน์)
พระดุลยทรรศนปฏิภาณ  (ท้อ  ตันติเจริญ)


พระดุลยรัตนพจนาท  (ถนอม  สุขกิจ)
พระมนูนิติวิมลทัณฑ์  (ตาบ  ทิพานุกะ)
พระตีรณสารวิศวกรรม  (ตี๋  ศรีสุข)
พระเสริมวิชาพูล  (ไฝ  หุตะโกวิท)
พระสารประเสริฐ  (ตรี  นาคะประทีป)
พระชำนาญอนุศาสน์  (ทองคำ  โคปาลสุต)
พระเพาะนิสสัยชอบ  (เชื้อ  รัชตรัตน)
พระสาโรชรัตนนิมมานก์  (สาโรช  สุขยางค์)
พระพรหมพิจิตร  (อู๋  ลาภานนท์)
พระอนุสิฐสารากร  (กิมป๊อ  วิรยศิริ)


นายพันโท  พระกำแหงฤทธิรงค์  (เจิม  กัณหดิลก)
นายพันตำรวจเอก  พระมหาวิชัย  (ฉัน  ทรรทรานนท์)
พระกันทรารักษ์  (วิชัย  นิลานุช)
พระไวทยวิธีการ  (พูลสวัสดิ์  บุศยศิริ)
พระชาญวิธีเวชช์  (แสง  สุทธิพงศ์)
พระบำราศนราดูร  (หลง  เวชชาชีวะ)
พระเชฏฐไวทยการ  (บุญชู  ศีตะจิตต์)
พระบำราบนราพาธ  (หรุ่น  อรุณเวช)
พระรามณรงค์  (เสงี่ยม  ศุภลักษณ์)
พระพิศาลสุขุมวิท  (ประสบ  สุขุม)


พระเจนดุริยางค์  (ปีไฟท์  วาทยะกร)
หม่อมเกษมศรีศุภวงศ์  (หม่อมราชวงศ์ขจิต  เกษมศรี)
นายร้อยเอก  หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์  (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์)
จมื่นสิริวังรัตน์  (เฉลิม  คชาชีวะ)
จมื่นมานิตย์นเรศร์  (เฉลิม  เศวตนันทน์)
หลวงชำนาญอักษร  (ศิริ  เพ็ชรบุล)
หลวงบรรเจิดอักษรการ  (ทับ  สาตราภัย)
หลวงสมาหารราชธน  (สมพร  พิศาลบุตร์)
หลวงอรรถสารประสิทธิ์  (ทองเย็น  ห๎ลีละเมียร)
นายนาวาเอก  หลวงยุทธศาสตร์โกศล  (ประยูร  ยุทธศาสตร์โกศล)


หลวงอรรถกัลยาณวินิจ  (อรรถ  กัลยาณวินิจ)
หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์  (กังวาน  วงษ์สกุล)
หลวงสิทธิธนศักดิ์  (ถม  สุวรรณปัทมะ)
หลวงศรีประกาศ  (ฉันท์  วิชยาภัย)
หลวงวิจารณ์ราชสฤชฌุ์  (ทองอยู่  ทองอุไทย)
หลวงดุลยศาฐย์ปฏิเวท  (หม่อมหลวงโชติ  สุทัศน์)
หลวงคงคณานุการ  (แฉล้ม  สมิตะมาน)
หลวงสุรการวินิต  (หม่อมหลวงอุทัย  อิศรางกูร)
หลวงอรรถวินิจเนตินาท  (สวัสดิ์  คทวณิช)
นายพลตรี  หลวงสวัสดิรณรงค์  (สวัสดิ์  ดาระสวัสดิ์)


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 16:02

นายพลอากาศตรี  หลวงอธึกเทวเดช  (บุญเจียม  โกมลมิศร์)
นายนาวาอากาศเอก  หลวงเทวฤทธิ์พันลึก  (กาพย์  ทัตตานนท์)
นายพันตรี  หลวงเจริญเนติศาสตร์  (เจริญ  เนติศาสตร์)
นายพันตรี  หลวงวิทยาธิกรณศักดิ์  (วัน  วิทยาธิกรณศักดิ์)
หลวงอุตตรดิตถาภิบาล  (เนื่อง  ปาณิกบุตร)
หลวงฐิติทะเบียนกิจ  (เครื่อง  โพธิษเฐียร)
หลวงอัครนิธินิยม  (เทียน  เลาหเศรษฐี)
นายพลตรี  หลวงวิชิตสงคราม  (จี๊ด  ยุวนวรรธนะ)
นายพันเอก  หลวงประสิทธิ์ยุทธศิลป์  (ตาษ  อินทรนีลวัต)
นายพันเอก  หลวงวิจักษ์กลยุทธ  (เศียร  สู่ศิลป์)


นายพันเอก  หลวงชาตินักรบ  (ศุข  นักรบ)
นายพันโท  หลวงชาญกลราวี  (ชาญ  รัตตะกุญชร)
นายพันโท  หลวงอำนรรฆสรเดช  (เปล่ง  กองพระทราย)
นายพันโท  หลวงเยี่ยมวีรพล  (แหลม  ศิริปาลกะ)
นายพันโท  หลวงวรรธนยุทธ์พิบุล  (ปลอบ  วรรธนะบูรณ์)
นายพันโท  หลวงรบอริสยอน  (พุฒ  วัฒนารมย์)
หลวงนารีภิรมย์  (เอี่ยม  นีลวัชระ)
หลวงลัทกวาท  (ประสิทธ์  นรินทรางกูร  ณ  อยุธยา)
หลวงพิพัฒอักษรนิติ์  (สงวน  รามนันทน์)
หลวงสังวรโลหสิทธิ์  (จำลอง  เทวดล)


หลวงไพรัชพากย์ภักดี  (จริง  บุนนาค)
หลวงชัยอัศวรักษ์  (ไชย  แสง-ชูโต)
หลวงชลกิจพิทักษ์  (กอน  หุตินทะ)
หลวงบำบัดอัศวพาธ  (นิตย์  สาลักษณ์)
หลวงบริคุตคินิรัชฎ์  (ไชยันต์  หิรัญบูรณะ)
หลวงวิเศษพจนกรณ์  (จรัส  เหมวรรธนะ)
หลวงสารนาคโกษากร  (วงษ์  สาระนาค)
หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ  (ทองดี  เรศานนท์)
หลวงอิงคศรีกสิการ  (เอี้ยง  จันทรสถิตย์)
หลวงอนุกิจยนตศาสตร์  (เอี่ยม  อนุศาสนะนันทน์)


หลวงยนตรการกำธร  (มล  รณะนันทน์)
หลวงอรรถจารีวรานุวัตน์  (บุญมาก  รัชตะวรรณ)
หลวงวิลัยวงวาด  (ฉุน  กานตะนัฏ)
หลวงนฤสารสุนทร  (หรีด  ศุภสาร)
หลวงนิติกรณ์ทยุดี  (เฉื่อย  ไวทยาคม)
หลวงนิทเทศยุตติญาณ  (ทองใบ  นนทะสุต)
หลวงปรีชาดุลยกิจ  (ปรีชา  เอครพานิช)
หลวงพิชัยบัณฑิต  (บัณฑิต  วิริยะพานิช)
หลวงพิเทศกิจโกศล  (เทเวศร์  บุนนาค)
หลวงพินิจการโกศล  (วิชา  หัมพานนท์)


หลวงมนูทัศน์วิมลเหตุ  (อุ่น  นวะมะรัตน)
หลวงวิชิตภักดี  (แบ่ง  จันทรรัตน์)
หลวงวุฒินัยเนติศาสตร์  (แถม  ธนภูมิ)
หลวงวุฒิศักดิ์เนตินาท  (กฤษณ์  สุนทานนท์)
หลวงสรอรรถอำนวย  (ทองสุก  กาฬดิษย์)
หลวงสารกฤตย์ประไพ  (หลวง  เลาหะจินดา)
หลวงสารรักษ์ประนาท  (บุญมาก  บุนนาค)
หลวงสุทธิเทศนฤบาล  (หมง  สุเสารัจ)
หลวงสุธรรมานุวัตน์  (เสน่ห์  สุขะลักษณะ)
หลวงอรรถพิศาลโสภณ  (ศิริ  ประทุมรัตน์)


หลวงอรรถขจรนิติปคุณ  (สง่า  สาริกภูติ)
หลวงอาทรคดีราษฎร์  (เอื้อน  ยมจินดา)
หลวงนรกิจบริหาร  (แดง  กนิษฐสุต)
หลวงอภิรมย์โกษากร  (ดิฐ  ณ สงขลา)
หลวงเสถียรโชติสาร  (จรัล  โชติกเสถียร)
หลวงพิสุทธอังกกิจ  (รื่น  ลิมปิเลขะ)
หลวงคณิตธนสาร  (สมบุญ  ชีรานนท์)
หลวงสิทธิ์ธนศักดิ์  (ถม  สุวรรณปัทมะ)
หลวงประเสริฐสารบรรณ  (เอื้อน  ฤทธิ์กะลัส)
หลวงบรรณกรรัชตภัณฑ์  (เทียน  อุนนานนท์)


หลวงทวยหาญนิติกรม  (ทวีวัฒน์  อมาตยกุล)
หลวงกัลยาณานุรักษ์  (ชิน  กัลป์ยาณมิตร์)
หลวงจรูญประศาสน์  (จรูญ  คชภูมิ)
หลวงศุภการบริรักษ์  (ชลอ  จารุจินดา)
นายร้อยตำรวจเอก  หลวงราชแรงฤทธิ์  (ธนู  กนิษฐสุนทร)
หลวงนรัตถ์รักษา  (ชื่น  วิจิตรเนตร)
หลวงมาลากุลวิวัฒน์  (หม่อมหลวงเทียม  มาลากุล)
หลวงบริหารหิรัญราช  (บุญมี  สิวานันท์)
นายพันตำรวจโท  หลวงราชจบแดน  (ภู่  ภูรัต)
นายพันตำรวจตรี  หลวงจิตร์ใจดล  (สอาด  ไปลานนท์)


นายร้อยตำรวจเอก  หลวงติกิจฉวิศาล  (ผาด  ฐิตะสุต)
นายร้อยตำรวจเอก  หลวงวัฒนะกิจกำจร  (ยศ  ยศวัฒนะ)
หลวงอุปกรรัถวิถี  (ษระ  แสง-ชูโต)
หลวงวิวิธสุรการ  (ถวิล  เจียรมานพ)
นายพันตำรวจเอก  หลวงชาติตระการโกศล  (เจียม  ลิมปิชาติ)
นายพันตำรวจเอก  หลวงวิทิตกลชัย  (เนื่อง  ทองโสภิต)
หลวงวิฑูรสถลกิจ  (ทองอยู่  อมาตยกุล)
หลวงบัญชาการกลจักร  (พุฒ  กุลธอุทัย)
หลวงสิทธิเวชชการ  (สิทธิ์  ชลวิทย์)
หลวงนครคุณูปถัมภ์  (หยวก  ไพโรจน์)


หลวงประจันต์จุฑารักษ์  (อิน  ตุงคะผลิน)
หลวงบุรกรรมโกวิท  (ล้อม  ดิษยนิยม)
หลวงอนุการสารบรรณ  (อำนาตย์  สังขพิไชย์)
หลวงวิศาลธีระกร  (สำลี  จุโฬฑก)
หลวงพิบูลสรรพเวช  (พิบูล  สิริสาลี)
หลวงนิตยเวชชวิศิษฏ์  (นิตย์  เปาเวทย์)
หลวงวิเชียรแพทยาคม  (เถียร  ตูวิเชียร)
หลวงแพทย์โกศล  (ขำ  รักกุศล)
หลวงพะยุงเวชชศาสตร์  (พยุง  เกตวัลห์)
หลวงชนาพาธประนุช  (สุเวชช  บุษปะบุตร์)


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 16:05

หลวงสิริแพทย์พิสุทธิ์  (สถาน  สิริเบตร์)
หลวงนนทแพทย์พิสนต์  (จันทร  วาจานนท์)
หลวงสนั่นวรเวชช์  (สนั่น  วงศ์สุวรรณ)
หลวงกสิวัฒนวิบูลย์เวช  (เล็ก  กสิวัฒน์)
หลวงอายุรกิจโกศล  (กิ่ม  ภมรประวัติ)
หลวงพิจิตรภิษัชการ  (บุญรอด  โรจนารุณ)
นายร้อยเอก  หลวงสมบูรณวิชาแพทย์  (โสภณ  หุตะแพทย์)
หลวงนรินทร์ประศาตร์เวช  (เจน  สุนทโรทัย)
หลวงเวชสารบริรักษ์  (ถนอม  พัฒนะ)
หลวงพิเศษแพทยากิจ  (ใหญ่  พุกกะคุปต์)
หลวงเธียรประสิทธิสาร  (มงคล  เทียนประสิทธิ์)


หลวงสวัสดิ์อักษร  (สวัสดิ์  คุปตารักษ์)
หลวงอนุการนพกิจ  (รั้ง  สุรัสสวดี)
หลวงประพันธ์ไพรัชชพากย์  (บุญเชย  ปิตรชาติ)
หลวงสรีปรีชาธรรมปาฐก  (ศิริ  สิตปรีชา)
หลวงบริหารสิกขกิจ  (สกล  สินธวานนท์)
หลวงสิริวุฒฑศาสตรพิทย์  (ศิริ  แก้วโกเมร)
หลวงนนทพิทยพิลาศ  (สิน  โรจนะสมิต)
นายนาวาตรี  หลวงประพรรดิ์จักรกิจ  (แสวง  หาสตะนันทน์)
หลวงกระวีจรรยาวิโรจน์  (กระวี  อิศรภักดี)
หลวงชวลักษณลิขิต  (ดำเนิน  จิตรกถึก)


หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช  (ปราโมทย์  จันทวิมล)
หลวงเสียงเสนาะกรรณ  (พัน  มุกตวาภัย)
หลวงสร้อยสำเนียงสนธิ์  (เพิ่ม  วัฒนวาทิน)
หลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์  (เฉลิม  พรมมาศ)
หลวงไตรกิศยานุการ  (แปลก  ทัศนียะเวช)
หลวงชำนาญบัญชี  (คัณฐา  ตุงคะสิริ)
หลวงลือลั่นศาสตรี  (เรือน  ศรีวรรธนะ)
หลวงประเวศวุฑฒศึกษา  (ประเวศ จันทน์ยิ่งยง)
หลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ  (สวัสดิ์  สุมิตร)
หลวงบรรสบวิชาฉาน  (จีน  นิยมวิภาต)


หลวงสิทธิวุฒิ  (พุ้ง  โชติคุต)
หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์  (ประดิษฐ์  สุขุม)
หลวงพินทุวัฒนามาตย์  (บุญรอด  พินธุวัฒน์)
หลวงพิสิฐสุขุมการ  (ประพาส  สุขุม)
หลวงวิลาศวันวิท  (เมธ  รัตนประสิทธิ์)
หลวงรักษ์นราทร  (โชค  ชมธวัช)
หลวงพิบูลภิสัชกิจ  (ผล  ศิริโพธิ์)
หลวงวิเศษธีระการ  (เธียร  วระธีระ)
หลวงจรูญบุรกิจ  (จรูญ  ณ สงขลา)
นายพันตำรวจโท  หลวงชาติสรสิทธิ์  (หม่อมหลวงแถม  ปัทมสิงห์  ณ  อยุธยา)


หลวงนิเทศทาวันการ  (เสน  วัฒนคุณ)
หลวงสกลถ่องวิจารณ์  (คร้าม  จิตตาลาน)
หลวงเดชาติวงศ์วรารัตน์  (หม่อมหลวงกรี  เดชาติวงศ์)
หลวงถวิลเศรษฐพาณิชยการ  (ถวิล  คุปตารักษ์)
นายพลตรี  หลวงชำนาญยุทธศาสตร์  (ผิน  ชุณหะวัน)
นายพันเอก  หลวงยอดอาวุธ  (ฟ้อน  ฤทธาคนี)
นายนาวาเอก  หลวงสวัสดิวรฤทธิ์  (สวัสดิ์  วรทรัพย์)
นายนาวาอากาศเอก  หลวงเชิดวุฒากาส  (สุดใจ  เชิดวุฒิ)
นายนาวาอากาศโท  หลวงประดิษฐเวหาสยาน  (ถนอม  วาระรังสี)
นายนาวาอากาศโท  หลวงเจริญจรัมพร  (เจริญ  ไชยโกมล)


นายนาวาอากาศโท  หลวงล่าฟ้าเริงรณ  (กิ่ง  ผลานุสนธิ์)
นายนาวาอากาศโท  หลวงพินิจรณภัณฑ์  (พินิจ  ทุมมานนท์)
นายนาวาอากาศโท  หลวงปลื้มประหารหาว  (ปลื้ม  จินดาลัทธ์)
นายนาวาอากาศโท  หลวงกรโกสียกาจ  (กอน  โสมนะพันะธ์)
นายพันตรี  หลวงพิจิตรคดีพล  (กลับ  สาตะจุฑา)
นายพันตรี  หลวงพิสูจน์คดีพล  (แผ้ว  คลายนสูตร์)
นายนาวาอากาศตรี  หลวงชมชูเวชช์  (ชม  เกษสมัย)
นายนาวาอากาศตรี  หลวงปรุงปรีชากาศ  (ปรุง  บุณยนิยม)
นายนาวาอากาศตรี  หลวงไวศรายุธ  (ไวย  น่วมขำทรง)
หลวงประสิทธิ์บรรณ์เลิศ  (ดวง  คล่องเชิงสาร)


นายพันตรี  หลวงสุดกระบวนรบ  (ทัน  จารุปาณฑุ)
นายพันโท  หลวงอาวุธวิชชาชาญ  (เรียม  เศวตเศรณี)
หลวงธนาทรพินิศ  (เล็ก  จันทโรจวงศ์)
หลวงนาถนิติธาดา  (เคลือบ  บุศยนาค)
หลวงนฤนาทประไพ  (นุ้ย  แพ่งสภา)
หลวงวัชรีเสวิน  (ชิก  บุนนาค)
หลวงวิมลโลหการ  (ศิริ  ซื่อสงวน)
หลวงพิบูลโลหการ  (แม้นฮอน  เนียวกุล)
หลวงสมบูรณโลหการ  (สมบูรณ์  โกมลารชุน)
หลวงวิเชียรธาตุการ  (เพรียจ  สมวิเชียร)


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ก.ค. 10, 16:08

หลวงยนตรกิจโกศล  (วารี  ลีละยูวะ)
หลวงสถลมารคมานิต  (แคล้ว  สุวรรณเนตร)
หลวงประสิทธิสมรรถการ  (ก่วน  ชลวิจารณ์)
นายนาวาตรี  หลวงกิจการกลจักร  (จำปี  ปุษยะนาวิน)
หลวงเจริญฤทธิศาสตร์  (เจริญ  ราศีสวัสดิ์)
หลวงธำรงราชนิติ  (ทัด  อากาศวิภาต)
หลวงประเสริฐมนูกิจ  (ประเสริฐ  ศิริสัมพันธ์)
หลวงพิชิตปฏิภาณ  (ต่วน  ถิระวัฒน์)
หลวงศรีสัตยารักษ์  (ฮวด  เปารศรี)
หลวงสรนิตยาคม  (บุญช่วย  สรสุชาติ)


หลวงสารนาทประจิต  (จิว  ธนะผดุง)
หลวงสารสิทธิประกาศ  (พร  อยู่หุ่น)
หลวงอนุสสรนิติสาร  (สนิท  อรรถยุกติ)
หลวงอรรถไพศาลศรุดี  (ชั้น  กลิ่นดอกไม้)
หลวงสงบงำคำนวณ  (สาลี  โพธิสาลี)
หลวงวิจารณ์สุรพิตร์  (สิทธิ์  ผลานุสนธิ)
หลวงสำเร็จวรรณกิจ  (บุญ  เลขะนันทน์)
หลวงศรีภาษะเวทิน  (ศิริ  สิริสิงห์)
หลวงชาญดรุณวิทย์  (พริ้ง  มนธาตุผลิน)
หลวงภารสาร  (เฟื่อง  นาวาชีวะ)


หลวงบุญปาลิตวิชชาสาสก์  (บุญเลี้ยง  บุณยุปการ)
หลวงดรุณกิจวิทูร  (ชด  เมนะโพธิ)
หลวงจรัสการคุรุกรรม  (จรัส  บุนนาค)
หลวงกิตติวาท  (ผล  สิงหะผลิน)
หลวงจรูญอักษรศักดิ์  (จรูญ  อุรัสยะนันท์)
หลวงชุณหกสิการ  (ชุ้น  อ่องระเบียบ)
หลวงกีรติวิทโยฬาร  (กี่  สุนวัต)
หลวงศรีอมรญาณ  (ศรี  อมร)
หลวงอาจวิชาสรร  (ทอง  ชัยปราณี)
หลวงสิริเดชธรรม  (แปลก  ศิริเดช)


หลวงพิเนตินัยวิจารณ์  (เสงี่ยม  กะรัสนันทน์)
หลวงสมานไมตรีรักษ์  (พิศ  วิเศษรัตน์)
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์  (ป่วน  อินทุวงศ์)
หลวงอาทรธรรมศักดิ์  (ยุทธ  กาญจนัษฐิติ)
นายพันตรี  หลวงรอนไพริน  (เจิม  จันทรสนาน)
นายนาวาตรี  หลวงกลกิจกำจร  (ถมยา  รังคะกลิน)
หลวงศิลธรวิสุทธิ์  (อ่วน  ศีลธร)
นายร้อยโท  หลวงแพรวประทีปฉาย  (อาด  สันทัดกลการ)
ขุนนิรันดรชัย  (สเหวก  นิรันดร)
ขุนพินิจบรรณการ  (สิญจน์  สายะเสวี)


ขุนจิตรอักษร  (สมบูรณ์  โกกิลกนิษฐ์)
ขุนบรรณการรังสฤษฏ์  (เปี่ยม  รัตติชุณห์โชติ์)
ขุนสฤษฏ์ธนสาร  (สฤษดิ์  วิชัยวัฒนะ)
นายร้อยโท  ขุนศรไกรพิศิษฏ์  (ประจวบ  มหาขันธ์)
นายพันโท  ขุนศิลป์ศรชัย  (ศิลป์  รัตนวราห)
นายพันตรี  ขุนทะยานราญรอน  (วัชร  วัชโรทยาน)
ขุนจำลองเลขการ  (จำลอง  อัศวเสนา)
นายร้อยเอก  ขุนพิพัฒน์สรการ  (พิพัฒน์  พิพัฒน์สรการ)
ขุนนนทวิจารณ์  (นนท  ทองอิน)
ขุนวิศิษฏ์อักษร  (ทวี  ธาดาสีห์)


นายร้อยเอก  ขุนอภิบาลทัณฑนิกร  (ศิริ  ภักดี)
ขุนสุทรรศนามัย  (สุทรรศน์  สัมปัตตะวนิช)
ขุนนิติเวทย์ทะเบียนการ  (เพิ่ม  รัตนโชติ)
นายนาวาอากาศเอก  ขุนรณนภากาศ  (ฟื้น  ฤทธาคนี)
ขุนปฐมประชากร  (สมบุญ  จันทรประดับ)
ขุนโกศลเวทย์  (ต่วน  ไพศาลศรี)
ขุนปรีชาธนกิจ  (เฟี้ยม  บั้นปัญญา)
ขุนวรคุตต์คณารักษ์  (บุญฤทธิ์  วรคุตตานนท์)
ขุนศรีสุวรรณพิศ  (คำนวณ  สุวรรณพิศ)
ขุนสรรค์ราษฎร์บำรุง  (เดือย  วงษ์เวทย์)


นายพันเอก  ขุนโพธัยยการประกิต  (โพ  อุณหเลขกะ)
นายพันโท  ขุนวงศ์นักรบ  (ชุ่ม  วงษ์สมบุญ)
นายพันตรี  ขุนธุรยุทธวิสิฏฐ์  (จำนวน  ทุมมานนท์)
ขุนลิขิตสรการ  (ตั้ง  ทรรพวสุ)
ขุนวิสุทธิสมบัติ  (บาง  กัณหานนท์)
ขุนธนสิทธิ์วุฒิธรรม  (วาศน์  วิชัยกุล)
ขุนจงจิตรราชการ  (แฟง  นีลภมร)
ขุนพากยวาที  (อัฏ  ศาลยาชีวิน)
ขุนประมาณบรรณสิทธิ์  (แข  เดชะไกศยะ)
ขุนอมาตยกุลพงศ์  (ศิริ  อมาตยกุล)


ขุนสารบรรณเกษตรกิจ  (มานพ  ปัทมะลางคุล)
ขุนถาวรบุตต์โลหกิจ  (จง  ถาวรบุตร์)
ขุนสถานโลหผล  (จรูญ  ไชยาคำ)
ขุนโกศลคาวีแพทย์  (เขียว  ผิวทองงาม)
ขุนโกญจนาทจิตรโกศล  (ลำเจียก  โกญจนาท)
ขุนชำนาญชลวิทยา  (คำ  มีระเกตุ)
ขุนนานาภูวกร  (ศุข  ศรีกังวาน)
ขุนนทีโทวาริก  (พร  สายะสมิต)
ขุนบรรจงเจฏกามาตย์  (ถวิล  แต้มบรรจง)
ขุนประดิษฐปสุการ  (ประดิษฐ  ชาลยนคุปต์)


ขุนประเสริฐธารา  (อ้น  แขนงแก้ว)
ขุนพิทักษ์ชลาศัย  (บุญเลี้ยง  คเชนทร์ชัย)
ขุนพินิจบรรณสินธุ์  (สุวรรณ  จันทศรี)
ขุนรักษาดรุพันธุ์  (ชื่น  บุณยพุกกณะ)
ขุนสิริชลรักษา  (ศรี  เผื่อนพงศ์)
ขุนเจนจบทิศ  (ชื่น  ยงใจยุธ)
ขุนพินิตแนววิถี  (แถม  นวมารค)
ขุนวิลัยเลขะกิจ  (วิลัย  ไวทยาภรณ์)
ขุนพิศาลอักษรกิจ  (เรียม  สิงห์บุรอุดม)
ขุนสูตะบุตรธรรมบาล  (ประมาณ  สูตะบุตร์)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง